ดนตรี
การใช้หนังสือเพลงสวด


การใช้หนังสือเพลงสวด

หากเพลงสวดนั้นเป็นเพลงที่ไม่ชินหูให้เล่นนำทั้งข้อเพื่อช่วยที่ประชุมให้รู้สึกชินหูกับเพลงนั้นมากขึ้น หากเพลงสวดเป็นเพลงที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว การเล่นนำเฉพาะท่อนสุดท้ายก็อาจเพียงพอ เมื่อเล่นนำสั้นๆ ท่านอาจต้องชะลอจังหวะ ในตอนสุดท้ายเพื่อแสดงให้รู้ว่าท่านได้จบการเล่นนำแล้ว

ข้ออ้างพระคัมภีร์

ในประเพณีชาวคริสต์ดั้งเดิม เพลงสวดส่วนมากเป็นดนตรีที่แต่งขึ้นมาจากเนื้อหาพระคัมภีร์ที่ดัดแปลงไป เพลงสวดของเราในปัจจุบันส่วนมากเกี่ยวเนื่องกับพระคัมภีร์ ข้อพระคัมภีร์บางข้อที่อาจเกี่ยวเนื่องกับเพลงสวดมีแสดงไว้ท้ายเพลงสวดแต่ละเพลง เมื่อใช้ดรรชนีในพระคัมภีร์ท่านจะพบข้อพระคัมภีร์อีกมากมายที่เพิ่มพูนข่าวสารของเพลงสวดของเรา

ดรรชนี

หนังสือเพลงสวดมีดรรชนีอยู่หนึ่งหมวด คือ ชื่อเพลงสวด ซึ่งมีคำอธิบายสั้นๆ

เพลงสวดสำหรับที่ประชุม

การร้องเสียงเมโลดี้และการร้องประสานเสียงแม้ว่าการร้องเพลงประสานเสียง (โซปราโน อัลโต เทนเนอร์ และเบสส์) มีประเพณีอันยาวนานในศาสนจักร แต่เป้าหมายในการร้องเพลงของที่ประชุมคือให้ทุกคนมีส่วนร่วม ไม่ว่าความสามารถทางเสียงของพวกเขาจะเป็นอย่างไรก็ตาม เพราะว่าสมาชิกมากมายร้องเสียงเมโลดี้ ดังนั้นจึงจัดระดับเสียงของเพลงสวดให้สามารถร้องได้ทั้งการร้องเสียงเมโลดี้และการร้องประสานเสียง โดยไม่คำนึงถึงระดับเสียงของพวกเขา เพลงสวดบางเพลงและบางตอนของเพลงสวดประพันธ์ไว้เพื่อการร้องเสียงเมโลดี้โดยเฉพาะ

การเลือกเพลงสวดที่ถูดต้อง

เพลงสวดที่ท่านเลือกควรสะท้อนลักษณะทั่วไปของการประชุมและช่วยสร้างอารมณ์ที่เหมาะสม

เพลงสวดเปิด อาจเป็นเพลงอ้อนวอนหรือสรรเสริญ ซึ่งอาจแสดงออกถึงความซาบซึ้งในบุญคุณทางพระกิตติคุณ ความยินดีที่สามารถมาชุมนุมกันหรือความกระตือรือร้นของงานที่จะต้องทำให้สำเร็จ

เพลงสวดศีลระลึก ควรเกี่ยวเนื่องกับศีลระลึกหรือการพลีบูชาของพระผู้ช่วยให้รอด

เพลงสวดคั่น ให้โอกาสที่ประชุมมีส่วนร่วมและอาจเกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ผู้พูดพูดไว้ในการประชุม ที่ประชุมอาจยืนขึ้นระหว่างร้องเพลงสวดนี้หากเห็นว่าเหมาะสม

เพลงสวดปิด ให้โอกาสที่ประชุมตอบสนองต่ออารมณ์และเนื้อหาของการประชุม

ใช่ว่าเพลงสวดทุกเพลงจะเหมาะสมกับทุกโอกาสที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนจักร เพลงสวดบางเพลงอาจเหมาะสมสำหรับการชุมนุมของเยาวชนมากกว่าการประชุมศีลระลึก

การเลือกข้อที่จะร้อง

ท่านไม่ต้องรู้สึกว่าจะต้องร้องเพลงสวดหมดทุกข้อ เว้นแต่ว่าหากไม่ร้องหมดทุกข้อแล้วจะทำให้ข่าวสารไม่ครบถ้วน อย่างไรก็ตาม อย่าตัดเพลงสวดให้สั้นลงเป็นประจำโดยการร้องเพียงข้อแรก หรือเพียงสองข้อแรกเท่านั้น ควรร้องข้อที่พิมพ์ไว้ใต้เพลงด้วย

การบรรลุความสมดุลในการเลือกเพลงสวด

นอกจากการใช้เพลงสวดที่รู้จักและรักอยู่แล้ว สมาชิกยังได้รับการสนับสนุนให้คุ้นเคยกับเพลงสวดใหม่หรือไม่ค่อยจะคุ้นเคยให้พยายามบรรลุความสมดุลระหว่างเพลงสวดที่โปรดปรานกับเพลงสวดที่ไม่ค่อยจะรู้จัก

เพลงสวดสำหรับการประชุมใหญ่ท้องถิ่น

เพลงสวดที่เป็นมาตรฐานและรู้จักกันดีเป็นเพลงที่ดีที่สุดสำหรับการประชุมใหญ่ท้องถิ่น โดยเฉพาะหากไม่มีหนังสือเพลงสวดสำหรับที่ประชุมทั้งหมด ตัวอย่างของเพลงสวดดังกล่าวคือ “สิทธิชนมา”; “มาเถิดจ้าวแห่งราชา”; “มาเถิดท่านลูกหลานพระเจ้า”; “นับพระพรท่าน”; “ทำแต่ความดี”; “พระยะโฮวาโปรดทรงนำเรา”; “สูงขึ้นไป ณ ยอดเขา”; “ฐานมั่นคงหนักหนา”; “ฉันลูกพระผู้เป็นเจ้า”; “ฉันรู้พระผู้ไถ่ทรงพระชนม์”; “ขอให้เรารุดไป”; “จงมาร่าเริงยินดี”; “พระผู้ไถ่แห่งอิสราเอล”; “แสนหวานงานเลิศ”; “พระวิญญาณพระเจ้า”; “เราขอบพระทัยสำหรับศาสดา”

ท่านอาจทำสำเนาเพลงสวดลงบนแผ่นพิมพ์โปรแกรมการประชุม เว้นแต่ข้อจำกัดลิขสิทธิ์ที่เพลงสวดห้ามไม่ให้ทำเช่นนั้น

เพลงชาติ

เพลงรักชาติบางเพลงถูกรวมไว้ในหนังสือเพลงสวดโดยการอนุมัติจากฐานะปุโรหิต อาจจะเพิ่มเพลงชาติของท้องที่เข้าด้วย สมาชิกอาจยืนขึ้นร้องเพลงชาติในการประชุมของศาสนจักร ตามประเพณีท้องที่และการอำนวยการของฐานะปุโรหิต

เพลงสวดสำหรับคณะนักร้องและกลุ่มพิเศษ

การใช้เพลงสวดสำหรับคณะนักร้อง

ในหนังสือเพลงสวดฉบับนี้ ไม่มีการแยกระหว่างเพลงของคณะนักร้องกับเพลงสวดของที่ประชุม คณะนักร้องควรใช้หนังสือเพลงสวดเป็นแหล่งเลือกพื้นฐานโดยเลือกจากทั้งเล่ม คณะนักร้องอาจร้องเพลงที่เป็นคำประพันธ์ดนตรีอันศักดิ์สิทธิ์และเพลงสวดอื่นๆ ที่เรียบเรียงขึ้นซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในหนังสือเพลงสวด

เพลงสวดบางเพลงที่ระบุไว้ว่า “คณะนักร้อง” ในหนังสือเพลงสวดฉบับก่อนได้รับการปรับระดับเสียงให้ต่ำลงเพื่อให้ที่ประชุมสามารถใช้ได้มากขึ้น คณะนักร้องอาจต้องการเก็บหนังสือเพลงสวดฉบับก่อนๆ ไว้เพื่อใช้ระดับเสียงที่สูงกว่าและความเป็นไปได้ของการปรับเสียงจากระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่ง หากหนังสือเพลงสวดฉบับก่อนมีเพียงหนึ่งเล่มให้ทำสำเนาเพลงสวดจากฉบับก่อนและใช้เพื่อจุดประสงค์นี้ได้ เว้นแต่มีข้อจำกัดทางลิขสิทธิ์ห้ามไว้

การดัดแปลงเพลงสวดสำหรับการแสดงของคณะนักร้อง

เพลงสวดจากหนังสือเพลงสวดเหมาะสมเสมอที่จะใช้เป็นเพลงของคณะนักร้องร้องโดยไม่มีการดัดแปลง ท่านอาจดัดแปลงเพลงสวดที่ใช้ร้องได้ อย่างไรก็ตามอย่าดัดแปลงบ่อยนัก ให้แน่ใจว่าการดัดแปลงยังคงสอดคล้องกับอารมณ์ของเพลงสวด ท่านอาจต้องพิจารณาการดัดแปลงเพลงสวดจากตัวอย่างดังต่อไปนี้

  1. ให้ผู้ชาย ผู้หญิงหรือทั้งผู้ชายและผู้หญิงร้องเสียงเมโลดี้หนึ่งข้อ

  2. ให้ที่ประชุมร่วมร้องเพลงข้อสุดท้ายหรือสร้อยเพลงสวดกับคณะนักร้อง (นี้เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยให้ที่ประชุมชินหูมากขึ้นกับเพลงสวดบางเพลง

  3. ให้ผู้หญิงร้องหนึ่งข้อดังที่บอกไว้ภายใต้หัวข้อ “เพลงสวดสำหรับเสียงผู้หญิง”

  4. ให้ผู้ชายร้องหนึ่งข้อดังที่บอกไว้ภายใต้หัวข้อ “เพลงสวดสำหรับเสียงผู้ชาย”

  5. ให้โซปราโนและเทนเนอร์ร้องคู่กันหนึ่งข้อ

  6. ให้เทนเนอร์และเบสร้องเสียงเมโลดี้ ในขณะที่โซปราโนและอัลโตร้องเสียงอัลโต

  7. ให้กลุ่มเสียงหนึ่งของคณะนักร้องร้องเสียงเมโลดี้ ในขณะที่กลุ่มเสียงที่เหลือของคณะนักร้องฮัมเสียงอื่น

เพลงสวดสำหรับเสียงผู้หญิง

ในภาคของผู้หญิงของหนังสือนี้ เพลงสวดสำหรับที่ประชุมผู้หญิงและเพลงสวดที่เตรียมไว้สำหรับคณะนักร้องหญิงหรือกลุ่มนักร้องสามคนพี่น้องหญิงสามารถร้องเพลงสวดส่วนใหญ่ในหนังสือนี้ได้โดยไม่ต้องดัดแปลงในสองเสียง (โซปราโนและอัลโต) หรือในสามเสียง (หากเสียงเทนเนอร์ไม่ต่ำเกินไป)

เพลงสวดสำหรับเสียงผู้ชาย

เพลงสวดในภาคของผู้ชายในหนังสือนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ผู้ชาย, สำหรับที่ประชุมผู้ชายและ คณะนักร้องชายสำหรับคณะนักร้องและกลุ่มนักร้องสี่คน สำหรับเพลงสวดสำหรับที่ประชุมในการประชุมฐานะปุโรหิตโดยทั่วไปควรเลือกจากเพลงสวดมาตรฐานสำหรับที่ประชุมหรือจากเพลงสวดที่พิมพ์กำกับคำว่า ชาย

เพลงสวดหลายเพลงเรียบเรียงไว้สำหรับคณะนักร้องชายโดยเฉพาะ เพลงสวดสำหรับที่ประชุมหลายเพลงและเพลงสวดที่พิมพ์กำกับว่า ชาย สามารถดัดแปลงเพื่อใช้กับคณะนักร้องชายและกลุ่มนักร้องสี่คนได้ดังนี้

ภาพ
Hymn showing what men sing

แบริโทน:
ร้องเสียงเมโลดี้

เทนเนอร์ที่ 1:
ร้องเสียงอัลโตสูงกว่าเสียงเมโลดี้

เทนเนอร์ที่ 2:
ร้องเสียงเทนเนอร์

เบสส์:
ร้องเสียงเบสส์

ปัญหาใหญ่ในการดัดแปลงเพลงสวดสำหรับคณะนักร้องชายคือการหาเทนเนอร์ที่สามารถร้องเสียงสูงได้เท่าอัลโต ดังนั้น อาจต้องดัดแปลงโน๊ตเสียงสูงบางตัว ท่านอาจต้องปรับเพลงสวดให้มีระดับเสียงต่ำโดยดัดแปลงเสียงเบสส์

อีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ในการดัดแปลงเพลงสวดสำหรับคณะนักร้องชายคือให้ร้องเสียงอัลโตต่ำกว่าเสียงเมโลดี้ เมื่อทำเช่นนี้จะร้องเสียงเบสส์อย่างไรก็ได้

ท่านจะสังเกตเห็นว่าในเพลงสวดที่เรียบเรียงไว้สำหรับคณะนักร้องชายนั้น จะใช้สัญลักษณ์แสดงระดับเสียงเทนเนอร์แทนสัญลักษณ์ระดับเสียงเทรเบิล โดยทั่วไปแล้วท่านควรเล่นโน้ตมือขวาของเพลงสวดเหล่านี้ด้วยอ๊อคเทฟที่ต่ำกว่าระดับเสียงเทรเบิลผลลัพธ์คือได้เสียงดนตรีประกอบเพลงที่ไพเราะและมีประสิทธิภาพสำหรับเสียงผู้ชาย

สำหรับผู้อำนวยเพลงที่เริ่มเรียนรู้

ห้องดนตรี สัญญาณจังหวะและจังหวะ

ห้องดนตรีคือหน่วยดนตรีที่เล็กที่สุดอยู่ระหว่างเส้นแนวตั้งสองเส้น

ภาพ
Example of a musical measure

ในหนังสือเพลงสวด เมื่อต้องต่อห้องดนตรีจากบรรทัดดนตรีหนึ่งไปยังบรรทัดดนตรีต่อไปจะเปิดปลายบรรทัดแรกทิ้งไว้เพื่อแสดงว่าห้องดนตรีดำเนินต่อไปถึงบรรทัดถัดไป

ภาพ
measure on two lines

สัญญาณจังหวะ (ตัวเลขสองตัว ตัวหนึ่งอยู่บนอีกตัวหนึ่ง เช่น 2/4) พบได้ในตอนต้นของเพลงสวดแต่ละเพลง ตัวเลขข้างบนบ่งบอกจำนวนจังหวะหรือการเคาะในแต่ละห้องดนตรีในตัวเลขข้างล่างบอกว่าโน้ตประเภทใดที่นับเท่ากับหนึ่งจังหวะหรือหนึ่งเคาะ ตัวอย่างเช่น สัญญาณจังหวะ 3/4 หมายความว่ามีสามจังหวะต่อหนึ่งห้องดนตรีในเพลงสวดนั้นและโน้ตตัวดำ (

) นับเท่ากับหนึ่งจังหวะ

เมื่อท่านอำนวยเพลง จังหวะแรกของรูปแบบจังหวะของท่าน (ดูภาพแสดงรูปแบบจังหวะ) ควรสอดคล้องกับจังหวะแรกในแต่ละห้องดนตรี จังหวะแรกนี้เรียกว่าจังหวะลงเป็นจังหวะที่แรงที่สุดในห้องดนตรี ท่านจะสังเกตเห็นว่าเพลงสวดหลายเพลงเริ่มต้นด้วยจังหวะขึ้นหรือจังหวะยกก่อนถึงจังหวะแรกของจังหวะลง

รูปแบบจังหวะมาตรฐาน

จุดประสงค์ของรูปแบบจังหวะคือ เพื่อให้ที่ประชุมร้องเพลงถูกจังหวะและเพื่อสื่ออารมณ์ของเพลงสวด ควรใช้แบบง่ายๆ แต่อาจเปลี่ยนไปตามลักษณะและอารมณ์ของเพลงสวด จุดกลมบนรูปแบบจังหวะแสดงถึงตำแหน่งที่เกิดจังหวะเคาะของเพลงสวด

รูปแบบสองจังหวะ (ใช้สำหรับเพลงสวดที่มีเครื่องหมาย 2/2 หรือ 2/4):

ภาพ
two-beat pattern

รูปแบบสามจังหวะ (ใช้สำหรับเพลงสวดที่มีเครื่องหมาย 3/4 หรือ 3/2):

ภาพ
three-beat pattern

รูปแบบสี่จังหวะ (ใช้สำหรับเพลงสวดที่มีเครื่องหมาย 4/4):

ภาพ
four-beat pattern

รูปแบบหกจังหวะ (ใช้สำหรับเพลงสวดที่มีเครื่องหมาย 6/8 หรือ 6/4):

ภาพ
six-beat pattern

เพลงสวดที่มีรูปแบบจังหวะ 6/8 6/4 และมีจังหวะเพลงช้า เช่นเพลง “ราตรีสงัด” (เพลงที่ 115) อาจอำนวยเพลงด้วยรูปแบบหกจังหวะดั้งเดิม หรือรูปแบบสามจังหวะสองครั้ง โดยครั้งแรกอำนวยเพลงด้วยรูปแบบใหญ่แล้วตามด้วยรูปแบบเล็ก

ภาพ
alternative six=beat pattern

เพลงสวดที่มีรูปแบบจังหวะ 6/8 หรือ 6/4 และมีจังหวะเพลงปานกลาง เช่น เพลง “ของรักจากใจพระผู้เลี้ยงแกะ” อาจอำนวยเพลงด้วยการตัดจังหวะที่สองและที่ห้าของรูปแบบหกจังหวะดั้งเดิมออกและหยุด ณ จุดที่แสดงไว้ในรูปแบบนี้

ภาพ
another alternative six-beat pattern

เพลงสวดที่มีรูปแบบจังหวะ 6/8 หรือ 6/4 และมีจังหวะเพลงเร็ว เช่นเพลง “อาจารย์พายุกำลังโหมหนัก” (เพลงที่ 46) อาจอำนวยเพลงด้วยรูปแบบสองจังหวะ โดยให้สามจังหวะแรกไปกับจังหวะมือที่หนึ่งและสามจังหวะหลังอยู่ในสัญญาณจังหวะที่สอง

ภาพ
another alternative six-beat pattern

เมื่อใช้รูปแบบสองจังหวะแบบสุดท้ายนี้ให้แน่ใจว่าได้รักษาจังหวะของเพลงสวดไว้ได้สม่ำเสมอ

เพลงสวดบางเพลงที่ง่ายต่อการอำนวยเพลง

รูปแบบสองจังหวะ : “เหล่าเอ็ลเดอร์แห่งอิสราเอล”; “สรรเสริญบุรุษ”; “นับพระพรของท่าน”; “สูงขึ้นไป ณ ยอดเขา”

รูปแบบสามจังหวะ : “จงตามเรามา”; “ทำแต่ความดี”; “สอนฉันให้เดินในแสง”

รูปแบบสี่จังหวะ : “สถิตกับข้า; “สวดอ้อนวอนหรือเปล่า?” [เดิม “ก่อนจากเหย้าเช้าวันนี้”]; “ความหวังของอิสราเอล”

สำหรับผู้เล่นเปียโนและผู้เล่นออร์แกนที่เริ่มเรียนรู้

การดัดแปลงการเล่นดนตรีประกอบ

เพลงสวดบางเพลงอาจมีโน้ตหรือส่วนของบทประพันธ์ดนตรีที่ยากต่อการเล่น ให้ดัดแปลงส่วนของบทประพันธ์ดนตรีนั้นๆ ให้เข้ากับความสามารถของท่าน โดยการตัดโน้ตที่สำคัญน้อยออกจากคอร์ด ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายของท่านเองเพื่อการนี้ในหนังสือเพลงสวดของท่าน

บ่อยครั้งที่เพลงสวดมีช่องว่างระหว่างโน้ตเทนเนอร์กับโน้ตเบสส์ที่กว้างเกินกว่าที่จะกางนิ้วมือซ้ายเล่นได้ บ่อยครั้งที่สามารถใช้มือขวาเล่นเทนเนอร์ได้อย่างง่ายดาย ท่านต้องการทำเครื่องหมายโน้ตเหล่านั้นด้วยวงเล็บเพื่อเตือนตัวท่านให้เล่นโน้ตเหล่านั้นด้วยมือขวา

ภาพ
tenor note marking

เพลงสวดและเพลงเด็กบางเพลงแต่งไว้ให้เล่นกับเปียโน หากใช้ออร์แกนเล่นเพลงเหล่านี้ บางครั้งจะดีกว่าที่จะเล่นเฉพาะคีย์บอร์ดโดยไม่ต้องเล่นคันเหยียบ

โน้ตไม้

โน้ตไม้หรือโน้ตขนาดจิ๋ว หมายความว่า โน้ตนั้นมีไว้ให้เลือกตัวอย่างการใช้โน้ต...มีดังนี้

  1. โน้ตไม้อาจบ่งบอกว่าเป็นโน้ตที่จะเล่นและร้องกับเพลงบางข้อไม่ใช่กับข้ออื่นๆ ขึ้นอยู่กับเนื้อร้องแต่ละข้อของเพลง

    ภาพ
    cue note
  2. บางครั้งดนตรีก็จบสมบูรณ์แม้จะไม่ได้เล่นโน้ตไม้

    ภาพ
    cue note left out
  3. โน้ตไม้อาจบ่งบอกดนตรีที่ผู้เล่นเปียโนและผู้เล่นออร์แกนจะเล่นแต่ไม่ต้องร้อง

    ภาพ
    cue notes played by organist

เพลงสวดที่เล่นง่ายบางเพลง

“มาเถิดพวกเรา”; “ทำแต่ความดี”; “ขอพระเจ้าอยู่ด้วยจนเจอกันอีก”; “วางภาระที่บาทพระองค์”; “ฉันเฝ้าพิศวง”; “จงมาร่าเริงยินดี”; “พระผู้ไถ่แห่งอิสราเอล”; “รักษาพระบัญญัติ”; “เราขอบพระทัยสำหรับศาสดา”; “สอนฉันให้เดินในแสง”; “สวดอ้อนวอนในที่ลับตา”