คลังค้นคว้า
คำนำสาส์นของเปาโลที่มีไปถึงชาวโรมัน


คำนำสาส์นของเปาโลที่มีไปถึงชาวโรมัน

เหตุใดจึงศึกษาหนังสือนี้

สาส์นถึงชาวโรมันเป็นสาส์นที่ยาวที่สุดของเปาโลและมีหลายคนมองว่าเป็นงานสำคัญที่สุดของเขา สาส์นฉบับนี้มีคำอธิบายที่สมบูรณ์แบบที่สุดถึงหลักคำสอนเรื่องการได้รับชำระให้ชอบธรรมโดยศรัทธาในพระเยซูคริสต์แทนที่จะเป็นโดยการประพฤติตามกฎของโมเสส มีคำสอนมากมายเกี่ยวกับหลักคำสอนแห่งความรอดและการนำเอาหลักคำสอนเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้โดยวิธีปฏิบัติในชีวิตประจำวัน โดยผ่านการศึกษาหนังสือเล่มนี้ นักเรียนจะได้รับความซาบซึ้งใจยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการชดใช้ของพระเยซูคริสต์และความหวังตลอดจนสันติสุขที่ทุกคนอาจพบในพระคริสต์

ใครเขียนหนังสือนี้

อัครสาวกเปาโลเป็นผู้เขียนสาส์นถึงชาวโรมัน (ดู โรม 1:1) ในการเขียนสาส์นฉบับนี้เปาโลใช้ผู้ช่วยจดตามคำบอก เทอร์ทิอัสผู้นี้เขียนคำทักทายวิสุทธิชนชาวโรมันด้วยตัวเขาเองเมื่อใกล้จบสาส์นฉบับนี้ (ดู โรม 16:22)

ท่านเขียนสาส์นนี้เมื่อใดและที่ไหน

เปาโลเขียนสาส์นของเขาจากโครินธ์ไปหาชาวโรมันช่วงใกล้สิ้นสุดการเดินทางเผยแผ่ศาสนาครั้งที่สาม มีคำใบ้หลายจุดที่บ่งบอกว่าเปาโลเขียนสาส์นนี้ระหว่างสามเดือนที่เขาอยู่ในเมืองโครินธ์ (ดู กิจการของอัครทูต 20:2–3; คำว่า กรีก ในข้อเหล่านี้หมายถึงเมืองโครินธ์) น่าจะเป็นช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 55 ถึง 56 (ดู คู่มือพระคัมภีร์ “สาส์นของเปาโล”)

สาส์นนี้เขียนถึงใครและเพราะเหตุใด

สาส์นถึงชาวโรมันเขียนถึงสมาชิกของศาสนจักรในกรุงโรม (ดู โรม 1:7) จุดเริ่มต้นของศาสนจักรในโรมไม่เป็นที่รู้แต่น่าจะย้อนไปไม่นานหลังวันเพ็นเทคอสต์ เมื่อชาวยิวที่มาจากกรุงโรมได้ยินเปโตรสั่งสอน (ดู กิจการของอัครทูต 2:10) แม้ว่าเปาโลยังไม่เคยไปกรุงโรม แต่เขาเขียนทักทายไปหาวิสุทธิชนบางคนที่เขารู้จักไม่ว่าจะเป็นคนเคยรู้จักมาก่อนหน้าหรือผ่านคนที่อาศัยอยู่ในกรุงโรม เช่น อาควิลลาและปริสสิลลา (ดู กิจการของอัครทูต 18:1–2, 18; โรม 16:1–16, 21)

ดูเหมือนว่าจะมีเหตุผลหลักอย่างน้อยสามประการที่เปาโลส่งสาส์นไปหาชาวโรมัน

(1) เพื่อเตรียมการสำหรับการมาเยือนกรุงโรมของเขาในอนาคต เปาโลต้องการสั่งสอนพระกิตติคุณในกรุงโรมมาหลายปีแล้ว (ดู กิจการของอัครทูต 19:21; โรม 1:15; 15:23) เขาหวังด้วยว่าศาสนจักรในกรุงโรมจะเป็นฐานซึ่งเขาสามารถรับใช้งานเผยแผ่ในสเปน (ดู โรม 15:22–24, 28)

(2) เพื่อชี้แจงและปกป้องคำสอนของเขา เปาโลพบกับการต่อต้านซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากคนที่เข้าใจผิดหรือบิดเบือนคำสอนของเขาเกี่ยวกับกฎของโมเสสและศรัทธาในพระคริสต์ (ดู กิจการของอัครทูต 13:45; 15:1–2; 21:27–28; โรม 3:8; 2 เปโตร 3:15–16) เห็นได้ชัดว่าเปาโลมีเหตุผลให้สงสัยว่าความเข้าใจผิดนั้นไปถึงสมาชิกศาสนจักรในกรุงโรม ดังนั้น เขาจึงเขียนไปลดข้อกังวลทุกเรื่องก่อนเขาไปถึง

(3) เพื่อส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างสมาชิกของศาสนจักรชาวยิวกับคนต่างชาติ ไม่นานหลังจากเปาโลเขียนสาส์นนี้ ชาวคริสต์ที่เป็นยิวซึ่งถูกกษัตริย์คลาวดิอัสขับออกจากกรุงโรม (ดู กิจการของอัครทูต 18:2) เริ่มกลับเข้ามาในกรุงโรมและเป็นส่วนใหญ่ที่การประชุมชาวคริสต์ของคนต่างชาติ สถานการณ์นี้อาจก่อให้เกิดความตึงเครียดและปัญหาบางอย่างระหว่างชาวคริสต์ที่เป็นยิวกับชาวคริสต์คนต่างชาติ ในฐานะ “อัครทูตมายังพวกต่างชาติ” (โรม 11:13) เปาโลพยายามรวบรวมผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสชาวต่างชาติเข้ามาสู่ศาสนจักรเพราะว่าเป็นคนยิว (ดู โรม 11:1) เปาโลรู้สึกปรารถนาอย่างยิ่งเช่นกันที่จะให้ผู้คนของเขาเองรับพระกิตติคุณ เปาโลส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของศาสนจักรโดยสอนว่าหลักคำสอนของพระกิตติคุณประยุกต์ใช้กับวิสุทธิชนทุกคนอย่างไร (ดู โรม 3:21–4:25; 11:13–36; 14:1–15:13)

ลักษณะเด่นของหนังสือนี้มีอะไรบ้าง

หลังจากการทักทาย สาส์นเริ่มด้วยการกล่าวถึงหัวข้อของสาส์นฉบับนี้ “ข่าวประเสริฐนั้น … เป็นฤทธานุภาพของพระเจ้า เพื่อให้ทุกคนที่เชื่อได้รับความรอด” ถึงทุกคนที่ “ดำรงอยู่โดยความเชื่อ” ในพระเยซูคริสต์ (โรม 1:16–17)

แม้ว่าสาส์นของชาวโรมันมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ชาวคริสต์ แต่ก็น่าเสียดายเช่นกันเพราะ “เป็นที่มาของความเข้าใจผิดทางหลักคำสอน การตีความไม่ถูกต้อง หรือการสร้างปัญหามากกว่าหนังสือพระคัมภีร์เล่มอื่น” ตามที่กล่าวไว้โดยเอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกีแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง (Doctrinal New Testament Commentary, 3 vols. [1965–73], 2:211) แม้ในบรรดาชาวคริสต์สมัยแรกๆ งานเขียนของเปาโลก็ยังถือว่า “เข้าใจยาก” และบางครั้งคำสอนของเขาถูกบิดเบือนและตีความไม่ถูกต้อง (2 เปโตร 3:15–16)

สรุปย่อ

โรม 1–3 เปาโลอธิบายหลักธรรมเรื่องการชำระให้ชอบธรรมโดยศรัทธาในพระเยซูคริสต์ เปาโลนิยามสภาพแห่งบาปที่มนุษยชาติทั้งปวงเผชิญและสอนว่าการแก้ปัญหาของพระผู้เป็นเจ้าต่อปัญหานี้สำหรับทุกคนคือการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ โดยยอมรับการชดใช้ของพระคริสต์อย่างซื่อสัตย์ มนุษยชาติทั้งปวงอาจถูกชำระให้ชอบธรรม (ให้อภัย) และรับความรอด

โรม 4–8 เปาโลพูดถึงตัวอย่างของอับราฮัมเพื่อแสดงหลักคำสอนเรื่องการถูกชำระให้ชอบธรรมด้วยศรัทธา เขาขยายความหลักคำสอนเรื่องความรอดและสอนว่าหลักคำสอนเหล่านั้นส่งผลต่อชีวิตคนทั้งปวงที่มีศรัทธาในพระคริสต์อย่างไร

โรม 9–16 เปาโลเขียนเกี่ยวกับสถานะที่เลือกสรรของชาวอิสราเอล การปฏิเสธพระกิตติคุณในปัจจุบัน และความรอดในที่สุด เปาโลแนะนำให้สมาชิกศาสนจักรซึ่งเป็นชาวยิวและคนต่างชาติดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณเพื่อจะมีสันติสุขและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในศาสนจักร เขาวิงวอนให้วิสุทธิชนในกรุงโรมรักษาพระบัญญัติต่อไป