คลังค้นคว้า
บทที่ 144: 1 เปโตร 1–2


บทที่ 144

1 เปโตร 1–2

คำนำ

เปโตรเขียนเพื่อเสริมสร้างศรัทธาของวิสุทธิชนขณะที่พวกเขากำลังทนทุกข์กับการข่มเหงอย่างรุนแรงจากจักรวรรดิโรมัน เขาเน้นย้ำว่าพวกเขาได้รับการไถ่ผ่านพระโลหิตอันล้ำค่าของพระเยซูคริสต์และเตือนพวกเขาถึงมรดกจากสวรรค์ในฐานะผู้คนอันเป็นกรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า เปโตรแนะนำให้วิสุทธิชนสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าท่ามกลางมนุษย์และทนทุกข์อย่างที่พระเยซูทรงทำ

หมายเหตุ: ดูข้อมูลแทรกข้าง “การเตรียมล่วงหน้า” เพื่อเตรียมบทเรียน 149

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

1 เปโตร 1

เปโตรสอนวิสุทธิชนเกี่ยวกับมรดกที่เป็นไปได้ของพวกเขาและความจำเป็นของการทดลอง

ภาพ
เบ้าหลอม เทโลหะหลอมละลาย

แสดงภาพหรือวาดภาพ เบ้าหลอม และอธิบายว่าเบ้าหลอมเป็นภาชนะซึ่งโลหะหรือสารชนิดอื่นได้รับการกลั่น หมายความว่าสารเหล่านั้นถูกทำให้ร้อนจนละลายเพื่อจะนำเอาสิ่งเจือปนออกและทำให้ผลผลิตขั้นสุดท้ายนั้นเข้มขึ้น

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ดแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง

ภาพ
เอ็ลเดอร์เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด

“ขณะที่ข้าพเข้าเดินทางไปทั่วศาสนจักร ข้าพเจ้าเห็นสมาชิกได้รับการทดลองในเบ้าหลอมแห่งความทุกข์” (Hyrum Smith: ‘Firm As the Pillars of Heaven,’” Nov. 1995, 9)

  • ท่านคิดว่าเอ็ลเดอร์บัลลาร์ดหมายความว่าอย่างไรเมื่อพูดว่า “เบ้าหลอมแห่งความทุกข์” (การทดลองที่ท้าทายหรือความยากลำบากของชีวิต)

อธิบายว่าเปโตรเขียนสาส์นฉบับแรกของเขาเพื่อเสริมสร้างและให้กำลังใจวิสุทธิชนเมื่อพวกเขาประสบกับเบ้าหลอมแห่งความทุกข์ อธิบายว่ารัฐบาลโรมันแสดงความอดทนต่อชาวคริสต์จนกระทั่งประมาณ ค.ศ. 64 ประมาณช่วงที่เปโตรเขียนสาส์นฉบับนี้ ในเดือนกรกฎาคมของปีนั้นกรุงโรมส่วนใหญ่ถูกเพลิงไหม้เสียหาย ชาวโรมันที่มีชื่อเสียงบางคนกล่าวหาชาวคริสต์ว่าเป็นคนก่อไฟ สิ่งนี้นำไปสู่การข่มเหงชาวคริสต์อย่างรุนแรงทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน การข่มเหงบางอย่างที่ชาวคริสต์ประสบมาจากอดีตมิตรสหายและเพื่อนบ้านของพวกเขา

เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาความจริงขณะพวกเขาศึกษา 1 เปโตร 1–2 ที่จะช่วยเราคงความซื่อสัตย์เมื่อเราถูกทดลองในเบ้าหลอมแห่งความทุกข์ของเรา

สรุป 1 เปโตร 1:1–2 โดยอธิบายว่าเปโตรทักทายวิสุทธิชนในหลายจังหวัดของโรมันในเอเชียไมเนอร์ (ตุรกีในปัจจุบัน) และเตือนพวกเขาว่าพวกเขาเป็นผู้คนที่ทรงเลือกสรร ซึ่งหมายความว่าพวกเขาได้รับเลือกให้รับพรพิเศษเมื่อดำเนินชีวิตอย่างซื่อสัตย์

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 เปโตร 1:3-5 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเปโตรเตือนวิสุทธิชนว่าพระคริสต์ทรงทำอะไรและเกี่ยวกับพรในอนาคตที่สัญญาไว้กับวิสุทธิชน

  • อะไรคือพรในอนาคตที่วิสุทธิชนจะได้รับหากพวกเขายังคงซื่อสัตย์ต่อพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 เปโตร 1:6 และขอให้ชั้นเรียนมองหาว่าวิสุทธิชนตอบสนองต่อคำสัญญาถึงพรในอนาคตเหล่านี้อย่างไร อธิบายว่าคำว่า การทดลองต่างๆ ใน ข้อ 6 หมายถึงการทดสอบและความทุกข์

  • วิสุทธิชนตอบสนองต่อคำสัญญาถึงพรในอนาคตเหล่านี้อย่างไร (พวกเขาชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง)

  • เราสามารถเรียนรู้หลักธรรมอะไรจาก ข้อ 3–6 (นักเรียนควรระบุหลักธรรมทำนองนี้ แม้ว่าเราจะประสบกับการทดลอง แต่เราสามารถชื่นชมยินดีในการชดใช้ของพระเยซูคริสต์และพรในอนาคตที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสัญญาว่าจะประทานแก่เรา)

  • การจดจำพรในอนาคตที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสัญญาว่าจะประทานแก่เราช่วยให้เราชื่นชมยินดีอย่างไรแม้เมื่อเรากำลังประสบกับการทดลอง

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 เปโตร 1:7-9 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปโตรสอนเกี่ยวกับการทดลองศรัทธาของวิสุทธิชน

  • ตามที่กล่าวไว้ใน 1 เปโตร 1:7 เปโตรเปรียบเทียบการทดลองหรือการทดสอบศรัทธาของวิสุทธิชนกับอะไร

  • ศรัทธาที่ได้รับการทดลองอาจเป็นเหมือนทองคำในทางใดบ้าง (ศรัทธาที่ได้รับการทดลอง เป็นเหมือนทองคำ คือมีค่า อย่างไรก็ตาม ศรัทธามีค่ามากกว่าทองคำเนื่องจากทองคำ “เสื่อมสลาย” ได้ [ข้อ 7] ขณะที่ศรัทธาในพระเยซูคริสต์นำไปสู่ความรอด [ดู ข้อ 9] ซึ่งเป็นนิรันดร์ นอกจากนั้น ทองคำยังถูกไฟหลอม เช่นเดียวกัน ศรัทธาของเราในพระเยซูคริสต์ได้รับการทดสอบและหล่อหลอมเมื่อเราอดทนต่อการทดลองอย่างซื่อสัตย์ เขียนความจริงดังกล่าวไว้บนกระดาน)

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง ซึ่งอธิบายว่าเราจะยังคงแน่วแน่และไม่หวั่นไหวระหว่างการทดลองศรัทธาได้อย่างไร

ภาพ
เอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น

“ท่านจะยังคง ‘แน่วแน่และไม่หวั่นไหว’ [แอลมา 1:25] ระหว่างการทดลองศรัทธาได้อย่างไร ท่านต้องจดจ่อในทุกสิ่งที่ช่วยสร้างแก่นแท้ของศรัทธาท่าน นั่นคือท่านต้องใช้ศรัทธาของท่านในพระคริสต์ ท่านต้องสวดอ้อนวอน ท่านต้องไตร่ตรองพระคัมภีร์ ท่านต้องกลับใจ ท่านต้องรักษาพระบัญญัติ และท่านต้องรับใช้ผู้อื่น

“เมื่อเผชิญกับการทดลองศรัทธา—ไม่ว่าท่านทำอะไร ท่านจะไม่ห่างจากศาสนจักร! การแยกตนเองออกจากอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าในระหว่างการทดลองศรัทธาเป็นเหมือนการออกจากหลุมหลบภัยที่คุ้มกันเราเมื่อทอร์นาโดเข้ามาใกล้” (“การทดลองศรัทธาของท่าน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2012, 40)

  • เอ็ลเดอร์แอนเดอร์เซ็นกระตุ้นให้เราทำอะไรในการทดลองศรัทธาของเรา

  • ท่านคิดว่าเหตุใดจึงสำคัญที่จะทำสิ่งเหล่านี้เมื่อศรัทธาของเราได้รับการทดสอบ

ชี้ให้เห็นว่าวิสุทธิชนบางคนที่เปาโลเขียนถึงอาจถูกล่อลวงให้ละทิ้งศรัทธาของพวกเขาเมื่อพวกเขาประสบกับการข่มเหงทางศาสนา เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน 1 เปโตร 1:13–17 ในใจ โดยมองหาคำแนะนำที่เปโตรให้แก่วิสุทธิชนเพื่อช่วยให้อดทนต่อการทดลองอย่างซื่อสัตย์ ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนทำเครื่องหมายสิ่งที่พบ

  • เปโตรแนะนำวิสุทธิชนให้ทำอะไร

  • คำแนะนำของเปโตรอาจช่วยให้พวกเขาอดทนต่อการทดลองของพวกเขาอย่างซื่อสัตย์ได้อย่างไร

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 เปโตร 1:18-21 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาความจริงเพิ่มเติมที่เปโตรสอนวิสุทธิชนเพื่อช่วยให้พวกเขาอดทนต่อการทดลองของพวกเขาอย่างซื่อสัตย์แทนที่จะทิ้งศรัทธาของพวกเขา

  • เปโตรสอนความจริงอะไรในข้อเหล่านี้ (นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่ให้แน่ใจว่าพวกเขาระบุความจริงอย่างน้อยหนึ่งข้อดังต่อไปนี้ เราได้รับการไถ่ด้วยพระโลหิตล้ำค่าของพระเยซูคริสต์ พระเยซูคริสต์ทรงดำเนินชีวิตที่ปราศจากบาป พระองค์จึงสามารถถวายพระองค์เองเป็นเครื่องพลีบูชาอันดีพร้อมเพื่อพวกเรา พระเยซูคริสต์ทรงได้รับแต่งตั้งล่วงหน้าให้เป็นพระผู้ไถ่ของเรา)

  • การจดจำความจริงเหล่านี้จะช่วยให้วิสุทธิชนอดทนต่อการทดลองของพวกเขาอย่างซื่อสัตย์ได้อย่างไร

เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้สึกถึงความสำคัญของความจริงที่พวกเขาระบุใน 1 เปโตร 1 เชื้อเชิญให้พวกเขา นึกถึง เวลาที่พวกเขาหรือคนที่พวกเขารู้จักเลือกที่จะอดทนต่อการทดลองด้วยศรัทธาในพระเยซูคริสต์ ขอให้นักเรียนสองสามคนแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขากับชั้นเรียน

กระตุ้นให้นักเรียนไตร่ตรองว่าพวกเขาจะทำอะไรเพื่อยังคงซื่อสัตย์เมื่อพวกเขาถูกทดสอบในเบ้าหลอมของความทุกข์

สรุป 1 เปโตร 1:22–25 โดยอธิบายว่าเปโตรกระตุ้นให้วิสุทธิชนรักกันและให้ระลึกว่าพวกเขาเกิดใหม่โดยการน้อมรับพระคำของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งยั่งยืนตลอดกาล

1 เปโตร 2:1–12

เปโตรเน้นย้ำถึงความรับผิดชอบของวิสุทธิชน

  • สมาชิกศาสนจักรแตกต่างจากโลกในทางใดบ้าง

  • เราอาจเผชิญความท้าทายอะไรบ้างเพราะว่าเราแตกต่าง

เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาหลักธรรมขณะศึกษา 1 เปโตร 2 ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความปรารถนาของพวกเขาที่จะแตกต่างจากโลกในฐานะสมาชิกศาสนจักรของพระเจ้า

สรุป 1 เปโตร 2:1–8 โดยอธิบายว่าเปโตรสอนว่าวิสุทธิชนเป็นเหมือนศิลาที่มีชีวิตและพระเยซูคริสต์ทรงเป็นศิลามุมเอกหรือรากฐานให้แก่คนซื่อสัตย์ แต่สำหรับคนที่ไม่เชื่อฟัง พระองค์ทรง “เป็นศิลาที่ทำให้คนสะดุด และเป็นหินที่ทำให้คนหกล้ม” (ข้อ 8) หมายถึงพระองค์จะทรงขุ่นเคืองพวกเขา

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 เปโตร 2:9-10 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเปโตรบรรยายวิสุทธิชนที่ซื่อสัตย์ว่าอย่างไร

  • เปโตรบรรยายวิสุทธิชนที่ซื่อสัตย์ว่าอย่างไร

ชี้ให้เห็นว่าคำว่า อันเป็นกรรมสิทธิ์ ใน ข้อ 9 แปลมาจากคำในภาษากรีกที่แปลว่าซื้อมาหรือรักษาไว้และสอดคล้องกับคำในภาษาฮีบรูใน อพยพ 19:5 ที่ระบุว่าผู้คนแห่งพันธสัญญาของพระผู้เป็นเจ้าเป็นกรรมสิทธิ์หรือทรัพย์ที่มีค่าต่อพระองค์

  • คำที่เปโตรใช้เพื่อบรรยายถึงวิสุทธิชนใน ข้อ 9–10 อาจช่วยให้พวกเขากล้าหาญเมื่อพวกเขาประสบกับการข่มเหงทางศาสนาอย่างไร

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 เปโตร 2:11-12 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าสิ่งที่เปโตรร้องขอให้วิสุทธิชนทำในฐานะผู้คนอันเป็นกรรมสิทธิ์ของพระเจ้า อธิบายว่าอาจเรียกวิสุทธิชนว่า “คนแปลกถิ่น” และ “คนต่างด้าว” ด้วยเพราะพวกเขาอาศัยอยู่ท่ามกลางผู้คนที่แตกต่างจากวิสุทธิชนทางวัฒนธรรมและศาสนา หรือเพราะพวกเขาอยู่ไกลจากบ้านบนสวรรค์ของพวกเขา โดยมีชีวิตเป็นมนุษย์อยู่เพียงชั่วคราว

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 11 เปโตรพูดว่าวิสุทธิชนต้องทำอะไรเพื่อแยกออกจากโลก

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 12 เปโตรพูดว่าวิสุทธิชนจะมีอิทธิพลอะไรต่อผู้อื่นในฐานะผู้ที่ทรงเลือกสรรและผู้คนอันเป็นกรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า

  • เราเรียนรู้ความจริงอะไรจากเปโตรเกี่ยวกับสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกให้วิสุทธิชนของพระองค์ทำ (นักเรียนควรระบุความจริงทำนองนี้ พระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกวิสุทธิชนของพระองค์ให้แยกตนและแตกต่างจากโลกเพื่อว่าคนอื่นจะเห็นแบบอย่างของพวกเขาและสรรเสริญพระองค์)

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้ของซิสเตอร์อีเลน เอส. ดัลตัน ซึ่งเคยรับใช้เป็นประธานองค์การเยาวชนหญิง

ภาพ
อีเลน เอส. ดัลตัน

“ถ้าท่านปรารถนาจะสร้างความแตกต่างในโลก ท่านต้องแตกต่างจากโลก” (“บัดนี้ถึงเวลาลุกขึ้นและฉายส่อง!” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 124)

  • การเลือกของท่านที่จะแตกต่างและแยกจากโลกส่งผลต่อผู้อื่นในด้านดีหรือช่วยนำพวกเขามาหาพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร

กระตุ้นให้นักเรียนพิจารณาสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้ดีขึ้นเพื่อแยกและแตกต่างจากโลกทั้งนี้เพื่อพวกเขาจะสามารถเป็นแบบอย่างได้ เชื้อเชิญให้พวกเขาทำตามการกระตุ้นเตือนที่พวกเขาได้รับ

1 เปโตร 2:13–25

เปโตรแนะนำให้วิสุทธิชนทนทุกข์ดังที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทน

สรุป 1 เปโตร 2:13–18 โดยอธิบายว่าเปโตรสอนวิสุทธิชนให้อยู่ภายใต้กฎหมายและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่ปกครองพวกเขา (รวมถึงจักรพรรดิโรมันผู้ที่ส่งเสริมให้มีการข่มเหงพวกเขา ดู คพ. 58:21–22) เขาให้กำลังใจผู้ที่อดทนต่อความยากลำบากในฐานะผู้รับใช้ที่แบกรับความทุกข์ของตนด้วยความอดทนและให้จดจำว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงรับรู้สิ่งที่พวกเขาเผชิญ

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 เปโตร 2:19–20 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาคำแนะนำที่เปโตรให้วิสุทธิชนเกี่ยวกับวิธีที่พวกเขาควรอดทนต่อความทุกข์

  • อะไรคือคำแนะนำที่เปโตรให้วิสุทธิชนเกี่ยวกับวิธีที่พวกเขาควรอดทนต่อความทุกข์

ขอให้นักเรียนอ่าน 1 เปโตร 2:21-25 ในใจ โดยมองหาคำบรรยายของเปโตรถึงวิธีที่พระเยซูคริสต์ทรงตอบสนองต่อการข่มเหง

  • พระเยซูคริสต์ทรงตอบสนองต่อการข่มเหงอย่างไร

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 21 อะไรคือหนึ่งเหตุผลที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทนทุกข์เพื่อเรา

  • เราสามารถระบุความจริงอะไรจาก ข้อ 21–25 เกี่ยวกับการอดทนต่อการทดลอง (นักเรียนควรระบุความจริงทำนองนี้ เราสามารถทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดในการยืนหยัดอดทนต่อการทดลอง)

แบ่งปันประจักษ์พยานเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด และเชื้อเชิญให้นักเรียนพิจารณาว่าพวกเขาจะทำอะไรเพื่อทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดในการยืนหยัดอดทนต่อการทดลองได้ดีขึ้น

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

1 เปโตร 1:6–8 “การทดสอบความเชื่อของพวกท่าน … จะนำไปสู่การสรรเสริญ ศักดิ์ศรี และเกียรติ”

เอ็ลเดอร์ออร์สัน เอฟ. วิทนีย์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่าผลจากการทดลองที่เราทนทุกข์ในชีวิตนี้คืออะไร

“ไม่มีความเจ็บปวดใดที่เราทนทุกข์ การทดลองใดที่เราประสบจะสูญเปล่า ทั้งหมดล้วนเอื้อต่อการได้ความรู้ ต่อการพัฒนาคุณสมบัติต่างๆ เช่น ความอดทน ศรัทธา ความทรหด และความอ่อนน้อมถ่อมตน ทั้งหมดที่เราทนทุกข์และทั้งหมดที่เราอดทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรายืนหยัดอดทน ล้วนเสริมสร้างอุปนิสัย ทำให้ใจเราบริสุทธิ์ ขยายจิตวิญญาณ ทำให้เราอ่อนโยนและมีจิตกุศลมากขึ้น มีค่าควรแก่การเรียกว่าเป็นบุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น … โดยผ่านโทมนัสและความทุกขเวทนา ความตรากตรำลำบาก เราจะได้ความรู้ซึ่งเรามาที่นี่เพื่อจะรับความรู้นั้นและจะทำให้เราเป็นเหมือนพระบิดาและพระมารดาในสวรรค์ของเรามากขึ้น” (ใน สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์, Faith Precedes the Miracle [1972], 98)

1 เปโตร 2:18–25 พระเยซูคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างว่าเราควรอดทนต่อความทุกข์อย่างไร

เอ็ลเดอร์อเล็กซานเดอร์ บี. มอร์ริสันแห่งสาวกเจ็ดสิบสอนว่า

“เปโตร อัครสาวกที่ยิ่งใหญ่ ผู้ที่ทนทุกข์จากความตายเพราะเป็นมรณสักขี (ดู ยอห์น 21:18–19) ตระหนักในคุณความดีแห่งสวรรค์อันสืบเนื่องจากการทนทุกข์เพื่อเห็นแก่พระคริสต์แต่เราจะมีรัศมีภาพเพียงเล็กน้อยหากเราทนทุกข์ [อันเป็นผลมาจาก] บาปของเราเอง ท่านเขียนว่า ‘เพราะว่าสิ่งนี้เป็นที่พอพระทัย ก็ต่อเมื่อคนหนึ่งคนใดด้วยเห็นแก่พระเจ้ายอมแบกรับความเจ็บปวดต่างๆ โดยทนทุกข์อย่างไร้ความเป็นธรรม เพราะจะเป็นความดีความชอบอย่างไร ถ้าพวกท่านสู้ทนเมื่อถูกเฆี่ยนเพราะการทำชั่วนั้น? แต่ถ้าพวกท่านทำดีและต้องทนทุกข์ลำบาก สิ่งนี้ก็จะเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า’ (1 เปโตร 2:19–20) ขณะที่เราอดทนต่อความทุกข์ที่เราไม่สมควรได้รับ เราพัฒนาคุณลักษณะเหมือนพระคริสต์ที่จะทำให้จิตวิญญาณของเราดีพร้อมและนำเราเข้าใกล้พระองค์” (Feed My Sheep: Leadership Ideas for Latter-day Shepherds [1992], 166)