คลังค้นคว้า
บทที่ 126: โคโลสี


บทที่ 126

โคโลสี

คำนำ

เปาโลสอนว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นเอกในทุกสิ่ง (ความเหนือกว่า ความยิ่งใหญ่ หรือความเป็นเลิศ) และเตือนเกี่ยวกับหลักคำสอนปลอม เขากระตุ้นให้วิสุทธิชนชาวโคโลสีรักสิ่งที่อยู่เบื้องบนและพัฒนาลักษณะนิสัยของพระคริสต์ เปาโลแนะนำให้พวกเขามีมารยาทและใช้ปัญญาเมื่อปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

โคโลสี 1–2

เปาโลสอนว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นเอกในทุกสิ่งและเตือนเกี่ยวกับหลักคำสอนปลอม

วาด รูป ต่อไปนี้บน กระดาน

ภาพ
ภาพลายเส้น ต้นไม้และลมหมุน
  • หากพายุลมแรงมา ต้นไม้ต้นไหนที่น่าจะล้ม เพราะเหตุใด

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง ขอให้ชั้นเรียนฟังว่าเราต้องระวังลมหมุนเช่นไร

ภาพ
เอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น

“สิ่งที่น่าห่วงมากกว่าแผ่นดินไหวและสงคราม ดังที่พยากรณ์ไว้คือลมหมุนทางวิญญาณซึ่งสามารถถอนท่านออกจากรากฐานทางวิญญาณและพัดพาวิญญาณท่านไปในที่ซึ่งท่านไม่นึกฝันว่าจะเป็นไปได้ บางครั้งท่านแทบไม่ทันสังเกตว่าท่านย้ายที่แล้ว” (“ลมหมุนทางวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2014, 18)

  • มีตัวอย่างใดของลมหมุนทางวิญญาณที่สามารถถอนรากหรือแยกเราออกจากศรัทธาของเราในพระเยซูคริสต์ (ท่านอาจต้องการเชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนคำตอบบนกระดานใกล้กับภาพลมหมุน)

  • เหตุใดลมหมุนทางวิญญาณจึงเป็นสิ่งน่ากังวลมากกว่าความท้าทายทางกายภาพ เช่นแผ่นดินไหวหรือสงคราม

เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองว่าลมหมุนทางวิญญาณใดที่อาจส่งผลกระทบต่อพวกเขา

อธิบายว่าเปาโลเขียนจดหมายถึงสมาชิกศาสนจักรในเมืองโคโลสี (ที่เรียกว่าชาวโคโลสี) หลังจากได้รู้เกี่ยวกับอิทธิพลของคำสอนปลอมที่อาจถอนพวกเขาออกจากศรัทธาของพวกเขาในพระเยซูคริสต์ (ท่านอาจต้องการเชื้อเชิญให้นักเรียนระบุที่ตั้งของเลาดีเซียในแผนที่พระคัมภีร์ไบเบิล แผนที่ 13 “เส้นทางในการเผยแผ่ศาสนาของอัครสาวกเปาโล”) ขณะที่นักเรียนศึกษาโคโลสี เชื้อเชิญให้พวกเขามองหาว่าเปาโลพยายามเสริมสร้างศรัทธาในพระคริสต์ของสมาชิกศาสนจักรอย่างไรและมองหาพรของการมีศรัทธาหยั่งรากลึกในพระคริสต์

สรุป โคโลสี 1:1–11 โดยอธิบายว่าหลังจากทักทายวิสุทธิชนในเมืองโคโลสี เปาโลยอมรับความเชื่อสัตย์ของพวกเขาและอธิบายว่าพระกิตติคุณนำผลหรือพรออกมา ในชีวิตของคนที่ยอมรับและดำเนินชีวิตตาม จากนั้นเปาโลสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์

เชื้อเชิญนักเรียนหลายๆ คนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก โคโลสี 1:12–19 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาความจริงที่เปาโลสอนเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ (ท่านอาจต้องการอธิบายว่า “ไม่ทรงปรากฏแก่ตา” ใน ข้อ 15 แปลมาจากคำในภาษากรีกว่า aoratos ซึ่งแปลได้ว่า “มองไม่เห็น” ได้ด้วย ให้สังเกตุว่า ฮีบรู 11:27 ระบุว่าโมเสสมองเห็น “พระองค์ผู้ทรงไม่ปรากฎแก่ตา” โดยปกติหมายถึงมองไม่เห็น [ดู คพ. 67:11])

  • เปาโลสอนอะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ (โดยใช้คำพูดของนักเรียน ให้เขียนความจริงต่อไปนี้บนกระดานใต้ต้นไม้และรากลึก พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระผู้ไถ่ ทรงเป็นบุตรหัวปีทางวิญญาณของพระบิดาบนสวรรค์ พระผู้สร้างทุกสิ่ง ประมุขของศาสนจักร และบุคคลแรกที่ฟื้นคืนชีวิต)

  • ท่านคิดว่าเหตุใดจึงสำคัญที่เราต้องรู้และเชื่อความจริงเหล่านี้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ การรู้และเชื่อความจริงเหล่านี้เสริมสร้างศรัทธาของเราในพระองค์อย่างไร

พูดถึงคำว่า พระผู้ไถ่ ในข้อความบนกระดาน และอธิบายว่าเปาโลเตือนวิสุทธิชนชาวโคโลสีถึงสาเหตุที่พวกเขาต้องมีพระผู้ไถ่

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง โคโลสี 1:20–22 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเปาโลสอนอะไรวิสุทธิชนชาวโคโลสีเกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องมีพระผู้ไถ่ของเขา

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 21บุคคลจะถูกตัดขาดและแยกออกจากพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร

  • อะไรคือความหมายของคำว่า คืนดี ใน ข้อ 20 (การนำมาสู่ความเห็นพ้องหรือการประสานกัน)

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 20 และ 22 พระเยซูคริสต์ทรงทำให้เราคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร (อธิบายว่าวลี “ทรงทำให้เกิดสันติภาพโดยพระโลหิตแห่งกางเขนของพระองค์” หมายถึงการชดใช้ของพระเยซูคริสต์)

อธิบายว่าพรของการคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้ามีเงื่อนไข เขียนวลีต่อไปนี้บนกระดาน เราสามารถคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้าผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ ถ้า …

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง โคโลสี 1:23 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าต้องทำอะไรเพื่อคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้า

  • ต้องทำอะไรในส่วนของเราเพื่อคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้า

  • การ “ดำรงอยู่ในความเชื่ออย่างแน่วแน่ มั่นคงและไม่โยกย้าย” หมายความว่าอย่างไร (การยังคงยืนหยัดศรัทธาของเราในพระเยซูคริสต์)

  • จากสิ่งที่เราเรียนรู้จาก ข้อ 23 ท่านจะเติมข้อความบนกระดานให้ครบถ้วนว่าอย่างไร (โดยใช้คำพูดของนักเรียน ให้เติมหลักธรรมบนกระดานดังนี้ เราสามารถคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้าผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ ถ้าเราดำรงอยู่ในความเชื่ออย่างแน่วแน่ มั่นคงและไม่โยกย้าย)

ดึงความสนใจของนักเรียนมายังภาพบนกระดาน และถามว่า

  • ท่านรู้จักใครที่คล้ายกับต้นไม้ที่หยั่งรากลึก—มั่นคงและไม่โยกย้ายศรัทธาที่เขามีต่อพระคริสต์

  • แบบอย่างดังกล่าวเป็นพรแก่ท่านอย่างไร

เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน โคโลสี 2:4, 8 ในใจ โดยมองหาลมหมุนทางวิญญาณที่อาจถอนรากของวิสุทธิชนชาวโคโลสี

  • ลมหมุนทางวิญญาณอะไรที่อาจถอนรากของวิสุทธิชนชาวโคโลสี (อธิบายว่ามีปรัชญาและประเพณีหลายอย่างสอนโดยคนที่พยายามลดความสำคัญของพระเยซูคริสต์)

  • เหตุใดการเชื่อคำสอนที่ผิด รวมถึงคำสอนที่ลดความสำคัญของพระเยซูคริสต์ ทำให้บางคนถูกถอนรากทางวิญญาณได้โดยง่าย

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง โคโลสี 2:5–7 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาคำแนะนำที่เปาโลให้เพื่อช่วยวิสุทธิชนหลีกเลี่ยงการถูกชักนำให้หลงผิดโดยปรัชญาและประเพณีทางโลก

  • โคโลสี 2:5–7 สอนอะไรที่ช่วยเราหลีกเลี่ยงการถูกชักนำให้หลงผิดโดยปรัชญา คำสอนทางศาสนา หรือประเพณีผิดๆ ทางโลก (นักเรียนอาจใช้คำพูดของพวกเขาเองเพื่อระบุหลักธรรมทำนองนี้ โดยการหยั่งรากและก่อร่างสร้างขึ้นในพระคริสต์ เราจะหลีกเลี่ยงการถูกชักนำให้หลงผิดโดยปรัชญาและประเพณีทางโลก)

เขียนคำถามต่อไปนี้บน กระดาน

ท่านเชื่อว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราจะทำได้เพื่อหยั่งรากและก่อร่างสร้างขึ้นในพระคริสต์ เหตุใดท่านจึงเชื่อว่าสิ่งนี้สำคัญมาก

แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ ละสามหรือสี่คน เชื้อเชิญให้นักเรียนแต่ละคนอธิบายคำตอบของเขาต่อคำถามบนกระดานกับสมาชิกกลุ่ม หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว ขอให้นักเรียนสองสามคนรายงานสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากสมาชิกกลุ่ม

เชื้อเชิญให้นักเรียนทบทวนลมหมุนทางวิญญาณส่วนตัวที่พวกเขาไตร่ตรองเมื่อเริ่มบทเรียน เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ว่าพวกเขาจะทำอะไรเพื่อยังคงหยั่งรากและก่อร่างสร้างขึ้นในพระคริสต์

โคโลสี 3–4

เปาโลกระตุ้นชาวโคโลสีให้รักสิ่งที่อยู่เบื้องบนและให้ใช้ปัญญา

สรุป โคโลสี 3–4 โดยอธิบายว่าเปาโลแนะนำวิสุทธิชนชาวโคโลสีให้เลิกจากสิ่งที่ไม่ชอบธรรมและพัฒนาลักษณะนิสัยของพระเยซูคริสต์ เปาโลกระตุ้นให้พวกเขาสวดอ้อนวอนและใช้ปัญญาด้วย โดยเฉพาะในการปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช่ชาวคริสต์ จากนั้นเขาส่งคำทักทายไปยังเพื่อนผู้รับใช้ของเขาหลายคนรวมถึงลูกาด้วย

แบ่งปันประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับความจริงที่สอนในบทนี้

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

โคโลสี 1:15, 18 พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระบุตรหัวปี

วลี “บุตรหัวปีเหนือทุกสิ่งที่ทรงสร้าง” (โคโลสี 1:15) เป็นพยานว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระบุตรหัวปีทางวิญญาณของพระบิดาบนสวรรค์ ฝ่ายประธานสูงสุดยืนยันว่า

“ท่ามกลางบุตรธิดาทางวิญญาณของเอโลฮิม [พระผู้เป็นเจ้าพระบิดา] บุตรหัวปีคือพระเยโฮวาห์หรือพระเยซูคริสต์ซึ่งวิญญาณอื่นๆ เป็นน้อง” (The Father and the Son: A Doctrinal Exposition by the First Presidency and the Quorum of the Twelve Apostles, Apr. 2002, 18)

วลี “เป็นผู้แรกที่เป็นขึ้นจากตาย” ใน ข้อ 18 หมายความว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นคนแรกบนแผ่นดินโลกที่ฟื้นคืนชีวิต พระองค์ทรงถูกเรียกว่า “เป็นผลแรกของพวกที่ล่วงหลับไป” (1 โครินธ์ 15:20) ด้วย

โคโลสี 1:16–17 โดยผ่านพระองค์ “ทุกสิ่งได้รับการทรงสร้างขึ้น”

เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระผู้สร้างและทรงมีอำนาจการปกครองเหนือการสร้างทุกอย่างของพระองค์ ดังนี้

“ภายใต้การนำและตามแผนของพระผู้เป็นเจ้าพระบิดา พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระผู้สร้าง เป็นที่มาของแสงสว่างและชีวิตของทุกสิ่ง โดยผ่านการเปิดเผยสมัยใหม่เรามีประจักษ์พยานของยอห์น ผู้เป็นพยานว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็น ‘แสงสว่างและพระผู้ไถ่ของโลก; พระวิญญาณแห่งความจริง, ผู้เสด็จมาในโลก, เพราะโลกรังสรรค์โดยพระองค์, และในพระองค์จึงบังเกิดชีวิตของมนุษย์และแสงสว่างของมนุษย์

“‘โลกทั้งหลายรังสรรค์โดยพระองค์ มนุษย์รังสรรค์โดยพระองค์ สิ่งทั้งปวงรังสรรค์โดยพระองค์ และโดยผ่านพระองค์ และจากพระองค์’ (คพ. 93:9–10)” (The Light and Life of the World, Nov. 1987, 63; ดู ยอห์น 1:1–3; ฮีบรู 1:2; คพ. 76:24; โมเสส 1:33ด้วย)

โคโลสี 2:9 “ความเป็นพระเจ้าที่ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้นดำรงอยู่ในพระกายของพระองค์”

โดยกล่าวถึงพระเยซูคริสต์ เปาโลเป็นพยานว่า “เพราะว่าความเป็นพระเจ้าที่ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้นดำรงอยู่ในพระกายของพระองค์” วลีนี้ระบุว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเจ้าอย่างบริบูรณ์และทรงมีอำนาจทั้งหมดของความเป็นพระผู้เป็นเจ้า (ดู มัทธิว 28:18ด้วย)