คลังค้นคว้า
บทที่ 57: ลูกา 22


บทที่ 57

ลูกา 22

คำนำ

ขณะที่การปฏิบัติศาสนกิจขณะทรงเป็นมรรตัยของพระองค์ใกล้สิ้นสุด พระเยซูทรงจัดตั้งศีลระลึก ทรงสอนสานุศิษย์ของพระองค์ให้รับใช้ผู้อื่น และทรงบัญชาเปโตรให้ชูกำลังพี่น้องของเขา การพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดเริ่มต้นในสวนเกทเสมนี พระองค์ทรงถูกจับกุมและสอบสวนต่อหน้าคายาฟาส ขณะที่พระองค์ทรงถูกสอบสวน เปโตรปฏิเสธว่ารู้จักพระองค์

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

ลูกา 22:1–38

พระผู้ช่วยให้รอดทรงจัดตั้งศีลระลึกและแนะนำสานุศิษย์ของพระองค์

ขอให้นักเรียนแต่ละคนจินตนาการ (หรือท่านอาจเชื้อเชิญนักเรียนสองคนให้แสดงบทบาทกิจกรรมนี้) ว่าเขาและสมาชิกครอบครัวอีกคนหนึ่งกำลังนั่งอยู่บนพื้น สมาชิกครอบครัวคนนั้นต้องการจะยืนขึ้นและขอความช่วยเหลือ

  • ท่านจะช่วยเขาได้ดีเพียงใดหากท่านยังคงนั่งอยู่บนพื้น

  • จะต่างกันหรือไม่หากท่านยืนขึ้นก่อน

อธิบายว่าอุปมานี้จะช่วยให้เราเข้าใจว่าเราสามารถทำอะไรได้เพื่อช่วยยกคนอื่นขึ้นทางวิญญาณ

เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาความจริงขณะที่พวกเขาศึกษา ลูกา 22 ที่จะช่วยให้พวกเขารู้ว่าจะช่วยยกคนอื่นขึ้นทางวิญญาณได้อย่างไร

สรุป ลูกา 22:1–30 โดยเตือนนักเรียนว่านั่นเป็นช่วงใกล้สิ้นสุดการปฏิบัติศาสนกิจขณะทรงเป็นมรรตัยของพระองค์ พระผู้ช่วยให้รอดทรงพบกับอัครสาวกของพระองค์เพื่อถือปฏิบัติปัสกา ระหว่างช่วงเวลานั้น พระผู้ช่วยให้รอดทรงประกาศว่าหนึ่งในสานุศิษย์ของพระองค์จะทรยศพระองค์ พระองค์ทรงจัดตั้งศาสนพิธีศีลระลึก ทรงบัญชาว่าต้องปฏิบัติศีลระลึกต่อไปเพื่อระลึกถึงพระองค์ และทรงสอนอัครสาวกของพระองค์ว่าคนที่รับใช้ผู้อื่นนับว่าเป็นใหญ่ พระผู้ช่วยให้รอดทรงชมเชยอัครสาวกของพระองค์ที่ยังคงอยู่กับพระองค์และทรงสัญญากับพวกเขาว่าวันหนึ่งพวกเขาจะได้นั่งบนบัลลังก์และพิพากษาอิสราเอลสิบสองเผ่า

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง ลูกา 22:31–32 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดตรัสกับซีโมนเปโตร อธิบายกับชั้นเรียนว่างานแปลของโจเซฟ สมิธข้อ 31 อ่านว่า “และพระเจ้าตรัส ซีโมน ซีโมน ดูเถิด ซาตานปรารถนาเจ้า เพื่อเขาจะร่อนลูกหลานของอาณาจักรดั่งร่อนข้าวสาลี”

  • พระผู้ช่วยให้รอดตรัสว่าซาตานปรารถนาอะไร (ซาตานต้องการจะฝัดร่อนเปโตรและวิสุทธิชนเหมือนฝัดข้าวสาลี)

อธิบายว่าข้าวสาลีถูกฝัดร่อนโดยการแยกเมล็ดข้าวจากส่วนอื่นๆ ของข้าวสาลี

  • ท่านเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเปโตรที่แสดงให้เห็นว่าเขามีประจักษ์พยานแล้ว (หากจำเป็นให้เตือนนักเรียนว่าเปโตรได้ประกาศประจักษ์พยานของเขาว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว [ดู มัทธิว 16:13–17])

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 32 เปโตรยังจำเป็นต้องประสบกับอะไรก่อนที่เขาจะสามารถชูกำลังพี่น้องของเขา

  • อะไรคือความแตกต่างระหว่างการมีประจักษ์พยานของพระกิตติคุณกับการเปลี่ยนใจเลื่อมใสสู่พระกิตติคุณ (การมีประจักษ์พยานของพระกิตติคุณหมายความว่าเราได้รับพยานทางวิญาณของความจริงผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ [ดู คู่มือพระคัมภีร์, “ประจักษ์พยาน,” scriptures.lds.org] การเปลี่ยนใจเลื่อมใสคือ “การเปลี่ยนความเชื่อ [ของเรา] เปลี่ยนใจ และชีวิตของคนคนหนึ่งเพื่อยอมรับและประพฤติตนให้สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า (กิจการ 3:19)” [คู่มือพระคัมภีร์, “การเปลี่ยนใจเลื่อมใส, เปลี่ยนใจเลื่อมใส,” scriptures.lds.org])

  • ตามที่พระเจ้าทรงบอกเปโตร เราจะทำอะไรเมื่อเราเปลี่ยนใจเลื่อมใสสู่พระกิตติคุณ (นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่ให้แน่ใจว่าพวกเขาระบุหลักธรรมต่อไปนี้ เมื่อเราเปลี่ยนใจเลื่อมใสสู่พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ เราจะชูกำลังคนอื่น ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนทำเครื่องหมายวลีที่สอนความจริงนี้ใน ข้อ 32)

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง ลูกา 22:33–34 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยหาดูว่าเปโตรตอบรับการตักเตือนของพระผู้ช่วยให้รอดให้เปลี่ยนใจเลื่อมใสและชูกำลังพี่น้องอย่างไร

  • เปโตรตอบสนองอย่างไรต่อการตักเตือนของพระผู้ช่วยให้รอด

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงพยากรณ์ว่าเปโตรจะทำอะไร

อธิบายว่าเรื่องราวนี้ที่มีรายละเอียดมากขึ้นบันทึกไว้ใน มัทธิว 26 เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง มัทธิว 26:35 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเปโตรพูดกับพระผู้ช่วยให้รอดว่าอย่างไรหลังจากได้ยินคำพยากรณ์

  • เปโตรตอบอย่างไรหลังจากได้ยินคำพยากรณ์นี้

  • คำตอบของเปโตรสอนอะไรเราว่าเขาคิดว่าประจักษ์พยานของเขาเข้มแข็งเพียงใด

ลูกา 22:39–53

พระผู้ช่วยให้รอดทรงทนทุกข์ในเกทเสมนี พระเสโทเป็นเหมือนพระโลหิตไหลหยดลงถึงดิน และถูกยูดาสทรยศ

อธิบายว่าหลังจากปัสกา พระผู้ช่วยให้รอดและอัครสาวกของพระองค์ไปที่สวนเกทเสมนี เชื้อเชิญนักเรียนหลายๆ คนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก ลูกา 22:39–43 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงทำอะไรหลังจากพระองค์เสด็จมาที่สวนเกทเสมนี เชื้อเชิญให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 43 ใครช่วยพระผู้ช่วยให้รอดให้มีกำลังเพื่อทำตามพระประสงค์ของพระบิดาบนสวรรค์

  • เราเรียนรู้ความจริงอะไรจากเรื่องราวนี้เกี่ยวกับสิ่งที่พระบิดาบนสวรรค์จะทรงทำเพื่อเราหากเราพยายามทำตามพระประสงค์ของพระองค์ (นักเรียนอาจระบุความจริงที่หลากหลาย แต่ให้แน่ใจว่าเป็นที่ชัดเจนว่า หากเราเต็มใจเชื่อฟังพระบิดาบนสวรรค์ พระองค์จะประทานกำลังให้เราเพื่อทำตามพระประสงค์ของพระองค์)

  • มีทางใดบ้างที่พระบิดาบนสวรรค์อาจเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เรา

อธิบายว่าส่วนใหญ่ความช่วยเหลือที่เราได้รับจากพระบิดาบนสวรรค์จะไม่มาจากการปรากฏของทูตสวรรค์แต่พระองค์จะทรงช่วยเราในวิธีที่พระองค์ทรงทราบว่าดีที่สุดสำหรับเรา เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองเวลาที่พวกเขารู้สึกว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงเสริมสร้างความเข้มแข็งให้พวกเขาขณะที่พวกเขาพยายามทำตามพระประสงค์ของพระองค์

อธิบายว่าเรื่องราวของลูกาเกี่ยวกับความทุกขเวทนาของพระผู้ช่วยให้รอดในสวนเกทเสมนีรวมถึงรายละเอียดสำคัญที่ไม่ได้รวมอยู่ในเรื่องราวที่ให้ไว้โดยมัทธิวและมาระโก เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง ลูกา 22:44 ขอให้ชั้นเรียนดูตามและมองหาว่าลูกาบรรยายความทุกขเวทนาของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร

  • ลูกาบรรยายความทุกขเวทนาของพระผู้ช่วยให้รอดในสวนเกทเสมนีว่าอย่างไร (ท่านอาจต้องการเชื้อเชิญให้นักเรียนทำเครื่องหมายคำพูดใน ข้อ 44 ที่สอนความจริงต่อไปนี้ พระเยซูคริสต์ทรงมีเพระเสโทเป็นเหมือนพระโลหิตขณะที่พระองค์ทรงทนทุกข์ในสวนเกทเสมนี ท่านอาจต้องการชี้ให้เห็นว่ามุมมองเรื่องความทุกขเวทนาของพระผู้ช่วยให้รอดพยากรณ์ไว้มากกว่าหนึ่งศตวรรษก่อนหน้านี้ [ดู โมไซยาห์ 3:7])

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงประสบ อธิบายว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงอธิบายถึงความทุกขเวทนาของพระองค์ในการเปิดเผยที่ประทานแก่ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธดังที่บันทึกไว้ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 19 เชื้อเชิญให้นักเรียนทำข้ออ้างโยงพระคัมภีร์ หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:18 กับ ลูกา 22:44 ในพระคัมภีร์ของพวกเขา เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:18 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงบรรยายความทุกขเวทนาของพระองค์ว่าอย่างไร

  • เราเรียนรู้รายละเอียดเพิ่มเติมอะไรเกี่ยวกับความทุกขเวทนาของพระผู้ช่วยให้รอดจากคำพรรณนาของพระองค์เองใน ข้อ 18 (ความทุกขเวทนาของพระเยซูคริสต์ทำให้พระองค์ “ต้องสั่นเพราะความเจ็บปวด, … เลือดออกจากทุกขุมขน, และทนทุกข์ทั้งร่างกายและวิญญาณ”)

  • ท่านคิดอย่างไรที่ได้รู้ว่าพระเยซูคริสต์ทนทุกข์ทรมานอย่างยิ่งเพื่อท่าน

สรุป ลูกา 22:45–48 โดยอธิบายว่าหลังจากพระผู้ช่วยให้รอดทรงทนทุกข์ทรมานในเกทเสมนี พระองค์ทรงถูกยูดาส อิสคาริโอททรยศ

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง ลูกา 22:49–51 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเปโตรทำอะไรเมื่อหัวหน้าปุโรหิตและคนอื่นๆ มาจับกุมพระเยซู (ดู ยอห์น 18:10 ซึ่งเป็นเรื่องราวเพียงครั้งเดียวที่ระบุว่าเปโตรเป็นอัครสาวกที่ฟันหูทาสขาด)

  • เปโตรทำอะไรทาสของคนหนึ่งของมหาปุโรหิต

  • สิ่งอัศจรรรย์ที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำให้ทาสคนนั้นคืออะไร

สรุป ลูกา 22:52–53 โดยอธิบายว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงถามว่าเหตุใดหัวหน้าปุโรหิตและคนอื่นจึงจับกุมพระองค์ในตอนกลางคืนแทนที่จะเป็นตอนกลางวันเมื่อพระองค์อยู่ในพระวิหาร

ลูกา 22:54–71

พระเยซูทรงถูกสอบสวนต่อหน้าสภายิว และเปโตรปฏิเสธว่ารู้จักพระองค์

สรุป ลูกา 22:54 โดยอธิบายว่าเมื่อพระผู้ช่วยให้รอดถูกนำไปที่บ้านของมหาปุโรหิตเพื่อสอบสวน เปโตรติดตามไป

แบ่งนักเรียนออกเป็นคู่ๆ แจกสำเนาของ แผนภูมิต่อไปนี้ให้นักเรียนแต่ละคู่ (หรือเขียนไว้บนกระดาน) เชื้อเชิญนักเรียนอ่านพระคัมภีร์อ้างอิงในแผนภูมิและเติมแผนภูมิให้ครบถ้วนกับคู่ของพวกเขา

ภาพ
เอกสารแจก ลูกา 22:54–60

ลูกา 22:54–60

คู่มือครูเซมินารี พันธสัญญาใหม่—บทที่ 57

เกิดอะไรขึ้นกับเปโตร

เปโตรพูดว่าอะไร

ลูกา 22:55–57

ลูกา 22:58

ลูกา 22:59–60

  • ท่านคิดว่าเหตุใดเปโตรถึงถูกล่อลวงให้ปฏิเสธพระเยซูต่อคนเหล่านี้แต่ละคน

เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง ลูกา 22:61–62 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากเปโตรปฏิเสธว่ารู้จักพระผู้ช่วยให้รอด

  • เกิดอะไรขึ้นหลังจากเปโตรปฏิเสธว่ารู้จักพระผู้ช่วยให้รอด

หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ ให้แสดง ภาพ การปฏิเสธของเปโตร โดย คาร์ลไฮน์ริค บลอค ภาพนี้มีอยู่ใน LDS.org

ภาพ
การปฏิเสธของเปโตร

การปฏิเสธของเปโตร โดย คาร์ล ไฮน์ริค บลอค ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก National History Museum ที่ Frederiksborg Castle ใน Hillerød Denmark ไม่อนุญาตให้ทำสำเนา

  • ถ้าท่านอยู่ในสถานการณ์แบบเปโตร ท่านน่าจะคิดหรือรู้สึกอย่างไรเมื่อพระผู้ช่วยให้รอดทอดพระเนตรมาที่ท่าน เพราะเหตุใด

  • ประสบการณ์ของเปโตรแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการมีประจักษ์พยานในพระกิตติคุณกับการเปลี่ยนใสเลื่อมใสสู่พระกิตติคุณอย่างไร

อธิบายว่าถึงแม้เปโตรมีประจักษ์พยานในพระกิตติคุณ แต่เขายังไม่ได้เปลี่ยนใจเลื่อมใสอย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม เขารู้ถึงความอ่อนแอของเขา และเปลี่ยนใจเลื่อมใสอย่างสมบูรณ์ เขาอุทิศชีวิตของเขาเพื่อรับใช้พระผู้เป็นเจ้าและแบ่งปันพระกิตติคุณ

  • เราสามารถเรียนรู้บทเรียนอะไรได้บ้างจากประสบการณ์ของเปโตร

สรุป ลูกา 22:63–71 โดยอธิบายว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงถูกหัวหน้าปุโรหิตเยาะเย้ยและโบยตี

สรุปบทเรียนโดยเชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนลงในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขาถึงสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้เพื่อช่วยให้พวกเขาเปลี่ยนใจเลื่อมใสสู่พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์อย่างแท้จริง กระตุ้นให้พวกเขาทำสิ่งหนึ่งจากรายการของพวกเขาในสัปดาห์นี้

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

ลูกา 22:32 การเปลี่ยนใจเลื่อมใสสู่พระกิตติคุณของเปโตร

เอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกีแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนสอนเกี่ยวกับเปโตรดังนี้

“เปโตรเป็นแบบอย่างชั้นยอดถึงวิธีที่พลังอำนาจแห่งการเปลี่ยนใจเลื่อมใสส่งผลต่อจิตวิญญาณที่รับ ระหว่างที่พระเจ้าทรงปฏิบัติศาสนกิจขณะเป็นมรรตัย เปโตรมีประจักษ์พยานเรื่องการเกิดจากพระวิญญาณ ถึงความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์และแผนแห่งความรอดอันยิ่งใหญ่ซึ่งอยู่ในพระคริสต์ ‘พระองค์เป็นพระคริสต์พระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่’ เขากล่าว เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ยอมให้เขาพูด (มัทธิว 16:13–19) เมื่อคนอื่นๆ ตกไป เปโตรยืนหยัดด้วยความมั่นใจของอัครสาวก ‘และพวกข้าพระองค์ก็เชื่อและทราบแล้วว่าพระองค์ทรงเป็นองค์บริสุทธิ์ของพระเจ้า’ (ยอห์น 6:69) เปโตรรู้ และความรู้นี้มาโดยการเปิดเผย

“แต่เปโตรยังไม่เปลี่ยนใจเลื่อมใส เนื่องจากเขายังไม่ได้เป็นคนใหม่จากพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในทางกลับกัน เป็นเวลานานพอสมควรหลังจากเปโตรได้รับประจักษ์พยาน และในคืนนั้นที่พระเยซูถูกจับกุม พระองค์ตรัสกับเปโตร ‘เมื่อท่านหันกลับแล้ว จงชูกำลังพี่น้องทั้งหลายของท่าน’ (ลูกา 22:32) ทันทีหลังจากนั้น แม้เขาจะมีประจักษ์พยาน แต่เปโตรปฏิเสธว่าเขารู้จักพระคริสต์ (ลูกา 22:54–62) หลังจากการตรึงกางเขน เปโตรไปหาปลา พระเจ้าผู้คืนพระชนม์ทรงเรียกเขากลับมาสู่การปฏิบัติศาสนกิจ (ยอห์น 21:1–17) ในที่สุด พวกเขาได้รับของประทานทางวิญญาณที่สัญญาไว้ในวันเพ็นเทคอสต์ เปโตรและสานุศิษย์ที่ซื่อสัตย์คนอื่นๆ กลายเป็นคนใหม่จากพระวิญญาณ พวกเขาเปลี่ยนใจเลื่อมใจอย่างแท้จริง และความสำเร็จที่เกิดขึ้นของพวกเขาเผยให้เห็นความมั่นคงของการเปลี่ยนใจเลื่อมใส (กิจการ 34)” (Mormon Doctrine, 2nd ed. [1966], 162–63)

ลูกา 22:32 “เมื่อท่านหันกลับแล้ว จงชูกำลังพี่น้องทั้งหลายของท่าน”

เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองยืนยันความสำคัญของการเปลี่ยนใจเลื่อมใสดังนี้

“เพื่อชูกำลังพี่น้อง นั่นคือ บำรุงเลี้ยงและนำฝูงแกะของพระผู้เป็นเจ้า ชายผู้นี้ซึ่งติดตามพระเยซูมาสามปี ได้รับสิทธิอำนาจของการเป็นอัครสาวกที่บริสุทธิ์เป็นผู้สอนที่กล้าหาญและเป็นพยานถึงพระกิตติคุณ ประจักษ์พยานของเขาทำให้พระอาจารย์ประกาศว่าเขาเป็นสุขก็ยังต้อง ‘เปลี่ยนใจเลื่อมใส’

“การท้าทายของพระเยซูแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนใจเลื่อมใสที่พระองค์ทรงเรียกร้องจากผู้ที่เข้าแผ่นดินสวรรค์ (ดู มัทธิว 18:3) นั้นมากกว่าเพียงการเปลี่ยนใจเลื่อมใสเพื่อเป็นพยานถึงความจริงของพระกิตติคุณ การเป็นพยานคือ รู้ และ ประกาศ พระกิตติคุณท้าทายให้เรา ‘เปลี่ยนใจเลื่อมใส’ ซึ่งเรียกร้องให้เรา ทำ และ เป็น หากเราคนใดคนหนึ่งพึ่งพาความรู้และประจักษ์พยานในพระกิตติคุณเท่านั้น เราก็อยู่ในสภาพเดียวกันกับอัครสาวกที่ได้รับพรแต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดีผู้ซึ่งพระเยซูทรงท้าทายให้ ‘เปลี่ยนใจเลื่อมใส’ เราทุกคนจะรู้จักบางคนที่มีประจักษ์พยานอันแรงกล้าแต่ไม่ปฏิบัติตามเพื่อเปลี่ยนใจเลื่อมใส …

“บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่เราแต่ละคนจะทำงานเพื่อการเปลี่ยนใจเลื่อมใสส่วนตัว เพื่อเป็นอย่างที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงประสงค์ให้เราเป็น” (“The Challenge to Become,” Ensign, Nov. 2000, 33)

ประธานฮาโรลด์ บี. ลี อธิยายว่าการเปลี่ยนใจเลื่อมใสสู่พระกิตติคุณจะช่วยให้เราชูกำลังคนอื่นอย่างไร

“ท่านไม่สามารถยกอีกจิตวิญญาณหนึ่งขึ้นได้จนกว่าท่านจะอยู่บนพื้นที่สูงกว่าเขา ท่านต้องแน่ใจว่า หากท่านช่วยคนๆ หนึ่ง ตัวท่านเองกำลังเป็นแบบอย่างของสิ่งที่ท่านอยากให้เขาเป็น” (“Stand Ye in Holy Places,” Ensign, Oct. 2008, 47)

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างประจักษ์พยานกับการเปลี่ยนใจเลื่อมใส และความแตกต่างระหว่างสองสิ่งนี้ ในคำปราศัยการประชุมใหญ่สามัญของท่าน “เปลี่ยนใจเลื่อมใสมาสู่พระเจ้า” ( เลียโฮนา, พ.ย. 2012, 106–109)

ลูกา 22:44 “พระเสโทของพระองค์เป็นเหมือนพระโลหิตเม็ดใหญ่ไหลหยดลงถึงดิน”

เอ็ลเดอร์เจมส์ อี. ทาลเมจแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่าความโทมนัสของพระผู้ช่วยให้รอดนั้นเกิดกับทั้งร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ

“ไม่ใช่ความเจ็บปวดทางกาย ทั้งไม่ใช่ความปวดร้าวทางใจเพียงอย่างเดียวที่ทำให้พระองค์ทรงทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสจนพระโลหิตออกจากทุกรูขุมขน แต่คือความปวดร้าวทางวิญญาณของจิตวิญญาณซึ่งมีเพียงพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่จะสามารถทนได้ ไม่มีมนุษย์คนใดสามารถทนทุกข์ทรมานเช่นนั้นได้ ไม่ว่าเขาจะมีพลังความอดทนทางกายหรือทางใจมากเพียงใดก็ตาม เนื่องจากอวัยวะของมนุษย์ย่อมจะทนไม่ได้ … [ซึ่งจะทำให้เกิด] การสิ้นสติและสูญเสียความทรงจำ ในโมงแห่งความรวดร้าวนั้นพระคริสต์ทรงเผชิญและทรงเอาชนะความเลวร้ายทั้งมวลที่ซาตาน ‘เจ้าชายของโลกนี้’ จะสามารถทำให้เกิดขึ้นได้” (Jesus the Christ, 3rd ed. [1916], 613)

ลูกา 22:62 “แล้วเปโตรก็ออกไปข้างนอกร้องไห้ด้วยความทุกข์ใจ”

ประธาน กอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์อธิบายว่าเราสามารถทำผิดพลาดเหมือนเปโตร แต่โดยผ่านการกลับใจเราสามารถได้รับการให้อภัยจากความผิดเหล่านั้น

“เปโตร โดยยืนยันในความชื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ปณิธานของเขา เขาบอกว่าเขาจะไม่ปฏิเสธ แต่ความกลัวมนุษย์เกิดขึ้นกับเขา ความอ่อนแอของเนื้อหนังครอบงำเขา และภายใต้ความกดดันของข้อกล่าวหา ปณิธานของเขาพังทลาย …

“ขณะที่ข้าพเจ้าอ่านเรื่องราวนี้ข้าพเจ้ารู้สึกสงสารเปโตร เราหลายคนเหลือเกินที่เป็นเหมือนเขา เราให้คำมั่นถึงความซื่อสัตย์ของเรา เรายืนยันความมุ่งมั่นของเราที่จะกล้าหาญ บางครั้งเราประกาศต่อสาธารณชนว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเราจะทำสิ่งที่ถูกต้อง เราจะยืนหยัดเพื่ออุดมการณ์ที่ถูกต้อง เราจะซื่อสัตย์ต่อตัวเราเองและผู้อื่น

“จากนั้นเริ่มมีแรงกดดันเกิดขึ้น บางครั้งเป็นแรงกดดันทางสังคม บางครั้งเป็นความปรารถนาส่วนตัว บางครั้งเป็นความทะเยอทะยานผิดๆ ความตั้งใจเริ่มอ่อนแอ กฎระเบียบเริ่มหย่อนยาน มีการยอมจำนน จากนั้นมีความเสียใจ โทษตนเอง และน้ำตาที่ขมขื่นอันเกิดจากความเสียใจ …

“… โดยที่รู้ความผิดของเขา กลับใจจากความอ่อนแอของเขา [เปโตร] เปลี่ยนไปและเป็นกระบอกเสียงอันทรงพลังในการเป็นพยานถึงพระเจ้าผู้เป็นขึ้นมา เขา ผู้เป็นอัครสาวกอาวุโส อุทิศชีวิตที่เหลือของเขาเพื่อเป็นพยานถึงพระพันธกิจ การสิ้นพระชนม์ และการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ พระบุตรผู้ทรงพระชนม์ของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงพระชนม์ …

“… งานอันทรงพลังเหล่านี้และที่ไม่กล่าวถึงอีกมากมายกระทำโดยเปโตรผู้ที่ครั้งหนึ่งปฏิเสธและเศร้าใจ จากนั้นจึงออกมาจากความเสียใจเพื่อทำให้งานของพระผู้ช่วยให้รอดรุดหน้าไป …

“บัดนี้ หากมีใคร … ผู้ที่ได้ปฏิเสธศรัทธาไม่ว่าจะด้วยคำพูดหรือการกระทำ ข้าพเจ้าสวดอ้อนวอนว่าท่านจะได้รับการปลอบประโลมและหาทางออกจากแบบอย่างของเปโตรผู้ซึ่งแม้ว่าจะได้เดินกับพระเยซูอยู่ทุกวัน แต่ในโมงแห่งความสาหัสได้ปฏิเสธทั้งพระเจ้าและประจักษ์พยานซึ่งเขามีอยู่ในใจของเขาเอง แต่เขาเอาชนะสิ่งนี้ เขากลายเป็นผู้พิทักษ์ที่ยิ่งใหญ่และตัวแทนที่ทรงพลัง ท่านเองก็เช่นกัน มีทางสำหรับท่านที่จะเปลี่ยน และเพิ่มความเข้มแข็งตลอดจนศรัทธาของท่านให้แก่ความเข้มแข็งและศรัทธาของผู้อื่นในการสร้างอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า” (“And Peter Went Out and Wept Bitterly,” Ensign, พ.ค. 1979, 65–67)