คลังค้นคว้า
บทที่ 99: โรม 1–3


บทที่ 99

โรม 1–3

คำนำ

เปาโลเขียนสาส์นหนึ่งฉบับไปหาวิสุทธิชนในกรุงโรม ประกาศว่าพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์เป็นพลังอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าไปสู่ความรอด เขาอธิบายว่าไม่มีใครจะรอดได้จากความประพฤติของเขาเอง พวกเขาต้องได้รับความรอดโดยพระคุณของพระเยซูคริสต์ ซึ่งมีผ่านการชดใช้ของพระองค์

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

โรม 1:1–17

เปาโลประกาศว่าพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์เป็นพลังอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าไปสู่ความรอด

อ่านคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์แลร์รีย์ เอ็กโค ฮอว์คแห่งสาวกเจ็ดสิบ อธิบายว่าเมื่อเป็นเยาวชนชาย เอ็ลเดอร์เอ็กโค ฮอว์คสมัครเข้าประจำการในนาวิกโยธินสหรัฐ

ภาพ
เอ็ลเดอร์แลร์รีย์ เอ็กโค ฮอว์ค

“ข้าพเจ้าพบครูฝึกของข้าพเจ้า ทหารผ่านศึกที่บึกบึน เมื่อเขาเตะประตูให้เปิดและเดินเข้ามาพร้อมกับส่งเสียงดังด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย

“หลังจากการแนะนำตัวที่น่ากลัวนี้ เขาเริ่มจากท้ายสุดของห้องและประจันหน้ากับทหารแต่ละคนด้วยคำถามต่างๆ โดยไม่มีข้อยกเว้น ครูฝึกค้นจนเจอบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับทหารแต่ละนายเพื่อล้อเลียนด้วยภาษา หยาบคาย เสียงดัง เขาเดินมาเรื่อยๆ โดยทหารแต่ละนายตะโกนตอบตามคำสั่งที่ให้พูดว่า ‘ใช่ครับ’ หรือ ‘ไม่ใช่ครับ จ่าครูฝึก’ … เมื่อมาถึงข้าพเจ้า เขาคว้ากระเป๋าสัมภาระของข้าพเจ้าแล้วเทสิ่งของทั้งหมดลงบนที่นอนด้านหลังข้าพเจ้า เขามองดูสิ่งของที่เป็นของข้าพเจ้าแล้วเดินกลับมายืนตรงหน้า ข้าพเจ้าพร้อมรับการจู่โจม ในมือของเขาถือพระคัมภีร์มอรมอนของข้าพเจ้า” (“จงมาหาเรา,โอ้เจ้า เชื้อสายแห่งอิสราเอล,” เลียโฮนา, พ.ย. 2012, 32)

  • ท่านจะรู้สึกอย่างไรหากท่านอยู่ในสถานการณ์ของเอ็ลเดอร์เอ็กโค ฮอว์ค

  • ท่านคิดว่าครูฝึกกำลังจะทำอะไร

  • ท่านเคยอยู่ในสถานการณ์ซึ่งท่านกังวลว่าท่านอาจถูกล้อเลียนศาสนาของท่านหรือไม่ (ท่านอาจเชื้อเชิญนักเรียนสองสามคนแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขากับชั้นเรียน)

เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาความจริงเมื่อพวกเขาศึกษา โรม 1 ที่จะช่วยพวกเขาเมื่อพวกเขาประสบกับการล้อเลียนหรือการข่มเหงเกี่ยวกับความเชื่อและมาตรฐานของเขา

แนะนำหนังสือโรมพอสังเขป โดยเชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงย่อหน้าต่อไปนี้

หนังสือโรมเป็นสาส์นที่เปาโลเขียนถึงวิสุทธิชนในกรุงโรมใกล้กับช่วงสิ้นสุดการเดินทางเผยแผ่ของเขา เขาเขียนถึงวิสุทธิชนชาวโรมันเพื่อเตรียมพวกเขาสำหรับการมาถึงของเขา เพื่อชี้แจงและปกป้องคำสอนของเขา และเพื่อส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างชาวยิวกับสมาชิกคนต่างชาติของศาสนจักร กรุงโรม—เมืองหลวงของจักรวรรดิโรมัน—เต็มไปด้วยปรัชญาทางโลกและน่าจะเป็นสถานที่ซึ่งยากต่อการแบ่งปันพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

สรุป โรม 1:1–14 โดยอธิบายว่าเปาโลเริ่มสาส์นของเขาโดยเป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์และแสดงความปรารถนาว่าจะไปเยี่ยมวิสุทธิชนในกรุงโรม

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง โรม 1:15–17 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลสอนวิสุทธิชนชาวโรมันเกี่ยวกับพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

  • เปาโลพูดว่าข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์เป็นอะไร (นักเรียนควรระบุความจริงทำนองนี้ ข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์เป็นฤทธานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อให้คนที่ใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ได้รับความรอด) เขียนความจริงนี้ไว้บนกระดาน ท่านอาจต้องการเสนอแนะให้นักเรียนทำเครื่องหมายที่คำหรือวลีที่สอนความจริงนี้ในพระคัมภีร์ของพวกเขา

  • ข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ช่วยให้เรารอดจากอะไร (ความตายทางร่างกายและทางวิญญาณ)

  • เหตุใดเราจึงต้องใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์เพื่อได้รับพรแห่งความรอดผ่านทางพระกิตติคุณ (พระเยซูคริสต์ทรงทำการชดใช้ ซึ่งทำให้ความรอดของเราเป็นไปได้)

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำอธิบายว่าการเชื่อในพระเยซูคริสต์และใช้ศรัทธาในพระองค์หมายความว่าอย่างไร

ดังที่เปาโลใช้ คำว่า ความเชื่อ และ ศรัทธา ไม่ได้หมายถึงความเห็นพ้องทางจิตใจว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า แต่เป็นการยอมรับอย่างเต็มใจและไว้วางใจในพระองค์ว่าทรงเป็นพระองค์นั้นผู้ทรงสละพระองค์เองในการชดใช้บาปของเรา ความไว้วางใจอย่างลึกซึ้งนี้นำไปสู่ชีวิตแห่งความซื่อสัตย์ ที่แสดงให้ประจักษ์โดยการกลับใจจากบาป การรับบัพติศมา และความพยายามในการดำเนินชีวิตดังที่พระเยซูคริสต์ทรงสอน (ดู กิจการของอัครทูต 16:30–33; โรม 6:1–11; 1 โครินธ์ 6:9–11) “ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ … ประจักษ์ในชีวิตของการเชื่อฟังกฎและศาสนพิธีของพระกิตติคุณและการรับใช้พระคริสต์” (คู่มือพระคัมภีร์, “ความรอด,” scriptures.lds.org)

  • เนื่องจากเปาโลรู้ว่าข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์เป็นฤทธานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อให้คนที่เชื่อได้รับความรอด เขารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการสั่งสอนพระกิตติคุณ (เขาไม่มีความละอาย [ดู โรม 1:16])

  • การมีประจักษ์พยานถึงฤทธานุภาพของข่าวประเสริฐส่งผลต่อความปรารถนาของท่านในการแบ่งปันข่าวประเสริฐกับผู้อื่นได้อย่างไร (หลังจากนักเรียนตอบแล้ว ให้เขียนหลักธรรมต่อไปนี้บนกระดาน เมื่อเราได้รับประจักษ์พยานว่าพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์มีฤทธานุภาพในการช่วยเราให้รอด เราจะไม่มีความละอายที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่น)

  • หลักธรรมนี้จะช่วยท่านได้อย่างไรเมื่อท่านเผชิญกับการข่มเหงหรือล้อเลียนความเชื่อของท่าน

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงส่วนต่อไปจากเรื่องราวของเอ็ลเดอร์เอ็กโค ฮอว์ค และขอให้ชั้นเรียนฟังว่าท่านตอบครูฝึกของท่านอย่างไร

ภาพ
เอ็ลเดอร์แลร์รีย์ เอ็กโค ฮอว์ค

“ข้าพเจ้าคาดว่าเขาจะแผดเสียงใส่แต่เขากลับเดินเข้ามา ใกล้และกระซิบว่า ‘คุณเป็นมอรมอนหรือ’

“ตามคำสั่ง ข้าพเจ้าตะโกนว่า ‘ใช่ครับ จ่า ครูฝึก’

“อีกครั้ง ข้าพเจ้าคาดการณ์ไว้เลวร้ายที่สุด แต่เขาหยุดและยกมือที่ถือพระคัมภีร์อรมอนขึ้น และเขากล่าวด้วยเสียงเบาๆ ว่า ‘คุณเชื่อ ในหนังสือเล่มนี้ไหม’

“อีกครั้ง ข้าพเจ้าตะโกนออกไปว่า ‘ใช่ครับ จ่าครูฝึก’” (“จงมาหาเรา,โอ้เจ้า เชื้อสายแห่งอิสราเอล,” 32)

  • คำตอบของเอ็ลเดอร์เอ็กโค ฮอว์คเป็นตัวอย่างที่ดีของหลักธรรมที่สอนใน โรม 1:16 อย่างไร

อธิบายว่าแทนที่จะล้อเลียนเอ็ลเดอร์เอ็กโค ฮอว์ค ครูฝึกค่อยๆ วางพระคัมภีร์มอรมอนไว้อย่างเดิมและเดินตรวจแถวทหารต่อไป อ่านออกเสียงส่วนที่เหลือในข้อความของเอ็ลเดอร์เอ็กโค ฮอว์ค ดังต่อไปนี้

ภาพ
เอ็ลเดอร์แลร์รีย์ เอ็กโค ฮอว์ค

“ข้าพเจ้าสงสัยอยู่บ่อยๆ ว่าเหตุใดวันนั้นจ่าสิบเอกนาวิกโยธินที่แข็งกร้าวท่านนั้นจึงละเว้นข้าพเจ้าไว้ แต่ข้าพเจ้าขอบพระทัยที่สามารถกล่าวโดยไม่ลังเลว่า ‘ใช่ ข้าพเจ้าเป็นสมาชิกของศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย’ และ ‘ใช่ ข้าพเจ้าทราบว่าพระคัมภีร์มอรมอนเป็นความจริง’ ประจักษ์พยานนี้เป็นของประทานอันล้ำค่าที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ประทานแก่ข้าพเจ้า” (“จงมาหาเรา,โอ้เจ้า เชื้อสายแห่งอิสราเอล,” 32)

  • ท่าน (หรือคนที่ท่านรู้จัก) เคยแสดงให้เห็นว่าท่านไม่มีความละอายที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์เมื่อใด

เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองว่าพวกเขารู้สึกว่าประจักษ์พยานของพวกเขาเกี่ยวกับพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์เข้มแข็งเพียงใดและพวกเขาทำอะไรได้บ้างเพื่อเสริมสร้างประจักษ์พยานเหล่านั้น กระตุ้นให้พวกเขาตั้งเป้าหมายที่จะทำดังนั้น

โรม 1:18–3:23

เปาโลสอนว่ามนุษยชาติทั้งปวงล้วนทำบาปและจึงเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า

อธิบายว่าในสมัยของเปาโล ชาวคริสต์ต่างชาติบางคนพยายามหาข้อแก้ตัวทางพฤติกรรมที่ผิดศีลธรรมหรือเป็นบาปโดยเน้นย้ำพระเมตตาของพระผู้เป็นเจ้าและไม่ใส่ใจความยุติธรรมอันสมบูรณ์ของพระองค์ ชาวคริสต์ที่เป็นคนยิวบางคนเชื่อด้วยว่าการถือปฏิบัติกฎของโมเสสจำเป็นต่อความรอดของพวกเขา เปาโลมุ่งที่จะแก้ไขความเข้าใจผิดทั้งสองนี้

เชื้อเชิญนักเรียนหลายๆ คนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก โรม 1:18–32 ขอให้นักเรียนที่เหลือดูตาม โดยมองหาบาปที่เปาโลบอกว่าแพร่หลายในสมัยของเขา ท่านอาจต้องการช่วยนักเรียนนิยามคำศัพท์และวลีใน ข้อ 18–32 เพื่อช่วยพวกเขาเข้าใจคำเตือนที่เปาโลให้แก่วิสุทธิชนชาวโรมัน ตัวอย่างเช่น ท่านอาจถามคำถามต่อไปนี้

  • ใน ข้อ 25ท่านคิดว่า “นมัสการและปรนนิบัติสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น แทนพระองค์ผู้ทรงสร้าง” หมายความว่าอย่างไร

ชี้ให้เห็นว่าจาก โรม 1:18–32 เราเรียนรู้ว่า ศาสดาพยากรณ์และอัครสาวกสอนเราเกี่ยวกับพฤติกรรมและเจตคติที่ทำให้พระผู้เป็นเจ้าไม่พอพระทัย

อธิบายว่าวลี “เปลี่ยนจากเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติ ให้ผิดธรรมชาติไป” ใน ข้อ 26 และ “เลิกมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงให้ถูกตามธรรมชาติ” ใน ข้อ 27 หมายถึงพฤติกรรมรักร่วมเพศ ท่านอาจต้องการอธิบายว่านับตั้งแต่ต้น และตลอดทั้งพระคัมภีร์ พระเจ้าทรงตำหนิการละเมิดกฎความบริสุทธิ์ทางเพศ รวมถึงพฤติกรรมรักร่วมเพศ

หมายเหตุ: หัวข้อเรื่องเสน่หาเพศเดียวกันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เมื่อชั้นเรียนของท่านสนทนาเรื่องนี้ ให้แน่ใจว่าได้ทำด้วยความเมตตา ความเห็นใจ และความสุภาพ

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจจุดยืนของศาสนจักรเรื่องพฤติกรรมรักร่วมเพศ ให้อ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้

“พฤติกรรมรักร่วมเพศและเลสเบียนเป็นบาปร้ายแรง ถ้าท่านพบว่าตนเองกำลังต่อสู้กับความรู้สึกชอบเพศเดียวกันหรือท่านกำลังถูกชักชวนให้มีส่วนร่วมในพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จงขอคำแนะนำจากผู้ปกครองและอธิการ พวกเขาจะช่วยท่าน” (เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน [จุลสาร 2011], 36)

“จุดยืนทางหลักธรรมของศาสนจักรชัดเจน กิจกรรมทางเพศควรเกิดขึ้นระหว่างชายกับหญิงที่แต่งงานกันแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สิ่งนั้นไม่ควรใช้เป็นเหตุผลของการไร้ความปรานี พระเยซูคริสต์ ผู้ที่เราติดตาม ทรงแสดงอย่างแจ้งชัดในการตำหนิเรื่องการผิดศีลธรรมทางเพศ แต่พระองค์มิได้ทรงโหดร้าย ความสนพระทัยของพระองค์คือเพื่อช่วยหนุนใจคนเสมอ ไม่ใช่ทำลาย …

“ศาสนจักรแยกแยะระหว่างความเสน่หาเพศเดียวกันกับพฤติกรรม แม้ว่าการที่ยังมีความรู้สึกและความโน้มเอียงต่อเพศเดียวกันจะไม่ใช่บาปโดยแท้ แต่การมีส่วนในพฤติกรรมรักร่วมเพศขัดต่อ ‘หลักธรรมคำสอนบนพื้นฐานของพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ … ที่ว่าการแต่งงานระหว่างชายกับหญิงสำคัญยิ่งต่อแผนของพระผู้สร้างสำหรับจุดหมายปลายทางนิรันดร์ของบุตรธิดาของพระองค์’ [“First Presidency Statement on Same-Gender Marriage,mormonnewsroom.org]” (“Same-Sex Attraction, Gospel Topics, lds.org/topics)

  • เหตุใดจึงสำคัญที่เราต้องเข้าใจคำสอนของศาสดาพยากรณ์และอัครสาวกของพระเจ้าในเรื่องพฤติกรรมรักร่วมเพศ

  • เราจะแสดงความเมตตาและเห็นอกเห็นใจคนที่ประสบกับความสนใจเพศเดียวกันขณะที่ยังคงสนับสนุนจุดยืนของศาสนจักรในเรื่องพฤติกรรมทางเพศอย่างไร

สรุป โรม 2:1–3:8 โดยอธิบายว่าเปาโลสอนว่าคนทั้งปวงจะถูกพิพากษาตามงานของพวกเขา และเขาแสดงให้เห็นว่าความไม่ชอบธรรมของชาวยิวมาจากการดำเนินชีวิตตามกฎของโมเสสภายนอกแต่ไม่ใช่จากภายใน

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง โรม 3:9–12, 23 ให้ชั้นเรียนมองหาว่าใครที่เปาโลบอกว่าอยู่ใต้อำนาจบาป

  • เปาโลบอกว่าใครที่อยู่ใต้อำนาจบาป บาปของเราส่งผลอะไรต่อเรา (หลังจากนักเรียนตอบแล้ว เขียนความจริงต่อไปนี้บนกระดาน คนที่รับผิดชอบได้ทุกคนทำบาปและจำเป็นต้องได้รับการให้อภัยจากพระผู้เป็นเจ้า)

  • ความจริงนี้ช่วยให้เราเข้าใจสาเหตุที่เราต้องการพระเยซูคริสต์อย่างไร

โรม 3:24–31

มนุษยชาติทั้งปวงอาจได้รับรองว่าชอบธรรมผ่านการยอมรับการชดใช้ของพระคริสต์อย่างซื่อสัตย์

อธิบายว่าในข้อที่เหลือของ โรม 3เปาโลสอนว่าพระเยซูคริสต์ทรงเอาชนะปัญหาที่เราเผชิญอย่างไร—กล่าวคือ พระผู้เป็นเจ้าจะไม่ทรงยอมรับบาปและทรงถือว่าคนที่รับผิดชอบได้ทุกคนทำบาป เพื่อเข้าใจข้อเหล่านี้ นักเรียนต้องเข้าใจความหมายของคำต่อไปนี้ การรับรองความชอบธรรม (การ “ยกโทษจากการลงโทษบาปและประกาศว่าไม่มีความผิด” [Guide to the Scriptures, “Justification, Justify”scriptures.lds.org]), การชดเชย (การพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้และแหล่งที่มาของพระเมตตา) และ พระคุณ (“ความช่วยเหลือหรือพลังจากสวรรค์ที่ประทานให้โดยผ่านพระเมตตาและความรักอันเหลือหลายของพระเยซูคริสต์” [ดู คู่มือพระคัมภีร์, “พระคุณ”]) ท่านอาจเขียนนิยามของคำเหล่านี้บนกระดานก่อนเริ่มชั้นเรียนหรือแจกเอกสารแจกที่มี คำศัพท์ เหล่านี้ให้แก่นักเรียนแต่ละคน

ขอให้นักเรียนหนึ่งคนอ่านออกเสียง โรม 3:24–26 เชื้อเชิญให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเราจะมีค่าควรที่จะอยู่ในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร

  • ตามที่กล่าวไว้ใน โรม 3:24 เราจะได้รับการตัดสินหรือประกาศว่ามีค่าควรที่จะอยู่ในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร

ชี้ให้เห็นว่า งานแปลของโจเซฟ สมิธ โรม 3:24 เปลี่ยนคำว่า โดยไม่มีมูลค่า เป็น เท่านั้น อธิบายว่าไม่ว่าเราจะทำดีมากเพียงใดในชีวิตนี้ เราไม่สามารถได้รับหรือคู่ควรกับความรอดได้ด้วยตนเองเนื่องจากเราล้วนทำบาป ดังนั้นจึงเสื่อมจากความรอด ดังที่เปาโลสอน (ดู โรม 3:23) เป็นโดยผ่านพระคุณของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น—ความช่วยเหลือหรือพลังจากสวรรค์—ที่เราจะรอดได้ (ดู โมโรไน 10:32–33)

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 26 พระผู้เป็นเจ้าทรงทำให้ใครชอบธรรมผ่านทางพระคุณเช่นกัน (ผู้ที่เชื่่อในพระเยซู)

เตือนนักเรียนถึงวิธีที่เปาโลใช้คำว่า ความเชื่อ และ ศรัทธา ดังที่สนทนาก่อนหน้านี้ในชั้นเรียน

  • ข้อเหล่านี้สอนหลักธรรมอะไรเกี่ยวกับผลของการยอมรับการชดใช้ของพระเยซูคริสต์อย่างซื่อสัตย์ (นักเรียนอาจระบุหลักธรรมทำนองนี้ ผ่านการยอมรับการชดใช้ของพระเยซูคริสต์อย่างซื่อสัตย์ มนุษยชาติทั้งปวงอาจได้รับการชำระให้ชอบธรรมและรับความรอด)

  • เราจะแสดงให้เห็นว่าเรายอมรับการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างซื่อสัตย์ได้อย่างไร

เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองถึงความจำเป็นของพวกเขาที่จะต้องมีพระผู้ช่วยให้รอดพระเยซูคริสต์และสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้เพื่อยอมรับการชดใช้ของพระองค์อย่างซื่อสัตย์มากขึ้น เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนความรู้สึกของพวกเขาลงในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา ขอให้นักเรียนสองสามคนแบ่งปันความรู้สึกและประจักษ์พยานของพวกเขาเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด

สรุป โรม 3:27–30 โดยอธิบายว่าเปาโลได้เน้นย้ำอีกครั้งว่าแต่ละคนจะได้รับคำรับรองว่าชอบธรรมโดยศรัทธาในพระเยซูคริสต์แทนที่จะเป็นโดยการประพฤติตามกฎของโมเสส

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

โรม 1:1 “ข่าวประเสริฐของพระเจ้า”

อันที่จริง พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์เป็นข่าวประเสริฐของพระเจ้า ซึ่งหมายความว่าเป็นพระกิตติคุณของพระผู้เป็นเจ้าพระบิดา ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็น “พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์” ช่วยให้เราเอาชนะความตายทางวิญญาณและกลับไปยังที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า

โรม 1:16 “ข้าพเจ้าไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ”

เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองระบุว่าเราสามารถแสดงว่าเราไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐคือการแบ่งปันข่าวประเสริฐกับผู้อื่นดังนี้

“เราแต่ละคนมีโอกาสมากมายให้ประกาศความเชื่อของเราต่อมิตรสหายและเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน และคนที่เรารู้จักเพียงผิวเผิน ข้าพเจ้าหวังว่าเราจะใช้โอกาสเหล่านี้ในการแสดงความรักที่เรามีต่อพระผู้ช่วยให้รอด พยานของเราถึงพระพันธกิจแห่งสวรรค์ของพระองค์ และความมุ่งมั่นของเราในการรับใช้พระองค์

“หากเราทำสิ่งทั้งหมดนี้ เราสามารถพูด ดังที่อัครสาวกเปาโลพูดว่า ‘ข้าพเจ้าไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ เพราะว่าข่าวประเสริฐนั้นเป็นฤทธานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า เพื่อให้ทุกคนที่เชื่อได้รับความรอด’ (โรม 1:16)” (Witnesses of Christ, Nov. 1990, 32)

สำหรับแบบอย่างของบางคนที่ไม่มีความละอายเกี่ยวกับข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ ดูเรื่องเล่าเกี่ยวกับเอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์ที่ให้สัมภาษณ์กัปตันไฮแมน จี. ริกโอเวอร์ (ใน มาร์วิน เค. การ์ดเนอร์, “Elder Richard G. Scott: ‘The Real Power Comes from the Lord,’” Jan. 1989, 8–9)

โรม 1:26–32 พฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นบาปร้ายแรง

สำหรับข้อมูลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับจุดยืนของศาสนจักรในเรื่องพฤติกรรมรักร่วมเพศและความเสน่หาเพศเดียวกัน ให้ดู “Same-Sex Attraction” on lds.org/topics

โรม 3:24 “มีพระคุณให้เขาเป็นผู้ชอบธรรมโดยไม่คิดมูลค่า”

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนเกี่ยวกับ การรับรองความชอบธรรม

“เนื่องจาก ‘คุณธรรมอันไม่มีที่สิ้นสุดของการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้อันยิ่งใหญ่ของพระองค์’ พระเยซูคริสต์ทรงสามารถตอบสนองหรือทรง ‘ตอบเจตนารมณ์ของกฎ’ แทนเรา การยกโทษเกิดขึ้นโดยพระคุณของพระองค์ผู้ทรงตอบสนองข้อเรียกร้องของความยุติธรรมโดยการทนทุกข์ของพระองค์เอง … พระองค์ทรงขจัดโทษของเราโดยไม่ได้ขจัดกฎออกไป เราได้รับการอภัยโทษและอยู่ในสภาพแห่งความชอบธรรมกับพระองค์ เรากลับไม่มีบาปเหมือนพระองค์ เราได้รับการค้ำจุนและปกป้องด้วยกฎ โดยความยุติธรรม อาจพูดได้ว่า เราได้รับการ ชำระให้ชอบธรรม

“ดังนั้น เราอาจพูดได้อย่างเหมาะสมว่าเป็นคนที่ได้รับการอภัยโทษ ไม่มีบาป หรือไม่มีความผิด” (Justification and Sanctification, Ensign, June 2001, 20)