คลังค้นคว้า
บทที่ 110: 1 โครินธ์ 13–14


บทที่ 110

1 โครินธ์ 13–14

คำนำ

เปาโลสอนความสำคัญของจิตกุศล เขาแนะนำให้วิสุทธิชนชาวโครินธ์รับและมุ่งหาจิตกุศลพร้อมกับแสวงหาของประทานฝ่ายวิญญาณอื่นๆ เปาโลสอนว่าของประทานแห่งการพยากรณ์ยิ่งใหญ่กว่าของประทานแห่งการพูดภาษาและประทานแก่สมาชิกศาสนจักรเพื่อพวกเขาจะเสริมสร้างผู้อื่นทางวิญญาณ

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

1 โครินธ์ 13

เปาโลสอนเกี่ยวกับความสำคัญของการมีจิตกุศล

ก่อนชั้นเรียนให้เขียนสถานการณ์สมมติต่อไปนี้บน กระดานหรือเตรียมเป็นเอกสารแจกให้นักศึกษาแต่ละคน เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงแต่ละสถานการณ์ และขอให้นักเรียนพิจารณาว่าสถานการณ์ต่อไปนี้บรรยายถึงพวกเขาหรือไม่

  1. ท่านรู้สึกรำคาญหรือไม่พอใจพฤติกรรมของพี่น้องบ่อยๆ

  2. เพื่อนร่วมชั้นเรียนคนหนึ่งไม่สุภาพกับท่าน ท่านจึงรู้สึกว่าการเป็นคนไม่สุภาพกลับเป็นเรื่องที่ถูกต้อง

  3. ท่านรู้สึกอิจฉาพรสวรรค์และความสำเร็จของเพื่อนคนหนึ่ง

  4. บางครั้งท่านพบว่าเป็นเรื่องง่ายที่จะนินทาหรือพูดไม่ดีเกี่ยวกับคนอื่นในชั้นเรียนโควรัมฐานะปุโรหิตหรือเยาวชนหญิง

  • ผลร้ายอะไรสามารถเกิดจากการมีเจตคติและพฤติกรรมเหล่านี้

เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาความจริงเมื่อพวกเขาศึกษา 1 โครินธ์ 13 ที่จะช่วยพวกเขาเมื่อพวกเขาหลีกเลี่ยงเจตคติและพฤติกรรมที่จะส่งผลกระทบต่อความสุขส่วนตัวและสัมพันธภาพกับผู้อื่น

เตือนนักเรียนว่าวิสุทธิชนในเมืองโครินธ์กำลังประพฤติตนในแบบที่นำไปสู่ความขัดแย้งและความแตกแยกในศาสนจักร ในสาส์นของเขา เปาโลสอนว่าของประทานฝ่ายวิญญาณมอบให้เพื่อประโยชน์แก่ทุกคนและเพื่อช่วยสมาชิกศาสนจักรให้รับใช้และเสริมสร้างกัน เปาโลแนะนำให้วิสุทธิชนตั้งใจแสวงหา “ของประทานต่างๆ ที่ยิ่งใหญ่กว่า” (ดู 1 โครินธ์ 12:7–31)

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 13:1–3 ขอให้ชั้นเรียนดูตามโดยมองหาคุณลักษณะของของประทานแห่งพระวิญญาณที่เปาโลสรรเสริญ

  • คุณลักษณะและของประทานแห่งพระวิญญาณอะไรที่เปาโลสรรเสริญ (จิตกุศล)

อธิบายว่าจิตกุศลเป็น “ความรักอันสูงสุด, สูงส่งที่สุด, มั่นคงที่สุด, ไม่ได้เป็นความรักใคร่เท่านั้น” (คู่มือพระคัมภีร์ “จิตกุศล”)

  • เปาโลบรรยายถึงคนที่ไม่มีจิตกุศลแม้จะมีของประทานฝ่ายวิญญาณอื่นๆ ว่าอย่างไร

อธิบายว่าวลี “ฆ้อง” และ “ฉาบ” ใน ข้อ 1 หมายถึงเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงดังหรือเสียงประกอบ ในบริบทของ ข้อ 1 วลีเหล่านี้จะมีความหมายถึงคำพูดที่ว่างเปล่าหรือไม่มีความหมายเมื่อผู้พูดไม่ได้รับการดลใจจากจิตกุศล

  • ท่านคิดว่าเหตุใดเราจึงไม่เป็นอะไรเลยถ้าไม่มีจิตกุศล

  • เป็นไปได้อย่างไรที่บางคนจะให้ข้าวของทั้งหมดของเขาเพื่อเลี้ยงคนจนหรือเต็มใจตายเพื่อความจริงแต่ก็ยังไม่มีจิตกุศล (อธิบายว่าจิตกุศลเป็นมากกว่าพฤติกรรมความเอื้อเฟื้อและมากกว่าการตายเพื่อความจริง)

ลอกแผนภูมิต่อไปนี้ไว้บน กระดาน

สิ่งที่จิตกุศลเป็นหรือทำ

สิ่งที่จิตกุศลไม่ได้เป็นหรือไม่ได้ทำ

อธิบายว่าเปาโลบรรยายคุณสมบัติและลักษณะนิสัยของจิตกุศลเพื่อช่วยให้วิสุทธิชนชาวโครินธ์เข้าใจของประทานนี้ได้ดีขึ้น แบ่งนักเรียนออกเป็นคู่ๆ เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 13:4–8 กับคู่ของพวกเขา โดยมองหาคำบรรยายถึงจิตกุศลของเปาโล

หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว ขอให้นักเรียนมาที่กระดานและเขียนคำบรรยายของจิตกุศลใต้หัวข้อบนกระดานอย่างเหมาะสม หากจำเป็น ช่วยให้นักเรียนเข้าใจคำบรรยายแต่ละคำ

  • ใครที่ตรงกับคำบรรยายของคุณลักษณะเหล่านี้ทั้งหมดของจิตกุศล (พระเยซูคริสต์)

เตือนนักเรียนว่าศาสดาพยากรณ์มอรมอนสอนว่า “จิตกุศลคือความรักอันบริสุทธิ์ของพระคริสต์” (โมโรไน 7:47) อธิบายว่าจิตกุศลสามารถบรรยายได้สองแบบที่สำคัญ (1) ความรักที่พระคริสต์ทรงมีต่อเรา (2) ความรักเหมือนพระคริสต์ที่เรามีต่อผู้อื่น ขอให้นักเรียนเลือกคำบรรยายจิตกุศลสองสามคำจากรายการบนกระดานและอธิบายชั้นเรียนว่าคำเหล่านั้นเป็นคำบรรยายที่ดีถึงพระเยซูคริสต์อย่างไร

  • ท่านคิดว่า “ความรักไม่มีวันเสื่อมสูญ” ใน ข้อ 8 หมายความว่าอย่างไร

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง

ภาพ
เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

“จิตกุศล ที่แท้จริง … แสดงให้เราเห็นอย่างสมบูรณ์และบริสุทธิ์ในความรักที่ไม่สิ้นสุด สูงสุด และเป็นการชดใช้ของพระคริสต์เพื่อเรา … ความรักนั้นคือจิตกุศล—ความรักอันบริสุทธิ์ของพระองค์เพื่อเรา—หากปราศจากสิ่งนี้เราจะไม่เป็นอะไรเลย สิ้นหวัง และเศร้าหมองที่สุดในบรรดาชายหญิงทั้งหมด …

“ชีวิตมีทั้งความกลัวและความล้มเหลวปนกันไป บางครั้งสิ่งต่างๆ ไม่ได้เป็นอย่างที่หวังไว้ บางครั้งคนทำให้เราผิดหวัง หรือเศรษฐกิจหรือธุรกิจหรือรัฐบาลทำให้เราผิดหวัง แต่สิ่งหนึ่งในกาลเวลาหรือในนิรันดร ไม่ ทำให้เราผิดหวัง—นั่นคือความรักอันบริสุทธิ์ของพระคริสต์” (Christ and the New Covenant [1997], 337)

  • การจดจำว่าความรักอันบริสุทธิ์ของพระเยซูคริสต์จะไม่มีวันเสื่อมสูญมีประโยชน์อย่างไร

  • ตามที่เราเรียนรู้จาก 1 โครินธ์ 13:4–8 จะเกิดอะไรขึ้นกับเราเมื่อเราได้รับของประทานแห่งจิตกุศล (นักเรียนอาจระบุความจริงที่หลากหลาย แต่ให้แน่ใจว่าเป็นที่ชัดเจนว่า เมื่อเราพยายามรับของประทานฝ่ายวิญญาณแห่งจิตกุศล เราเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอดของเรามากขึ้น เขียนความจริงนี้ไว้บนกระดาน)

สรุป 1 โครินธ์ 13:9–12 โดยอธิบายว่าเปาโลสอนถึงสาเหตุที่ของประทานฝ่ายวิญญาณแห่งวิชาความรู้และการพยากรณ์จะเสื่อมสลายไปในที่สุด เปาโลให้ข้อสังเกตว่าวิชาความรู้ที่มีในชีวิตนี้ไม่สมบูรณ์และเราจะได้รับความรู้ที่สมบูรณ์ในนิรันดร

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 13:13 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาของประทานแห่งพระวิญญาณสามอย่างที่เปาโลสอนว่าจะ ดำรงอยู่ หมายถึงยั่งยืนหรือคงอยู่ตลอดไป เชื้อเชิญให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ

  • เปาโลสอนว่าอะไรเป็นของประทานฝ่ายวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ที่สุด (นักเรียนควรระบุความจริงต่อไปนี้ จิตกุศลเป็นของประทานแห่งพระวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เขียนความจริงนี้ไว้บนกระดาน)

  • อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อ ความหวัง และความรัก (ความเชื่อนำไปสู่ความหวัง และความหวังนำไปสู่ความรัก)

  • ตามที่เราได้เรียนรู้ใน 1 โครินธ์ 13 ท่านคิดว่าเหตุใดจิตกุศลจึงเป็นของประทานฝ่ายวิญญาณที่ใหญ่ที่สุด

ชี้ให้เห็นคำแนะนำของเปาโลใน 1 โครินธ์ 14:1 ให้ “มุ่งหาความรัก”

  • เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อ “มุ่งหา” หรือได้รับของประทานแห่งจิตกุศล

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง โมโรไน 7:48 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่มอรมอนสอนให้ผู้คนของเขาทำเพื่อจะได้รับของประทานแห่งจิตกุศล เชื้อเชิญให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ

  • การมีจิตกุศลจะปรับปรุงสัมพันธภาพของเรากับครอบครัว มิตรสหาย และเพื่อนได้อย่างไร

  • ท่านสามารถเล่าถึงเวลาที่ท่านเห็นจิตกุศลจากวิธีที่คนหนึ่งปฏิบัติต่อท่านหรือคนอื่นได้หรือไม่ (ท่านอาจแบ่งปันประสบการณ์ของท่านเอง)

เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนลงในแผ่นกระดาษโดยบรรยายว่าจิตกุศลใดที่พวกเขารู้สึกว่ายากสำหรับพวกเขาที่สุดและบอกเหตุผล เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนเป้าหมายว่าพวกเขาจะทำอะไรเพื่อพยายามต่อไปให้ได้รับจิตกุศลที่ยิ่งใหญ่กว่า เชื้อเชิญให้นักเรียนวางไว้ในที่ซึ่งพวกเขาจะเห็นได้บ่อยๆ และเตือนพวกเขาถึงเป้าหมายนี้

1 โครินธ์ 14

เปาโลสอนว่าของประทานแห่งการพยากรณ์ยิ่งใหญ่กว่าของประทานแห่งการพูดภาษา

นำเอาสิ่งของที่สามารถใช้สร้างตึกสูงมาที่ชั้นเรียน เช่นแท่งไม้ กล่อง บัตร หรือหนังสือ เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งใช้ของที่ท่านนำมาเพื่อสร้างตึกให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายในหนึ่งนาที จากนั้น เชิญนักเรียนให้กลับไปนั่งที่ ขอให้นักเรียนอ่าน 1 โครินธ์ 14:1–3 ในใจ โดยมองหาคำในข้อเหล่านี้ที่เกี่ยวข้องกับการสาธิตการสร้างตึกสูง

  • คำใดใน ข้อ 3 ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างตึกสูง (การชูใจ หากจำเป็น อธิบายว่า ชู หมายถึง “ทำให้สูงขึ้น” เหมือนการเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือการปรับปรุงทางวิญญาณ)

เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาหลักธรรมเมื่อพวกเขาศึกษา 1 โครินธ์ 1:14 ที่จะช่วยพวกเขารู้ว่าพวกเขาจะชูใจผู้อื่นได้อย่างไร

อธิบายว่าเปาโลปราศรัยต่อสมาชิกของศาสนจักรในเมืองโครินธ์ที่มีประสบการณ์กับของประทานแห่งการพูดภาษา หรือความสามารถในการพูดภาษาอื่นๆ เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 14:1–3 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาของประทานฝ่ายวิญญาณที่เปาโลแนะนำให้วิสุทธิชนแสวงหาแทน

  • ของประทานแห่งพระวิญญาณอะไรที่เปาโลแนะนำให้วิสุทธิชนปรารถนาและแสวงหา

อธิบายว่า “คำพยากรณ์ประกอบด้วยถ้อยคำหรืองานเขียนที่ได้รับการดลใจจากเบื้องบน ซึ่งบุคคลหนึ่งได้รับผ่านการเปิดเผยจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ ประจักษ์พยานถึงพระเยซูคือวิญญาณแห่งการพยากรณ์” (วิวรณ์ 19:10) เมื่อบุคคลหนึ่งพยากรณ์ เขาจะพูดหรือเขียนสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงต้องการให้เขารู้ เพื่อประโยชน์ของเขาเองหรือประโยชน์ของผู้อื่น” (คู่มือพระคัมภีร์, “คำพยากรณ์, พยากรณ์,” scriptures.lds.org)

เขียนวลีต่อไปนี้บนกระดาน: พยากรณ์ = การสอนและการเป็นพยานโดยการดลใจ

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 3 การสอนและเป็นพยานโดยการดลใจช่วยให้เราเป็นพรแก่ผู้อื่นได้อย่างไร (โดยใช้คำพูดของพวกเขาเอง นักเรียนควรระบุหลักธรรมทำนองนี้ เมื่อเราสอนและเป็นพยานโดยการดลใจ เราจะช่วยชูใจและปลอบโยนผู้อื่น)

  • ท่านเคยได้รับการชูใจและปลอบใจจากคำสอนและประจักษ์พยานที่ได้รับการดลใจของคนอื่นอย่างไร

สรุป 1 โครินธ์ 14:4–30 โดยอธิบายว่าเปาโลเตือนวิสุทธิชนชาวโครินธ์เกี่ยวกับของประทานแห่งการพูดในภาษาต่างๆ เปาโลเตือนว่าหากใช้อย่างไม่เหมาะสม ของประทานแห่งการพูดภาษาจะไม่ช่วยชูใจศาสนจักรและจะดึงความสนใจของสมาชิกจากการแสวงหาของประทานฝ่ายวิญญาณที่มีประโยชน์มากกว่า

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 14:31, 33, 40 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าคำแนะนำอะไรที่เปาโลให้แก่วิสุทธิชนเกี่ยวกับการพยากรณ์

  • คำแนะนำอะไรที่เปาโลให้แก่วิสุทธิชนเกี่ยวกับการพยากรณ์ (ทุกคนทั้งชายและหญิง อาจพยากรณ์ หรือสอนและเป็นพยานได้ ควรทำสิ่งนี้ตามระเบียบ ทีละคน)

  • เราสามารถเรียนรู้ความจริงอะไรเกี่ยวกับศาสนจักรของพระเยซูคริสต์จากข้อเหล่านี้ (โดยใช้คำพูดของพวกเขาเอง นักเรียนควรระบุหลักธรรมทำนองนี้ ในศาสนจักรของพระเยซูคริสต์ ทุกสิ่งต้องทำตามระเบียบ)

  • ท่านคิดว่าเหตุใดจึงสำคัญที่จะทำทุกสิ่งในศาสนจักรตามระเบียบอันถูกต้อง

อธิบายว่างานเขียนของเปาโลใน 1 โครินธ์ 14:34–35 ให้ตัวอย่างวิธีที่เขากำกับดูแลวิสุทธิชนที่เมืองโครินธ์เพื่อคงระเบียบในศาสนจักร เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 14:34–35 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลสอนสมาชิกศาสนจักรที่เมืองโครินธ์ เชื้อเชิญให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ

อธิบายว่าเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจเจตนาในคำแนะนำของเปาโลเพราะเขาไม่ได้ห้ามผู้หญิงสวดอ้อนวอนหรือพูดในการประชุมของศาสนจักร (ดู 1 โครินธ์ 11:5) งานแปลของโจเซฟ สมิธแทนคำว่า พูด ใน ข้อ 34 และ 35 ด้วยคำว่า ปกครอง การเปลี่ยนคำนี้บอกถึงความเป็นไปได้ที่ว่าเปาโลกำลังแก้ไขสถานการณ์ที่ผู้หญิงชาวโครินธ์กำลังขาดระเบียบระหว่างพิธีนมัสการหรือพยายามที่จะได้ความรับผิดชอบอย่างไม่เหมาะสมเพื่อนำแทนที่จะสนับสนุนและทำตามผู้นำฐานะปุโรหิต (ดู คู่มือนักเรียน พันธสัญญาใหม่ [คู่มือของระบบการศึกษาของศาสนจักร, 2014], 380)

สรุปบทเรียนโดยเป็นพยานถึงความจริงที่สอนใน 1 โครินธ์ 13–14

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

2 โครินธ์ 13:1–3 จิตกุศลเป็นมากกว่าความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

เอ็ลเดอร์บรูซ ซี. ฮาเฟนแห่งสาวกเจ็ดสิบสอนเกี่ยวกับจิตกุศลดังนี้

“เป็นไปได้ทีเดียวที่จะรับใช้ด้วยจิตกุศล—แม้แบบ ‘ชาวคริสต์’—โดยปราศจากการพัฒนาอุปนิสัยเหมือนพระคริสต์ที่ฝังแน่นและยั่งยืน เปาโลเข้าใจสิ่งนี้เมื่อเขาเตือนไม่ให้มอบสิ่งของทั้งหมดจากคนคนหนึ่งเพื่อเลี้ยงคนยากจนโดยปราศจากจิตกุศลที่แท้จริง … เราให้โดยปราศจากความรักได้ แต่เราไม่สามารถรักโดยปราศจากการให้ หากสัมพันธภาพที่ขึ้นไปถึงพระผู้เป็นเจ้าของเราสมบูรณ์แล้ว จากผลของสัมพันธภาพนั้น สัมพันธภาพที่ออกไปหาเพื่อนมนุษย์ของเราจะสมบูรณ์ด้วย แล้วเราจะปฏิบัติอย่างมีจิตกุศลต่อผู้อื่น ไม่ใช่เพียงเพราะเราคิดว่าเราควรทำ แต่เพราะว่าเราเป็นแบบนั้น” (The Broken Heart: Applying the Atonement to Life’s Experiences [1989], 196–97)

1 โครินธ์ 13:4–7 จิตกุศล

ดังที่บันทึกไว้ใน 1 โครินธ์ 13:4–5 เปาโลบรรยายคุณลักษณะแห่งจิตกุศลหลายอย่าง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือคนที่มีจิตกุศลทำสิ่งต่างๆ และมีอุปนิสัยที่เขาบรรยาย วลี “อดทนนาน” บรรยายบางคนที่ทนต่อการทดลองด้วยความอดทน “ไม่อิจฉา” บรรยายบางคนที่ไม่ริษยาผู้อื่น “ไม่อวดตัว” บรรยายบางคนที่ไม่โอ้อวด “ไม่หยิ่งผยอง” บรรยายคุณสมบัติของการเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน “ไม่หยาบคาย” บรรยายบางคนที่ไม่กล่าววาจาหยาบหรือไม่ถนอมน้ำใจผู้อื่น “ไม่เห็นแก่ตัว” บรรยายคุณสมบัติของการให้พระผู้เป็นเจ้าและผู้อื่นมาก่อนตนเอง “ไม่ฉุนเฉียว” บรรยายบางคนที่ไม่โกรธง่าย “เชื่ออยู่เสมอ” บรรยายบางคนที่ยอมรับความจริงทั้งปวง

1 โครินธ์ 13:8 ของประทานแห่งการพยากรณ์ การพูดภาษา และวิชาความรู้จะ “เลิก” และ “เสื่อมสลายไป”

เอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกีแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายสาเหตุที่ของประทานแห่งการพยากรณ์และการพูดภาษาจะเลิกไปในที่สุดและสาเหตุที่ของประทานแห่งวิชาความรู้จะเสื่อมสลายไปดังนี้

“ของประทานแห่งพระวิญญาณจะหายไปหรือไม่ จะมีวันที่วิสุทธิชนจะไม่มีของประทานแห่งการพยากรณ์และการพูดภาษาหรือไม่ หรือของประทานแห่งวิชาความรู้จะหายไปหรือไม่ จะมีวันนั้น ในความหมายที่ว่าสิ่งเหล่านี้จะถูกกลืนเข้าไปในบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า และจะไม่จำเป็นอีกต่อไปในวันที่สมบูรณ์ เมื่อวิสุทธิชนรู้ทุกภาษา จะไม่มีใครที่พูดภาษาที่ไม่รู้จัก เมื่อวิสุทธิชนเป็นเหมือนพระผู้เป็นเจ้าและรู้ทุกสิ่ง—อดีต ปัจจุบัน และอนาคต—จะไม่จำเป็นหรือมีสักครั้งที่จะพยากรณ์ถึงอนาคต” (Doctrinal New Testament Commentary, 3 vols. [1965–73], 2:380)

1 โครินธ์ 14:1 “มุ่งหาความรัก”

เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต เจ. เวทเทนแห่งสาวกเจ็ดสิบสองอธิบายว่า

“เช่นเดียวกับศรัทธา ความรักแบบพระคริสต์เป็นของประทานแห่งพระวิญญาณ มอบให้ตามหลักธรรมแห่งความชอบธรรมส่วนตัวและตามระดับการเชื่อฟังกฎซึ่งในนั้นกำหนดพรไว้ เช่นเดียวกับศรัทธา ความรักต้องแสดงออกจึงจะเติบโต” (True Followers, May 1999, 30)

เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้

“จิตกุศล ‘ความรักอันบริสุทธิ์ของพระคริสต์’ (โมโรไน 7:47) ไม่ใช่ การกระทำ แต่เป็น สภาวะ หรือสถานภาพของมนุษย์ จิตกุศลจะบรรลุได้โดยการกระทำต่อเนื่องที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนใจเลื่อมใส จิตกุศลคือสิ่งที่มนุษย์จะเป็น” (“การท้าทายเพื่อที่จะเป็น,” เลียโฮนา, ม.ค. 2001, 49)

2 โครินธ์ 14:1–3 ของประทานแห่งการพยากรณ์

เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายความแตกต่างระหว่างสมาชิกศาสนจักรที่มีของประทานฝ่ายวิญญาณแห่งการพยากรณ์กับคนที่ถูกเรียกให้รับใช้ในตำแหน่งพยากรณ์

“ในความหมายที่ใช้ในการพูดถึงของประทานฝ่ายวิญญาณ ศาสดาพยากรณ์เป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์ สอนพระคำของพระผู้เป็นเจ้า และตักเตือนผู้คนของพระผู้เป็นเจ้า ในความหมายของพระคัมภีร์ การพยากรณ์มีความหมายมากกว่าการทำนายอนาคต …

“เป็นเรื่องสำคัญสำหรับเราที่จะเข้าใจความแตกต่างระหว่างศาสดาพยากรณ์ คนหนึ่ง ที่มี ของประทานฝ่ายวิญญาณแห่งการพยากรณ์ กับศาสดาพยากรณ์ คนนั้น ที่มี ตำแหน่งพยากรณ์” (Spiritual Gifts, Sept. 1986, 71)

1 โครินธ์ 14 “เพราะว่าคนที่พูดภาษาแปลกๆ นั้น”

“อัครสาวกและคนอื่นๆ พูด ภาษาอื่นๆ’ ในวันเพ็นเทคอสต์ (กิจการของอัครทูต 2:4–8) ในครั้งนี้ ของประทานแห่งการพูดภาษาแสดงให้ประจักษ์ผ่านผู้รับใช้ชองพระผู้เป็นเจ้าซึ่งกำลังสอนพระกิตติคุณในภาษาที่ผู้ฟังรู้จักแต่ผู้พูดไม่รู้จัก (ดูบทวิจารณ์สำหรับ กิจการของอัครทูต 2:5–11) การแสดงให้ประจักษ์อีกอย่างหนึ่งสำหรับของประทานแห่งการพูดภาษาเกิดขึ้นเมื่อคนๆ หนึ่งได้รับการกระตุ้นโดยพระวิญญาณให้พูดภาษาที่ทั้งผู้พูดและผู้ฟังไม่รู้จัก (ดู บรูซ อาร์. แมคคองกี, Doctrinal New Testament Commentary, 2:383)” (คู่มือนักเรียน พันธสัญญาใหม่ [คู่มือของระบบการศึกษาของศาสนจักร, 2014], 379)

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำเตือนสำคัญเรื่องจุดประสงค์และการใช้ของประทานแห่งการพูดภาษา ให้ดูโรเบิร์ต ดี. เฮลส์ Gifts of the Spirit, Feb. 2002, 14–15.