คลังค้นคว้า
บทที่ 8: มัทธิว 4


บทที่ 8

มัทธิว 4

คำนำ

หลังจากบัพติศมาของพระเยซูคริสต์ พระองค์ทรงใช้เวลา 40 วันอดอาหารและสนทนากับพระบิดาบนสวรรค์ในถิ่นทุรกันดาร หลังจากประสบการณ์นี้ มารล่อลวงพระเยซู พระเยซูทรงต่อต้านการล่อลวงแต่ละครั้งโดยใช้พระคัมภีร์ พระผู้ช่วยให้รอดเสด็จไปที่แคว้นกาลิลี ที่ซึ่งพระองค์ทรงเรียกเปโตรและคนอื่นๆ ให้ติดตามพระองค์ไปสอน สั่งสอน และรักษา

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

มัทธิว 4:1-11

พระเยซูทรงต่อต้านการล่อลวงของมาร

ขออาสาสมัครคนหนึ่งออกมาที่หน้าชั้นเรียน ท้าให้นักเรียนคนนั้นจ้องดูสิ่งของอย่างหนึ่งในห้อง 30 วินาทีโดยไม่ละสายตา เมื่อนักเรียนเริ่มมอง พยายามดึงความสนใจของเขาจากการมองสิ่งนั้น ยกตัวอย่างเช่น ท่านอาจให้ดูสิ่งของที่มีสีสันสดใส ส่งเสียงดัง หรือส่งอาหารให้นักเรียนคนนั้น หลังจาก 30 วินาที ถามนักเรียนว่า

  • เป็นอย่างไรบ้าง ทำไมคุณจึงสามารถ หรือไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นได้

  • คุณนึกถึงอะไรในช่วง 30 วินาทีนั้น

ถามชั้นเรียนว่า

  • ประสบการณ์นี้เหมือนกับความพยายามของเราที่จะจดจ่ออยู่กับการเชื่อฟังพระบัญญัติของพระบิดาบนสวรรค์อย่างไร ความพยายามที่จะดึงความสนใจของนักเรียนสื่อถึงอะไร (ความพยายามที่จะล่อลวงเราให้ทำบาป)

  • ทำไมซาตานล่อลวงเราให้ทำบาป (ดู 2 นีไฟ : 17-18, 27)

ขอให้นักเรียนนึกถึงวิธีที่ซาตานล่อลวงพวกเขาให้ทำบาป ให้นักเรียนศึกษา มัทธิว 4 เพื่อมองหาหลักธรรมที่พวกเขาสามารถประยุกต์ใช้เพื่อช่วยพวกเขาต่อต้านการล่อลวง

อธิบายว่าหลังจากบัพติศมาของพระองค์ พระผู้ช่วยให้รอดทรงมีประสบการณ์ที่ช่วยเตรียมพระองค์สำหรับการปฏิบัติศาสนกิจบนแผ่นดินโลก เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงงานแปลของโจเซฟ สมิธใน มัทธิว 4:1-2 โดยใส่ใจความแตกต่างในงานแปลของโจเซฟสมิธจากข้อความต้นฉบับ “เวลานั้นพระวิญญาณทรงนำพระเยซู, เข้าไปในแดนทุรกันดาร, เพื่อไปประทับอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า และพระองค์ทรงอดอาหารสี่สิบวันสี่สิบคืน และได้ติดต่อกับพระเจ้า ภายหลังพระองค์ก็ทรงหิว, และถูกทิ้งให้มารล่อลวง” ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่พระเยซูทรงประสบในถิ่นทุรกันดาร (ท่านอาจต้องอธิบายว่าในข้อความนี้ คำว่า ติดต่อ หมายถึง “อยู่กับ” หรือมีการติดต่อสื่อสารทางวิญญาณอย่างใกล้ชิด)

  • การอดอาหารและการติดต่อกับพระบิดาบนสวรรค์ได้ช่วยพระเยซูเตรียมพร้อมสำหรับการปฏิบัติศาสนกิจบนแผ่นดินโลกอย่างไร

  • หลังจากพระเยซูทรงใช้เวลาอดอาหารและติดต่อกับพระบิดาของพระองค์ ซาตามมุ่งหมายจะทำอะไร

แบ่งนักเรียนออกเป็นคู่ๆ จัดเตรียมสำเนา แผนภูมิ ต่อไปนี้ให้แต่ละคู่ หรือขอให้พวกเขาลอกลงในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา

ภาพ
เอกสารแจก การล่อลวงของพระคริสต์

มัทธิว 4:1-11

คู่มือครูเซมินารี พันธสัญญาใหม่—บทที่ 8

ซาตานล่อลวงให้พระเยซูทำอะไร

พระเยซูทรงตอบสนองต่อการล่อลวงนี้อย่างไร

มัทธิว 4:3-4

มัทธิว 4:5–7

มัทธิว 4:8–11

แนะนำให้นักเรียนอ่านข้อที่ให้คู่ของพวกเขาและเติมข้อมูลในแผนภูมิให้สมบูรณ์ ก่อนที่พวกเขาจะเริ่มกิจกรรมนี้ อธิบายว่างานแปลของโจเซฟ สมิธแก้ไขข้อความใน มัทธิว 4:5, 8 เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระวิญญาณ ไม่ใช่มาร ที่นำพระผู้ช่วยให้รอดไปที่ต่างๆ ที่บรรยายไว้ในข้อเหล่านี้ (ดู งานแปลของโจเซฟ สมิธ , ลูกา 4:5 ; ลูกา 4:9 )

หลังจากนักเรียนเติมข้อมูลในแผนภูมิเสร็จแล้ว เชิญหลายๆ คู่ให้รายงานสิ่งที่พวกเขาเขียนในแต่ละช่อง ท่านอาจถามคำถามต่อไปนี้

  • ซาตานพยายามทำเพื่อให้สมปรารถนาในสิ่งใดเมื่อเขาล่อลวงพระเยซูผู้อดพระกระยาหาร เพื่อสั่งก้อนหินให้กลายเป็นขนมปัง (เขาพยายามจะให้สมปรารถนาในการสนองความอยากทางร่างกาย)

  • เรื่องอะไรที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อเสนอของซาตานที่จะถวายอาณาจักรของโลกนี้แด่พระเยซู (ซาตานสัญญาจะให้รางวัลที่ไม่ใช่ของเขาและเขาหาให้ไม่ได้)

  • เรื่องราวนี้แสดงถึงกลยุทธอะไรอีกของซาตานเพื่อล่อลวงให้เราทำบาป (ซาตานมุ่งโจมตีบริเวณที่อ่อนแอที่สุด อ่อนไหวที่สุด และล่อลวงเราซ้ำแล้วซ้ำเล่า)

ชี้ให้เห็นว่าในที่สุดพระเยซูก็สนองความหิวโหยของพระองค์ได้และทรงเปลี่ยนแม้แต่สสารทางโลกให้เป็นอาหาร (ดู ยอห์น 2:1–11) พระองค์ทรงได้รับการยืนยันจากสวรรค์ถึงการปฏิบัติศาสนกิจของพระองค์และความช่วยเหลือด้วย (ดู มัทธิว 17:1–5; ลูกา 22:41–44) และวันหนึ่งพระองค์จะทรงปกครองโลก (เศคาริยาห์ 14:9; วิวรณ์ 11:15) อย่างไรก็ดี หากพระเยซูจะทรงได้รับสิ่งเหล่านี้เนื่องจากซาตานล่อลวงพระองค์—แทนที่จะรอเวลาที่เหมาะสมและวิธีที่เหมาะสม—ย่อมเป็นการละเมิดอำนาจของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อเหตุผลที่เห็นแก่ตัว พระเยซูจะสถาปณาอัตลักษณ์อันสูงส่งของพระองค์ในฐานะพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าในวิธีที่สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระบิดาบนสวรรค์ ไม่ใช่ด้วยคำสั่งของซาตาน (ดู เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, The Inconvenient Messiah, Ensign, ก.พ. 1984, 68-73)

  • มีอะไรที่คล้ายกันเกี่ยวกับการตอบสนองของพระผู้ช่วยให้รอดต่อการล่อลวงแต่ละครั้ง (พระเยซูทรงตอบสนองการล่อลวงของซาตานในแต่ละครั้งด้วยการอ้างอิงพระคัมภีร์)

เชิญนักเรียนทำงานเป็นคู่เพื่อเขียนหลักธรรมที่เราเรียนรู้จากแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดในการต่อต้านการล่อลวงของมาร ขอให้นักเรียนหลายๆ คนเขียนหลักธรรมที่พวกเขาระบุไว้บนกระดาน เมื่อนักเรียนแบ่งปันหลักธรรมที่พวกเขาระบุ เน้นย้ำหลักธรรมต่อไปนี้ เมื่อเรานึกถึงและประยุกต์ใช้ความจริงที่สอนในพระคัมภีร์ เราสามารถต้านทานการล่อลวงของมารได้ หากความจริงนี้แสดงไม่ชัดเจนในหลักธรรมต่างๆ ที่นักเรียนระบุ ให้เพิ่มเข้าไปในข้อความบนกระดาน

ชี้ให้เห็นว่าพระผู้ช่วยให้รอดไม่เพียงนึกถึงพระคัมภีร์ซึ่งชี้ชัดพฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับการล่อลวงแต่ละอย่าง แต่พระองค์ทรงประยุกต์ใช้ความจริงที่สอนในพระคัมภีร์เหล่านั้นด้วย

  • พิจารณาหลักธรรมที่เราระบุเกี่ยวกับอำนาจของการนึกถึงและประยุกต์ใช้ความจริงที่สอนในพระคัมภีร์ เหตุใดจึงต้องศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจำ

แจกกระดาษหนึ่งแผ่นให้นักเรียนแต่ละคู่และขอให้พวกเขาเขียนช่องสี่ช่องในกระดาษ แนะนำให้พวกเขาเขียนบาปสามอย่างที่เยาวชนรุ่นเดียวกันกับพวกเขาอาจถูกล่อลวงให้ทำในช่องแรก ในช่องที่สอง ขอให้พวกเขาเขียนวิธีที่ซาตานพยายามหลอกล่อให้คนทำบาปแต่ละอย่างที่พวกเขาเขียนในช่องแรก บอกนักเรียนให้แลกกระดาษกับอีกคู่หนึ่ง จากนั้นแนะนำให้พวกเขาหาข้ออ้างอิงพระคัมภีร์ที่เจาะจงหนึ่งข้อซึ่งสอนความจริงที่คนสามารถนึกถึงและประยุกต์ใช้เมื่อถูกล่อลวงให้ทำบาปแต่ละอย่างในรายการที่พวกเขาได้รับมา (ท่านอาจชวนนักเรียนให้ดูข้อความผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์, เช่น ปฐมกาล 39:9; ยอห์น 14:15; หรือ หลักคำสอนและพันธสัญญา 10:5.) ขอให้นักเรียนเขียนพระคัมภีร์อ้างอิงไว้ในช่องที่สาม

หลังจากผ่านไปหลายนาที เชิญนักเรียนคนหนึ่งจากแต่ละคู่มารายงานพระคัมภีร์อ้างอิงที่พวกเขาหาเจอสำหรับหนึ่งในการล่อลวงที่อยู่ในกระดาษของพวกเขา ขอให้พวกเขาอธิบายว่าพระคัมภีร์นั้นจะช่วยเราเมื่อเราประสบกับการล่อลวงนั้นอย่างไร

  • ท่านเข้มแข็งขึ้นและสามารถต้านทานการล่อลวงเนื่องจากท่านนึกถึงและประยุกต์ใช้ความจริงที่สอนในพระคัมภีร์เมื่อใด (เตือนนักเรียนว่าพวกเขาไม่ควรแบ่งปันประสบการณ์ที่เป็นเรื่องส่วนตัวเกินไป)

เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนข้ออ้างอิงพระคัมภีร์ที่พวกเขาจะนึกถึงและประยุกต์ใช้คราวหน้าเมื่อพวกเขาถูกล่อลวงให้ทำบาป ในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ กระตุ้นให้พวกเขาท่องจำพระคัมภีร์ที่พวกเขาเลือก

มัทธิว 4:12-17

พระเยซูประทับอยู่ในแคว้นกาลิลี

สรุป มัทธิว 4:12–15 โดยอธิบายว่าหลังจากประสบการณ์ของพระองค์ในถิ่นทุรกันดาร พระผู้ช่วยให้รอดไปที่แคว้นกาลิลีและประทับอยู่ในเมืองคาเปอรนาอุม มัทธิวระบุว่าการปฏิบัติศาสนกิจของพระผู้ช่วยให้รอดในแคว้นกาลิลีทำให้คำพยากรณ์ที่อิสยาห์กล่าวไว้เกิดสัมฤทธิผล (ดู อิสยาห์ 9:1–2). ให้นักเรียนอ่าน มัทธิว 4:16 ในใจ ท่านอาจต้องการแนะนำให้นักเรียนทำเครื่องหมายสิ่งที่อิสยาห์พยากรณ์ว่าจะเกิดขึ้น ชี้ให้เห็นว่าจากการพยากรณ์นี้เราเรียนรู้ว่า พระเยซูคริสต์ทรงนำความสว่างเข้ามาสู่ชีวิตคนที่อยู่ในความมืด กระตุ้นให้นักเรียนมองหาว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงทำสิ่งนี้ได้อย่างไรตลอดทั้งการปฏิบัติศาสนกิจของพระองค์

สรุป มัทธิว 4:17 โดยอธิบายว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเริ่มสั่งสอนการกลับใจเพื่อเป็นการเตรียมรับอาณาจักรสวรรค์ที่กำลังได้รับการสถาปนาในบรรดาผู้คน

มัทธิว 4:18–22

พระเยซูทรงเรียกเปโตรและคนอื่นๆ ให้ติดตามพระองค์

ภาพ
การเรียกชาวประมง

แสดง ภาพ ทรงเรียกชาวประมง (หนังสือภาพพระกิตติคุณ [2009], หน้าที่ 37; ดู LDS.org ด้วย) ชี้ให้เห็นว่าชายสองคนที่อยู่ข้างหน้าเรือคือเปโตรและอันดรูว์ น้องชายของเขา

  • พวกเขากำลังทำอะไรกับแห

อธิบายว่าขณะที่คนอื่นอาจมองเปโตรและอันดรูว์ว่าเป็นชาวประมงธรรมดา แต่พระเยซูคริสต์ทอดพระเนตรเห็นศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขาและทรงทราบว่าพวกเขาจะเป็นอะไรในอนาคต

  • เราเป็นเหมือนเปโตรและอันดรูว์ในทางใดบ้าง

ขณะที่นักเรียนศึกษา มัทธิว 4 ต่อ เชิญพวกเขาให้มองหาว่าเราต้องทำอะไรเพื่อจะเป็นทุกอย่างที่พระเจ้าทรงต้องการให้เราเป็น

เชิญให้นักเรียนหลายๆ คนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก มัทธิว 4:18-22 ขอให้นักเรียนที่เหลือดูตาม โดยมองหาปฏิสัมพันธ์ระหว่างพระผู้ช่วยให้รอดกับชาวประมงบางคน

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงเรียกเปโตร อันดรูว์ ยากอบ และยอห์นให้ทำอะไร “ผู้หาคน [ดั่งหาปลา]” คืออะไร (ข้อ 19)

  • ชายเหล่านี้ต้องเสียสละอะไรเพื่อติดตามพระผู้ช่วยให้รอดและช่วยงานของพระองค์ เหตุใดสิ่งนี้อาจเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขา

เชิญนักเรียนให้ไตร่ตรองว่าพวกเขาจะตอบอย่างไรหากพวกเขาเป็นหนึ่งในชายเหล่านี้

  • ท่านสังเกตเห็นอะไรเกี่ยวกับการตอบรับของชายเหล่านี้ การตอบรับพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดทันทีแสดงให้เห็นอุปนิสัยอะไรของพวกเขา

  • ชายเหล่านี้จะทำประโยชน์มากกว่าในชีวิตของพวกเขาเมื่อเป็นชาวประมงหรือ “ผู้หาคนดั่งหาปลา” เพราะเหตุใด

  • ตามที่แสดงไว้ในเรื่องราวนี้ จะเกิดอะไรขึ้นหากเราตอบรับพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ติดตามพระองค์ทันที (นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่ให้แน่ใจว่าพวกเขาระบุหลักธรรมต่อไปนี้ หากเราตอบรับพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อติดตามพระองค์ทันที พระองค์จะทรงรังสรรค์ชีวิตเราได้มากกว่าที่เราจะทำได้)

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน ขอให้ชั้นเรียนมองหาว่าพระเจ้าจะทรงรังสรรค์ชีวิตเราได้มากกว่าที่เราจะทำได้อย่างไร

ภาพ
ประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน

“ชายหญิงผู้ถวายชีวิตแด่พระผู้เป็นเจ้าจะพบว่าพระองค์ทรงสามารถรังสรรค์จากชีวิตพวกเขาได้มากกว่าที่พวกเขาจะทำได้ พระองค์จะทรงทำให้ปีติของพวกเขาลึกซึ้งยิ่งขึ้น ขยายวิสัยทัศน์ของพวกเขา ประทานความคิดที่ฉับไวแก่พวกเขา ทำให้กล้ามเนื้อของพวกเขาแข็งแรง ยกระดับวิญญาณของพวกเขา ทวีพรของพวกเขา เพิ่มโอกาสของพวกเขา ปลอบโยนจิตวิญญาณของพวกเขา เพิ่มมิตรสหาย และหลั่งรินสันติสุข ใครก็ตามที่ยอมเสียชีวิตของเขาในการรับใช้ของพระผู้เป็นเจ้าจะพบชีวิตนิรันดร์” (Jesus Christ—Gifts and Expectations, Ensign, ธ.ค. 1988, 4)

  • ท่านหรือบางคนที่ท่านรู้จักได้รับพรที่คล้ายกันจากการละทิ้งความกังวลทางโลกเพื่อติดตามพระผู้ช่วยให้รอดเมื่อใด

  • เมื่อท่านพิจารณาพรทั้งหลายที่เราได้รับโดยการติดตามพระผู้ช่วยให้รอด เหตุใดท่านจึงคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะตอบรับ ทันที ต่อพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ติดตามพระองค์

ให้นักเรียนเขียนคำตอบของคำถามต่อไปนี้ในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา

  • ท่านจะตอบรับพระดำรัสเชิญของพระผู้ช่วยให้รอดให้ติดตามพระองค์ได้ดีขึ้นได้อย่างไร

กระตุ้นให้นักเรียนทำตามที่เขียนไว้

มัทธิว 4:23-25

พระเยซูเสด็จไปสอน สั่งสอน และรักษาที่แคว้นกาลิลี

ให้นักเรียนอ่าน มัทธิว 4:23–25 ในใจ โดยมองหาการกระทำของพระผู้ช่วยให้รอด ท่านอาจต้องการเสนอแนะให้นักเรียนทำเครื่องหมายสิ่งที่พวกเขาพบ อธิบายว่าตัวอย่างที่เจาะจงเกี่ยวกับการสอน การสั่งสอนและการรักษาของพระผู้ช่วยให้รอดนั้น เราจะศึกษาตลอดพระกิตติคุณทั้งสามเล่ม

สรุปโดยแสดงประจักษ์พยานถึงความจริงที่นักเรียนระบุในบทเรียน

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

มัทธิว 4:2-10 การล่อลวงของมาร

บางคนนึกว่าเหตุการณ์ในทะเลทรายยูเดียเป็นครั้งเดียวที่ซาตานล่อลวงพระเยซูและพระผู้ช่วยให้รอดทรงออกมาอย่างผู้มีชัย แต่ใน ลูกา 4:13 เราเรียนรู้ว่าหลังจากการล่อลวงนี้ซาตานไปจากพระเยซูไป “จนกว่าจะถึงโอกาสเหมาะ” ซาตานจะยังคงต่อต้านและล่อลวงพระผู้ช่วยให้รอดต่อไป บางครั้งโดยการใช้คนที่ชั่วร้ายเช่นคนที่ข่มเหงพระเยซู (ตัวอย่างเช่น ดู มัทธิว 27:41–43)

ประธานเดวิด โอ. แมคเคย์กล่าวถึงการล่อลวงที่พระผู้ช่วยให้รอดประสบในถิ่นทุรกันดารว่า

“ลองแยกประเภทดู และท่านจะพบว่าการล่อลวงแทบทุกอย่างที่ทำให้ท่านและข้าพเจ้าด่างพร้อย … มาถึงเราภายใต้หนึ่งในสามรูปแบบนั้น คือ (1) การล่อลวงเรื่องความอยาก (2) การยอมอ่อนข้อให้ความจองหอง ความนิยม และความถือตัวของคนที่เหินห่างจากเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า หรือ (3) การสนองความลุ่มหลง หรือปรารถนาความร่ำรวยของโลก หรืออำนาจในหมู่มนุษย์” (ใน Conference Report, ต.ค. 1911, 59)

มัทธิว 4:4, 7, 10 นึกถึงพระคัมภีร์และประยุกต์ใช้ความจริงที่สอนไว้ในช่วงเวลาที่มีการล่อลวง

การศึกษาพระคัมภีร์จำเป็นต่อความสามารถในการนึกถึงพระคัมภีร์เมื่อถูกล่อลวง การศึกษาพระคัมภีร์ของเราจะรวมถึงความพยายามท่องจำข้อพระคัมภีร์หรือข้อความ เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่าพระคัมภีร์ที่ท่องจำจะช่วยเราได้อย่างไร

“พลังยิ่งใหญ่สามารถมาจากการท่องจำพระคัมภีร์ การท่องจำพระคัมภีร์เป็นการสร้างมิตรภาพใหม่ เปรียบเสมือนการค้นพบบุคคลอีกคนหนึ่งที่สามารถช่วยเราได้ยามจำเป็น ให้การดลใจและการปลอบโยนตลอดจนเป็นบ่อเกิดของแรงจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น” (“พลังแห่งพระคัมภีร์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 7)

เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้คำแนะนำต่อไปนี้เกี่ยวกับการท่องจำข้อความพระคัมภีร์

“จงฉลาดในการรับเทคโนโลยีมาใช้ ทำเครื่องหมายข้อพระคัมภีร์สำคัญในอุปกรณ์ของท่านและกลับมาอ่านบ่อย ๆ หากเยาวชน คนหนุ่มสาวจะทบทวนข้อพระคัมภีร์สักข้อให้บ่อยเท่ากับที่บางคนส่งข้อความ ไม่นานท่านจะท่องจำข้อพระคัมภีร์ได้หลายร้อยข้อทีเดียว ข้อความเหล่านั้นจะกลายเป็นแหล่งการดลใจและการนำทางอันทรงพลังจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ในยามจำเป็น” (“เพื่อให้มีสันติสุขในบ้าน,” เลียโฮนา พ.ค. 2013, 30)

มัทธิว 4:4, 7, 10 อย่าเพลิดเพลินกับการล่อลวง

เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวถึงแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดในการต่อต้านการล่อลวงดังนี้

“โดยการเลียนแบบพระอาจารย์ ผู้อดทนต่อการล่อลวงแต่ ‘ไม่ทรงเอาพระทัยใส่สิ่งเหล่านั้น’ เราสามารถใช้ชีวิตในโลกที่เต็มไปด้วยการล่อลวง ‘ซึ่งเคย [เกิด] กับมนุษย์’ เช่นกัน (1 โคธินธ์ 10:13) แน่นอนพระเยซูทรงสังเกตเห็นการล่อลวงอันใหญ่หลวงที่มาสู่พระองค์ แต่พระองค์ไม่ทรงคิดและหมกมุ่นกับมัน พระองค์ทรงปฏิเสธการล่อลวงทันที หากเราเพลิดเพลินกับการล่อลวง ไม่นานการล่อลวงก็จะมีอิทธิพลกับเรา!” (Overcome … Even As I Also Overcame, Ensign, พ.ค. 1987, 71)