คลังค้นคว้า
บทที่ 31: มัทธิว 26:31–75


บทที่ 31

มัทธิว 26:31–75

คำนำ

ในสวนเกทเสมนี พระเยซูคริสต์ทรงเริ่มรับเอาบาปของคนทั้งปวงมาไว้กับพระองค์เองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการชดใช้ของพระองค์ ยูดาสทรยศพระเยซูให้ผู้นำชาวยิว จากนั้นพระเยซูทรงถูกสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อหน้าคายาฟาสมหาปุโรหิต พระองค์ถูกปรักปรำด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ ขณะเดียวกัน เปโตรปฏิเสธว่ารู้จักพระผู้ช่วยให้รอดต่อคนที่บอกว่าเขาเป็นหนึ่งในสานุศิษย์ของพระองค์ถึงสามครั้ง

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

มัทธิว 26:31–46

พระเยซูทรงทนทุกข์ในสวนเกทเสมนี

ขอให้นักเรียนนึกถึงสถานการณ์สมมติต่อไปนี้ มีคนบอกชายหนุ่มคนหนึ่งตั้งแต่วัยเยาว์ว่าเป็นหน้าที่ของเขาที่จะรับใช้งานเผยแผ่เต็มเวลา เมื่อเป็นวัยรุ่น เขายังรู้ว่าเขาควรรับใช้งานเผยแผ่แต่ก็มีปัญหากับการให้คำมั่นว่าจะไป เขาสนใจโอกาสอื่นๆ มากกว่าและกังวลว่างานเผยแผ่จะทำให้เขาไม่มีประสบการณ์เหล่านั้น

  • มีสถานการณ์อื่นใดบ้างที่ความปรารถนาของเยาวชนชายและเยาวชนหญิงอาจจะแตกต่างจากสิ่งที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงต้องการให้พวกเขาทำ (เขียนคำตอบของนักเรียนไว้บนกระดาน)

  • เหตุใดจึงเป็นเรื่องยากที่จะทำสิ่งที่เรารู้ว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงต้องการให้เราทำในบางครั้ง

เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาหลักธรรมใน มัทธิว 26:31–46 ที่จะช่วยพวกเขาเมื่อพวกเขามีปัญหากับการเชื่อฟังพระประสงค์ของพระบิดาบนสวรรค์

เตือนนักเรียนว่าดังที่บันทึกไว้ใน มัทธิว 26:1–30 พระเจ้าเสวยปัสกากับสานุศิษย์ของพระองค์และทรงจัดตั้งศีลระลึก

เชื้อเชิญนักเรียนหลายๆ คนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก มัทธิว 26:31–35 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่พระเยซูทรงพยากรณ์ว่าจะเกิดขึ้นกับสานุศิษย์ของพระองค์

  • พระเยซูตรัสว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับสานุศิษย์ในคืนนั้น

อธิบายว่าในบริบทนี้คำว่า ทิ้ง หมายความว่าจะปฏิเสธหรือทอดทิ้ง

  • เปโตรกับอัครสาวกคนอื่นๆ ตอบพระดำรัสพระผู้ช่วยให้รอดว่าอย่างไร

เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง มัทธิว 26:36–38 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าพระเยซูและอัครสาวกไปที่ใดหลังจากงานเลี้ยงปัสกา ให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ

ขอให้นักเรียนเปิดไปที่ภาพถ่ายในพระคัมภีร์ไบเบิล หน้าที่ 11 “ภูเขามะกอกเทศ” และ หน้าที่ 12, “สวนเกทเสมนี” ในพระคัมภีร์ไบเบิล (KJV) ฉบับ LDS อธิบายว่าเกทเสมนีเป็นสวนมะกอกที่ตั้งอยู่บนภูเขามะกอกเทศอยู่นอกกำแพงเมืองเยรูซาเล็มและว่าชื่อ เกทเสมนี แปลว่า “เครื่องคั้นมะกอก”

ภาพ
ภูเขามะกอกเทศ

ภูเขามะกอกเทศ

ภาพ
สวนเกทเสมนี

สวนเกทเสมนี

  • ประโยคใดใน ข้อ 36–38 ที่บรรยายว่าพระเยซูทรงรู้สึกอย่างไรเมื่อเสด็จเข้าไปในเกทเสมนี

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง มัทธิว 26:39 ขอให้ชั้นเรียนมองหาว่าพระเยซูทรงทำอะไรหลังจาก “ดำเนินไปอีกหน่อยหนึ่ง” เข้าไปในสวน

  • ท่านพบคำหรือประโยคใดใน ข้อ 37–39 ที่บรรยายภาระหนักที่พระเยซูทรงประสบอยู่

  • พระเยซูทรงทูลขอให้พระบิดาทรงเลื่อนอะไรออกไปจากพระองค์

ชูถ้วยน้ำ อธิบายว่าถ้วยที่พระผู้ช่วยให้รอดกล่าวถึงเป็นเครื่องหมายของการทนทุกข์อันขมขื่นที่พระองค์ทรงประสบเป็นส่วนหนึ่งของการชดใช้ ใน เกทเสมนี พระเยซูเริ่มรับบาปและความทุกข์ของคนทั้งปวงไว้กับพระองค์อันเป็นส่วนหนึ่งของการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์

เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองซึ่งอธิบายว่าพระเยซูกำลังทูลขออะไรจากพระบิดาเมื่อพระองค์ทูลขอให้ถ้วยนั้นเลื่อนพ้นไปจากพระองค์

ภาพ
เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

“แท้ที่จริงพระเจ้าตรัสว่า ‘หากไม่มีทางอื่น ข้าพระองค์จะเดินทางนี้ หากมีทางอื่นใด—ทางอื่นใดก็ตาม—ข้าพระองค์จะรับด้วยความยินดี’ … แต่ในที่สุด ถ้วยก็ไม่เลื่อนพ้นไป” (Teaching, Preaching, Healing,” Ensign, ม.ค. 2003, 41)

ท่านอาจต้องการเสนอแนะให้นักเรียนทำเครื่องหมายวลี “แต่อย่างไรก็ดี อย่าให้เป็นไปตามใจปรารถนาของข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยพระองค์” (ข้อ 39)

  • ถึงแม้พระเยซูทรงทูลขอทางอื่นเพื่อบรรลุจุดประสงค์ของพระบิดา แต่พระองค์ทรงทำอะไรเพื่อให้การชดใช้บรรลุผลสำเร็จ (นักเรียนควรระบุความจริงทำนองนี้ พระเยซูคริสต์ทรงยอมให้ความปรารถนาของพระองค์เป็นไปตามพระประสงค์ของพระบิดาเพื่อทำให้การชดใช้บรรลุผลสำเร็จ)

  • เราสามารถเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูจากความเต็มพระทัยของพระองค์ที่ยอมให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระบิดาบนสวรรค์ถึงแม้นั่นหมายความว่าพระองค์จะต้องทนทุกข์แสนสาหัสและสิ้นพระชนม์ในที่สุด

เขียนข้อความที่ไม่ครบถ้วนต่อไปนี้บนกระดาน เราทำตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์เมื่อเรา …

  • ท่านจะเติมข้อความนี้ให้ครบถ้วนตามสิ่งที่เราได้เรียนรู้ใน มัทธิว 26:39 ว่าอย่างไร (โดยใช้คำพูดของนักเรียน เติมข้อความให้ครบถ้วนเพื่อจะสะท้อนความจริงต่อไปนี้ เราทำตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์เมื่อเราเลือกยอมให้ความต้องการของเราเป็นไปตามพระประสงค์ของพระบิดาบนสวรรค์)

เตือนความจำนักเรียนถึงสถานการณ์สมมติเกี่ยวกับเด็กหนุ่มที่ลังเลในการรับใช้งานเผยแผ่ เช่นเดียวกันกับสถานการณ์อื่นๆ ที่เขียนไว้บนกระดาน

  • แบบอย่างของพระคริสต์จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เราอย่างไรในสถานการณ์เหล่านี้

เชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงเวลาที่แม้ความปรารถนาของพวกเขาจะแตกต่างจากพระประสงค์ของพระบิดา แต่พวกเขาก็เลือกที่จะทำตามพระประสงค์ของพระบิดาในที่สุด ขอให้นักเรียนสองสามคนแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขาและอธิบายว่าเหตุใดพวกเขาจึงเลือกเช่นนั้นและพวกเขารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการเลือกนั้น

กระตุ้นให้นักเรียนระบุวิธีที่เจาะจงที่พวกเขาจะทำตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์โดยยอมให้ความปรารถนาของพวกเขาเป็นไปตามพระประสงค์ของพระบิดาบนสวรรค์

ให้นักเรียนอ่าน มัทธิว 26:37–38 โดยมองหาคำแนะนำของพระผู้ช่วยให้รอดที่ประทานแก่เปโตร ยากอบ และยอห์นในเกทเสมนี

  • พระเยซูประทานคำแนะนำอะไรแก่เปโตร ยากอบ และยอห์น

  • ท่านคิดว่าคำแนะนำให้ “เฝ้าระวังกับเรา” หมายความว่าอย่างไร (ข้อ 38)

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าเหตุใดสานุศิษย์จึงต้องการคำแนะนำของพระผู้ช่วยให้รอดให้เฝ้าระวังกับพระองค์ อธิบายว่าเมื่อสานุศิษย์มาที่สวน พวกเขา “และสานุศิษย์ทั้งหลายเริ่มกังวลใจยิ่งนัก, และหนักใจมาก, และพร่ำบ่นอยู่ในใจ, พลางสงสัยว่านี่คือพระเมสสิยาห์หรือไม่” (งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มาระโก 14:36 [ในคู่มือพระคัมภีร์]) โดยทรงแนะนำสานุศิษย์ของพระองค์ให้เฝ้าระวังกับพระองค์ พระเยซูทรงเตือนพวกเขาให้ระแวดระวังเพราะว่าศรัทธาของพวกเขาในพระองค์จะถูกทดสอบ

  • เหตุใดสานุศิษย์จึงสงสัยว่าพระเยซูทรงเป็นพระเมสสิยาห์จริงหรือไม่ (ชาวยิวหลายคนไม่เข้าใจว่าพระเมสสิยาห์จะทรงทนทุกข์และสิ้นพระชนม์แต่คาดหวังว่าพระเมสสิยาห์จะปลดปล่อยชาวยิวโดยการล้มล้างชาวโรมัน)

เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง มัทธิว 26:40 และขอให้ชั้นเรียนมองหาว่าพระเยซูทรงพบว่าอัครสาวกสามคนนี้กำลังทำอะไรเมื่อพระองค์ทรงสวดอ้อนวอน เชื้อเชิญให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พบ อธิบายว่างานแปลของโจเซฟ สมิธ ลูกา 22:45 ชี้ให้เห็นว่าสานุศิษย์กำลังหลับ “ด้วยความทุกข์เศร้าโศก”

  • เหตุใดอัครสาวกจึงเปี่ยมด้วยความเศร้าโศก

  • ท่านจะรู้สึกอย่างไรหากท่านเป็นพวกเขาและตระหนักว่าท่านได้หลับไปแทนที่จะเฝ้าระวังกับพระผู้ช่วยให้รอด

เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง มัทธิว 26:41 และขอให้ชั้นเรียนมองหาว่าพระเยซูทรงบอกสานุศิษย์ของพระองค์ให้ทำอะไร เชื้อเชิญให้นักเรียนรายงานสิ่งที่พวกเขาพบ

  • เราเรียนรู้หลักธรรมอะไรจากคำแนะนำของพระผู้ช่วยให้รอดที่ประทานแก่อัครสาวกเหล่านี้ (นักเรียนควรระบุหลักธรรมทำนองนี้ หากเราเฝ้าระวังและสวดอ้อนวอนอย่างต่อเนื่อง เราจะมีความเข้มแข็งเพื่อต้านทานการล่อลวง)

  • ท่านคิดว่าข้อความนี้ “จิตวิญญาณพร้อมแล้วก็จริง แต่กายยังอ่อนกำลัง” (ข้อ 41) หมายถึงอะไร สิ่งนี้สัมพันธ์กับการต้านทานการล่อลวงอย่างไร

  • ทบทวนว่า “เฝ้าระวัง” หมายถึงตื่น ตื่นตัว หรือระแวดระวัง การเฝ้าระวังทางวิญญาณและการสวดอ้อนวอนจะช่วยเราเอาชนะความอ่อนแอของเราและต้านทานการล่อลวงได้อย่างไร

เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองว่าพวกเขา เช่นเดียวกับอัครสาวกในเกทเสมนี เคยยอมต่อการล่อลวงเพราะพวกเขาไม่ได้สวดอ้อนวอนและเฝ้าระวังหรือไม่ ขอให้พวกเขาพิจารณาว่าการเลือกนั้นส่งผลต่อพวกเขาอย่างไร เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองช่วงที่พวกเขาต้านทานการล่อลวงโดยการสวดอ้อนวอนและเฝ้าระวัง

  • อะไรที่ได้ช่วยท่านมั่นคงในการเฝ้าระวังทางวิญญาณและสวดอ้อนวอน

เป็นพยานว่าเราสามารถต้านทานการล่อลวงเมื่อเราเฝ้าระวังและสวดอ้อนวอนอย่างต่อเนื่อง เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนลงในแผ่นกระดาษถึงสิ่งหนึ่งที่พวกเขาจะทำเพื่อให้เฝ้าระวังและสวดอ้อนวอนอย่างต่อเนื่องได้ดีขึ้น กระตุ้นให้พวกเขาพกกระดาษแผ่นนี้ไว้กับตัวเพื่อเตือนถึงเป้าหมายของพวกเขา

สรุป มัทธิว 26:42–46 โดยอธิบายว่าพระเยซูทรงสวดอ้อนวอนสามครั้งในสวนเกทเสมนี แต่ละครั้งพระองค์ทรงแสดงความเต็มพระทัยที่จะเชื่อฟังพระประสงค์ของพระบิดาของพระองค์

มัทธิว 26:47–75

พระเยซูคริสต์ทรงถูกจับกุมและถูกสอบสวนต่อหน้าคายาฟาส

เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เจอราลด์ เอ็น. ลันด์ผู้ซึ่งต่อมาเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสาวกเจ็ดสิบ

ภาพ
เจอราลด์ เอ็น. ลันด์

“จินตนาการว่า [พระเยซูคริสต์] พระสัตภาวะ ซึ่งพระเดชานุภาพ ความสว่าง พระรัศมีภาพของพระองค์ทำให้จักรวาลเป็นระเบียบ พระสัตภาวะซึ่งตรัสและระบบสุริยะ กาแลกซี และหมู่ดาวเกิดขึ้น—ทรงยืนอยู่ต่อหน้าบรรดาชายที่ชั่วร้ายและทรงถูกตัดสินว่าไม่มีคุณค่าหรือความหมายใดเลย!” (“Knowest Thou the Condescension of God?” ใน Doctrines of the Book of Mormon: The 1991 Sperry Symposium, ed. Bruce A. Van Orden and Brent L. Top [1992], 86)

เขียน มัทธิว 26:47–68 บนกระดาน ขอให้นักเรียนค้นคว้าข้อเหล่านี้ โดยมองหาว่าพระเยซูคริสต์ทรงยอมต่อพระประสงค์ของพระบิดาของพระองค์ต่อไปได้อย่างไรแม้เมื่อพระองค์ถูกคนชั่วร้ายข่มเหงและตัดสิน ขึ้นอยู่กับความต้องการของนักเรียน ท่านอาจอ่านออกเสียงข้อเหล่านี้เป็นชั้นเรียน แบ่งนักเรียนเป็นคู่เพื่ออ่านออกเสียงข้อเหล่านี้ หรือแนะนำนักเรียนให้อ่านในใจ

หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว ให้ถามคำถามต่อไปนี้

  • พระเยซูคริสต์ทรงยอมตามพระประสงค์ของพระบิดาบนสวรรค์ได้อย่างไรแม้เมื่อพระองค์ถูกคนชั่วร้ายข่มเหงและตัดสิน

เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง มัทธิว 26:53 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าพระเยซูตรัสว่าพระองค์จะทำอะไรได้บ้างระหว่างเหตุการณ์เหล่านี้

  • พระผู้ช่วยให้รอดจะทรงทำอะไรได้บ้าง

  • แทนที่จะร้องขอกองพลของทูตสวรรค์หรือพลังอำนาจจากสวรรค์เพื่อให้ปลดปล่อยพระองค์ พระเยซูทรงทำอะไร

  • เรื่องนี้สอนอะไรท่านเกี่ยวกับความเต็มพระทัยของพระผู้ช่วยให้รอดที่จะทรงทำตามพระประสงค์ของพระบิดาบนสวรรค์ไม่ว่าสภาวการณ์นั้นจะเป็นอย่างไร

ถึงแม้พระเยซูคริสต์ทรงมีพลังอำนาจที่จะทำลายบรรดาชายที่เฆี่ยนตีพระองค์และถ่มน้ำลายรดพระองค์ แต่พระองค์ทรงทนรับทุกขเวทนาและทรงอดทนด้วยความเต็มพระทัย (ดู 1 นีไฟ 19:9) ผู้นำและทหารไม่ตระหนักถึงพลังอำนาจอันไม่สิ้นสุดที่พระเยซูทรงใช้ได้หากว่านั่นเป็นพระประสงค์ของพระบิดาที่จะให้พระองค์ทรงทำเช่นนั้น

ชี้ให้เห็นว่าตามที่บันทึกไว้ใน ข้อ 56คำพยากรณ์ของพระผู้ช่วยให้รอดว่าอัครสาวกจะปฏิเสธพระองค์เกิดสัมฤทธิผล อย่างไรก็ดี การปฏิเสธพระองค์นี้เป็นเพียงชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น

สรุป มัทธิว 26:69–75 โดยอธิบายว่าขณะที่พระเยซูทรงถูกสอบสวนหลังการจับกุมพระองค์ เปโตรปฏิเสธว่าไม่รู้จักพระองค์สามครั้ง (หมายเหตุ: การปฏิเสธของเปโตรจะครอบคลุมรายละเอียดมากกว่านี้ในบทเรียน ลูกา 22 )

เป็นพยานถึงความจริงที่ระบุในบทเรียนนี้

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

มัทธิว 26:39 “แต่อย่างไรก็ดี อย่าให้เป็นไปตามใจปรารถนาของข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยพระองค์”

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่า

“หากท่านจะฝากคำมั่นสัญญาที่สำคัญอย่างหนึ่งกับนักเรียนเพื่อตอบแทนการเสียสละอันหาที่เปรียบมิได้ของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อพวกเขา การจ่ายที่พระองค์ประทานแก่การล่วงละเมิดของพวกเขา โทมนัสของพระองค์เพื่อบาปของพวกเขา ให้ฝากความจำเป็นในการเชื่อฟังกับพวกเขา—เพื่อยอมมอบการตัดสินใจในขอบเขตและโมงแห่งความยุ่งยากของพวกเขาไว้กับ ‘พระประสงค์ของพระบิดา’ [3 นีไฟ11:11] ไม่ว่าจะต้องทำอะไรก็ตาม พวกเขาอาจจะไม่ทำเช่นนั้นตลอดเวลา ไม่ได้ทำดีไปกว่าที่ท่านหรือข้าพเจ้าทำได้ แต่นั่นต้องเป็นเป้าหมายของพวกเขา และต้องเป็นจุดมุ่งหมายของพวกเขา สิ่งที่พระคริสต์ดูเหมือนจะทรงเน้นด้วยความห่วงใยเป็นที่สุดเกี่ยวกับพระพันธกิจของพระองค์—เหนือคุณธรรมส่วนบุคคล เหนือคำเทศนาที่ยิ่งใหญ่ และเหนือแม้แต่การรักษา—คือพระองค์ทรงยอมให้พระประสงค์ของพระองค์เป็นไปตามพระประสงค์ของพระบิดา” (Teaching, Preaching, Healing, Ensign, ม.ค. 2003, 41)