คลังค้นคว้า
บทที่ 115: 2 โครินธ์ 6–7


บทที่ 115

2 โครินธ์ 6–7

คำนำ

เปาโลยังคงปกป้องการกระทำของเขาในฐานะผู้ปฏิบัติศาสนกิจของพระผู้เป็นเจ้าต่อไป เขาแนะนำวิสุทธิชนให้แยกตนเองออกจากความไม่ชอบธรรมทั้งปวง เขายืนยันการอุทิศตนของเขาต่อวิสุทธิชนและชื่นชมยินดีที่พวกเขามีประสบการณ์ของความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้าและกลับใจจากบาปของพวกเขา

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

2 โครินธ์ 6:1–13

เปาโลบรรยายอุปนิสัยของผู้ปฏิบัติศาสนกิจของพระเจ้า

เชื้อเชิญให้นักเรียนพิจารณาสถานการณ์สมมติต่อไปนี้

  • ขณะที่ท่านและคนอื่นๆ จากวอร์ดหรือสาขาของท่านกำลังทำโครงการรับใช้ มีบางคนเดินผ่านไปและพูดไม่สุภาพเกี่ยวกับศาสนจักร อาจจะเกิดอะไรขึ้นหากท่านและคนอื่นๆ ในกลุ่มของท่านโต้ตอบด้วยความหยาบคาย

ขอให้นักเรียนนึกถึงเวลาที่พวกเขาประสบการต่อต้านหรือการเยาะเย้ยขณะที่พวกเขากำลังรับใช้พระเจ้า เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาความจริงเมื่อพวกเขาศึกษา 2 โครินธ์ 6:1–13 ที่จะช่วยนำทางพวกเขาระหว่างเวลาเช่นนั้น

สรุป 2 โครินธ์ 6:1–2 โดยอธิบายว่าเปาโลพูดถึงตัวเขาเองและเพื่อนผู้รับใช้ของเขาว่า “ทำงานร่วมกับพระเจ้า” (ข้อ 1) ซึ่งหมายถึง “ทำงานร่วมกับพระเจ้า” ตามงานแปลของโจเซฟ สมิธ 2 โครินธ์ 6:1  เปาโลพูดถึงคำของศาสดาพยากรณ์อิสยาห์ (ดู อิสยาห์ 49:8) เพื่อเน้นย้ำว่าเวลามาถึงแล้วสำหรับวิสุทธิชนที่จะนึกถึงความรอดของพวกเขา

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 2 โครินธ์ 6:3–7 ขอให้ชั้นเรียนครึ่งหนึ่งมองหาคำหรือวลีที่บรรยายการต่อต้านที่เพื่อนผู้ปฏิบัติศาสนกิจของเขาประสบ ขอให้ชั้นเรียนอีกครึ่งมองหาถ้อยคำหรือวลีที่บรรยายว่าเปาโลและเพื่อนผู้ปฏิบัติศาสนกิจของเขาตอบสนองต่อการต่อต้านนั้นอย่างไร

  • การต่อต้านแบบใดที่เปาโลและเพื่อนผู้ปฏิบัติศาสนกิจของเขาประสบ

  • ถ้อยคำหรือวลีใดบรรยายวิธีที่เปาโลและเพื่อนผู้ปฏิบัติศาสนกิจของเขาตอบสนองต่อการต่อต้าน

ทบทวน ข้อ 3 และอธิบายว่าคำว่า วิหาร หมายถึงงานของศาสนจักร

  • การกระทำของสมาชิกศาสนจักรในปัจจุบันอาจส่งผลต่อทัศนะของผู้อื่นเกี่ยวกับศาสนจักรอย่างไร

  • ท่านจะสรุปคำสอนของเปาโลใน ข้อ 3–7 ให้เป็นหลักธรรมหนึ่งข้อว่าอย่างไร (นักเรียนควรระบุหลักธรรมทำนองนี้ เมื่อเราตอบสนองการต่อต้านด้วยความรัก ความเมตตา และความชอบธรรม เราสามารถช่วยให้ผู้อื่นมองศาสนจักรในด้านที่ดีได้)

เตือนนักเรียนถึงสถานการณ์สมมติที่นำเสนอในช่วงเริ่มต้นบทเรียน เชื้อเชิญให้พวกเขาอธิบายว่าคนๆ หนึ่งจะตอบสนองต่อสถานการณ์นั้นในทางที่ชอบธรรมอย่างไรและจะเกิดผลอะไรจากการทำเช่นนั้น

2 โครินธ์ 6:14–18

เปาโลแนะนำให้วิสุทธิชนออกจากความชั่วร้าย

แบ่งนักเรียนออกเป็นคู่ และจัดหาสำเนา เอกสารแจก ประกอบให้นักเรียนแต่ละคน

ภาพ
เอกสารแจก

2 โครินธ์ 6:14–18

คู่มือครูเซมินารี พันธสัญญาใหม่—บทที่ 115

คำแนะนำที่ให้แก่วิสุทธิชน

คำสัญญาจากพระเจ้า

เชื้อเชิญให้นักศึกษาอ่าน 2 โครินธ์ 6:14–18 เป็นคู่ ขอให้นักเรียนคนหนึ่งในแต่ละคู่มองหาคำแนะนำที่เปาโลให้แก่วิสุทธิชน ขอให้นักเรียนอีกคนมองหาคำสัญญาจากพระเจ้าที่จะเกิดสัมฤทธิผลหากวิสุทธิชนฟังคำแนะนำของเปาโล เชื้อเชิญให้พวกเขาใช้สิ่งที่พวกเขาพบเพื่อเติมในแผนภูมิด้วยกันให้ครบถ้วน ท่านอาจต้องอธิบายว่าคำว่า ไปด้วยกัน หมายถึงความเห็นพ้องต้องกัน เบลีอัล หมายถึงความชั่วร้าย (ดู Bible Dictionary, “Belial”) และ คนที่ไม่เชื่อ หมายถึงผู้ไม่เชื่อหรือคนที่ไม่เชื่อในผู้เป็นเจ้านอกจากพระบิดาบนสวรรค์ นอกเหนือจากนี้ ก่อนหน้านั้นเปาโลได้เปรียบเทียบวิสุทธิชนชาวโครินธ์กับวิหารของพระเจ้า วิหาร หมายถึงพวกเขาที่เป็นผู้คน

ให้เวลาพอสมควรสำหรับแต่ละคู่เพื่อรายงานสิ่งที่พบต่อคู่ของตนและเติมแผนภูมิให้ครบถ้วน

อธิบายว่าเปาโลกำลังเตือนวิสุทธิชนเป็นพิเศษให้แยกตนเองออกจาก “สิ่งที่ไม่สะอาด [ทั้งหลาย]” (ข้อ 17)—รวมถึงการนับถือรูปเคารพและคนที่นับถือรูปเคารพ—เพื่อปกป้องตัวพวกเขาเองจากบาป การนับถือรูปเคารพเป็นการรักหรือการนมัสการสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมากกว่าพระผู้เป็นเจ้า

เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนว่า ถ้า เหนือหัวข้อ “คำแนะนำที่ให้แก่วิสุทธิชน” และ แล้ว เหนือหัวข้อ “คำสัญญาจากพระเจ้า” ในเอกสารแจกของพวกเขา

  • เราเรียนรู้หลักธรรมอะไรได้บ้างจาก 2 โครินธ์ 6:14–18 (นักเรียนอาจระบุหลักธรรมหลากหลาย แต่ให้แน่ใจว่าได้เน้นว่า เมื่อเราแยกตัวเราเองออกจากการถือปฏิบัติผิดๆ และสิ่งที่ไม่สะอาด พระเจ้าจะทรงรับเราไว้)

  • สิ่งที่อาจเป็นตัวอย่างของการถือปฏิบัติผิดๆ หรือสิ่งที่ไม่สะอาดในสมัยของเราคืออะไร

  • เราจะแยกตัวเราเองจากสิ่งเหล่านี้และคนที่สนับสนุนสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร

อธิบายว่าหลักธรรมนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะปฏิบัติต่อคนที่มีความเชื่อต่างกันอย่างหยาบคายหรือปฏิเสธที่จะคบค้าสมาคมกับพวกเขาแต่เรายืนยันความเชื่อของเราด้วยความเคารพและหลีกเลี่ยงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมใดๆ ที่จะนำเราไปสู่บาป

  • ท่านคิดว่าพระเจ้า “จะทรงรับเราไว้” หมายความว่าอย่างไร (2 โครินธ์ 6:17)

เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองถึงเวลาที่พวกเขารู้สึกว่าพระเจ้าทรงอยู่กับพวกเขาเมื่อพวกเขาแยกตนเองออกจากการถือปฏิบัติผิดๆ ที่อาจจะนำพวกเขาออกไปจากพระเจ้า ขอให้นักเรียนสองสามคนแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขา

เชื้อเชิญนักเรียนให้ไตร่ตรองสิ่งที่พวกเขาอาจต้องการทำเพื่อแยกตนเองออกจากการถือปฏิบัติผิดๆ และสิ่งที่ไม่สะอาดเพื่อว่าพวกเขาจะรับพรของพระเจ้าได้

2 โครินธ์ 7

เปาโลชื่นชมยินดีในการกลับใจที่แท้จริงของวิสุทธิชน

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงสถานการณ์สมมติต่อไปนี้

ในการสัมภาษณ์ใบรับรองพระวิหารสำหรับการแต่งงาน หญิงสาวสารภาพกับอธิการถึงบาปบางอย่างในอดีตของเธอ หลังจากสนทนาต่อไปแล้ว อธิการเข้าใจว่าหญิงสาวคนนั้นไม่ได้กลับใจจากบาปของเธออย่างแท้จริงและบาปของเธอร้ายแรงพอที่จะทำให้เธอไม่มีค่าควรสำหรับใบรับรองพระวิหาร อธิการอธิบายว่าหญิงสาวคนนี้จะต้องรอรับใบรับรองจนเธอกลับใจอย่างสมบูรณ์ เธอตกใจ อ้างว่าเธอกลับใจแล้วเพราะเธอไม่ได้ทำบาปเหล่านั้นอีกเป็นเวลานานแล้ว อธิการอธิบายว่าการหยุดทำบาปแค่นั้นไม่ใช่การกลับใจที่ครบถ้วน เขาเชื้อเชิญให้เธอเริ่มต้นกระบวนการกลับใจที่แท้จริงอย่างจริงใจ

  • ท่านคิดว่าหญิงสาวอาจรู้สึกอย่างไรกับประเด็นนี้ในการสัมภาษณ์

เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่านออกเสียงสถานการณ์สมมตินี้ต่อ

หญิงสาวอธิบายต่ออธิการของเธอว่าเธอไม่พอใจมากเพราะเธอส่งบัตรเชิญงานแต่งงานและงานเลี้ยงรับรองออกไปแล้ว เธอบอกว่าเธอคงไม่สามารถเผชิญกับคำถามและความอับอายในเรื่องการเลื่อนแผนการแต่งงานของเธอได้ เธอถามว่ามีทางสำหรับเธอที่จะผนึกในพระวิหารดังที่วางแผนไว้ได้หรือไม่จากนั้นจึงทำตามกระบวนการกลับใจทีหลัง

  • ตามที่หญิงสาวคนนี้ตอบอธิการ ดูเหมือนเธอจะกังวลเกี่ยวกับเรื่องอะไรที่สุด

เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาความจริงเมื่อพวกเขาศึกษา 2 โครินธ์ 7 ที่หญิงสาวในสถานการณ์สมมติจำเป็นต้องเข้าใจก่อนที่เธอจะกลับใจจากบาปของเธออย่างแท้จริงได้

สรุป 2 โครินธ์ 7:1–7 โดยอธิบายว่าเปาโลยังคงปกป้องตนเองจากคนที่พยายามทำลายชื่อเสียงของเขาต่อไปและยืนยันกับวิสุทธิชนชาวโครินธ์ว่าเขาไม่ได้ทำผิดต่อใคร

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 2 โครินธ์ 7:8–9 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าจดหมายฉบับก่อนหน้านั้นของเปาโลส่งผลต่อวิสุทธิชนชาวโครินธ์อย่างไร

  • จดหมายฉบับนั้นส่งผลต่อวิสุทธิชนอย่างไร

  • เหตุใดเปาโลจึงชื่นชมยินดีในความโศกเศร้าของพวกเขา

ขอให้นักศึกษาอ่าน 2 โครินธ์ 7:10–11 ในใจ ท่านอาจต้องการเสนอแนะให้นักเรียนทำเครื่องหมายความโศกเศร้าสองประเภทที่เปาโลกล่าวถึงและความโศกเศร้าแต่ละอย่างนำไปสู่อะไร

  • อะไรคือความโศกเศร้าสองประเภทที่เปาโลกล่าวถึง

เขียนหัวข้อว่า ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้า และ ความเสียใจอย่างโลก บนกระดาน เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน ที่ได้อธิบายความหมายของ “ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้า”

ภาพ
ประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน

“ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เห็นชายหญิงในโลกรู้สึกสำนึกผิดเพราะสิ่งที่พวกเขาทำผิด บางครั้งสำนึกผิดเพราะการกระทำของตนเองทำให้ตนหรือคนที่พวกเขารักเกิดโทมนัสใหญ่หลวงและความเศร้าหมอง บางคราวโทมนัสนี้เกิดขึ้นเพราะพวกเขาถูกจับได้และถูกลงโทษเพราะการกระทำของตน ความรู้สึกตามวิถีของชาวโลกเช่นนั้นไม่ใช่ ‘ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้า’” (คำสอนของประธานศาสนจักร: เอสรา แทฟท์ เบ็นสัน [2014], 82)

  • ท่านจะสรุปได้อย่างไรว่าความเสียใจอย่างโลกคืออะไร

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 10 ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้านำไปสู่อะไร (อธิบายว่าคำว่า ความตาย ใน ข้อ 10 หมายถึงความตายทางวิญญาณ หมายถึงการแยกออกจากพระผู้เป็นเจ้า ใต้หัวข้อ “ความเสียใจอย่างโลก” บนกระดาน เขียนตามความจริงต่อไปนี้ ความเสียใจอย่างโลกจะนำไปสู่ความตายทางวิญญาณหรือการแยกออกจากพระผู้เป็นเจ้า)

  • ความเสียใจอย่างโลกสามารถนำบุคคลหนึ่งไปสู่ความตายทางวิญญาณในทางใดบ้าง (ความเสียใจอย่างโลกปิดกั้นผู้คนจากการกลับใจและการให้อภัยจากพระบิดาบนสวรรค์อย่างแท้จริง)

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 10 ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้านำไปสู่อะไร (ใต้หัวข้อ “ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้า” บนกระดาน เขียนความจริงต่อไปนี้ ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้านำเราไปสู่การกลับใจจากบาปของเราและได้รับความรอดอย่างไร)

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจสาเหตุที่ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้านำเราไปสู่การกลับใจได้ดีขึ้น เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน

ภาพ
ประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน

“ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้าเป็นของประทานแห่งพระวิญญาณ เป็นการตระหนักในส่วนลึกว่าการกระทำของเราทำให้พระบิดาและพระผู้เป็นเจ้าของเราทรงขุ่นเคือง เป็นการรับรู้ชัดเจนว่าพฤติกรรมของเราทำให้พระผู้ช่วยให้รอด พระองค์ผู้ไม่มีบาป แม้ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาสิ่งทั้งปวง ต้องอดทนต่อความเจ็บปวดรวดร้าวและความทุกขเวทนา บาปของเราทำให้พระโลหิตออกจากทุกขุมขน ความปวดร้าวทางวิญญาณและทางใจอย่างมากนี้คือสิ่งที่พระคัมภีร์เรียกว่าการมี ‘ใจที่ชอกช้ำและวิญญาณที่สำนึกผิด’ … เจตนารมณ์เช่นนั้นคือสิ่งที่ต้องมีก่อนการกลับใจที่แท้จริง” (คำสอนของประธานศาสนจักร: เอสรา แทฟท์ เบ็นสัน, 83)

  • ท่านคิดว่าเหตุใดความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้านำเราไปสู่การกลับใจจากบาปเราอย่างแท้จริง

เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองสถานการณ์สมมติเกี่ยวกับหญิงสาวคนนั้นที่ต้องการใบรับรองพระวิหาร

  • ระหว่างการสัมภาษณ์ของหญิงสาวกับอธิการ อะไรที่ระบุว่าหญิงสาวคนนั้นไม่ได้ประสบกับความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้า

  • เราสามารถทำอะไรได้เพื่อทดแทนความเสียใจอย่างโลกด้วยความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้า

หากจำเป็น ช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าความรู้สึกของความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้าที่เราประสบเมื่อเรากลับใจอาจต่างกันไปตามความร้ายแรงของบาป

เป็นพยานว่าเมื่อเรารู้สึกเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้ามากกว่าเสียใจอย่างโลกต่อบาปของเรา เราจะกลับใจได้อย่างแท้จริง สะอาดจากบาปของเรา และในท้ายที่สุดแล้วได้รับความรอด เชื้อเชิญให้นักเรียนแสวงหาความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้าในความพยายามของเขาเพื่อกลับใจ

สรุป 2 โครินธ์ 7:12–16 โดยอธิบายว่าเปาโลแสดงความห่วงใยวิสุทธิชนและความมั่นใจในวิสุทธิชน

ทบทวนความจริงที่นักเรียนระบุในการศึกษา 2 โครินธ์ 6–7 สั้นๆ และกระตุ้นให้พวกเขาทำตามการกระตุ้นเตือนทุกอย่างที่พวกเขาอาจจะรู้สึกเพื่อประยุกต์ใช้ความจริงเหล่านี้

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

2 โครินธ์ 6:17 “ท่านจงออกมาจากคนชั่วร้าย, และท่านจงแยกออกมา”

เอ็ลเดอร์เควนทิน แอล. คุกแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายถึงความจำเป็นที่จะแยกตัวเราเองออกจากความไม่ชอบธรรมและพรที่มาจากการทำเช่นนั้น

“คำว่า วิสุทธิชน ในภาษากรีกหมายถึง ‘กัน หรือ แยกออกมา [และ] บริสุทธิ์’ [ใน เดเนียล เอช. ลัดโล, ed., Encyclopedia of Mormonism, 5 vols. (1992), 3:1249] ถ้าเราจะต้องเป็นวิสุทธิชนในยุคสมัยของเรา เราต้องแยกตนออกจากความประพฤติชั่วร้ายและพฤติกรรมเสื่อมเสียที่แพร่หลายอยู่ในโลก

“เราเห็นภาพความรุนแรงและการประพฤติผิดศีลธรรมอยู่เนืองๆ เพลงที่ไม่เหมาะสมและภาพลามกอนาจารเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ การใช้ยาเสพติดและแอลกอฮอล์ลุกลามไปทั่ว ความซื่อสัตย์และนิสัยใจคอเป็นเรื่องที่เน้นกันน้อยลง ผู้คนเรียกร้องสิทธิ์ แต่ละเลยหน้าที่ ความรับผิดชอบ และข้อผูกมัด การใช้ภาษาหยาบคายและเปิดรับสิ่งเลวร้ายมากขึ้น ฝ่ายตรงข้ามพยายามอย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อลอบทำลายแผนแห่งความสุข ถ้าเราแยกตนออกจากความประพฤติทางโลกดังกล่าว เราจะมีพระวิญญาณในชีวิตเรา และระลึกถึงปีติจากการเป็นวิสุทธิชนยุคสุดท้ายที่มีค่าควร” (“ท่านเป็นวิสุทธิชนหรือไม่” เลียโฮนา, พ.ย. 2003, 114)

2 โครินธ์ 7:8–11 “ความเสียใจอย่างโลกนั้นย่อมนำสู่ความตาย”

ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟแห่งฝ่ายประธานสูงสุดอธิบายความแตกต่างระหว่างความเสียโจอย่างโลกกับความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้าดังนี้

“มีความแตกต่างระหว่างความเสียใจจากบาปที่นำไปสู่การกลับใจและความเสียใจที่นำไปสู่ความสิ้นหวัง

“อัครสาวกเปาโลสอนว่า ‘ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้า ทำให้เกิดการกลับใจซึ่งจะนำไปสู่ความรอด … แต่ ความเสียใจอย่างโลก ย่อมนำไปสู่ความตาย’ [2 โครินธ์ 7:10; เน้นตัวเอน] ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและความหวังผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ ความเสียใจอย่างโลก ดึงเราลง ทำลายความหวัง และชักจูงให้เรายอมแพ้ต่อการล่อลวงที่จะเข้ามา

ความเสียใจตามพระประสงค์ของพระเจ้า นำไปสู่การเปลี่ยนใจเลื่อมใส [ดู กิจการของอัครทูต 3:19] และการเปลี่ยนแปลงของใจ [ดู เอเสเคียล 36:26; 2 โครินธ์ 5:17; โมไซยาห์ 3:19] สิ่งนี้ทำให้เราเกลียดชังบาปและรักความดี [ดู โมไซยาห์ 5:2] อีกทั้งกระตุ้นให้เรายืนขึ้นและเดินในแสงสว่างแห่งความรักของพระคริสต์ การกลับใจที่แท้จริงเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ความเจ็บปวดและความทรมาน ใช่ ความเสียใจอย่างจริงใจและการสำนึกผิดอย่างแท้จริงต่อการไม่เชื่อฟังมักเป็นสิ่งที่เจ็บปวดและเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการอันศักดิ์สิทธิ์ของการกลับใจ แต่เมื่อความผิดนำเราไปสู่การเกลียดชังตนเองหรือเป็นอุปสรรคแก่เราในการลุกขึ้นอีกครั้ง สิ่งนี้เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งมากกว่าจะเป็นการกระตุ้นให้เรากลับใจ” (“ท่านสามารถทำได้!” เลียโฮนา, พ.ย. 2013, 56)

เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองชี้ให้เห็นว่า

“ความจองหองชอบการกลับใจที่ราคาไม่แพง จ่ายด้วยความโศกเศร้าที่ผิวเผิน เป็นที่น่าประหลาดใจที่หลังจากการกลับใจที่ราคาไม่แพงนั้นแสวงหาการให้อภัยที่ผิวเผินด้วยแทนที่จะเป็นการคืนดีกันอย่างแท้จริง ดังนั้น การกลับใจที่แท้จริงจึงเป็นมากกว่าการพูดเพียงว่า ‘ฉันเสียใจ’” (Repentance, Nov. 1991, 31)