คลังค้นคว้า
บทที่ 56: ลูกา 18–21


บทที่ 56

ลูกา 18–21

คำนำ

ขณะที่พระเยซูคริสต์เสด็จไปเยรูซาเล็มเป็นครั้งสุดท้ายในพระชนม์ชีพมรรตัย พระองค์ทรงสอนพระกิตติคุณของพระองค์และทำปาฏิหาริย์ท่ามกลางผู้คน พระองค์เสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างผู้พิชิต ทรงชำระพระวิหารอีกครั้ง และสอนผู้คนที่นั่น

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

ลูกา 18–21

พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนระหว่างเสด็จไปเยรูซาเล็ม

ภาพ
พระคริสต์กับเศรษฐีหนุ่ม
ภาพ
การเสด็จเข้ากรุงอย่างผู้พิชิต

อธิบายกับนักเรียนว่าพวกเขาได้เรียนรู้หลายเหตุการณ์ซึ่งบันทึกใน ลูกา 18–21 จากการศึกษามัทธิวและมาระโกแล้ว เพื่อทบทวนสองเหตุการณ์ ให้แสดงภาพต่อไปนี้ พระคริสต์กับเศรษฐีหนุ่ม (สมุดภาพพระกิตติคุณ [2009], ภาพที่ 48; ดู LDS.orgด้วย) และ การเสด็จเข้ากรุงอย่างผู้ชนะ (สมุดภาพพระกิตติคุณ, ภาพที่ 50) เชื้อเชิญให้นักเรียนสรุปเรื่องราวต่อไปนี้กับชั้นเรียนและอธิบายสิ่งที่พวกเขาจำได้ว่าได้เรียนรู้จากเรื่องราวเหล่านี้

ท่านอาจต้องการใช้สรุปต่อไปนี้ของ ลูกา 18–21 ถ้านักเรียนต้องการความช่วยเหลือให้จำเรื่องเหล่านี้ได้ (หมายเหตุ:เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าเหตุการณ์ในบทเรียนนี้เกิดขึ้นเวลาใดในพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอด ท่านอาจจ้องการแสดงภาพ สรุปเหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของพระเยซูคริสต์ ในภาคผนวกของคู่มือเล่มนี้)

ขณะที่พระเยซูคริสต์เสด็จไปเยรูซาเล็มเป็นครั้งสุดท้ายในพระชนม์ชีพมรรตัย พระองค์ทรงสอนอุปมาหลายเรื่องและทรงรักษาคนมากมาย พระองค์ทรงเชื้อเชิญให้เศรษฐีหนุ่มบริจาคสิ่งของทั้งหมดให้คนยากจนและติดตามพระองค์ พระคริสต์ทรงรักษาชายตาบอด แม้จะมีการเยาะเย้ย พระองค์ทรงเสวยกับหัวหน้าคนเก็บภาษีคนหนึ่งในเยรีโค

พระองค์เสด็จถึงเยรูซาเล็ม ท่ามกลางเสียงสรรเสริญ พระองค์ทรงลาขณะเสด็จเข้ากรุง พระองค์ทรงขับไล่พวกแลกเงินออกจากพระวิหารอีกครั้ง ทรงสอนผู้คนที่นั่น และทรงตอบคำถามจากหัวหน้าปุโรหิตและพวกธรรมาจารย์ พระองค์ทรงชื่นชมหญิงม่ายที่ถวายเหรียญทองแดงสองอันใส่ตู้เก็บเงินถวาย พระองค์ทรงสอนสานุศิษย์ของพระองค์เช่นกันเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งสองของพระองค์

อธิบายว่าเรื่องราวส่วนใหญ่ที่นักเรียนจะได้เรียนในบทเรียนนี้จะมีลักษณะพิเศษเฉพาะของพระกิตติคุณของลูกา

เพื่อเตรียมนักเรียนให้ศึกษาเรื่องราวเหล่านี้ เขียนคำถามต่อไปนี้บน กระดาน

การกระทำใดที่อาจบ่งชี้ได้ว่าคนหนึ่งต้องการเข้าใกล้พระเจ้ามากขึ้นอย่างจริงใจ

พฤติกรรมใดที่แสดงให้เห็นว่าเขาต้องการได้รับอภัยบาปหรือปรารถนาความช่วยเหลือจากพระเจ้าจริงๆ

เชื้อเชิญนักเรียนพิจารณาคำถามต่อไปนี้ขณะที่พวกเขาศึกษาเรื่องราวต่อไปนี้จากงานเขียนของลูกา

เขียนพระคัมภีร์อ้างอิงต่อไปนี้ไว้บนกระดาน: ลูกา 18:1–8; ลูกา 18:9–14; ลูกา 18:35–43; ลูกา 19:1–10 อธิบายว่าข้อพระคัมภีร์เหล่านี้รวมถึงอุปมาและเหตุการณ์ต่างๆ จากการเสด็จไปเยรูซาเล็มครั้งสุดท้ายของพระผู้ช่วยให้รอดระหว่างพระชนม์ชีพมรรตัยของพระองค์

มอบหมายพระคัมภีร์อ้างอิงข้อหนึ่งที่เขียนบนกระดานให้นักเรียนแต่ละคน หรือท่านอาจแบ่งชั้่นเรียนเป็นสี่กลุ่มและมอบหมายพระคัมภีร์อ้างอิงให้กลุ่มละหนึ่งข้อ เชื้อเชิญนักเรียนแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มให้อ่านข้อพระคัมภีร์ที่ได้รับมอบหมายและเตรียมแสดงบทบาทเรื่องราวหรืออุปมาที่อยู่ในนั้น (หากท่านไม่ได้แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ท่านอาจให้แสดงบทบาทแต่ละเรื่องเป็นชั้นเรียน หากท่านเลือกไม่แสดงบทบาทตามเรื่องราวเหล่านี้ ท่านสามารถเชื้อเชิญให้นักเรียนศึกษาพระคัมภีร์อ้างอิงที่ได้รับมอบหมายเป็นรายบุคคลโดยใช้คำถามต่อไปนี้และให้สอนสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ให้กัน) อธิบายว่านักเรียนคนหนึ่งในชั้นหรือในแต่ละกลุ่มควรเป็นคนเล่าเรื่องและอ่านเรื่องราวจากพระคัมภีร์ขณะคนที่เหลือในชั้นเรียนแสดงบทบาทนั้น เพื่อแสดง ความคารวะและความเคารพ ต่อพระผู้ช่วยให้รอด บอกคนที่แสดงเรื่องจาก ลูกา 18:35–43 และ ลูกา 19:1–10 ให้แสดงโดยไม่ต้องมีใครแสดงเป็นพระเยซูคริสต์ บอกผู้บรรยายอ่านพระดำรัสของพระเยซู และขอให้นักแสดงตอบเสมือนว่าพระองค์อยู่ในฉาก

ขณะที่กลุ่มเตรียมตัว เชื้อเชิญให้พวกเขาสนทนาคำถามต่อไปนี้ด้วยกันและพร้อมที่จะรายงานคำตอบของพวกเขาให้ชั้นเรียนหลังจากพวกเขาแสดงฉากนั้นแล้ว (ท่านอาจเขียนคำถามเหล่านี้บนกระดานหรือแจกเป็นเอกสารแจก)

  • ตัวแสดงหลัก (หญิงม่าย คนเก็บภาษี คนตาบอด หรือศักเคียส) ปรารถนาอะไรในเรื่องนี้

  • ตัวแสดงหลักทำอะไรที่บ่งชี้ว่าความปรารถนาของเขาจริงใจ

  • เกิดอะไรขึ้นเนื่องจากการกระทำที่ซื่อสัตย์ของตัวแสดงหลัก

  • หลักธรรมหรือหลักคำสอนใดบ้างที่ท่านสามารถระบุในเรื่องนี้

หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว เชื้อเชิญชั้นเรียนหรือแต่ละกลุ่มแสดงเรื่องราวของพวกเขาขณะที่ผู้บรรยายอ่านข้อพระคัมภีร์ ขณะชั้นเรียนชมหรือดูตามในพระคัมภีร์ของพวกเขา ขอให้นักเรียนพิจารณาว่าแต่ละเรื่องสามารถสอนเราเกี่ยวกับการใช้ศรัทธาในพระเจ้าอย่างไร หลังการแสดงแต่ละเรื่อง ขอให้ชั้นเรียนหรือกลุ่มรายงานคำตอบต่อคำถามก่อนหน้านี้ ขอให้พวกเขาเขียนรายการหลักธรรมหรือหลักคำสอนที่ระบุไว้บนกระดาน

หลังจากกลุ่มได้รายงานคำตอบของพวกเขาแล้ว ให้ถามคำถามต่อไปนี้

  • ท่านสังเกตเห็นความคล้ายคลึงอะไรบ้างในการกระทำของตัวละครหลักแต่ละคน (พวกเขาแต่ละคนแสดงความมุมานะหรือความจริงใจขณะที่พวกเขามุ่งมั่นให้สมปรารถนา)

  • การกระทำเหล่านี้้สอนอะไรเราเกี่ยวกับการใช้ศรัทธาในพระเจ้า

  • ท่านสังเกตเห็นความคล้ายคลึงอะไรในสิ่งที่ตัวละครหลักแต่ละคนได้รับอันเป็นผลมาจากการกระทำของเขา (แต่ละคนได้รับความช่วยเหลือหรือพระเมตตา)

ขอให้นักเรียนระบุหลักธรรมที่คล้ายกันจากทุกเรื่องมาหนึ่งข้อ นักเรียนอาจระบุหลักธรรมที่หลากหลาย แต่ให้แน่ใจว่าได้เน้นย้ำว่า หากเราจริงใจและมุมานะขณะใช้ศรัทธาในพระเจ้า เราจะได้รับพระเมตตาจากพระองค์ เขียนหลักธรรมนี้ไว้บนกระดาน

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง ขอให้ชั้นเรียนฟังดูว่าอะไรที่แสดงว่าคนๆ หนึ่งกำลังใช้ศรัทธาในพระเจ้า

ภาพ
เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์

“ศรัทธาที่แท้จริงมีศูนย์รวมอยู่ที่พระเจ้าพระเยซูคริสต์และมักจะนำไปสู่การประพฤติชอบ” (“ทูลขอด้วยศรัทธา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2008, 114)

ให้นักเรียนไปดูคำถามที่เขียนไว้บนกระดานเมื่อเริ่มต้นบทเรียน ขอให้นักเรียนหันไปหาคู่และสนทนาคำตอบของคำถามเหล่านั้น

  • ทุกวันนี้เราสามารถใช้ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าในทางใดบ้าง

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์เบดนาร์ และขอให้ชั้นเรียนฟังดูว่าการประสบกับพระเมตตาอันละเอียดอ่อนของพระเจ้าหมายความว่าอย่างไร

ภาพ
เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์

“พระเมตตาอันละเอียดอ่อนของพระเจ้าคือพรส่วนตัวและเฉพาะคน ความเข้มแข็ง ความคุ้มครอง ความมั่นใจ การนำทาง ความการุณย์รัก การปลอบใจ การสนับสนุน และของประทานฝ่ายวิญญาณซึ่งเราได้รับจากพระเจ้า เพราะพระเจ้าและผ่านพระเจ้าพระเยซูคริสต์” (“พระเมตตาอันละเอียดอ่อนของพระเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ค. 2005, 122)

เชื้อเชิญให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา (ท่านอาจต้องการเขียนคำถามบนกระดาน)

  • ท่านหรือคนที่ท่านรู้จักใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ในทางใดบ้าง ท่านและพวกเขาประสบกับพระเมตตาใดเป็นผลตอบแทน

  • พิจารณาว่าท่านต้องการความช่วยเหลือจากพระเจ้าหรือพระเมตตาในชีวิตของท่านในทางใดบ้าง ท่านจะทำอะไรเพื่อใช้ศรัทธาของท่านในพระเจ้าเพื่อได้รับพระเมตตาจากพระองค์

เชื้อเชิญนักเรียนสองสามคนที่รู้สึกสะดวกใจออกมาแบ่งปันรายงานที่พวกเขาเขียน เตือนพวกเขาไม่ให้แบ่งปันเรื่องราวที่เป็นส่วนตัวมากเกินไป ท่านอาจต้องการแบ่งปันประสบการณ์ของท่านเกี่ยวกับหลักธรรมนั้นและเป็นพยานถึงความจริงของหลักธรรมดังกล่าวเช่นกัน

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

ลูกา 18:1–8 อุปมาเรื่องหญิงม่ายและผู้พิพากษาอธรรม

“ลูกากล่าวถึงข่าวสารหลักของอุปมาเรื่องหญิงม่ายผู้รบเร้าและผู้พิพากษาอธรรมว่า—‘เขาทั้งหลายควรอธิษฐานอยู่เสมอและไม่อ่อนระอาใจ’ (ลูกา 18:1) คำในภาษากรีกที่แปลว่า ‘อ่อนระอาใจ’ หมายความว่าท้อแท้หรือเพลียหรือเบื่อหน่ายบางสิ่ง ในอุปมานี้ หญิงม่ายสวดอ้อนวอนโดยไม่ยอมแพ้ เธออุทธรณ์ต่อผู้พิพากษาซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อให้รับการแก้ไขจากความอยุติธรรม เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้

“‘เมื่อโดดเดี่ยว เหน็บหนาว มีความยากลำบาก เราต้องอดทน เราต้องดำเนินต่อไป เราต้องไม่ลดละ นั่นเป็นข่าวสารจากพระผู้ช่วยให้รอดในอุปมาเรื่องหญิงม่ายที่รบเร้า … ให้เคาะประตูนั้นต่อไป วิงวอนต่อไป ในไม่ช้า โดยที่รู้ว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงได้ยินคำสวดอ้อนวอนของท่านและทรงทราบความทุกข์ใจของท่าน พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของท่าน และท่านเป็นบุตรของพระองค์’ (‘Lessons from Liberty Jail,’ Ensign, Sept. 2009, 30)

“ความพากเพียรมีรากฐานอยู่ในหลักธรรมพระกิตติคุณพื้นฐานแห่งศรัทธาและความหวัง ความพากเพียรสะท้อนถึงศรัทธาของเราซึ่งการกระทำของเราจะนำเอาพรของพระเจ้าเข้ามาสู่ชีวิตของเรา” (คู่มือนักเรียน พันธสัญญาใหม่ [คู่มือของระบบการศึกษาของศาสนจักร, 2014], 177)

ลูกา 18:9–14 อุปมาเรื่องฟาริสีและคนเก็บภาษี

ประธานฮาเวิร์ด ดับเบิลยู. ฮันเตอร์อธิบายความแตกต่างระหว่างคำสวดอ้อนวอนของชาวฟาริสีกับคำสวดอ้อนวอนของคนเก็บภาษี

“จะมีความแตกต่างมากไปกว่านี้ไหมในคำสวดอ้อนวอนของชายสองคนนี้ ฟาริสียืนแยกออกไปเพราะเขาเชื่อว่าเขาดีกว่าคนอื่น ที่เขาคิดว่าเป็นคนธรรมดา คนเก็บภาษียืนแยกออกไปเช่นกัน แต่เป็นเพราะเขารู้สึกไม่มีค่าควร ฟาริสีไม่คิดถึงใครนอกจากตัวเองและคิดว่าคนอื่นเป็นคนบาป ในขณะที่คนเก็บภาษีคิดว่าคนอื่นเป็นคนชอบธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับตนเอง ซึ่งเป็นคนบาป ฟาริสีไม่ได้ขออะไรจากพระผู้เป็นเจ้า แต่พึ่งพาความคิดที่ว่าตนเองชอบธรรม คนเก็บภาษีทูลขอพระเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้าและการให้อภัยบาปของเขา

“… คนเก็บภาษี คนเก็บภาษีที่น่ารังเกียจ ‘กลับลงไปถึงบ้านของตนก็ถูกนับว่าเป็นคนชอบธรรม ไม่ใช่อีกคนหนึ่งนั้น’ (ลูกา 18:14) กล่าวอีกนัยหนึ่ง พระเจ้าตรัสว่าเขาพ้นผิด ได้รับการให้อภัย หรือพิสูจน์แล้วว่าไม่ผิด …

“ความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นคุณลักษณะของความเป็นพระผู้เป็นเจ้าที่อยู่ในวิสุทธิชนที่แท้จริง เป็นเรื่องง่ายที่จะเข้าใจว่าเหตุใดคนจองหองจึงล้มเหลว เขาพอใจที่จะพึ่งพาตนเองเท่านั้น … ชายที่จองหองตัดตนเองออกจากพระผู้เป็นเจ้าและเมื่อเขาทำเช่นนั้นเขาไม่ได้มีชีวิตอยู่ในความสว่างอีกต่อไป …

“… ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่าใครยกตัวขึ้น จะต้องถูกทำให้ต่ำลง ใครถ่อมตัวลง จะได้รับการยกขึ้น ในถนนทุกสายที่พลุกพล่านล้วนมีพวกฟาริสีและพวกคนเก็บภาษี อาจเป็นไปได้ว่าเราเป็นหนึ่งในคนเหล่านั้น” (“The Pharisee and the Publican,” Ensign, May 1984, 65–66)

ลูกา 18:35–43 การรักษาชายตาบอด

ศรัทธาและการยืนกรานของชายตาบอดที่ชื่อว่าบารทิเมอัสนั้นเห็นได้ชัดจากวิธีที่เขาร้องเรียกพระเยซูคริสต์ให้เมตตาเขา—เขายังคงร้องต่อไปแม้เมื่อมีหลายคนห้ามปรามบอกให้เขาเงียบ (ดู มาระโก 10:47–48)

ลูกา 18:1–8, 35–43 พากเพียรในศรัทธา

อธิบายว่าเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองแบ่งปันตัวอย่างความสำคัญของความมานะบากบั่นผ่านการทดลองศรัทธาของเรา

“สองสามปีก่อนครอบครัวหนึ่งเดินทางจากสหรัฐไปยุโรป ไม่นานหลังจากถึงที่หมาย เด็กชายวัย 13 ปีเกิดป่วยหนัก ตอนแรกคุณพ่อคุณแม่คิดว่าลูกชายปวดท้องเพราะอ่อนล้าจากการนั่งเครื่องบินนานจึงเดินทางต่อตามกำหนดการ

“อาการของลูกชายทรุดลงเรื่อยๆ ภาวะขาดน้ำเพิ่มขึ้น คุณพ่อให้พรฐานะปุโรหิต แต่อาการไม่กระเตื้องทันตาเห็น

“หลายชั่วโมงผ่านไปะคุณแม่คุกเข่าอยู่ข้างๆ ลูกชายเพื่อทูลวิงวอนพระบิดาบนสวรรค์ขอให้ลูกหายป่วย พวกเขาอยู่ไกลบ้านในประเทศที่ไม่คุ้นเคยและไม่รู้ว่าจะไปรักษาที่ไหน

“คุณแม่ถามลูกชายว่าเขาอยากสวดอ้อนวอนกับเธอหรือไม่ เธอรู้ว่าการเฝ้ารอแต่พรที่คาดหวังคงไม่พอ พวกเขาต้องปฏิบัติต่อไป เธออธิบายว่าพรที่เขาได้รับยังคงมีผล แต่แนะนำให้สวดอ้อนวอนอีกครั้งเช่นเดียวกับอัครสาวกในสมัยโบราณว่า ‘ขอพระองค์โปรดให้ความเชื่อของพวกข้าพเจ้ามากยิ่งขึ้น’ (ลูกา 17:5) การสวดอ้อนวอนครอบคลุมถึงการแสดงความวางใจในพลังฐานะปุโรหิตและการให้คำมั่นว่าจะพากเพียรทำตามข้อกำหนดของพร—ถ้าเวลานั้นพรดังกล่าวเป็นไปตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ไม่นานหลังจากพวกเขากล่าวคำสวดอ้อนวอนที่เรียบง่าย อาการของลูกชายก็ดีขึ้น

“การปฏิบัติด้วยศรัทธาของคุณแม่และลูกชายช่วยเชื้อเชิญพลังฐานะปุโรหิตที่สัญญาไว้ … การรักษาเด็กชายวัย 13 ปีนี้มิได้เกิดขึ้น จนหลังจากเขามีศรัทธา และเป็นไป ‘ตามศรัทธาของเขาในคำสวดอ้อนวอนของเขา’ (คพ. 10:47)” (“ทูลขอด้วยศรัทธา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2008, 114)

ลูกา 19:1–10 ศักเคียส หัวหน้าคนเก็บภาษี

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับศักเคียส ให้ดู คู่มือนักเรียน พันธสัญญาใหม่ ([คู่มือของระบบการศึกษาของศาสนจักร, 2014], 177)