คลังค้นคว้า
บทที่ 107: 1 โครินธ์ 9–10


บทที่ 107

1 โครินธ์ 9–10

คำนำ

เปาโลแก้ไขข้อกังวลของวิสุทธิชนชาวโครินธ์เกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของศาสนจักรเพื่อจัดหาตามความต้องการทางโลกของเขา เขาอธิบายว่าจุดประสงค์ในการสั่งสอนของเขาคือเพื่อนำความรอดมาสู่บุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้า เปาโลแนะนำให้พวกเขาหลีกเลี่ยงการทำบาปและการทำให้คนอื่นไม่พอใจเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาของเขา

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

1 โครินธ์ 9

เปาโลสอนพระกิตติคุณเพื่อว่าเขาและผู้ฟังของเขาจะรอด

นำนาฬิกาปลุกมาที่ชั้นเรียนและซ่อนไว้ไม่ให้นักเรียนเห็น ตั้งไว้ให้ปลุกไม่นานหลังจากท่านเริ่มสอน

เพื่อเริ่มบทเรียน เชื้อเชิญให้นักเรียนจินตนาการว่าชีวิตนิรันดร์เป็นเช่นไร ขอให้พวกเขาเขียนคำตอบลงในสมุดจดหรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขาว่าเหตุใดชีวิตนิรันดร์จึงเป็นสิ่งที่พวกเขาปรารถนา ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนสองสามคนอ่านสิ่งที่พวกเขาเขียนกับชั้นเรียน

ในช่วงใกล้จบกิจกรรมนี้ นาฬิกาปลุกควรดังขึ้น เมื่อเสียงนาฬิกาปลุกดังขึ้น ขอให้นักเรียนคนหนึ่งหาและปิดเสียงนาฬิกา

  • ท่านรู้สึกอย่างไรเมื่อท่านได้ยินเสียงนั้น

ขอให้นักเรียนนึกว่าพวกเขาเคยมีปัญหากับการตื่นเมื่อได้ยินเสียงนาฬิกาปลุกหรือไม่และพลาดบางสิ่งที่สำคัญอันเป็นผลจากเรื่องนั้น เชื้อเชิญให้นักเรียนสองสามคนแบ่งปัน

อธิบายว่าเช่นเดียวกับปัญหาในการตื่นเมื่อนาฬิกาปลุกทำให้เราพลาดหรือแม้แต่ล้มเหลวในการทำสิ่งสำคัญให้บรรลุผลสำเร็จ ความล้มเหลวที่จะ “ตื่น” ในชีวิตและเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างจะทำให้เราไม่บรรลุผลสำเร็จในสิ่งสำคัญที่สุดของทุกสิ่ง นั่นคือ ชีวิตนิรันดร์

เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาหลักธรรมเมื่อพวกเขาศึกษา 1 โครินธ์ 9 ที่สามารถช่วยพวกเขารู้วิธีที่จะให้แน่ใจว่าพวกเขาบรรลุชีวิตนิรันดร์

เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง สรุปความ ต่อไปนี้ของ 1 โครินธ์ 9:1–21

เปาโลตอบคำถามหลายข้อจากวิสุทธิชนชาวโครินธ์ เขาเขียนว่าแม้เขาสมควรได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกศาสนจักรอย่างเต็มที่เกี่ยวกับเรื่องทางโลก แต่เขาไม่ได้พึ่งพาเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนตัว เปาโลอธิบายว่าโดยการปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ต่างๆ โดยไม่ประนีประนอมมาตรฐานของพระกิตติคุณ เขาสามารถช่วยชาวยิว คนต่างชาติ และคนที่อ่อนแอในพระกิตติคุณให้ยอมรับพระกิตติคุณ

ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 9:17 เชื้อเชิญให้ชั้นเรียนดูตาม โดยหาดูว่าเปาโลสั่งสอนพระกิตติคุณอย่างไร ท่านอาจต้องการอธิบายว่าข้อความ “ภารกิจนี้ก็ทรงมอบให้แล้ว” หมายถึงการที่เปาโลทำให้งานมอบหมายหรือหน้าที่ของเขาในการสั่งสอนพระกิตติคุณเกิดสัมฤทธิผล

  • เปาโลสั่งสอนพระกิตติคุณอย่างไร

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 9:22–23 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสาเหตุที่เปาโลสั่งสอนพระกิตคุณอย่างเต็มใจ

  • เหตุใดเปาโลจึงสั่งสอนพระกิตคุณอย่างเต็มใจ

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งที่อยู่ในโปรแกรมซึ่งต้องฝึกฝนอย่างหนัก (เช่นเป็นนักดนตรีหรือนักกีฬา) ออกมาที่หน้าชั้นเรียน ถามคำถามต่อไปนี้แก่นักเรียนคนนั้น

  • การฝึกของท่านเป็นอย่างไร

  • ท่านเคยมีเวลาที่ท่านต้องฝึกหัดหรือฝึกเพื่อการแข่งขันหรือเพื่อเป้าหมายที่เจาะจงหรือไม่ การทำงานเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่เจาะจงเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านอย่างไร

ขอบคุณนักเรียนและขอให้เขากลับไปนั่งที่

ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 9:24–25 เชื้อเชิญให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาการแข่งขันของนักกีฬาที่เปาโลใช้เพื่อสอนวิสุทธิชนชาวโครินธ์

  • การแข่งขันของนักกีฬาอะไรที่เปาโลพูดถึง

  • คุณสมบัติหรือลักษณะนิสัยอะไรที่เปาโลบอกว่านักวิ่งจำเป็นต้องมีเพื่อประสบความสำเร็จ (อธิบายว่าการ “ควบคุมตัวเองในทุกด้าน” หมายถึงการฝึกตนเองให้เชี่ยวชาญ)

  • อะไรคือมงกฎที่ไม่ร่วงโรยซึ่งเปาโลพูดว่าจะยั่งยืนตลอดกาล (ชีวิตนิรันดร์)

  • เราสามารถเรียนรู้หลักธรรมอะไรจาก ข้อ 25 เกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องทำเพื่อได้รับชีวิตนิรันดร์ (นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่ให้แน่ใจว่าพวกเขาระบุหลักธรรมต่อไปนี้ เพื่อได้รับชีวิตนิรันดร์ เราต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมตนเองในทุกด้าน เขียนหลักธรรมนี้ไว้บนกระดาน) ให้แน่ใจว่านักเรียนเข้าใจว่าถึงแม้การควบคุมตนเองเป็นสิ่งจำเป็น แต่ชีวิตนิรันดร์มาโดย “ผ่านความดีงาม, และพระเมตตา, และพระคุณ” ของพระเยซูคริสต์ [2 นีไฟ 2:8] ในที่สุดเท่านั้น แทนที่จะผ่านการควบคุมตนเองอย่างเดียว)

  • ท่านคิดว่าเหตุใดการควบคุมตนเองจึงจำเป็นต่อการได้รับชีวิตนิรันดร์

ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 9:26–27 เชื้อเชิญให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเปาโลบรรยายความพยายามของเขาเองในการควบคุมตนเองอย่างไร

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 26 เปาโลบรรยายความพยายามของเขาในการได้รับชีวิตนิรันดร์อย่างไร (ด้วยความมั่นใจและไม่ทำให้ความพยายามเสียเปล่า)

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 27 ท่านคิดว่าเปาโลหมายความว่าอย่างไรเมื่อเขาเขียนว่า “ข้าพเจ้าทุบตีร่างกายและควบคุมมันไว้”

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าเปาโลหมายความว่าอย่างไร ขอให้นักเรียนอ่านคำกล่าวต่อไปนี้โดยประธานบริคัม ยังก์

ภาพ
ประธานบริคัม ยังก์

“ท่านจะรับชีวิตนิรันดรเป็นมรดกไม่ได้ เว้นแต่ความปรารถนาของท่านจะอยู่ภายใต้วิญญาณที่อยู่ในท่าน วิญญาณซึ่งพระบิดาบนสวรรค์ประทานให้ ข้าพเจ้าหมายถึงพระบิดาแห่งวิญญาณของท่าน วิญญาณเหล่านั้นซึ่งพระองค์ทรงใส่ไว้ในร่างกายเหล่านี้ ร่างกายต้องนำมาอยู่ภายใต้วิญญาณอย่างสมบูรณ์ มิฉะนั้นร่างกายของท่านก็จะได้รับการยกขึ้นเพื่อรับชีวิตนิรันดร์เป็นมรดกไม่ได้ … จงแสวงหาอย่างพากเพียร จนกว่าท่านจะนำทุกสิ่งมาอยู่ภายใต้กฎของพระคริสต์ …

“… หากวิญญาณยอมต่อร่างกาย มัน จะแย่แต่หากร่างกายยอมต่อวิญญาณมันจะบริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์” (คำสอนของประธานศาสนาจักร: บริคัม ยังก์ [1997], 204–205)

  • เราสามารถทำสิ่งใดได้บ้างเพื่อช่วยให้ร่างกายของเรายอมต่อวิญญาณของเรา

1 โครินธ์ 10

เปาโลเตือนวิสุทธิชนชาวโครินธ์ให้หลีกเลี่ยงบาปและการทำให้ผู้อื่นขุ่นเคือง

เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยประธานเจมส์ อี. เฟาสท์แห่งฝ่ายประธานสูงสุด

ภาพ
ประธานเจมส์ อี. เฟาสท์

“ตำนานที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งในชีวิตคือเมื่อ [คน] คิดว่าพวกเขาอยู่ยงคงกระพัน มีคนมากมายที่คิดว่าพวกเขา [ถูกสร้าง] ด้วยเหล็ก แข็งแรงพอที่จะทนต่อการล่อลวงใดๆ เขาหลอกตัวเองให้คิดว่า ‘มันไม่มีทางเกิดขึ้นกับฉัน’” (It Can’t Happen to Me, May 2002, 46)

  • ในสถานการณ์ใดบ้างที่ผู้คนอาจยอมให้พวกเขาพบกับการล่อลวง โดยคิดว่าพวกเขาเข้มแข็งพอที่จะต้านทานมันได้ (เขียนคำตอบของนักเรียนไว้บนกระดาน)

อธิบายว่าเปาโลพูดถึงตัวอย่างจากประวัติศาสตร์ของชาวอิสราเอลเพื่อเตือนวิสุทธิชนชาวโครินธ์เกี่ยวกับการล่อลวงและบาป ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 10:1–5 เชื้อเชิญให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่ลูกหลานของอิสราเอลประสบในสมัยของโมเสสที่ควรจะทำให้พวกเขาเข้มแข็งทางวิญญาณ

  • อะไรคือบางสิ่งที่ลูกหลานอิสราเอลประสบซึ่งควรจะทำให้พวกเขาเข้มแข็งทางวิญญาณ (ท่านอาจต้องการชี้ให้เห็นว่าเปาโลระบุ “พระศิลาทางวิญญาณ” หรือพระเยโฮวาห์เป็นพระคริสต์ [ดู เฉลยธรรมบัญญัติ 32:3–4] ด้วย)

  • ตามที่กล่าวใน ข้อ 5 พระผู้เป็นเจ้าทรงรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับพฤติกรรมของชาวอิสราเอลโบราณหลายคน

เชื้อเชิญนักเรียนหลายๆ คนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก 1 โครินธ์ 10:6–11 เชื้อเชิญให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลต้องการให้วิสุทธิชนชาวโครินธ์เรียนรู้เกี่ยวกับตัวอย่างของชาวอิสราเอลสมัยโบราณ

  • จุดประสงค์ของเปาโลในการเล่าถึงตัวอย่างของชาวอิสราเอลโบราณคืออะไร (เปาโลต้องการเตือนวิสุทธิชนชาวโครินธ์เพื่อว่าพวกเขาจะหลีกเลี่ยงการทำบาปของชาวอิสราเอลโบราณอีก)

เชื้อเชิญให้ชั้นเรียนยืนขึ้นและอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 10:12 พร้อมๆ กัน

  • ท่านจะสรุปข่าวสารของเปาโลใน ข้อ 12 ด้วยคำพูดของท่านเองว่าอย่างไร

เชื้อเชิญให้ชั้นเรียนนั่งลง เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 10:13 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลสอนเกี่ยวกับการล่อลวง

  • เปาโลสอนอะไรเกี่ยวกับการล่อลวง

  • หากพระผู้เป็นเจ้าไม่ทรงยอมให้เราถูกล่อลวงเกินกว่าความสามารถของเราที่จะต้านทานได้ เหตุใดชาวอิสราเอลสมัยโบราณจึงยอมแพ้ต่อการล่อลวง

เขียนข้อความที่ไม่ครบถ้วนต่อไปนี้บนกระดาน พระผู้เป็นเจ้าประทานวิธีให้เราหนีจากการล่อลวง แต่เราต้อง …

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 10:14 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเปาโลสอนวิสุทธิชนชาวโครินธ์ให้ทำอะไร

  • เปาโลสอนวิสุทธิชนชาวโครินธ์ให้ทำอะไร

  • ข้อ 14 สอนอะไรเราเกี่ยวกับบทบาทของเราในการหนีจากการล่อลวง (หลังจากนักเรียนตอบแล้ว ให้เขียนความจริงบนกระดานให้ครบถ้วนดังนี้ พระผู้เป็นเจ้าประทานวิธีให้เราหนีจากการล่อลวง แต่เราต้องเลือกที่จะแยกตัวเราออกจากการล่อลวง)

ท่านอาจต้องการเสนอแนะให้นักเรียนเขียน แอลมา 13:28 ในพระคัมภีร์ของพวกเขาใกล้กับ 1 โครินธ์ 10:13–14 ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง แอลมา 13:28 เชื้อเชิญให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อแยกเราออกจากการล่อลวง

  • ตามที่กล่าวไว้ใน แอลมา 13:28 เราสามารถทำอะไรได้ที่จะช่วยเราแยกตัวเราเองจากการล่อลวง

  • การที่เรานอบน้อมถ่อมตน เฝ้าดูและสวดอ้อนวอนเสมอช่วยแยกเราออกจากการล่อลวงได้อย่างไร

ชูหนังสือ เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน และขอให้นักเรียนอธิบายว่าการดำเนินชีวิตตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในหนังสือเล่มนี้ช่วยเราแยกตัวเราออกจากการล่อลวงอย่างไร

อธิบายว่านักเรียนอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงการล่อลวงได้เสมอไป ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องตัดสินใจตอนนี้ว่าเราจะทำอะไรเมื่อเราเผชิญกับการล่อลวง เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านคำกล่าวต่อไปนี้โดยประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์

ภาพ
ประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์

“การตัดสินใจที่ถูกต้องทำได้ง่ายที่สุดเมื่อเราตัดสินใจล่วงหน้า โดยมีเป้าหมายสุดท้ายไว้ในใจ นี่จะช่วยไม่ให้เราต้องทุกข์ [ในเวลาที่ต้องตัดสินใจ] เมื่อเราเหนื่อยและถูกล่อลวงหนัก …

“พัฒนาวินัยในตัวเองเพิ่มมากขึ้นเพื่อว่าท่านจะไม่ต้องตัดสินใจและตัดสินใจอีกครั้งว่าท่านจะทำอะไรเมื่อท่านเผชิญกับการล่อลวงเดิมๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า ท่านจำเป็นต้องตัดสินใจในเรื่องบางเรื่อง ครั้งเดียว! …

“เวลาที่ต้องออกจากทางชั่วมีอยู่ก่อนที่มันจะเริ่มต้น เคล็ดลับของชีวิตที่ดีอยู่ ในการคุ้มครองและป้องกัน คนที่ยอมจำนนต่อความชั่วโดยปรกติคือคนที่พาตนเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ล่อแหลม” (คำสอนของประธานศาสนาจักร: สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ [2006], 118)

แบ่งปันประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับหลักธรรมที่นักเรียนระบุวันนี้ ขอให้นักเรียนพิจารณาว่าการล่อลวงอะไรที่พวกเขามีปัญหาด้วยมากที่สุด เชื้อเชิญให้พวกเขาไตร่ตรองคำถามต่อไปนี้

  • ท่านจะเปลี่ยนอะไรได้บ้างเพื่อหลีกเลี่ยงการล่อลวงก่อนท่านจะเผชิญกับมันอีก

  • ท่านเต็มใจจะเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้หรือไม่

เชื้อเชิญให้นักเรียนวางแผนซึ่งพวกเขาจะทำตามเพื่อหลีกเลี่ยงการล่อลวง กระตุ้นให้พวกเขาแสวงหาความช่วยเหลือจากพระเจ้าผ่านการสวดอ้อนวอนเมื่อพวกเขาทำงานเพื่อบรรลุแผนของพวกเขา

สรุป 1 โครินธ์ 10:15–33 โดยอธิบายว่าเปาโลแนะนำวิสุทธิชนชาวโครินธ์ให้เคารพการถือปฏิบัติทางศาสนาของผู้อื่นโดยไม่ประนีประนอมการถือปฏิบัติทางศาสนาของตนเองและย้ำอีกครั้งว่าเขากำลังสั่งสอนเพื่อช่วยให้หลายๆ คนได้รับความรอด

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

1 โครินธ์ 9:20–23 “ข้าพเจ้ายอมเป็นคนทุกแบบต่อทุกคน”

เปาโลหมายความว่าอย่างไรเมื่อเขาพูดว่าเขา “ก็เป็นเหมือนยิว” เพื่อ “จะได้พวกยิวมา” (1 โครินธ์ 9:20) เป็นเหมือนคนนอกธรรมบัญญัติ หรือเป็นคนต่างชาติ เพื่อจะได้คนต่างชาติมา และเป็นคนอ่อนแอเพื่อ “จะได้คนอ่อนแอมา” (1 โครินธ์ 9:22) เอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกีแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้คำอธิบายที่มีประโยชน์ดังนี้

“ในที่นี้ เปาโลบอกว่าเขาเป็นคนทุกประเภทต่อทุกคนเพื่อพยายามให้พวกเขารับข่าวสารพระกิตติคุณ นั่นคือ เขาปรับตัวเขาเองให้เข้ากับสภาวะและสถานการณ์ของคนทุกชนชั้น เพื่อจะทำให้พวกเขาสนใจคำสอนและประจักษ์พยานของเขา แล้วก่อนที่ใครจะคิดว่านี่รวมถึงการยอมรับหลักคำสอนหรือการปฏิบัติ หรือคิดว่านั่นจะรวมถึงการประนีประนอมระหว่างพระกิตติคุณกับระบบนมัสการที่ผิดในทางใดทางหนึ่ง เขารีบเสริมว่าเขาและทุกคนต้องเชื่อฟังกฎพระกิตติคุณเพื่อจะรอด” (Doctrinal New Testament Commentary, 3 vols. [1965–73], 2:353)

1 โครินธ์ 9:25 “ควบคุมตัวเองในทุกด้าน”

บางครั้งเป็นเรื่องยากที่จะมองเห็นสาเหตุที่พระเจ้าทรงบัญชาให้เราควบคุมตนเอง เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้คำอธิบายที่เป็นประโยชน์ดังนี้

“ชีวิตที่ชอบธรรมเรียกร้องวินัย วินัยเป็นลักษณะนิสัยซึ่งจะทำให้ท่านเข้มแข็งเพื่อหลีกเลี่ยงการทิ้งสิ่งที่ท่านต้องการมากที่สุดในชีวิตเพื่อบางสิ่งที่ท่านต้องการในเวลานี้” (The Power of Righteousness, Nov. 1998, 69)

1 โครินธ์ 9:27 “แต่ข้าพเจ้าทุบตีร่างกายและควบคุมมันไว้”

การทำให้ร่างกายเรายอมต่อการควบคุมของวิญญาณเราอย่างต่อเนื่องเป็นการทดสอบที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของชีวิตมรรตัย เอ็ลเดอร์เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้

“ในโลกก่อนมรรตัยก่อนที่เราจะจากที่ประทับของพระบิดาบนสวรรค์ พระองค์ทรงเตือนและทรงบอกให้เราระวังเกี่ยวกับประสบการณ์ใหม่ที่เราจะมีในความเป็นมรรตัย เรารู้ว่าเราจะมีร่างกายที่เป็นเนื้อหนังและกระดูก โดยที่ไม่เคยเป็นมรรตัยมาก่อน เราไม่มีประสบการณ์ในการจัดการกับสิ่งล่อลวงของความเป็นมรรตัย แต่พระบิดาบนสวรรค์ทรงทราบและเข้าใจ พระองค์รับสั่งให้เราควบคุมร่างกายมรรตัยของเราและทำให้ร่างกายของเรายอมต่อวิญญาณของเรา วิญญาณของเราจะต้องควบคุมการล่อลวงทางกายที่ร่างกายของเราจะพบในฝ่ายโลก พลังอำนาจทางวิญญาณที่เหนือกว่าอิทธิพลของซาตานมาสู่เราโดยการรักษาพระบัญญัติของพระเจ้า พระเยซูคริสต์” (Keeping Covenants, May 1993, 6)

1 โครินธ์ 10:13 หนีการล่อลวง

ประธานเจมส์ อี. เฟาสท์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดสอนเกี่ยวกับความจำเป็นสำหรับทุกคนที่จะหลีกเลี่ยงการล่อลวงดังต่อไปนี้

“มีหลายคนคิดว่าพวกเขา … เข้มแข็งพอที่จะต่อต้านการล่อลวงทุกอย่าง พวกเขาหลอกตัวเองให้คิดว่า ‘มันไม่มีทางเกิดขึ้นกับฉัน’ … สิ่งนี้เกิดขึ้นกับเรา ได้ ทุกเวลา …

“ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าเคยได้ยินชายคนหนึ่งบอกลูกชายเขาว่า ‘พ่อสามารถเข้าไปใกล้ขอบมากกว่าลูกเพราะพ่อมีประสบการณ์มากกว่าลูก’ เขาคิดว่าเขาควบคุมได้ แต่เขากำลังหลอกตัวเอง ‘ปัญหากับการใช้ประสบการณ์เป็นเครื่องนำทางคือข้อสอบปลายภาคมักจะมาก่อนและจากนั้นบทเรียนจึงเกิดขึ้น’ [Author unknown, quoted in 1,911 Best Things Anybody Ever Said, comp. Robert Byrne (1988), 386] บางคนคิดว่าอายุและประสบการณ์จะทำให้พวกเขายืนหยัดต้านทานการล่อลวงได้ดีกว่า นี่เป็นความเข้าใจผิด

“ข้าพเจ้าจำได้ว่าได้ยินประธาน เจ. รูเบน คลาร์กเล่าถึงตอนที่ลูกคนหนึ่งของท่านออกเดท ท่านขอให้พวกเขากลับบ้านในเวลาใดเวลาหนึ่ง ‘โดยที่ไม่พอใจกับคำเตือนที่บ่อยและเร่งรีบนั้น [สาววัยรุ่น] คนนั้นพูดว่า “มีอะไรหรือคะพ่อ พ่อไม่ไว้ใจหนูหรือคะ”

“‘คำตอบของท่านน่าจะทำให้เธอตกใจเมื่อท่านพูดว่า “ไม่นะ [ลูก] ของพ่อ พ่อไม่ไว้ใจลูก พ่อไม่ไว้ใจแม้แต่ตัวเอง”’ [ดังที่อ้างอิงโดยฮาโรลด์ บี. ลี, ed. Clyde J. Williams (1996), 629]” (“It Can’t Happen to Me,” Ensign, May 2002, 46–47)