คลังค้นคว้า
บทที่ 105: 1 โครินธ์ 5–6


บทที่ 105

1 โครินธ์ 5–6

คำนำ

อัครสาวกเปาโลเตือนวิสุทธิชนไม่ให้คนชั่วร้ายมีอิทธิพลต่อพวกเขา เขาเตือนวิสุทธิชนให้หลีกเลี่ยงปรัชญาและการปฏิบัติที่ขาดศีลธรรมซึ่งแพร่หลายในเมืองโครินธ์

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

1 โครินธ์ 5

เปาโลเตือนวิสุทธิชนไม่ให้คบค้าสมาคมกับคนที่เจตนาเลือกทำบาป

บนกระดาน วาด ภาพ ง่ายๆ ของถาดใส่ผลไม้โดยมีผลไม้เน่าลูกหนึ่งอยู่ในนั้น หรือท่านอาจแสดงภาพผลไม้เน่าลูกหนึ่ง

ภาพ
ภาพวาด ถาดผลไม้
  • จะเกิดอะไรขึ้นหากท่านยอมให้ผลไม้เน่าลูกหนึ่งอยู่ในถาดกับผลไม้สดอื่นๆ

  • ผลไม้เน่าลูกนั้นหมายถึงอะไรในชีวิตเรา (อิทธิพลที่สามารถทำร้ายเรา)

เชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาความจริงเมื่อพวกเขาศึกษา 1 โครินธ์ 5 ซึ่งจะช่วยพวกเขาสามารถตอบสนองต่ออิทธิผลที่ส่งผลร้ายในชีวิตพวกเขา

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 5:1–2 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาการปฏิบัติที่ชั่วร้ายท่ามกลางวิสุทธิชนชาวโครินธ์

  • การปฏิบัติที่ชั่วร้ายอะไรมีอยู่ท่ามกลางวิสุทธิชนชาวโครินธ์ (อธิบายว่าการผิดประเวณีหมายถึงการมีเพศสัมพันธ์นอกการแต่งงาน สมาชิกคนหนึ่งของศาสนจักรในเมืองโครินธ์ได้ทำบาปทางเพศกับแม่เลี้ยงของเขา)

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 2 เปาโลแนะนำให้ผู้นำศาสนจักรทำอะไรกับบุคคลนี้ (อธิบายว่าวลี “ถูกขับออกไปจากพวกท่าน” ใน ข้อ 2 หมายถึงคนบาปควรได้รับปัพพาชนียกรรมจากศาสนจักร)

ชี้ให้เห็นว่าผู้นำศาสนจักรพิจารณาข้อเท็จจริงหลายข้ออย่างรอบคอบก่อนปัพพาชนียกรรมหรือก่อนทำการลงโทษทางวินัยในศาสนจักรจะเกิดขึ้น นอกเหนือจากการพิจารณาว่าการล่วงละเมิดร้ายแรงเพียงใด ผู้นำศาสนจักรพิจารณาจุดประสงค์ต่างๆ ของการลงโทษทางวินัยของศาสนจักร นั่นคือ เพื่อช่วยให้บุคคลคนหนึ่งกลับใจ เพื่อป้องกันคนที่จะได้รับผลทางลบจากการกระทำของบุคคลหรือการเผยแผ่ความเชื่อของบุคคลนั้น และเพื่อปกป้องความสัตย์ซื่อของคำสอนของศาสนจักร (ดู “Church Discipline,mormonnewsroom.org/articles/church-discipline)

เชื้อเชิญให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 5:6–7 ขอให้ชั้นเรียนมองหาการเปรียบเทียบที่เปาโลใช้เพื่ออธิบายสาเหตุที่คนนี้จำเป็นต้องถูกขับออกจากศาสนจักร

  • เปาโลเปรียบเทียบคนบาปที่ไม่กลับใจกับอะไร (อธิบายว่าเชื้อขนมหรือยีสต์ สุดท้ายแล้วจะทำให้แป้งเน่าหรือมีเชื้อรา)

  • จำเป็นต้องใช้เชื้อขนมมากขนาดไหนเพื่อส่งผลต่อแป้งดิบทั้งก้อน

  • แป้งดิบเป็นตัวแทนของอะไร (ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์)

  • ท่านจะสรุปความหมายของการเปรียบเทียบนี้เป็นหลักธรรมว่าอย่างไร (โดยใช้คำพูดของพวกเขาเอง นักเรียนควรระบุหลักธรรมทำนองนี้ หากเราเลือกที่จะคบหาสมาคมกับคนที่ยอมรับบาป เราจะได้รับอิทธิพลจากความชั่วร้ายของพวกเขา เขียนความจริงดังกล่าวไว้บนกระดาน)

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 5:9–11 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาคำแนะนำที่เปาโลให้กับวิสุทธิชนชาวโครินธ์

  • เปาโลแนะนำวิสุทธิชนชาวโครินธ์ให้หลีกเลี่ยงอะไร

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจคำแนะนำของเปาโลมากขึ้นว่าไม่ให้คบหาสมาคมกับคนที่ประพฤติผิดทางเพศหรือคนอื่นๆ ที่ยอมรับบาป แจกสำเนาคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้นักเรียน ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง

ภาพ
เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์

“อย่าคบหากับคนที่ประพฤติผิดทางเพศ—ไม่ใช่เพราะท่านดีเกินไปสำหรับพวกเขาแต่ดังที่ [ซี. เอส.] ลูอิสเขียน เพราะว่าท่านไม่ดีพอ จงจำไว้ว่าสถานการณ์ที่เลวร้ายสามารถทำให้แม้แต่คนดีพ่ายแพ้” (The Stern but Sweet Seventh Commandment, June 1979, 42)

  • การคบหาสมาคมอย่างใกล้ชิดกับคนที่ยอมรับบาปอาจทำให้ความสามารถของเราในการเลือกอย่างถูกต้องด้อยลงอย่างไร

  • มีตัวอย่างอะไรบ้างของสถานการณ์อันเลวร้ายที่สามารถทำให้คนดีพ่ายแพ้

  • เราทำอะไรได้บ้างโดยไม่ผ่อนปรนมาตรฐานของเราเพื่อช่วยคนที่ทำบาป (เราสามารถสวดอ้อนวอนให้พวกเขา แสดงความเมตตาและเคารพพวกเขาในฐานะบุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้า และเป็นแบบอย่างที่ชอบธรรมในการรักษาพระบัญญัติ)

เชื้อเชิญให้นักเรียนพิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนว่าพวกเขาจะทำอะไรได้เพื่อเป็นอิทธิพลในด้านดีโดยไม่ผ่อนปรนมาตรฐานของเรา

สรุป 1 โครินธ์ 5:12–13 โดยอธิบายว่าเปาโลสอนว่าศาสนจักรมีความรับผิดชอบที่จะเรียกสมาชิกมาสู่การกลับใจและในบางกรณี “กำจัดคนชั่วออกจาก [ศาสนจักร]” (ข้อ 13) คนที่ทำการล่วงละเมิดร้ายแรง

1 โครินธ์ 6

เปาโลสอนวิสุทธิชนเกี่ยวกับความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและกฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศ

วาด ภาพ ถาดผลไม้เน่าที่มีผลไม้สดผลหนึ่งอยู่ในถาดง่ายๆ บนกระดาน เชื้อเชิญให้นักเรียนพิจารณาว่าพวกเขาเคยสงสัยหรือว่าพวกเขาจะหลีกเลี่ยงบาปได้อย่างไรเมื่อบาปอยู่รอบตัวพวกเขา ชี้ให้เห็นว่านี่เป็นความท้าทายที่วิสุทธิชนชาวโครินธ์เผชิญอยู่

ภาพ
ภาพวาด ถาดผลไม้

ขณะที่นักเรียนศึกษา 1 โครินธ์ 6 เชื้อเชิญให้พวกเขามองหาความจริงที่เปาโลสอนซึ่งจะช่วยพวกเขาดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรมแม้จะล้อมรอบไปด้วยอิทธิพลที่ชั่วร้าย

สรุป 1 โครินธ์ 6:1–8 โดยอธิบายว่าเปาโลแนะนำให้วิสุทธิชนชาวโครินธ์แก้ไขความขัดแย้งอย่างชอบธรรมท่ามกลางพวกเขาแทนที่จะอาศัยศาลโดยทันที

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 6:9–11 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาการปฏิบัติอันเป็นบาปในเมืองโครินธ์ที่เปาโลสอนสมาชิกศาสนจักรให้หลีกเลี่ยง

  • พฤติกรรมอันเป็นบาปประเภทใดที่เปาโลสอนสมาชิกศาสนจักรให้หลีกเลี่ยง

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 11 เปาโลเตือนอะไรวิสุทธิชนเหล่านี้เกี่ยวกับตัวของพวกเขาเอง (ผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสหลายคนในเมืองโครินธ์มีส่วนในพฤติกรรมอันเป็นบาปเหล่านี้ก่อนเข้าร่วมศาสนจักร แต่กลับใจและได้รับการชำระจากบาปของพวกเขาแล้ว)

อธิบายว่าเมืองโครินธ์ในสมัยโบราณเป็นที่เลื่องลือในเรื่องการขาดศีลธรรม และชาวโครินธ์หลายคนสนับสนุนแนวคิดที่ว่าร่างกายของเราถูกสร้างมาเพื่อทำให้เกิดความพอใจ สรุปงานแปลของโจเซฟ สมิธ 1 โครินธ์ 6:12 โดยอธิบายว่าเปาโลสอนให้ไม่ต่อต้านปรัชญาว่าไม่มีอะไรถูกหรือผิด

  • แนวคิดและการปฏิบัติในเมืองโครินธ์คล้ายกับค่านิยมที่เราเห็นในโลกทุกวันนี้อย่างไร

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 6:13 ขอให้นักเรียนที่เหลือดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลสอนเกี่ยวกับจุดประสงค์ของร่างกายเรา

  • เปาโลสอนอะไรเกี่ยวกับร่างกายของเรา (ขณะที่ชาวโครินธ์หลายคนดูจะเชื่อว่าร่างกายสร้างมาเพื่อความพอใจเท่านั้น เปาโลแก้ไขแนวคิดผิดๆ ดังกล่าวโดยสอนว่าร่างกายของเราสร้างมาเพื่อบรรลุจุดประสงค์ของพระเจ้า)

สรุป 1 โครินธ์ 6:14–17 โดยอธิบายว่าคนที่เข้าร่วมศาสนจักรกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระคริสต์เป็น “อวัยวะ” ทางวิญญาณของพระวรกายของพระองค์ เปาโลอธิบายด้วยว่าการขาดศีลธรรมทางเพศไม่สอดคล้องกับสัมพันธภาพทางวิญญาณกับพระเยซูคริสต์

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 6:18 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลสอนวิสุทธิชนชาวโครินธ์ให้ทำ (ท่านอาจต้องการชี้ให้เห็นว่างานแปลของโจเซฟ สมิธ 1 โครินธ์ 6:18 เปลี่ยนวลี “บาปภายนอก” เป็น “ต่อต้านพระวรกายของพระคริสต์”)

  • เปาโลสอนวิสุทธิชนชาวโครินธ์ให้ทำอะไร

  • ความจริงอะไรที่เปาโลสอนเกี่ยวกับคนที่ผิดประเวณี (ท่านอาจต้องการเสนอแนะให้นักเรียนทำเครื่องหมายถ้อยคำใน ข้อ 18 ที่สอนความจริงต่อไปนี้ คนที่ทำผิดประเวณีทำบาปต่อร่างกายของพวกเขาเอง)

อธิบายว่าเปาโลสอนต่อไปว่าเหตุใดการผิดประเวณี หรือการผิดศีลธรรมทางเพศ เป็นบาปต่อ “ร่างกาย [ของคนนั้นเอง]”

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่ง อ่าน 1 โครินธ์ 6:19 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลเปรียบเทียบกับร่างกายของเรา

  • เปาโลเปรียบเทียบร่างกายของเรากับอะไร

แสดงภาพพระวิหาร

  • อะไรคือความแตกต่างระหว่างพระวิหารกับอาคารอื่นๆ

  • ท่านจะสรุปความจริงที่เปาโลสอนใน ข้อ 19 ว่าอย่างไร (นักเรียนอาจใช้คำพูดต่างกัน แต่ควรระบุหลักคำสอนต่อไปนี้ ร่างกายของเราเป็นพระวิหารของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งพระวิญญาณประทับอยู่)

  • ความเข้าใจที่ว่าร่างกายของเราคือพระวิหารสามารถมีอิทธิพลต่อวิธีที่เราปฏิบัติต่อร่างกายของเราและผู้อื่นอย่างไร

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง ขอให้นักเรียนฟังแนวคิดเพิ่มเติมว่าการเข้าใจความจริงนี้สามารถมีอิทธิพลต่อวิธีที่เราปฏิบัติต่อร่างกายของเราอย่างไร

ภาพ
เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน

“เมื่อยอมรับความจริงเหล่านี้ [จาก 1 โครินธ์ 6:19–20] … เราจะไม่ทำให้ร่างกายเสียโฉมด้วยรอยสักแน่นอน หรือทำให้ร่างกายทรุดโทรมด้วยยาเสพติด หรือแปดเปื้อนด้วยการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน ผิดประเวณี การเป็นชู้ หรือความไม่สุภาพ … ร่างกายเป็นเครื่องมือของวิญญาณเรา ด้วยเหตุนี้จึงสำคัญอย่างยิ่งที่เราจะดูแลให้ดีที่สุด เราควรอุทิศถวายพลังกายรับใช้และขยายงานของพระคริสต์” (“สะท้อนถึงชีวิตที่อุทิศถวาย,” เลียโฮนา, พ.ย. 2010, 21)

  • ท่านคิดว่าเปาโลหมายความว่าอย่างไรกับวลี “ท่านทั้งหลายไม่ใช่เจ้าของตัวท่านเอง” ข้อ 19

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง 1 โครินธ์ 6:20 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาว่าเหตุใดเราไม่ใช่เจ้าของตัวเราเอง

  • วลีใดที่ระบุสาเหตุที่เราไม่ใช่เจ้าของตัวเราเอง (อธิบายว่า “ซื้อท่านไว้แล้วด้วยราคาสูง” หมายถึงได้รับการไถ่หรือนำกลับคืนผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์)

  • ท่านจะสรุปความจริงจาก ข้อ 19–20 ว่าอย่างไร (หลังจากนักเรียนตอบ ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาเขียนความจริงต่อไปนี้ในพระคัมภีร์ของพวกเขาใกล้ ข้อ 19–20 ว่า เพราะเราถูกซื้อไว้แล้วด้วยราคาสูงผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ ร่างกายของเราไม่ได้เป็นของเราเอง)

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง

ภาพ
เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

“กรุณาอย่าพูดว่า ‘นั่นทำให้ใครเจ็บปวดหรือ ทำไมถึงมีอิสระเล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้ ฉันล่วงละเมิดตอนนี้แล้วกลับใจภายหลังได้’ กรุณาอย่าโง่และโหดร้ายอย่างนั้น ท่านไม่สามารถ ‘ตรึงพระบุตรของพระเจ้า’ [ดู ฮีบรู 6:6] ‘จงหลีกหนีจากการล่วงประเวณี’ [1 โครินธ์ 6:18] เปาโลบอก และหนี ‘อะไรที่เหมือนกันนี้’ [คพ. 59:6; เพิ่มตัวเอน] หลักคำสอนและพันธสัญญาเสริม เพราะอะไร แท้จริงแล้ว สำหรับหนึ่งเหตุผลเนื่องจากการทนทุกข์ทรมานอย่างประเมินค่าไม่ได้ทั้งทางร่างกายและทางวิญญาณที่พระผู้ช่วยให้รอดของโลกทรงทนทุกข์เพื่อเรา จะ หนี [ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:15–20 เป็นพิเศษ] เราเป็นหนี้พระองค์บางอย่างสำหรับเรื่องนั้น แท้จริงแล้ว เราเป็นหนี้พระองค์ทุกสิ่งสำหรับเรื่องนั้น” (Personal Purity, Ensign, Nov. 1998, 76)

  • การจดจำว่าร่างกายของเราไม่ได้เป็นของเราเองควรมีอิทธิพลต่อการเลือกที่เราทำเกี่ยวกับเรื่องร่างกายของเราอย่างไร

พูดถึงภาพวาดผลไม้สดลูกหนึ่งที่ล้อมรอบไปด้วยผลไม้เน่าบนกระดาน

  • การเข้าใจความจริงเหล่านี้เกี่ยวกับร่างกายของเราช่วยให้เรายังคงบริสุทธิ์เมื่อเราถูกล้อมรอบไปด้วยความชั่วร้ายอย่างไร

เป็นพยานถึงความจริงที่ท่านสนทนาไปแล้ว เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองความประทับใจหรือการกระตุ้นเตือนที่พวกเขาอาจได้รับระหว่างบทเรียนและทำตามการกระตุ้นเตือนเหล่านั้น

ภาพ
ไอคอนผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์
ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์—1 โครินธ์ 6:19–20

เชื้อเชิญนักเรียนให้เขียนคำพูดสั้นๆ เกี่ยวกับ 1 โครินธ์ 6:19–20 กระตุ้นให้พวกเขารวมสิ่งต่อไปนี้ (1) ข้อมูลภูมิหลังเกี่ยวกับข่าวสารนี้ (สามารถเจอข้อมูลภูมิหลังได้ในบัตรผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์) (2) หลักธรรมต่างๆ ที่ข้อนี้สอน (3) ประสบการณ์ส่วนตัวที่แสดงให้เห็นถึงความจริงที่ข่าวสารนี้สอน ท่านอาจเชิญนักเรียนสองสามคนนำเสนอคำพูดของพวกเขากับชั้นเรียน กระตุ้นให้นักเรียนพิจารณาโอกาสที่พวกเขาอาจจะมีในการนำเสนอคำพูดของพวกเขาที่บ้านหรือที่โบสถ์

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

1 โครินธ์ 5:9 “อย่าคบพวกที่ล่วงประเวณี”

เอ็ลเดอร์เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่าในฐานะสมาชิกของศาสนจักร เราเชื่อใน “คำสอนแห่งการยอมรับทุกคน” ในการสอนหลักคำสอนนี้ เอ็ลเดอร์บัลลาร์ดพูดว่า

“[พระผู้ช่วยให้รอด] ทรงจงใจที่ใช้อุปมาเกี่ยวกับชาวยิวและชาวสะมาเรีย ทรงสอนอย่างแจ้งชัดว่าเราทุกคนเป็นเพื่อนบ้านกัน เราควรรัก เห็นคุณค่า ยกย่องและรับใช้กัน แม้จะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งรวมถึงความแตกต่างในด้านศาสนา การเมือง และวัฒนธรรม …

“[อย่างไรก็ตาม] ข้าพเจ้าไม่ได้เสนอแนะให้เรามีส่วนร่วมในความสัมพันธ์ใดที่จะนำเราหรือครอบครัวไปสู่ความเสี่ยงทางวิญญาณ ” (“คำสอนแห่งการยอมรับทุกคน,” เลียโฮนา, ม.ค. 2002, 49)

เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนเกี่ยวกับการเคารพคนอื่นเช่นกัน แม้พวกเขาเชื่อหรือกระทำต่างจากสมาชิกของศาสนจักร

“ครูหลายคนในศาสนจักรและในโรงเรียนเสียใจกับวิธีที่เด็กวัยรุ่นบางคนปฏิบัติต่อกัน รวมถึงเยาวชนแอลดีเอส แน่นอนว่าพระบัญญัติที่ให้รักกันและกันนั้นรวมถึงความรักและเคารพข้ามศาสนา ตลอดจนเชื้อชาติ วัฒนธรรม และระดับเศรษฐกิจด้วย เราท้าทายให้เยาวชนทุกคนหลีกเลี่ยงการข่มเหง การดูหมิ่น หรือการใช้คำพูดและการกระทำที่จงใจก่อความเจ็บปวดให้ผู้อื่น ทั้งหมดนี้ละเมิดพระบัญชาของพระผู้ช่วยให้รอดที่ให้รักกันและกัน” (“รักผู้อื่นและอยู่ร่วมกับผู้ที่แตกต่าง” เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 27)

1 โครินธ์ 5:13 “จงกำจัดคนชั่วออกจากพวกท่านเสียเถิด”

เมื่อศาสนจักรกำจัดคนที่ยอมรับบาปที่ร้ายแรงอย่างเป็นทางการ สิ่งนั้นเรียกว่าการลงโทษทางวินัยของศาสนจักร ข้อความต่อไปนี้จาก แน่วแน่ต่อศรัทธา: ศัพทานุกรมพระกิตติคุณ อธิบายขั้นตอนของการลงโทษทางวินัยของศาสนจักร

“อธิการ ประธานสาขา ประธานสเตค ประธานคณะเผยแผ่ และประธานท้องถิ่นมีหน้าที่ช่วยสมาชิกเอาชนะการล่วงละเมิดผ่านการกลับใจ การล่วงละเมิดร้ายแรงส่วนใหญ่ เช่นการฝ่าฝืนกฎหมายบ้านเมืองขั้นรุนแรง การกระทำทารุณกรรมคู่ครอง การกระทำทารุณกรรมเด็ก การล่วงประเวณี การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน การข่มขืน การมีเพศสัมพันธ์ที่ผิดศีลธรรมบ่อยครั้งต้องถูกลงโทษอย่างเป็นกิจจะลักษณะจากศาสนจักร การลงโทษทางวินัยอย่างเป็นทางการของศาสนจักรอาจรวมถึงการจำกัดสิทธิ์การเป็นสมาชิกในศาสนจักร หรือสูญเสียสมาชิกภาพในศาสนจักร

“กระบวนการลงโทษอย่างเป็นกิจลักษณะเริ่มขึ้นเมื่อผู้นำฐานะปุโรหิตที่เป็นประธานขอให้ตั้งสภาวินัย จุดประสงค์ของสภาวินัยคือ เพื่อช่วยจิตวิญญาณของผู้ล่วงละเมิด คุ้มครองผู้บริสุทธิ์ ปกป้องความบริสุทธิ์ ความดีงาม และชื่อเสียงของศาสนจักร

“การลงโทษทางวินัยของศาสนจักรเป็นกระบวนการที่ได้รับการดลใจซึ่งจะใช้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยผ่านกระบวนการดังกล่าวและโดยผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ สมาชิกจะได้รับการอภัยบาป เกิดสันติสุขในใจอีกครั้ง และมีพลังหลีกเลี่ยงการล่วงละเมิดในอนาคต ศาสนจักรมิได้ตั้งใจจะให้การดำเนินการทางวินัยเป็นจุดสิ้นสุดของกระบวนการ แต่ออกแบบไว้ช่วยบุตรธิดาของพระบิดาบนสวรรค์ให้พยายามต่อไปจนได้สิทธิ์และพรของศาสนจักรคืนมาโดยครบถ้วน ผลที่ต้องการคือ บุคคลนั้นทำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต่อการกลับใจอย่างสมบูรณ์” (“สภาวินัยของศาสนจักร,” แน่วแน่ต่อศรัทธา [2004], 221–222)