คำสอนของประธานศาสนจักร
บทที่ 17: แผนอันยิ่งใหญ่แห่งความรอด


บทที่ 17

แผนอันยิ่งใหญ่แห่งความรอด

“แผนอันยิ่งใหญ่แห่งความรอดเป็นหัวข้อที่เราควรเอาใจใส่อย่างจริงจัง และถือว่าเป็นของประทานประเสริฐสุดอย่างหนึ่งที่สวรรค์ ประทานแก่มนุษยชาติ”

จากชีวิตของโจเซฟ สมิธ

ในเดือนกันยายน คริสต์ศักราช 1831 ศาสดาโจเซฟ สมิธกับครอบครัวเดิน ทาง 48 กิโลเมตรจากภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเคิร์ทแลนด์ย้ายไปเมืองไฮรับ รัฐโอไฮโอ พวกท่านอยู่ที่นั่นประมาณหนึ่งป็ในบ้านของจอห์นกับอลิซ (เป็นที่ รู้จักในนามเอลซาด้วย) จอห์นสัน ในบ้านหลังนี้ งานส่วนมากที่ศาสดาทำ คือการแปลพระคัมภีร์ไบเบิล (Joseph Smith Translation of the Bible)

งานสำคัญชิ้นนี้ ซึ่งศาสดาเรียกว่า “การเรียกแขนงหนึ่งของข้าพเจ้า”1 เอื้อ ประโยชน์อันสำคัญยิ่งต่อความเข้าใจของเราเรื่องแผนแห่งความรอด ศาสดาเริ่ม งานนี้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1830 เมื่อพระเจ้าทรงบัญชาท่านใบ้เริ่มแก้ไข พระคัมภีร์ไบเบิลฉบับคิงเจมส์ด้วยการดลใจ ศาสดาทราบมานานแล้วว่าพระคัมภีร์ไบเบิลไม่ได้ให้ความกระจ่างเสมอไปในเรื่องสำคัญบางเรื่อง ท่านสังเกต ว่าโมโรไนอ้างข้อความบางตอนในพระคัมภีร์ไบเบิล “เพี้ยนไปเล็กน้อยจากที่ [อ่าน] ในไบเบิลของเรา” (โจเซฟ สบิธ—ประวัติ 1:36) ขณะแปล 1 นีไฟ 13:23–29 ท่านเรียนรู้ว่า “ข้อความหลายตอนซึ่งแจ้งชัดและมืค่าที่สุด” ถูกนำ ออกไปจากพระคัมภีร์ไบเบิล รวมทั้งนำ “พันธสัญญาหลายข้อของพระเจ้า” ออกไปด้วย (1 นีไฟ 13:26)

ศาสดากล่าวต่อมาว่า “ข้าพเจ้าเชื่อพระคัมภีร์ไบเบิลที่อ่านเมื่อมาจากปลาย ปากกาของผู้เขียนคนแรกสุด นักแปลที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ คนคัดลอกที่สะเพร่า หรือปุโรหิตที่มืแผนร้ายและทุจริตทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนหลายจุด… ลอง มาดูข้อความที่ขัดแย้งกัน [ฮีบรู 6:1]…‘เหตุฉะนั้นขอให้เราผ่านหลักธรรม เบื้องด้นแห่งคริสตศาสนาไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่’ ก้ามนุษย์ทิ้งหลักธรรมแห่งหลัก คำสอนของพระคริสต์เขาจะรอดในหลักธรรมได้อย่างไร นี่คือข้อความที่ขัดแย้ง กัน ข้าพเจ้าไม่เชื่อข้อความนี้ ข้าพเจ้าจะให้ข้อความตามที่ควรเป็น—‘ดังนั้นโดย ไม่ทิ้งหลักธรรมแห่งหลักคำสอนของพระคริสต์ขอให้เราดำเนินต่อไปสู่ความดี พร้อม’”2

โจเซฟใช้เวลาประมาณสามปีตรวจสอบพระคัมภีร์ไบเบิลอย่างละเอียดตามที่ พระวิญญาณทรงนำทาง โดยแก้ไขเนื้อความหลายพันแห่งและนำข้อมูลที่หาย ไปกลับคืนมา ข้อมูลที่กลับคืนมานี้ให้ความกระจ่างอย่างน่าอัศจรรย์แก่หลักคำ สอนมากมายที่ไม่ชัดเจนในพระคัมภีร์ไบเบิลเช่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน การแก้ไขที่ ได้รับการดลใจที่มีต่อพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นที่รู้จักอันว่าคือ การแปลพระคัมภีร์ ไบเบิลของโจเซฟ สมิธ ข้อความหลายร้อยตอนจากการแปลของโจเซฟ สท้ธ ปัจจุบันมีอยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับคิงเจมส์ของสิทธิชนยุคสุดห้าย

การแปลพระคัมภีร์ไบเบิลของศาสดาเป็นส่วนสำคัญของการศึกษาทางวิญญาณของท่านและการฟื้นฟูความจริงพระกิตติคุณ ขณะแก้ไขพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่และพันธสัญญาเติม ท่านมักได้รับการเปิดเผยที่ให้ ความกระจ่างหรือขยายข้อความในพระคัมภีร์ไบเบิล ศาสดาได้รับหลักคำสอน มากมายจากพระเจ้าในวิธีดังกล่าว รวมทั้งหลักคำสอนที่ปัจจุบันพบในพระคัมภีร์ คำสอนและพันธสัญญาภาค 74, 76, 77, 86, และ 91 และในบางส่วนของ พระคัมภีร์คำสอนและพันธสัญญาอีกหลายภาค

เมื่อศาสดาเริ่มแปลพระคัมภีร์ไบเบิลครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1830 พระเจ้าทรงเปิดเผยต่อท่านถึงข้อความยาวมากตอนหนึ่งจากงานเขียนของโมเสส ข้อความนี้ภีอโมเสสบทที่ 1 ในพระคัมภีร์ไข่มุกอันลํ้าค่า ข้อความนี้บันทึกภาพ ปรากฎที่โมเสสเห็นและสนทนากับพระผู้เป็นเจ้า—ภาพปรากฎที่โดดเด่นมาก จนโจเซฟ สมิธเรียกว่า “ชิ้นอาหารอันโอชะ” หรือ “พลังเสริม”3 ในภาพนี้ พระผู้เป็นเจ้าทรงสอนโมเสสถึงจุดประสงค์พื้นฐานของแผนอันยิ่งใหญ่แห่ง ความรอด

“และพระเจ้าพระผู้เป็นเจ้ารับสั่งกับโมเสสมีความว่า … เพราะดูเถิด นี่คีอ งานของเราและรัศมีภาพของเรา—ที่จะทำให้เกิดความเป็นอมตะและชีวิตนิรันดร์ของมนุษย์” (โมเสส 1:37, 39)

หลักคำสอน พิธีการ และคำสัญญาที่ประกอบเป็นแผนแห่งความรอดถูกเปิด เผยต่อแผ่นดินโลกในวันเวลาสุดท้ายนี้โดยผ่านศาสดาโจเซฟ สมิธ ในฐานะผู้ เข้าใจความสำคัญของแผนนี้อย่างชัดเจน ศาสดาประกาศว่า “แผนอันยิ่งใหญ่ แห่งความรอดเป็นหัวข้อที่เราควรเอาใจใส่อย่างจริงจัง และถือว่าเป็นของประทานประเสริฐสุดอย่างหนึ่งที่สวรรค์ประทานแก่มนุษยชาติ”4

คำสอนของโจเซฟ สมิธ

ในโลกก่อนเกิด พระเยซูคริสต์ทรงได้รับเลือก ให้เป็นพระผู้ช่วยให้รอด และเราเลือกยอมรับแผนแห่งความรอด

“เมื่อมีการวางระเบียบในสวรรค์เป็นครั้งแรก เราทุกคนอยู่ที่นั่นและเห็นพระผู้ช่วยให้รอดได้รับเลือกและรับแต่งตั้ง มีการวางแผนแห่งความรอด และเรา ยอมรับแผนนั้น”5

“พระเจ้าทรง [เป็น] ปุโรหิตตลอดกาล ตามระเบียบของเม็ลกิเซเด็ค และ ทรงเป็นพระบุตรผู้ได้รับการเจิมของพระผู้เป็นเจ้าตั้งแต่ก่อนการวางรากฐานของ โลก [ดู สดุดี 110:4]”6

“ความรอดของพระเยซูคริสต์เกิดถับมนุษย์ทั้งปวง นั้งนี้เพื่อให้มีชัยเหนือมาร … คนทั้งปวงจะต้องทนทุกข์จนกว่าเขาจะเชื่อฟ้งพระคริสต์

“ความขัดแย้งในสวรรค์คือ—พระเยซูตรัสว่าจะมีจิตวิญญาณจำนวนหนึ่งไม่ รอด และมารกล่าวว่าเขาจะช่วยให้ทุกคนรอด และเสนอแผนของเขาต่อ สภาใหญ่ผู้ออกเสียงเห็นด้วยคับพระเยซูคริสต์ มารจึงลุกขึ้นกบฎต่อพระผู้เป็นเจ้าและถูกโยนลงมา พร้อมวิญญาณทั้งหมดที่สมคบคับเขา”7

เราคือสัตภาวะนิรันดร์ เราก้าวหน้าสู่ความสูงส่งได้ เมื่อเราเชื่อฟ้งกฎของพระผู้เป็นเจ้า

ศาสดาโจเซฟ สมิธได้รับการเปิดเผยต่อไปนี้จากพระเจ้าในเดือนพัฤษภาคม ค.ศ. 1833 ซึ่งต่อมาบันทึกไว้ในพระคัมภีร์คำสอนและพันธสัญญา 93:29 “มนุษย์เป็นอยู่ถับพระผู้เป็นเจ้าในการเริ่มด้น ความรู้แจ้งหรือความสว่างแ่ห่ง ความจริงมิได้ถูกสร้างหรือทำไว้ ทั้งทำไม่ได้จริงๆ” ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1844 ศาสดาสอนว่า “ข้าพเจ้ามีอีกเรื่องหนึ่งต้องพูด ซึ่งจะยกมนุษย์ให้สูงขึ้น … เกี่ยวข้องถับเรื่องของการฟี้นคืนชีวิตของคนตาย—คือจิตวิญญาณ—จิตใจของ มนุษย์—วิญญาณอมตะ วิญญาณมาจากไหน ผู้มีความรู้ทั้งหลายและดุษฎีบัณฑิตด้านเทววิทยาต่างกล่าวว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างวิญญาณในตอนเริ่มด้น แต่ หาเป็นเช่นนั้นไม่ ความคิดดังกล่าวลดคุณค่าของมนุษย์ในสายตาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่เชื่อหลักคำสอนนั้น ข้าพเจ้าทราบดีกว่านั้น จงฟ้งท่านทั้งหลายที่สุด ของโลก เพราะพระผู้เป็นเจ้าทรงบอกข้าพเจ้าดังนั้น และหากท่านไม่เชื่อข้าพเจ้า ก็ไม่ได้ทำให้ความจริงไร้ผล …

“ข้าพเจ้ากำลังพูดถึงความเป็นอมตะของวิญญาณมนุษย์ มันสมเหตุสมผล หรือไม่ที่จะกล่าวว่าความรู้แจ้งของวิญญาณเป็นอมตะ แต่กลับบอกว่าสิ่งนี้มีการ เริ่มด้น ความรู้แจ้งของวิญญาณไม่มีการเริ่มด้น ทั้งจะไม่มีการสิ้นสุดด้วย นั่นคือ เหตุผลที่ดี สิ่งซึ่งมีการเริ่มด้นอาจจะมีการสิ้นสุด ไม่เคยมีเวลาไหนที่ไม่มีวิญญาณ …

“… ข้าพเจ้าดึงแหวนออกจากนิ้วมือและเปรียบแหวนกับจิตใจของมนุษย์—ส่วนที่เป็นอมตะ เพราะจิตใจไม่มีการเริ่มด้น สมมติว่าท่านดัดแหวนเป็นสอง ส่วน มันย่อมมีจุดเริ่มด้นและจุดสิ้นสุด แต่เมื่อเชื่อมต่อกันอีกครั้ง มันจะเป็น หนึ่งรอบนิรันดร์ต่อไป เป็นเช่นนั้นด้วยถับวิญญาณของมนุษย์ พระเจ้าทรง พระชนม์ฉันใด หากมีจุดเริ่มด้น ย่อมมีจุดสิ้นสุด คนโง่ คนมีการศึกษา และ คนฉลาดทุกคนตั้งแต่เริ่มงานสร้าง ผู้กล่าวว่าวิญญาณของมนุษย์มีการเริ่มด้น ท่านลองพิสูจน์สิว่าวิญญาณมีจุดสิ้นสุด และถ้าหลักคำสอนนั้นเป็นความจริง หลักคำสอนเรื่องการดับสูญย่อมเป็นความจริง แต่ถ้าข้าพเจ้าพูดถูก ข้าพเจ้าจะ ประกาศด้วยความอาจหาญบนหลังคาบ้านว่าพระผู้เป็นเจ้ามิได้ทรงมีอำนาจใน การสร้างวิญญาณของมนุษย์เลย พระผู้เป็นเจ้าจะสร้างพระองค์เองไม่ได้

“ความรู้แจ้งเป็นนิรันดร์และดำรงอยู่ตามหลักการดำรงอยู่ด้วยตัวมันเอง มัน เป็นวิญญาณมายุคแห้วยุคเล่า นั้งมิได้ถูกสร้างขึ้น จิตใจและวิญญาณทั้งหมดที่ พระผู้เป็นเจ้าเคยส่งมาในโลกล้วนขยายได้

“หลักธรรมข้อแรกๆ ของมนุษย์ดำรงอยู่ด้วยตัวมันเองลับพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าทรงพบว่าพระองค์ทรงอยู่ท่ามกลางวิญญาณและรัศมีภาพ เพราะ พระองค์มีความรู้แจ้งมากกว่า จึงทรงเห็นควรให้ตั้งกฎเพื่อให้คนอื่นๆ มีสิทธิ์ ถ้าวหน้าเช่นพระองค์ ความสัมพันธ์ที่เรามีกับพระผู้เป็นเจ้าวางเราไว้ในสถานการณ์ที่จะถ้าวหน้าในความรู้ พระองค์ทรงมีอำนาจตั้งกฎเพื่อสอนผู้อ่อนแอกว่า ให้มีความรู้แจ้ง เพื่อพวกเขาจะได้รับความสูงส่งกับพระองค์ ทั้งนี้เพื่อพวกเขา จะมีรัศมีภาพมากขึ้น มีความรู้ พลังอำนาจ รัศมีภาพ และความรู้แจ้งทั้งหมดที่ จำเป็นเพื่อช่วยให้พวกเขารอดในโลกแห่งวิญญาณ”8

“เราถือว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างมนุษย์พร้อมจิตใจที่สามารถรับคำแนะนำสั่ง สอนได้ และสติปัญญาซึ่งขยายได้ตามสัดส่วนความเอาใจใส่และความพากเพียรที่ให้แก่ความสว่างซึ่งถ่ายทอดจากสวรรค์ให้ผู้มีปัญญา และยิ่งมนษย์เข้า ใกล้ความดีพร้อมมากเท่าใด การมองเห็นของเขาจะยิ่งชัดมากขึ้นเท่านั้นและ ความปลื้มป็ติของเขาจะมากขึ้น จนกว่าเขาจะเอาชนะความชั่วร้ายของชีวิตและ สูญสิ้นความปรารถนาที่จะทำบาป และเช่นเดียวกับคนสมัยโบราณ เขาจะมาถึง จุดนั้นของศรัทธาซึ่งห่อหุ้มเขาไว้ในพระเดชานุภาพและพระสิริของพระผู้รังสรรค์และได้อยู่กับพระองค์ แต่เราถือว่านี่คือสถานะที่ไม่มีมนุษย์คนใดไปถึง ได้ในทันที”9

เรามายังแผ่นดินโลกเพื่อรับร่างกาย รับความรู้ และเอาชนะโดยผ่านศรัทธา

“มนุษย์ทุกคนรู้ว่าพวกเขาต้องตาย เป็นเรื่องสำคัญที่เราควรเข้าใจเหตุผลและ มูลเหตุที่เราต้องรับความผันแปรของชีวิตและความตาย แบบแผนและจุดประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงให้เรามาในโลกนี้ ความทุกข์ทรมานของเราที่นี่ และ การไปจากโลกนี้ อะไรคือวัตถุประสงค์ที่เรามาดำรงอยู่ แห้วก็ตายและออกจาก โลกนี้ ไม่อยู่ที่นี่อีก เรามีเหตุผลที่จะคิดว่าพระผู้เป็นเจ้าจะทรงเปิดเผยบางอย่าง เกี่ยวกับเรื่องนี้ และนั่นเป็นเรื่องที่เราควรศึกษามากกว่าเรื่องอื่น เราควรศึกษา ทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะโลกไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับสภาพที่แท้จริงและ ความสัมพันธ์ของพวกเขา [กับพระผู้เป็นเจ้า]”10

“แบบแผนของพระผู้เป็นเจ้าก่อนการวางรากฐานของโลกคือ เราควรได้รับ ร่างกาย เราควรเอาชนะโดยผ่านความซื่อสัตย์ของเรา จากนั้นก็รับการฟื้นคืน ชีวิตจากความตาย โดยรับรัศมีภาพ เกียรติ อำนาจ และการครอบครองในวิธีดัง กล่าว”11

“เรามายังโลกนี้เพื่อเราจะมีร่างกายและปรากฎกายอันบริสุทธิ์ต่อพระพักตร์ พระผู้เป็นเจ้าในอาณาจักรชั้นสูง หลักธรรมอันยิ่งใหญ่ของความสุขประกอบด้วย การมีร่างกาย มารไม่มีร่างกาย และการไม่มีร่างกายคือบทลงโทษสำหรับเขา เขา พอใจเมื่อได้สิงอยู่ในร่างกายมนุษย์ และเมื่อพระผู้ช่วยให้รอดทรงไล่มารออก เขาขอไปอยู่ในฝูงสุกรแทน นี่แสดงให้เห็นว่าเขาสิงอยู่ในตัวหมูดีกว่าไม่มีร่างกาย ทุกสัตภาวะที่มีร่างกายมีอำนาจเหนือสัตภาวะที่ไม่มีร่างกาย”12

“ความรอดมีไว้เพื่อช่วยให้มนุษย์รอดจากศัตรูทั้งสิ้นของเขา เพราะมนุษย์จะ รอดไม่ได้จนกว่าเขาจะชนะความตายได้ …

“วิญญาณในโลกนิรันดร์เหมือนวิญญาณในโลกนี้ เมื่อวิญญาณเหล่านั้นเข้ามา ในโลกและได้รับร่างกาย จากทั้นก็ตายและคืนชีพอีกครั้ง และได้รับร่างกายที่มี รัศมีภาพ พวกเขาจะมีอำนาจเหนือวิญญาณที่ไม่ได้รับร่างกายหรือไม่รักษา สถานะแรกของเขา เช่นมารเป็นด้น บทลงโทษสำหรับมารคือเขาจะไม่มีที่ให้ วิญญาณอยู่เหมือนมนุษย์”13

“หลักธรรมแห่งความรู้คือหลักธรรมแห่งความรอด ผู้ซื่อสัตย์และพากเพียร จะเข้าใจหลักธรรมดังกล่าว และทุกคนที่ไม่ได้ความรู้มากพอแก่ความรอดจะถูก กล่าวโทษ หลักธรรมแห่งความรอดประทานให้เราผ่านความรู้ในพระเยซูคริสต์

“ความรอดไม่ได้เป็นอะไรที่มากหรือน้อยไปกว่าชัยชนะเหนือศัตรูทั้งสิ้นของ เราและนำพวกเขามาอยู่ใด้ฝ่าเท้าของเรา เมื่อใดที่เรามีพลังนำศัตรูทั้งสิ้นมาอยู่ ใด้ฝ่าเท้าของเราในโลกนี้ และมีความรู้สู่ชัยชนะเหนือวิญญาณร้ายทั้งสิ้นในโลก ที่จะมาถึง เมื่อนั้นเราจะรอดเฉกเช่นในกรณีของพระเยซูผู้ทรงปกครองจนกว่า พระองค์จะทรงนำศัตรูทั้งสิ้นมาอยู่ใด้ฝ่าพระบาทของพระองค์และศัตรูตัวสุด ท้ายคือความตาย [ดู 1 โครินธ์ 15:25–26]

“นี่อาจจะเป็นหลักธรรมที่แทบจะไข่มีใครคิดถึง คนเราจะมีความรอดนี้ไข่ได้หากไข่มีร่างกาย

“ในโลกปัจจุบันนี้ โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีความเห็นแก่ตัว ทะเยอทะยาน และพยายามยกตนเหนือผู้อื่น แต่็ถ็มีบางคนที่เต็มใจจะเสริมสร้างผู้อื่นเท่าๆ กับ เสริมสร้างตนเอง ตังนั้นในโลกอื่นก็มีวิญญาณที่แตกต่างกัน บางคนพยายาม ที่จะยกตนขึ้นเหนือผู้อื่น และนี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นกับลูซิเฟอร์เมื่อครั้งเขาตก เขา เสาะหาสิ่งซึ่งไม่ถูกด้องตามกฎ ด้วยเหตุนี้เขาจึงถูกส่งลงมาและกล่าวกันว่าเขา ดึงคนมากมายมากับเขา และความรุนแรงของโทษที่เขาได้รับคือเขาจะไม่มีร่างกาย นี่คือบทลงโทษสำหรับเขา”14

พระผู้เป็นเจ้าประทานสิทธิ์เสรีทางศีลธรรมและ พลังอำนาจให้เราเลือกความดีเหนือความชั่ว

“ล้ามนุษย์อยากได้ความรอด พวกเขาด้องอยู่ภายใด้เงื่อนไขของกฎข้อบังคับ และหลักธรรมก่อนจะออกจากโลกนี้ ซึ่งประกาศิตอันไม่เปลี่ยนแปลงได้กำหนด ไร้ก่อนโลกเป็นมา … การวางระเบียบโลกทางวิญญาณและโลกในสวรรค์ สัตกาวะทางวิญญาณและสัตภาวะในสวรรค์ ล้วนสอดคล้องและกลมกลืนกับ ระเบียบที่สมบูรณ์แบบที่สุด ขีดจำกัดและขอบเขตของสิ่งที่กล่าวมาถูกกำหนด ไร้อย่างไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ และยอมรับด้วยความสมัครใจในสถานะสวรรค์ และบิดามารดาแรกของเราบนแผ่นดินโลกเห็นชอบด้วย เพราะเหตุนี้จึงเป็นเรื่อง สำคัญที่มนุษย์ทุกคนบนแผ่นดินโลกผู้คาดหวังชีวิตนิรันดร์จะท้อมรับและยอม รับหลักธรรมแห่งความจริงนิรันดร์”15

“ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับสิทธิ์เสรีของเขา เพราะพระผู้เป็นเร้าทรงกำหนดไร้เช่น นั้น พระองค์ทรงให้มนุษยชาติเป็นตัวแทนทางศีลธรรม และประทานพลังอำนาจ ให้เขาเลือกความดึหรีอกวามชั่ว แสวงหาสิ่งดี โดยดำเนินตามเส้นทางของความ บริสุทธิ์ในชีวิตนี้ อันจะก่อให้เกิดสันติสุขในจิตใจและเกิดปีติในพระวิญญาณ บริสุทธิ์ที่นี่ และความบริบูรณ์แห่งปีติและความสุขทางขวาพระหัตถ์ของพระองค์หลังจากนี้ หรือจะดำเนินตามวิถึที่ชั่วร้ายโดยดำเนินต่อไปในบาปและกบฎ ต่อพระผู้เป็นเร้า อันจะนำการกล่าวโทษมาให้จิตวิญญาณของเขาในโลกนี้และ การสูญเสียนิรันดร์ในโลกที่จะมาถึง”16

“ซาตานจะใช้สิ่งล่อใจของเขาล่อหลอกเราไม่ได้เว้นแต่ใจเราจะคล้อยตาม และยินยอม ตัวเราถูกสร้างมาให้สามารถต่อด้านมารได้ หากไม่ได้สร้างเราเช่น นั้น เราคงไม่ได้เป็นตัวของตัวเองที่มีอิสระ”17

“มารไม่มีอำนาจเหนือเราเว้นแต่เราจะยอมเขา ชั่วขณะที่เราแข็งช้อต่อสิ่ง ใดก็ตามที่มาจากพระผู้เป็นเว้า มารจะมีอำนาจทันที”18

วันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1841 ศาสดาปราศรัยต่อสิทธิชนดังนี้ “ประธาน โจเซฟ สมิธ…ตั้งช้อสังเกตว่าปกติแล้วซาตานจะถูกตำหนิเพราะความชั่วที่เรา ทำ แต่ล้าเขาเป็นด้นเหตุของความชั่วร้ายทั้งหมดของเรา มนุษย์จะไม่ถูกตัดสิน ลงโทษ มารไม่สามารถบังคับมนุษย์ให้ทำชั่วได้ ทั้งหมดเป็นความสมัครใจ คน ที่ต่อด้านพระวิญญาณของพระผู้เป็นเว้าจะถูกนำไปสู่การล่อลวงได้ง่าย และจาก นั้นความร่วมมือของสวรรค์จะถูกถอนไปจากคนที่ปฏิเสธการเป็นผู้รับส่วนรัศมี ภาพอันยิ่งใหญ่เช่นนั้น พระผู้เป็นเว้าจะไม่ทรงใช้วิธีหักหาญนํ้าใจ และมารจะ ทำอย่างนั้นไม่ได้ ความคิดเช่นที่หลายคนมีต่อ [เรื่องเหล่านี้] ช่างไร้สาระสิ้นดี”19

อีไลซา อาร้. สโนว้ บันทึกดังนี้ “[โจเซฟ สมิธ] กล่าวว่าท่านไม่สนใจว่า เราจะวิ่งเร็วเท่าใดในเส้นทางแห่งคุณธรรม จงต่อด้านมาร และจะไม่มีอันตราย พระผู้เป็นเว้า มนุษย์ และเหล่าเทพจะไม่ตัดสินลงโทษคนที่ต่อด้านทุกอย่างที่ชั่ว และมารจะทำเช่นนั้นไม่ได้ มารพยายามโค่นล้มจิตวิญญาณบริสุทธิ์ผู้ต่อด้านทุก อย่างที่ชั่วเหมือนอย่างที่เขาถอดถอนพระเยโฮวาห์ออกจากตำแหน่ง แต่เขาทำ ไม่สำเร็จ”20

ข้อเสนอแนะสำหรับศึกษาและสอน

พิจารณาแนวคิดต่อไปนี้ขณะศึกษาบทเรียนหรือขณะเตรียมสอน ดูความช่วย เหลือเพิ่มเติมได้ที่หน้า ⅶ–ⅹⅱ

  • มีความจริงที่พิเศษจำเพาะอะไรน้างเกี่ยวกับแผนแห่งความรอดและจุดประสงค์ของชีวิตที่เรารู้เพราะการเปิดเผยต่อศาสดาโจเซฟ สมิธ ความจริงเหล่า นี้ช่วยท่านอย่างไร

  • โจเซฟ สมิธสอนว่าแผนแห่งความรอดเป็น “เรื่องที่เราควรศึกษาให้มากกว่า เรื่องอื่น” (หน้า 226) และเป็น “หัวช้อที่เราควรเอาใจใส่อย่างจริงจัง” (หน้า 224) เราจะศึกษาแผนแห่งความรอดได้อย่างไรห้าง ขณะทำกิจวัตร ประจำวัน เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเอาใจใส่แผนแห่งความรอดอย่างจริงจัง มีวิธีใดบ้างที่เราจะสอนแผนแห่งความรอดใบ้ผู้อื่นได้

  • อ่านทวนคำสอนของโจเซฟ สมิธเกี่ยวกับสภาในสวรรค์ และธรรมชาตินิรันดร์ของเรา (หน้า 224–226) การรู้คำสอนเหล่านี้จะเป็นพรต่อท่านในชีวิต บนแผ่นดินโลกได้อย่างไร

  • ศาสดาโจเซฟเป็นพยานว่า “จิตใจและวิญญาณทั้งหมดที่พระผู้เป็นเจ้าเคยส่ง มาในโลกล้วนขยายได้” (หน้า 225) ท่านคิดว่าข้อความนี้หมายถึงอะไร ความจริงดังกล่าวส่งผลอย่างไรต่อวิธีที่ท่านเผชิญการท้าทาย ความรู้สึกที่ ท่านมีต่อคุณค่าและความสามารถของตนเอง และวิธีที่ท่านปฏิบัติต่อผู้อื่น

  • อ่านย่อหน้าแรกของหน้า 226 ไตร่ตรองพรที่เราได้รับเมื่อเราให้ “ความเอาใจ ใส่และความพากเพียร … แก่ความสว่างซึ่งถ่ายทอดจากสวรรค์”

  • อ่านทวนคำสอนของโจเซฟ สมิธเกี่ยวกับความสำคัญของการมีร่างกาย (หน้า 226–228) ความรู้นี้ส่งผลอย่างไรต่อวิธีที่เราดูแลร่างกายของเรา

  • อ่านสองย่อหน้าแรกในหน้า 229 พิจารณาว่าคำสอนเหล่าธิ์มีความหมาย อย่างไรขณะที่ท่านใข้สิทธิ์เสรีของท่าน เราทำสิ่งที่เป็นรูปธรรมอะไรได้บ้าง เพื่อต่อด้านอิทธิพลของซาตาน

ข้อพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง: 2 มีไฟ 2:25; 9:6–12; แอลมา 34:31–33; ค.พ. 76:25–32; 101:78; เอบราแฮม 3:22–25

อ้างอิง

  1. History of the Church, 1:238; จาก “History of the Church” (ด้นฉบับ), book A–1, p. 175, หอจดหมายเหตุของศาสนาจักร ศาสนาจักร ของพระเยซูคริสต์แห่งสิทธิชนยุคสุดท้าย ซอลท์เลคซิตี้ ยูทาห์

  2. History of the Church, 6:57–58; ปรับเปลี่ยนการแบ่งย่อหน้า; จากคำ ปราศรัยของโจเซฟ สมิธเมื่อ 15 ต.ค. 1843 ในนอวู อิลลินอยส์; รายงานโดย วิลลาร์ด ริชาร์ดส์; ดู ภาคผนวก หน้า 604 ข้อ 3 ด้วย

  3. History of the Church, 1:98; จาก “History of the Church” (ด้นฉบับ), book A–1, miscellaneous papers หอจดหมายเหตุของศาสนาจักร

  4. History of the Church, 2:23; จาก “The Elders of the Church in Kirtland, to Their Brethren Abroad,” Jan. 22, 1834 จัดพิมพ์ใน Evening and Morning Star, Apr. 1834, p. 152.

  5. อ้างอิงโดย วิลเลียม เคลย์ตัน ขณะ รายงานคำปราศรัยของโจเซฟ สมิธที่ไม่ ได้ระบุวันเดือนปี ในนอวู อิลลินอยส์; ใน แอล. จอห์น นัททอลส์ “Extracts from William Clayton’s Private Book,” p. 7, Journals of L. John Nuttall, 1857–1904, งานสะสมพิเศษ ของแอล. ทอม เพอร์ริย์ มหาวิทยาลัย บริคัม ยังก์ โพรโว ยูทาห์; สำเนา ในหอจดหมายเหตุของศาสนาจักร

  6. “Baptism” บทความที่จัดพิมพ์ใน Times and Seasons, Sept. 1, 1842, p. 905; เปลี่ยนตัวสะกดให้ทันสมัย; โจเซฟ สมิธเป็นบรรณาธิการวารสาร

  7. History of the Church, 6:314; จาก คำปราศรัยของโจเซฟ สมิธเมื่อ 7 เม.ย. 1844 ในนอวู อิลลินอยส์; รายงานโดย วิลฟอร์ด วูดรัฟฟ์ วิลลาร์ด ริชาร์ดส์ โธบัส บัลล็อค และวิลเลียม เคลย์ตัน

  8. History of the Church, 6:310–12; จากคำปราศรัยของโจเซฟ สมิธเมื่อ 7 เม.ย. 1844 ในนอวู อิลลินอยส์; รายงานโดย วิลฟอร์ด วูดรัฟฟ้ วิลลาร์ด ริ,ชาร์ดส์ โธบัส บัลล็อค และวิลเลียม เคลย์ตัน; ดู ภาคผนวก หน้า 604 ข้อ 3 ด้วย

  9. History of the Church, 2:8; จาก “The Elders of the Church in Kirtland, to Their Brethren Abroad,” Jan. 22, 1834 จัดพิมพ์ไน Evening and Morning Star, Feb. 1834, p. 135.

  10. History of the Church, 6:50; จาก คำปราศรัยของโจเซฟ สมิธเมื่อ 9 ต.ค. 1843 ในนอวู อิลลินอยส์; รายงานโดย วิลลาร์ด ริชาร์ดส์ และ Times and Seasons, Sept. 15, 1843, p. 331; Times and Seasons ฉบับนี้จัด พิมพ์ล่าข้า

  11. อ้างอิงโดยมาร์ธา เจน โนว์ลตัน โคเรย์ ขณะรายงานคำปราศรัยของโจเซฟ สมิธ เมื่อ 21 พ.ค. 1843 ในนอวู อิลลินอยส์; Martha Jane Knowlton Coray, Notebook, หอจดหมายเหตุ ของศาสนาจักร

  12. อ้างอิงโดย วิลเลียม เคลย์ตัน ขณะ รายงานคำปราศรัยของโจเซฟ สมิธที่ไม่ ได้ระบุวันเดือนปี ในนอวู อิลลินอยส์; ในแอล. จอห์น นัททอลส์ “Extracts from William Clayton’s Private Book,” pp. 7–8, Journals of L. John Nuttall, 1857–1904 งานสะสม พิเศษของแอล. ทอม เพอรัรีย์ มหา วิทยาลัยบริคัม ยังก์ โพรโว ยูทาห์; สำเนาในหอจดหมายเหตุของศาสนาจักร

  13. History of the Church, 5:403; จาก คำปราศรัยของโจเซฟ สมิธเมื่อ 21 พ.ค. 1843 ในนอวู อิลลินอยส์; รายงานโดย วิลลาร์ด ริชาร์ดส์; ดู ภาค ผนวก หน้า 604 ข้อ 3 ด้วย

  14. History of the Church, 5:387–88; จากคำปราศรัยของโจเซฟ สมิธเมื่อ 14 พ.ค. 1843 ในเยลโรเม อิลลินอยส์; รายงานโดยวิลฟอร์ด วูดรัฟฟ; ดู ภาค ผนวก หน้า 604, ข้อ 3 ด้วย

  15. History of the Church, 6:50–51; ปรับเปลี่ยนการแบ่งย่อหน้า จากคำ ปราศรัยของโจเซฟ สมิธเมื่อ 9 ต.ค. 1843 ในนอวู อิลลินอยส์; รายงานโดย วิลลาร์ด ริชาร์ดส์ และ Times and Seasons, Sept. 15, 1843, p. 331; Times and Seasons ฉบับนี้จัดพิมพ์ ล่าช้า; ดู ภาคผนวก หน้า 604 ข้อ 3 ด้วย

  16. History of the Church, 4:45, เชิงอรรถ; จากจดหมายที่ฝ่ายประธาน สูงสุดและสภาสูงเขียนถึงสิทธิชนที่ อาศัยอยู่ทางตะวันตกของเคิร์ทแลนด์ โอไฮโอ 8 ธ.ค. 1839 คอมเมิร์ซ อิลลินอยส์ จัดพิมพ์ไน Times and Seasons, Dec. 1839, p. 29.

  17. อ้างโดย วิลเลียม พี. แม็คอินไทร์ ขณะ รายงานคำปราศรัยของโจเซฟ สมิธเมื่อ ด้นปี 1841 ในนอวู อิลลินอยส์; William Patterson McIntire, Notebook 1840–45 หอจดหมายเหตุ ของศาสนาจักร

  18. อ้างโดย วิลเลียม เคลย์ตัน ขณะ รายงานคำปราศรัยของโจเซฟ สมิธที่1โม่ ได้ระบุวันเดือนปี ในนอวู อิลลินอยส์; ใน แอล. จอห์น นัททอลส์ “Extracts from William Clayton’s Private Book,” p. 8, Journals of L. John Nuttall, 1857–1904 งานสะสมพิเศษ ของแอล. ทอม เพอร์รีย์ มหาวิทยาลัย บริคัม ยังก์ โพรโว ยูทาห์; สำเนาในหอ จดหมายของศาสนาจักร

  19. History of the Church, 4:358; คำ ในวงเล็บอยู่ในด้นฉบับเดิม; ปรับเปลี่ยน การแบ่งย่อหน้า; จากคำปราศรัยของ โจเซฟ สมิธเมื่อ 16 พ.ค. 1841 ในนอวู อิลลินอยส์; รายงานโดย Times and Seasons, June 1, 1841, p. 429.

  20. History of the Church, 4:605; ปรับ เปลี่ยนเครื่องหมายวรรคตอนให้ทัน สมัย; จากคำปราศรัยของใจเซฟ สมิธ เมื่อ 28 เม.ย. 1842 ในนอวู อิลลินอยส์; รายงานโดย อีไลซา อาร์. สโนว์

ภาพ
Christ speaking to Moses

“และพระเจ้าพระผู้เป็นเจ้ารับสั่งกับโมเสสมีความว่า … เพราะดูเถิด นี่คืองานของเราและรัศมีภาพของเราา—ที่จะทำให้เถิดความเป็นอมตะและชีวิตนิรันดร์ของมนุษย์”

ภาพ
father reading

“แบบแผนของพระผู้เป็นเจ้าก่อนวางรากฐานของโลกคือ เราควรได้รับ[ร่างกาย] เราควรเอาชนะโดยผ่านความซี่อสัตย์ของเรา”