คำสอนของประธานศาสนจักร
บทที่ 12: ประกาศข่าวประเสริฐต่อชาวโลก


บทที่ 1 2

ประกาศข่าวประเสริฐต่อชาวโลก

“จิตวิญญาณมีค่าในสายพระเนตรของพระผู้เป็นเจ้าเช่นที่เคยเป็นมาและเหล่าเอ็ลเดอร์ [ต้อง]… ชักชวนและเชื้อเชิญมนุษย์ทุกคนทุกแห่งหนให้กลับใจ เพื่อพวกเขาจะเป็นทายาทแห่งความรอด”

จากชีวิตฃองโจเซฟ สมิธ

หลังจากจัดตั้งศาสนาจักรเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1830 โจเซฟ สมิธยังคง ประกาศข่าวประเสริฐของพระกิตติคุณต่อไป ระหว่างเดือนเมษายน ท่านเดิน ทางไปที่เมืองโคลสวิสล์ รัฐนิวยอร์ก เพื่อเยี่ยมเพื่อนชื่อโจเซฟ ไนท์ ซีเนียร์ เขาลับครอบครัวสนใจพระกิตติคุณ ศาสดาจัดการประชุมในละแวกนั้น และ “หลายคนเริ่มสวดอ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์อย่างจริงจังเพื่อทูล ขอพระองค์ประทานปัญญาให้พวกเขาเข้าใจความจริง”1 ประมาณสองเดือน ต่อมา เมื่อไปเยี่ยมโคลสวิสล์ครั้งที่สอง ศาสดาพบว่าคนจำนวนหนึ่งที่ได้ยินพระกิตติคุณปรารถนาจะรับบัพติศมา สำหรับผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสใหม่เหล่านี้ การ ยอมรับพระกิตติคุณต้องใช้ศรัทธาและความกล้าหาญ ศาสดาบันทึกดังนี้

“เรากำหนดการประชุมสำหรับวันแซบัธ และตอนบ่ายวันเสาร์เราสร้างทำนบกั้นลำธารสายหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนที่นั่นเข้าร่วมพิธี บัพติศมา แต่ตอนกลางคืนมืคนร้ายกลุ่มหนึ่งมาทำลายทำนบของเรา ส่งผลให้ เราเข้าร่วมบัพติศมาในวันแซบัธไม่ได้ … เข้าตรู่ของวันจันทร์ เราเตรียมพร้อม และกว่าศัตรูจะรู้ถึงการดำเนินงานของเรา เราก็ซ่อมทำนบเสร็จแล้ว และออลิเวอร์ คาวเดอรีให้บัพติศมาสิบสามคนต่อไปนี้ ได้แก่ เอ็มมา สมิธ เฮเซคืยาห์ เพ็คลับภรรยา โจเซฟ ไนท์ ซีเนียร์ลับภรรยา วิลเลียม สตริงแฮมกับภรรยา โจเซฟ ไนท์ จูเนียร์ อาโรน คัลเวอร์ลับภรรยา ลีไว [ฮอลล์] พอลลี ไนท์ และ จูเลีย สตริงแฮม”2

ฤดูใบไม้ร่วงปีนั้น พระเจ้าทรงเปีดเผยต่อโจเซฟ สมิธว่าออลิเวอร์ คาวเดอรี ปีเตอร์ วิตเมอร์ จูเนียร์ พาร์ลีย์ พี. แพรทท์ และไซบา ปีเตอร์ลันด้อง “ไป ยังชาวเลมันและสั่งสอนกิตติคุณของเราให้เขา” (ค.พ. 28:8; 30:5–6; 32:1–3) ผู้สอนศาสนาเหล่านี้เดินทางประมาณ 2,400 กิโลเมตรไปสั่งสอนเป็นเวลา สั้นๆ ให้ชาวอินเตียนเผ่าต่างๆ รวมถึงเผ่าเซเนกาของรัฐนิวยอร์ก เผ่าวายอัมดอทของโอไฮโอ เผ่าเดลาแวร์และเผ่าชอว์นีในอาณานิคมอินเตียน อย่างไรก็ ตามความสำเร็จสูงสุดของผู้สอนศาสนากลุ่มนี้เกิดขึ้นเมื่อพวกเขาแวะที่เขต เคิร์ทแลนด์ โอไฮโอ ที่นั่นพวกเขาให้มัพติศมาผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสประมาณ 130 คน ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มปฏิรูปแบปทิสด์ (Reformed Baptist) ของซิดนีย์ ริกดัน กลับกลายเป็นการเปีดสถานที่ชุมนุมสำหรับสมาชิกศาสนาจักรหลายร้อย คนในปีต่อมา ผู้สอนศาสนาพบผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสบางคนในหมู่ผู้ตั้งถิ่นชูานใน แจ็คลันเคาน์ตี้ รัฐมิสซู่ร็ด์วย ซึ่งจะสถาปนาเป็นเมืองไซอันในเวลาต่อมา

ไม่ว่าจะสั่งสอนคนรอบข้างหรือส่งผู้สอนศาสนาไปในโลกล้วนแสดงให้เห็น ว่าศาสดาโจเซฟ สมิธรักงานสอนศาสนา เอ็ลเดอร์พาร์ลีย์ พี. แพรทท์บันทึก ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1839 ดังนี้ “ระหว่างไปเยี่ยมกับบราเดอร์โจเซฟในพีลาเดลเพีย [เพนน์ซิลเวเนีย] นีคนเปีดโบสถ์ใหญ่มากแห่งหนึ่งให้ท่าน สั่งสอน และมีประมาณสามพันคนมาฟังท่าน บราเดอร์ริกดันพูดก่อน และพูด เกี่ยวกับพระกิตติคุณโดยอธิบายหลักคำสอนของเขาตามพระคัมภีร์ไบเบิล เมื่อ เขาพูดจบ บราเดอร์โจเซฟลุกขึ้นราวกับสิงโตกำลังจะคำรามและท่านพูดด้วย พลังอำนาจอันยิ่งใหญ่โดยที่เปียมต้วยพระวิญญาณบริิสูทธิ์ แสดงประจักษ์พยาน ถึงภาพปรากฎที่ท่านเคยเห็น การปฏิบัติศาสนกิจของเหล่าเทพที่ท่านได์รับ วิธีที่ท่านพบแผ่นจารึกพระคัมภีร์มอรมอน และแปลด์วยของประทานและอำนาจของพระผู้เปีนเจ้า ท่านเริ่มโดยกล่าวว่า ‘ล้าไม่มีใครกล้าเป็นพยานถึงข่าวสาร อันน่าชื่นชมยินดีจากสวรรค์ และถึงการพบบันทึกอันน่าชื่นชมยินดียิ่ง เขาต้อง เป็นพยานเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้คน และปล่อยเหตุการณ์ที่เหลือไว้กับพระผู้เป็นเจ้า’

“ทุกคนในที่ประชุมสะดุ้งเฮือก ราวลับถูกไฟฝัาดูด และท่วมห้นต้วยสำนึก ในความจริงและพลังอำนาจที่ท่านพูด และเรื่องน่าอัศจรรย์ที่ท่านเล่า ท่านทำให้ พวกเขาประทับใจไม่รู้ลืม จิตวิญญาณมากมายถูกนำมารวมฝูง และข้าพเจ้าเป็น พยานว่า ท่านขจัดเลือดของพวกเขาออกจากอาภรณ์ของท่านด้วยประจักษ์พยาน อันเปี่ยมด้วยศรัทธาและพลังของท่าน คนจำนวนมากรับบัพติศมาในพีลาเดลเพียและในละแวกใกล้เคียง”3

ดำสอนฃองโจเซฟ สมิธ

เพราะโลกอยู่ในความมืดทางวิญญาณ เราจึงควรพากเพียรสั่งสอนพระกิตติคุณ

คริสต์ศักราช 1834 โจเซฟ สนิธและเอ็ลเดอร์คนอื่นๆ ของศาสนาจักรใน เดิร์ทแลนด์ส่งจดหมายต่อไปนี้ถึงพี่น้องในเขตอื่น “ถึงแม้การติดต่อของเรากับ พวกท่านจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่เราเชื่อว่าพวกท่านจะรับจดหมายฉบับนี้ด้วย ความรู้สึกฉันพี่น้อง และท่านจะยอมใทัคำแนะนำตักเตือนจากพี่น้องผู้ไม่มีค่า ควรอย่างเรามีที่อยู่ในใจท่าน ขณะที่ท่านมองเห็นพลังและการครอบครองอัน ไพศาลของเจ้าชายแห่งความมีด และทราบแก่ใจดีว่ามีคนมากมายพียงใดที่ เบียดกันอยู่บนถนนลู่ความตายโดยไม่ใสใจเสียงแห่งความสุขของพระกิตติคุณ ของพระเจ้าพระเยซูคริสต์ของเรา

“พี่น้องทั้งหลาย ลองพิจารณาสักครู่ถึงสัมฤทธิผลแห่งด้อยคำของศาสดา เพราะเราเห็นว่าความมีดปกคลุมแผ่นดินโลกและความมีดทึบครอบงำจิตใจผู้ อาศัยของแผ่นดินโลก [ดู อิสยาห์ 60:2] ความผิดทุกรูปแบบกำลังเพิ่มขึ้นใน หมู่มนุษย์ มีการกระทำที่ชั่วร้าย คนรุ่นใหม่เติบโตจนสุกงอมใน ความจองหอง และความหยิ่งยโส คนสูงอายุสูญเสียความรู้สึกเชื่อมั่นทั้งหมด และดูเหมือนจะ ขจัดความคิดทุกอย่างของวันที่ด้องรับผลจากการกระทำ การขาดความยับยั้ง ชั่งใจ การผิดศีลธรรม ความฟุ่มเพีอย ความจองหอง ความมีดบอดของใจ การนับถือรูปเคารพ การสูญเสียความรักใคร่ตามธรรมชาติ ความรักโลกนี้ และ ความเพิกเฉยต่อเรื่องของนิรันดรกำลังเพิ่มขึ้นในหมู่ชนที่ด้างว่าเชื่อในศาสนา ของสวรรค์ และความไม่เลื่อมใสศาสนาจักรกำลังขยายกว้างด้วยมูลเหตุเดียวกัน มนุษย์ยอมใม้ตนเองกระทำเรื่องโง่เขลาที่สูดและเลวทรามที่สูด โดยสบประมาท ฉ้อฉลหลอกลวง ทำลายชื่อเสียงของเพื่อนบัาน ลักขโมย ปด้น ทรัพย์ ฆาตกรรม สนับสนุนความผิดและต่อด้านความจริง ละทิ้งพันธสัญญาของสวรรค์ และปฏิเสธศรัทธาในพระเยซูคริสต์—และท่ามกลางทั้งหมดนี้ วันของพระเจ้ามาถึง อย่างรวดเร็วเมื่อไม่มีใครจะได้รับอนุญาตให้กินและดื่มในที่ประทับขององค์เจ้า บ่าว เจ้าชายแห่งสันติ นอกจากคนที่สวมชุดแต่งงาน!

“โดยที่มีความจริงของข้อเท็จจริงเหล่านี้ติดตรึงอยู่ในใจ ผู้ที่เคยได้รับของ ประทานจากสวรรค์และลิ้มรสพระคำอันประเสริชูของพระผู้เปีนเจ้าตลอดจน พลังอำนาจของโลกที่จะมาถึงจะมีความรู้สึกอย่างไรได้บ้าง [ดู ฮีบรู 6:4–5] นอกจากคนที่มองเห็นสถานการณ์อันตรายของโลกมนุษย์ในชั่วอายุนี้แล้ว ใคร เลยจะทำงานในสวนองุ่นของพระเจ้าได้โดยไม่รู้สึกถึงสถานการณ์อันน่ารันทดใจ ของโลก นอกจากคนที่เคยพิจารณาอย่างจริงจังถึงพระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของ พระบิดาแห่งวิญญาณของเราผู้ทรงเสียสละเพื่อมนุษย์ของพระองค์์——แผนแห่ง การไถ่ พลังอำนาจแห่งการชดใช้ แผนแห่งความรอด พร้อมด้วยวัตถุประสงค์ อันยิ่งใหญ่ การนำมนุษย์กลับไปที่ประทับขององค์ราชันแห่งสวรรค์ โดยทรง สวมมงกุฎให้พวกเขาในรัศมีภาพชั้นสูง และทำให้พวกเขาเป็นทายาทร่วมกับ พระบุตรเพื่อรับมรดกนั้นซึ่งไม่เน่าเปีอย ปราศจากมลทิน และไม่ร่วงโรย [ดู 1 เปโตร 1:4]—นอกจากคนเช่นนั้นแล้วใครเลยจะตระหนักได้ถึงความสำคัญของ ความประพฤติไร้ที่ติต่อหน้ามนุษย์ทั้งปวง และความพากเพียรในการขอร้องให้ มนุษย์ทุกคนมารับส่วนพรเหล่านี้ เรื่องเหล่านี้ช่างน่ายินดีเป็นล้นพ้นต่อมนุษยชาติ! โดยแห้แล้วนี่อาจจะเป็นข่าวดีที่น่าความปรีดียิ่งมาถึงคนทั้งปวง ข่าวดีที่ เติมเต็มแผ่นดินโลกและทำให้ใจทุกดวงเบิกบานเมื่อดังล้องอยู่ในหูของพวกเขา”4

“ผู้รับใช้ของพระผู้เป็นเจ้ายังไม่ทันช้ามไปประเทศต่างๆ ของคนต่างชาติ พร้อมด้วยเสียงเตือน เทพผู้ทำลายก็เริ่มทำลายล้างผู้อาศัยของแผ่นดินโลกแล้ว และดังที่ศาสดากล่าว ‘เมื่อเช้าใจข่าวก็จะเกิดความสยดสยองเท่านั้ม่ [ดู อิสยาห์ 28:19] ที่พูดเช่นนี้เพราะช้าพเจ้ารู้สึกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ของช้าพเจ้า ข้าพเจ้าพูดในพระนามของพระเจ้าโดยได้รับการกระตุ้นเตือนจากพระวิญญาณศักติ้สิทธี้ โล้ ช้าพเจ้าอยากจะชิงตัวพวกเขามาจากกระแสนั้าวนของความทุกข์ยาก ที่ข้าพเจ้าเห็นพวกเขากำลังกระโจนลงไปเพราะบาปของพวกเขา ข้าพเจ้าอยาก ให้เสียงเตือนเปีนเครื่องมือนำพวกเขามาสู่การกลับใจอย่างจริงจัง เพื่อพวกเขา จะมีศรัทธายืนหยัดในวันอันชั่วร้ายนั้นได้!”5

“ขอพระผู้เป็นเจ้าทรงช่วยให้เราสามารถทำตามกำสาบานและพันธสัญญาที่ ให้ไว้ต่ออันด้วยความซื่อสัตย์และความชอบธรรมต่อพระพักตร์พระองค์ เพื่อ ประเทศต่างๆ ของแผ่นดินโลกจะรู้สึกได้ถึงอิทธิพลของเรา ในพลังอันเกรียงไกร แห้ถึงอับทำลายอาณาจักรแห่งความมีดให้พินาศย่อยยับ มีชัยเหนืออำนาจ ปลอมและความชั่วร้ายทางวิญญาณในสถานฟ้าอากาศ ทำให้อาณาจักรทั้งหมด ที่ต่อด้านอาณาจักรของพระคริสต์แตกเปีนชั้นเล็กชั้นน้อย แผ่ขยายความสว่าง และความจริงของพระกิตติคุณอันเปีนนิจจากแม่นํ้าไปจนสูดแผ่นดินโลก”6

วิลฟอร์ด วูดรัฟฟ้ ประธานคนที่สี่ของศาสนาจักรเล่าถึงคำพูดของศาสดา ใจเซฟ สมิธ ดังต่อไปนี้ “โลกเต็มโปด้วยความมืด บาปและความชั่วกำลังท่วม โลกจนมิดดังผืนนํ้าปกคลุมทะเล มารครอบงำชาวโลกจำนวนมาก โลกจะทำา สงครามกับท่าน มาร แผ่นดินโลก และนรกจะทำสงครามกับท่าน แต่ … ท่านต้องสั่งสอนพระกิตติคุณ ทำหน้าที่ของท่าน และพระเจ้าจะทรงยืนเคียงข้าง ท่าน แผ่นดินโลกและนรกจะไม่ชนะท่าน”7

หน้าที่ของเราคือเชิญชวนมนุษยชาติทั้งมวลให้กลับใจ รับบัพติศมารับพระวิญญาณบริลุทธิ้ และเป็เนทายาทแห่งความรอด

“เราเชื่อว่าหน้าที่ของเราคือสอนมนุษยชาติทั้งมวลใน้รู้หลักกำสอนเรื่องการ กลับใจ ซึ่งเราจะพยายามแสดงให้เห็นจากข้อความอ้างอิงต่อไปนี้

“ ‘ครั้งนั้นพระองค์ทรงบันดาลให้ใจเขาทั้งหลายเกิดความสว่างขึ้น เพื่อจะไต้ เข้าใจพระคัมภีร์ พระองค์ตรัสกับเขาว่า มีกำเขียนไว้อย่างนั้นว่า พระคริสต์จะ ต้องทรงทนทุกข์ทรมานและทรงเป็นขึ้นมาจากความตายในวันที่สาม และจะ ต้องประกาศทั่วทุกประชาชาติในพระนามของพระองค์ให้เขากลับใจใหม่ รับการ ยกบาป ตั้งต้นที่กรุงเยรูซาเล็ม’ [ลูกา 24:45–47]

“โดยสิ่งนี้เราเรียนรู้ว่าจำเป็นที่พระคริสต์จะทรงทนทุกข์ และทรงถูกตรึง กางเขน และทรงคืนพระชนม์อีกครั้งในวันที่สามเพราะมีจุดประสงค์พิเศษคือ เพื่อสั่งสอนการกลับใจและการปลดบาปแก่ประชาชาติทั้งหลาย

“ฝ่ายเปโดรจึงกล่าวแก่เขาว่า จงกลับใจใหม่และรับบัพติศมาในพระนามแห่ง พระเยซูคริสต์สิ้นทุกคน เพื่อพระเจ้าจะทรงยกความผิดบาปของท่านเสีย แล้ว ท่านจะได้รับพระราชทานพระวิญญาณบริสุทธี้ ด้วยว่าพระสัญญานั้นตกแก่ท่าน ทั้งหลาย กับลูกหลานของท่านด้วย และแก่คนทั้งหลายที่อยู่ไกล คือทุกคนที่ องค์พระผู้เปีนเจ้าพระเจ้าของเราทรงเรียกมาเฟัาพระองค์’ [กิจการ 2:38–39]

“โดยสิ่งนี้เราเรียนรู้ว่าทุกคนที่ได้รับการสั่งสอนหลักคำสอนเรื่องการกลับใจ ได้รับสัญญาว่าจะมีพระวิญญาณบริสุทธี้ ซึ่งสัญญานี้ทำไว้กับประชาชาติทั้ง หลาย… ด้วยเหตุนี้เราจึงเชื่อในการสั่งสอนหลักคำสอนเรื่องการกลับใจไปทั่ว โลกให้ทั้งคนแก่และคนหนุ่ม คนรื่ารวยและคนยากจน ทาสและไท”8

“จิตวิญญาณมีค่าในสายพระเนตรของพระผู้เป็นเจ้าเช่นที่เคยเป็นมา และเหล่า เอ็ลเดอร์จะไม่มีวันได้รับเรียกให้ผลักคนใดลงนรก แต่จะชักชวนและเชื้อเชิญ มนุษย์ทุกคนทุกแท่งหนให้กลับใจ เพื่อพวกเขาจะกลายเปีนทายาทแท่งความ รอด ปีที่พระเจ้าทรงโปรดคือ ประกาศอิสรภาพแก่เชลยเพื่อพวกเขาจะร้องโฮชันนาได้ [ดู อิสยาห์ 61:1–2]”9

“ทั้งหมดนี้พึงเป็นหน้าที่ของเอ็ลเดอร์ที่จะยืนหยัดอย่างกล้าหาญเพื่ออุดมการณ์ของพระคริสต์ และเตือนผู้คนโดยพร้อมเพรียงกันให้กลับใจและรับบัพติศมาเพื่อการปลดบาปและรับพระวิญญาณบริสุทธิ์”10

“ข้าพเจ้าจะบอกท่านต่อไปว่าพระเจ้าทรงเรียกร้องอะไรจากคนทั้งปวง คนชั้น สูงและคนชั้นต์า คร่ำวยและคนยากจน ชายและหญิง บาทหลวงและคน ธรรมดา ศาสนาจารย์และคนที่ไม่ใช่ศาสนาจารย์ ทั้งนี้เพื่อพวกเขาจะได้รับพระวิญญาณสักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าอย่างครบล้วนบริบูรณ์และรอดพ้นจากการ พิพากษาของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งจวนจะเกิดกับประชาชาติต่างๆ ของแผ่นดินโลก อยู่แล้ว จงกลับใจจากบาปทั้งสิ้นของท่าน และรับบัพติศมาในนํ้าเพื่อการปลด บาปในพระนามของพระบิดา และของพระบุตร และของพระวิญญาณบริสูทธิ์ และรับพิธีการวางมือจากผู้ได้รับการแต่งตั้งและถูกผนึกไว้กับอำนาจนี้ เพื่อท่าน จะได้รับพระวิญญาณสักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เปีนเจ้า และนี่เป็นไปตามพระคัมภีร์ ศักดี้สิทธี้ และพระคัมภีร์มอรมอน และเป็นวิธีเดียวที่มนุษย์จะเข้าในอาณาจักร ชั้นสูงได้ ทั้งหมดนี้คือข้อเรียกร้องของพันธสัญญาใหม่ หรือหลักธรรมเบื้องด้น แห่งพระกิตติคุณของพระคริสต์”11

“มนุษย์ทั้งปวงได้รับการเรียกร้องให้มีศรัทธาในพระเจ้าพระเยซูคริสต์ กลับใจ จากบาปทั้งสิ้นของเขาและรับบัพติศมา (โดยผู้มีสิทธิอำนาจ) ในพระนามของ พระเยซูคริสต์เพื่อการปลดบาป และให้วางมือบนเขาเพื่อรับของประทานแห่ง พระวิญญาณบริสูทธิ์ เพื่อทำให้เขาเป็นสมาชิกในศาสนาจักรของพระเยซูคริสต์ แห่งสิทธิชนยุคสูดห้าย”12

ผู้รับใช้ของพระเจ้าโปทั่วโลกเพื่อหาคนที่เต็มใจยอมรับพระกิตติคุณ ของพระเยซูคริสต์

“จงส่งบางคนไปอเมริกากลาง และไปอเมริกาที่พูดภาษาสเปน และอย่าให้ แผ่นดินโลกขาดงานเผยแผ่แห้แต่มุมเดียว”13

“เราไม่ได้ขอให้ใครทิ์งสิ่งดีๆ ที่เขามีอยู่แลัว เราเพียงแต่ขอให้เขามารับมาก ขึ้น จะเป็นเช่นไรห้าคนทั้งโลกห้อมรับพระกิตติคุณนี้ เมื่อนั้นพวกเขาคงเห็นพีอง ด้องคัน และพรของพระผู้เป็นเจ้าคงหลั่งลงมาบนผู้คน นี่คือความปรารถนาของ จิตวิญญาณข้าพเจ้า”14

“หลายพันคนที่ได้ยินพระกิตติคุณต่างเชื่อฟ้ง และกำลังปลื้มปีติในของ ประทานและพรของพระกิตติคุณ ความอคติพร้อมความชั่วที่ติดมากำลังหลีกทาง ให้อิทธิพลของความจริง ซึ่งลำแสงอันละมุนละไมของมันกำลังส่องเข้าไปใน ประชาชาติที่อยู่ไกสพีน… เวลานั้นคือเมื่อเราถูกมองว่าเป็นพวกหลอกลวง และ ‘ความเชื่อของชาวมอรมอน’ จะสิ้นสูด ไร้ประโยชน์ และ ถูกลืมในไบ่ช้า แต่เวลานั้นได้ผ่านไปแลัวเมื่อพระกิตติคุณถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่จีรัง หรือเป็น ฟองคลื่น และมัดนี้พระกิตติคุณกำลังฝังลึกในใจและในความรักของทุกคนที่มี จิตใจสูงส่งพอจะทั้งอคติที่พรํ่าสอนกันมาและสำวจเรื่องนี้ด้วยความตรงไปตรง มาและความซื่อสัตย์”15

“อัครสาวกสิบสองบางคนและคนอื่นๆ เริ่มเดินทางไปยุโรปแห้ว [ในเดือน คันยายน ค.ศ. 1839] และเราคาดว่าคนที่เหลือจะไปในสองสามวัน …งาน ของพระเจ้าห้าวหห้าในวิธีที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในประเทศนี้และในประเทศเก่า ระยะนี้ในประเทศอังกฤษมีเพิ่มเข้ามาหลายร้อยคน แต่จะด้องเป็นเช่น นั้น เพราะ ‘เอฟราอิมเอาตัวเข้าปนกับชนชาติทั้งหลาย’ [โฮเชยา 7:8] และ พระผู้ช่วยให้รอดตรัสว่า ‘แกะของเราย่อมฟ้งเสียงของเรา’ [ยอห์น 10:27] และ ‘ผู้ที่ฟ้งท่านทั้งหลายก็ได้ฟังเรา’ [ลูกา 10:16] และ ‘ดูเถิด เราจะนำเขา มาจากแดนเหนือ และรวบรวมเขาจากส่วนที่ไกลที่สุดของพิภพ’ [เยเรนืย์ 31:8] และดังที่ยอห์นได้ยินเสียงตรัสว่า ‘ชนชาติของเรา จงออกมา’ [วิวรณ์ 18:4] แม้จะต้องบังเกิดสัมฤทธิผลโดยครบถ้วน เพื่อผู้คนของพระเจ้าจะนืชีวิตเมื่อ ‘บาบิโลนมหานครล่มจมแถ้ว ล่มจมแล้ว’ [วิวรณ์ 18:2]”16

ในจดหมายที่เขียนจากคุกลิเบอร์ตี้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1839 ซึ่งต่อมาบันทึกไว้ในคำสอนและพันธสัญญา 123:12 ศาสดาโจเซฟ สบิธอธิบายตังนี้ “ยัง นืคนมากบนแผ่นดินโลกในบรรดานิกาย กลุ่ม และลัทธิทั้งหมด ผู้ที่ตาบอดโดย กสกงที่นืเล่ห์ของมนุษย์ ซึ่งโดยการนั้นเขารอคอยที่จะหลอกอยู่ และผู้ที่ถูก กันไว้จากความจริงเพียงเพราะเขาหารู้ไม่ว่าจะพบบันที่ไหน”17

ข้อเสนอแนะสำหรับศึกษาและสอน

พิจารณาแนวคิดต่อไปนี้ขณะศึกษาบทเรียนหรือขณะเตรียมสอน ดูความช่วย เหลือเพิ่มเติมได้ที่หน้า ⅶ–ⅹⅱ

  • อ่านทวนย่อหน้าที่สองและสามในหน้า 161 เหตุใดบางครั้งจึงต้องใช้ความ กล้าในการแบ่งปันประจักษ์พยานของเราถึงการฝิ้นฟูและพระคัมภีร์มอรมอน เราจะนืความกล้าเช่นนั้นได้อย่างไร

  • ใจเซฟ สบิธพูดถึงความมืดทางวิญญาณของโลก จากนั้นท่านเป็นพยานถึง “ข่าวดีที่นำความปรีดืยิ่งมาให้” ในพระกิตติคุณที่ได้รับการฝิ้นฟู (หน้า 162–164) ความคิดทั้งสองอย่างนี้เป็นแรงบันดาลใจให้เราเปีดปากแบ่งปน พระกิตติคุณอย่างไร

  • อ่านย่อหน้าสุดห้ายในหน้า 160 เมื่อใดที่พระเจ้าทรงยืนเคียงข้างท่านในงาน สอนศาสนา

  • ไตร่ตรองข้อความพระคัมภีร์ที่โจเซฟ สบิธล้างเพื่อเดือนเราให้นึกถึงหน้าที่ใน การสอนพระกิตติคุณแก่มวลมนุษยชาติ (หน้า 164–166) คิดหรือสนทนา ว่าท่านและครอบครัวจะทำอะไรได้บัางเพื่อแบ่งปันพระกิตติคุณกับคนอื่นๆ

  • อ่านย่อหน้าที่สี่ในหน้า 165 ซึ่งศาสดาบอกว่างานสอนศาสนาคือการพยายาม ให้อิสระแก่เชลย เราถือว่าบางคนเป็นเชลยในด้านใด (ดูดัวอย่างหน้า 162 164) หลักธรรมและพิธีการเบื้องต้นแห่งพระกิตติคุณให้อิสระแก่พวกเขาใน ทางใด

  • อ่านทวนคำเชื้อเชิญของศาสดาในย่อหน้าที่สามหห้า 166 คำเชื้อเชิญดังกล่าว ส่งเสริมผู้คนให้เรียนรู้เกี่ยวกับพระกิตติคุณที่ไดัรับการฟ้นฟูอย่างไร อ่าน ทวนย่อหน้าที่สี่ในหน้า 166 และย่อหน้าสุดห้ายของบท เราทำอะไรได้ห้าง เพื่อช่วยให้ผู้คน “ทิ้งอคติ [ที่พวกเขา]” มีต่อศาสนาจักร การกระทำของ เราช่วยให้ผู้คนรู้ไต้อย่างไรว่าจะพบความจริงที่ไหน

  • มีพรใดบัางที่เข้ามาในชีวิตท่านอันเป็นผลมาจากความพยายามของท่านใน การประกาศพระกิตติคุณ

ข้อพระคัมภีร์ทื่เกี่ยวข้อง: มาระโก 16:15–20; 2 นีไฟ 2:8; แอสมา 26:1–9, 26–37; ค.พ. 42:6–9, 11–14; 88:77–83

อ้างอิง

  1. History of the Church, 1:81; จาก “History of the Church” (ต้นฉบับ), book A-1, pp. 39–40 หอ จดหมายเหตุของศาสนาจักร ศาสนาจักร ของพระเยซูคริสต์แห่งสิทธิชนยุค สุดท้าย ซอลท์เลคซิตี้ ยูทาห์

  2. History of the Church, 1:86–88; ปรับเปลี่ยนเครื่องหมายวรรคตอนให้ทัน สมัย; ปรับเปลี่ยนการแบ่งย่อหน้า; จาก “History of the Church” (ต้นฉบับ), book A-1, pp. 42–43 หอ จดหมายเหตุของศาสนาจักร

  3. Parley P. Pratt, Autobiography of Parley P. Pratt, ed. Parley p. Pratt Jr. (1938), pp. 298–99.

  4. History of the Church, 2:5–6; ปรับเปลี่ยนเครื่องหมายวรรคตอนให้ทัน สมัย; จาก “The Elders of the Church in Kirtland, to Their Brethren Abroad,” Jan. 22, 1834 จัดพิมฟ์ใน Evening and Morning Star, Feb. 1834, p. 135.

  5. History of the Church, 2:263; จากจดหมายที่โจเซฟ สมิธเขียนถึง เหล่าเอ็ลเดอร์ของศาสนาจักร พ.ย. 1835 เคิร์ทแลนด์ โอไฮโอ จัดพิมฟ้ไน Messenger and Advocate, Nov. 1835, p. 211.

  6. History of the Church, 2:375; จาก บันทึกการประชุมสภาของฝ่ายประธาน สูงสุดและอัครสาวกสิบสองเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 1836 ในเคิร์ทแลนด์ โอไฮโอ; รายงานโดย วอร์เร็น พอร็ริช

  7. อ้างโดยวิลฟอร์ด วูดรัฟฟึ Deseret News, July 30, 1884, p. 434.

  8. History of the Church, 2:255–56; ปรับเปลี่ยนการแบ่งย่อหน้า; จากจดหมายที่โจเซฟ สมิธเขียนถึงเหล่าเอ็ลเดอร์ฃองศาสนาจักร ก.ย. 1835 เคิร์ทแลนด์ โอไฮโอ จัดพิมฟ์ใน Messenger and Advocate, Sept. 1835, pp. 180–81.

  9. History of the Church, 2:229, เชิงอรรถ; จาก “To the Saints Scattered Abroad,” Messenger and Advocate, June 1835, p. 138.

  10. History of the Church, 2:263; จาก จดหมายที่โจเซฟ สมิธเขียนถึงเหล่า เอ็ลเดอร์ฃองศาสนาจักร พ.ย. 1835 เคิร์ทแลนด์ โอไฮโอ จัดพิมพ์ไน Messenger and Advocate, Nov. 1835, p. 211.

  11. History of the Church, 1:314–15; จากจดหมายที่โจเซฟ สมีธเขียนถึง เอ็น.ซี. แซกซ์ตัน 4 ม.ค. 1833 เคิร์ทแลนด์ โอไฮโอ; ชื่อของนายแซกซ์ตัน ใน History of the Church เขียนว่า “เอ็น. อี. ซีตัน” ซึ่งไม่ถูกต้อง

  12. บรรณาธิการตอบจดหมายจากริชาร์ด ซาวารี Times and Seasons, Mar. 15, 1842, p. 732; โจเซฟ สมีธเป็น บรรณาธิการวารสาร

  13. History of the Church, 5:368; จากคำแนะนำของโจเซฟ สมีธเมื่อจันที่ 19 เม.ย. 1843 ในนอวู อิลลินอยส์; รายงานโดย ว่ลลาร์ด วิชารดส์

  14. History of the Church, 5:259; จาก คำปราศรัยของโจเซฟ สมีธเมื่อ 22 ม.ค. 1843 ในนอวู อิลลินอยส์; รายงานโดย วิลฟอร์ด วูดรัฟฟ์

  15. History of the Church, 4:336–37; เปลี่ยนตัวสะกดให้ทันสมัย; ปรับเปลี่ยน การแบ่งย่อหน้า; จากรายงานของโจเซฟ สมิธและที่ปรึกษาของท่านในฝ่ายประธานสูงสุด 7 เม.ย. 1841 นอวู อิลลินอยส์ จัดพิมพ์ใน Times and Seasons, Apr. 15, 1841, p. 384.

  16. History of the Church, 4:8–9; ปรับเปลี่ยนเครื่องหมายวรรคตอนให้ทัน สมัย; จากจดหมายที่โจเซฟ สมิธเขียน ถึงไอแซค กัลแลนด์ 11 ก.ย. 1839 คอมเมิร์ซ อิลลินอยส์

  17. คำสอนและพันธสัญญา 123:12; จดหมายที่โจเซฟ สมิธและคนอื่นๆ เขียน ถึงเอ็ดเวิร์ด พาร์ทริดจ์และศาสนาจักร 20 มี.ค. 1839 คุกลิเบอร์ตี้ ลิเบอร์ตี้ มิสซูรี

ภาพ
Joseph preaching

ไบ่ว่ทะสั่งสอนคนรอบข้างหรือส่งผู้สอนศาสนาไปไนโลกล้วนแสดงไห้เห็นว่าศาสดาโจเซฟ สมิธรักงานสอนศาสนา

ภาพ
missionaries teaching

ศาสดาโจเซฟ สปิธ เตือนสิทธิชนให้ร้องเรียกผู้คนมารับส่วนพรเหล่านี้“เรื่องเหส่านี้ช่างยินดืเป็นห้นพ้นต่อมนุพชาติ!”