เซมินารี
หน่วย 19: วัน 4, แอลมา 38


หน่วย 19: วัน 4

แอลมา 38

คำนำ

ชิบลันบุตรของแอลมารับใช้ชาวโซรัมกับเขาในฐานะผู้สอนศาสนา หลังจากงานเผยแผ่ของเขา แอลมาแสดงความปลื้มปีติ ในความแน่วแน่และความซื่อสัตย์ที่ชิบ-ลันแสดงให้เห็นขณะทนรับการข่มเหงในบรรดาชาวโซ-รัม แอลมาเป็นพยานต่อชิบลันถึงเดชานุภาพแห่งการปลดปล่อยของพระเยซูคริสต์และแนะนำเขาให้สอนพระกิตติคุณต่อไป

แอลมา 38:1–3

แอลมาแสดงความปลื้มปีติในความซื่อสัตย์ของชิบลัน

ใช้เวลาหนึ่งนาทีนึกถึงเวลาที่บิดามารดาของท่านรู้สึกปลื้มปีติเพราะการตัดสินใจที่ดีของท่านหรือของสมาชิกครอบครัวอีกคนหนึ่งหรือเพราะวิธีที่ท่านกำลังดำเนินชีวิต

ภาพ
ครอบครัวที่โต๊ะอาหาร

อ่าน แอลมา 38:1–3 มองหาวลีที่บอกว่าแอลมารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับชิบลันและเพราะเหตุใด เขียนบางวลีที่ท่านพบ

เราเรียนรู้หลักธรรมจากข้อเหล่านี้ว่า: เมื่อเราเริ่มแน่วแน่และซื่อสัตย์แต่เยาว์วัยในการรักษาพระบัญญัติ เราสามารถนำความปลื้มปีติอย่างยิ่งมาให้บิดามารดาของเรา

  1. ใช้เวลาสักครู่ถามบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้นำศาสนจักรว่าการตัดสินใจที่ดีของท่านมีผลต่อเขาอย่างไร เขียนคำตอบของพวกเขาลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

แอลมา 38:4–9

แอลมาเป็นพยานถึงเดชานุภาพการปลดปล่อยของพระผู้ช่วยให้รอด

แอลมาเตือนชิบลันว่าพวกเขาทั้งคู่ต่างประสบกับเดชานุภาพแห่งการปลดปล่อยของพระผู้ช่วยให้รอดมาแล้ว แม้จะต่างวิธีกัน อ่าน แอลมา 38:4–8 เติมแผนภูมิด้านล่างให้ครบถ้วน ใช้สิ่งที่ท่านรู้เกี่ยวกับชิบลันจาก แอลมา 38:2–3 และสิ่งที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับแอลมาจากบทอื่นในพระคัมภีร์มอรมอนด้วยเพื่อช่วยท่านเติมแผนภูมิให้ครบถ้วน

ชิบลัน (แอลมา 38:2–5)

แอลมา (แอลมา 38:6–8)

เขาได้รับการปลดปล่อยจากอะไร

เขาได้รับพรแห่งการปลดปล่อยอย่างไร

จากประสบการณ์ของชิบลัน เราสามารถเรียนรู้ว่า หากเราทนรับทุกอย่างด้วยความอดทนและความวางใจในพระผู้เป็นเจ้า พระองค์จะทรงปลดปล่อยเราจากการทดลอง ความเดือดร้อน และความทุกข์ และจะทรงยกเราขึ้นในวันสุดท้าย จากประสบการณ์ของแอลมาเราเรียนรู้เช่นกันว่า เพื่อให้ได้รับการปลดบาปและพบสันติสุขให้จิตวิญญาณของเรา เราต้องใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์และทูลขอพระเมตตาจากพระองค์

ภาพ
รูปปั้นพระคริสต์
  1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. ท่านเรียนรู้อะไรจากเรื่องราวของชิบลันและแอลมาเกี่ยวกับเดชานุภาพของพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อปลดปล่อยท่าน

    2. เลือกหลักธรรมหนึ่งที่แสดงเป็นตัวหนาในย่อหน้าก่อน และเขียนสองสามประโยคว่าท่านจะประยุกต์ใช้หลักธรรมนั้นกับชีวิตท่านได้อย่างไร

อ่าน แอลมา 38:9 มองหาสิ่งที่แอลมาต้องการให้ชิบลันเรียนรู้ ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายวลีหนึ่งในข้อนี้ที่ท่านรู้สึกว่าเป็นการสรุปสิ่งที่แอลมาต้องการให้บุตรชายเข้าใจ

นึกถึงเวลาที่เดชานุภาพของพระผู้ช่วยให้รอดปลดปล่อยท่านจากการทดลอง ความเดือดร้อน หรือความไม่มีค่าควร ท่านทำอะไรเพื่อแสวงหาการปลดปล่อยนั้น ท่านมีการทดลองหรือบาป ในชีวิตท่านเวลานี้หรือไม่ ท่านจะหันไปขอการปลดปล่อยจากพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไร

  1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน: ท่านคิดว่าเหตุใดจึงสำคัญที่ท่านต้องรู้ว่า “ทางหรือวิธี” เดียวซึ่งท่านจะได้รับการช่วยให้รอดคือผ่านพระผู้ช่วยให้รอด (ดู แอลมา 38:9)

แอลมา 38:10–15

แอลมาแนะนำชิบลันให้พัฒนาคุณลักษณะอันชอบธรรมต่อไป

นึกถึงครูหรือผู้นำศาสนจักรที่มีอิทธิพลทางบวกต่อชีวิตท่าน พิจารณาคุณสมบัติ ในบุคคลนั้นที่ท่านชื่นชม

ดังบันทึกไว้ ใน แอลมา 38:10–15 แอลมากระตุ้นชิบ-ลันให้พัฒนาคุณสมบัติอันจะช่วยเขาขณะยังคงสอนพระกิตติคุณและรับใช้ผู้อื่นต่อไป คำแนะนำที่แอลมาให้ชิบลันสามารถประยุกต์ ใช้ ได้กับใครก็ตามที่ต้องการเป็นอิทธิพลดีต่อผู้อื่นผ่านการรับใช้ การสอน และในด้านอื่นๆ ศึกษา แอลมา 38:10–15 ระบุคำแนะนำที่ท่านรู้สึกว่าจะช่วยท่านเป็นพิเศษ ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายสิ่งที่ท่านพบ

  1. ด้านล่างเป็นคู่มือศึกษาที่จะช่วยให้ท่านเข้าใจมากขึ้นและประยุกต์ใช้คำแนะนำที่แอลมาให้กับชิบลันบุตรชาย (ดู แอลมา 38:10–15) จากคอลัมน์ซ้ายให้เลือกคำแนะนำของแอลมาสองหรือสามส่วนที่ท่านรู้สึกว่าจะมีค่าต่อท่านมากที่สุด ทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกันในคอลัมน์ขวา เขียนคำตอบของท่านลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    แอลมา 38:10–12 คู่มือศึกษา

    คำแนะนำของแอลมา

    กิจกรรมการเรียนรู้

    “ขยันหมั่นเพียรและรู้จักยับยั้งใจในทุกสิ่ง” (แอลมา 38:10)

    บุคคลที่ ขยันหมั่นเพียรจะทุ่มเทความพยายามอย่างกระตือรือร้นและเสมอต้นเสมอปลายให้แก่กิจกรรมต่างๆ ของชีวิต บุคคลที่ รู้จักยับยั้งใจ จะใช้ความพอประมาณในทุกสิ่งและการควบคุมตนเอง เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าเหตุใดจึงต้องมีคุณสมบัติทั้งสองอย่างนี้เมื่อรับใช้ผู้อื่น เขียนว่าท่านจะขยันหมั่นเพียรหรือรู้จักยับยั้งใจในด้านหนึ่งหรือหลายด้านของชีวิตท่านได้อย่างไรและการทำเช่นนั้นจะช่วยให้ท่านรับใช้ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร

    “จงแน่ใจว่าลูกไม่ทะนงตนจนถือดี; แท้จริงแล้ว, จงแน่ใจว่าลูกจะไม่โอ้อวด” (แอลมา 38:11)

    ถือดีในพระคัมภีร์คือเมื่อบุคคลหนึ่งวางใจตนเองมากกว่าพระผู้เป็นเจ้า หมายความด้วยว่าบุคคลนั้นคิดว่าเขาเหนือกว่าคนอื่น สิ่งตรงข้ามกับความถือดีนี้คือความถ่อมตน คนที่ถ่อมตนพยายามนึกถึงคนอื่นแบบเดียวกับที่พวกเขานึกถึงตนเอง พวกเขารักพระผู้เป็นเจ้าและให้พระองค์มาเป็นอันดับแรกในชีวิตพวกเขา เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าอาจจะเกิดอะไรขึ้นถ้าสมาชิกศาสนจักรถือดีและโอ้อวดในการเรียกของตน นึกถึงการเรียกในศาสนจักรของท่านหรือโอกาสอื่นที่ท่านต้องรับใช้ เขียนหนึ่งหรือสองวิธีที่ท่านจะพยายามถ่อมตนและหลีกเลี่ยงความถือดีหรือการโอ้อวดขณะที่ท่านรับใช้

    “จงใช้ความองอาจ, แต่ไม่ใช่วางเขื่อง” (แอลมา 38:12)

    องอาจ หมายถึงเชื่อมั่นว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงอยู่กับเราและสามารถช่วยเรากระทำโดยไม่กลัวในการรับใช้พระองค์ วางเขื่อง สามารถหมายถึงผลักดันความเชื่อหรือเจตคติของท่านให้ผู้อื่นโดยไม่ละเอียดอ่อนต่อความต้องการและความรู้สึกของพวกเขา เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า ท่านคิดว่าเหตุใดพระเจ้าจึงทรงต้องการให้เราองอาจ บันทึกวิธีเฉพาะที่ท่านจะประยุกต์ใช้คำแนะนำให้ใช้ความองอาจแต่ไม่วางเขื่องขณะพยายามรับใช้ผู้อื่น

    “หักห้ามความลุ่มหลงทั้งปวงของท่าน” (แอลมา 38:12)

    หักห้าม หมายถึงควบคุมหรือบังคับไว้ ความลุ่มหลงคืออารมณ์รุนแรง ไตร่ตรองคำถามต่อไปนี้และบันทึกคำตอบของท่านลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์: ท่านคิดว่าเหตุใดจึงสำคัญที่เราต้องหักห้ามความลุ่มหลงของเรา—อีกนัยหนึ่งคือ ควบคุมหรือบังคับอารมณ์รุนแรงของเราไว้ ท่านคิดว่าการหักห้ามความลุ่มหลงของท่านสามารถช่วยให้ท่านเปี่ยมไปด้วยความรักได้อย่างไร ท่านจะทำอะไรเพื่อทำตามคำแนะนำของแอลมาให้หักห้ามความลุ่มหลงของท่าน

    “ละเว้นจากความเกียจคร้าน” (แอลมา 38:12)

    ค้นหา “เกียจคร้าน (ความ)” ในคู่มือพระคัมภีร์ (scriptures.lds.org) หรือ “Idleness, Idle, Idler” ใน Topical Guide เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของความเกียจคร้าน เลือกสองข้อที่เขียนไว้ใต้หัวข้อนั้นและศึกษา บันทึกสิ่งที่ท่านเรียนรู้จากข้อเหล่านี้ไว้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน เขียนว่าคำแนะนำให้ละเว้นจากความเกียจคร้านจะช่วยให้ท่านรับใช้ผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างไร สุดท้าย ให้เขียนวิธีใดวิธีหนึ่งที่ท่านจะพยายามละเว้นจากความเกียจคร้าน

คำแนะนำที่แอลมาให้ชิบลันใน แอลมา 38:10–15 สอนหลักธรรมนี้: การพัฒนาคุณลักษณะอันชอบธรรมเตรียมเราให้พร้อมสอนและรับใช้ผู้อื่น ไตร่ตรองว่าการพัฒนาคุณลักษณะอันชอบธรรมที่ท่านอ่านในแอล-มา 38 สามารถเป็นพรแก่ชีวิตท่านและชีวิตคนรอบข้างได้อย่างไร

  1. เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า

    ฉันได้ศึกษาแอลมา 38 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: