เซมินารี
หน่วย 30: วัน 3, อีเธอร์ 7–11


หน่วย 30: วัน 3

อีเธอร์ 7–11

คำนำ

ถึงแม้พี่ชายของเจเร็ดพยากรณ์ว่าการสถาปนากษัตริย์ชาวเจเร็ดจะนำไปสู่การเป็นเชลย แต่ถ้อยคำของเขาไม่เกิดสัมฤทธิผลโดยทันที โอไรฮาห์กษัตริย์ชาวเจเร็ดองค์แรกปกครองด้วยความชอบธรรม แต่ชายชื่อเจเร็ดเป็นกษัตริย์ในอีกสองรุ่นต่อมาโดยก่อการมั่วสุมลับขึ้น ระหว่างการปกครองของกษัตริย์ ชาวเจเร็ดผ่านหลายรอบวัฏจักรของการฟังศาสดาพยากรณ์และดำเนินชีวิตด้วยความชอบธรรม กับการไม่ยอมรับศาสดาพยากรณ์และดำเนินชีวิตด้วยความชั่วร้าย

อีเธอร์ 7

โคริฮอร์ยึดอาณาจักรจากบิดา ชูลน้องชายของเขายึดคืน และศาสดาพยากรณ์ประณามความชั่วร้ายของผู้คน

ท่านคิดว่าคนบางคนจะรู้สึกอย่างไรกับการมีชีวิตอยู่ ในความเป็นเชลย ท่านเคยมีความรู้สึกคล้ายกับถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวเพราะท่านเลือกไม่ถูกต้องหรือไม่ มองหาข้อคิดเกี่ยวกับวิธีที่ท่านจะหลีกเลี่ยงการเป็นเชลยทางกายและทางวิญญาณขณะศึกษา อีเธอร์ 7–11

ภาพ
คนอยู่หลังลูกกรง

เมื่อเจเร็ดกับพี่ชายเริ่มชรา ชาวเจเร็ดขอกษัตริย์ พี่ชายของเจเร็ดเตือนผู้คนว่าการมีกษัตริย์จะนำไปสู่การเป็นเชลย (ดู อีเธอร์ 6:19–23) ศาสดาพยากรณ์มักพยากรณ์คัดค้านการกระทำอันจะนำเราไปสู่การเป็นเชลยทางกายหรือทางวิญญาณ

  1. เขียนตัวอย่างการกระทำหนึ่งหรือสองตัวอย่างลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านที่ศาสดาพยากรณ์สมัยปัจจุบันเตือนให้ระวัง และการกระทำเหล่านั้นอาจนำไปสู่การเป็นเชลยทางกายและทางวิญญาณ

ทั้งที่มีคำเตือนจากพี่ชายของเจเร็ด แต่ผู้คนก็ยังเลือกมีกษัตริย์ อ่าน อีเธอร์ 7:1–2 เพื่อเรียนรู้ว่าคำพยากรณ์ของพี่ชายเจเร็ดเกิดสัมฤทธิผลในสมัยของโอไรฮาห์ผู้เป็นบุตรของเจเร็ดหรือไม่ ตรึกตรองสิ่งที่ท่านจะพูดกับผู้มีชีวิตอยู่ในสมัยของกษัตริย์ โอไรฮาห์และไม่เชื่อว่าคำพยากรณ์ของพี่ชายเจเร็ดจะเกิดสัมฤทธิผล

ภายในคนสองรุ่นคำเตือนอันเป็นการพยากรณ์ของพี่ชายเจเร็ดเกิดสัมฤทธิผล อ่าน อีเธอร์ 7:3–7 ดูว่าคิบกับผู้คนของเขาอยู่ในความเป็นเชลยอย่างไรภายใต้ โคริ-ฮอร์ผู้เห็นแก่ตัวและปรารถนาจะเป็นกษัตริย์จนนำเขาให้กบฏต่อต้านบิดาตน การเป็นเชลยครั้งนี้เป็นผลจากความเห็นแก่ตัวและการกบฏ

  1. ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านให้จดสิ่งที่ท่านจะพูดกับคนยุคนี้ ผู้ไม่เชื่อฟังคำแนะนำของศาสดาพยากรณ์แต่กลับรู้สึกว่าตนไม่ได้ตกเป็นเชลยทางวิญญาณ (ในคำตอบของท่าน ท่านอาจต้องการรวมความคิดที่ว่าผู้ติดบ่วงการเป็นเชลยทางวิญญาณมักจะรู้ตัวเป็นคนสุดท้าย ยกสถานการณ์ปัจจุบันของสิ่งที่อาจทำให้คนบางคนตกเป็นเชลยทางวิญญาณ)

ประวัติศาสตร์ส่วนนี้ของชาวเจเร็ดแสดงให้เห็นหลักธรรมที่ว่า การปฏิเสธถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์นำไปสู่การเป็นเชลย ไตร่ตรองด้านต่างๆ ที่ท่านอาจเคยประสบกับการเป็นเชลยทางวิญญาณเพราะการไม่เชื่อฟังพระบัญญัติหรือคำแนะนำของศาสดาพยากรณ์

การกบฏของโคริฮอร์ต่อคิบผู้เป็นบิดาของเขานำไปสู่การวิวาทและสงครามอย่างต่อเนื่อง แม้ ในวัยชราคิบก็ยังมีบุตรอีกคนหนึ่ง—ชื่อชูล เมื่อชูลเติบใหญ่ เขาต่อสู้กับโคริฮอร์พี่ชายที่ก่อกบฏ

  1. สมมติว่าท่านเป็นผู้สื่อข่าวที่ได้รับมอบหมายให้เขียนเรื่องของชูล อ่าน อีเธอร์ 7:8–13 และเขียนย่อหน้าสั้นๆ ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านเพื่อรายงานสิ่งที่ท่านจะเน้นในการเสนอข่าวชีวิตของชูล

ระหว่างการปกครองของชูล ศาสดาพยากรณ์หลายคนมาอยู่ท่ามกลางผู้คนและเตือนพวกเขาเรื่องความชั่วร้าย อ่าน อีเธอร์ 7:23–25 ระบุว่าศาสดาพยากรณ์ ได้พยากรณ์อะไรและผู้คนมีปฏิกิริยาอย่างไร ชูลมีปฏิกิริยาอย่างไร การคุ้มครองศาสดาพยากรณ์เป็นพรแก่ผู้คนของชูลอย่างไร

อ่าน อีเธอร์ 7:26–27 มองหาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อผู้คนเชื่อฟังถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ ชูล “จดจำสิ่งยิ่งใหญ่ต่างๆ ที่พระเจ้าทรงกระทำเพื่อบรรพบุรุษของเขา” (อี-เธอร์ 7:27) เมื่อใดที่ท่านจดจำสิ่งยิ่งใหญ่ต่างๆ ที่พระเจ้าทรงกระทำเพื่อท่าน เมื่อนั้นท่านจะมีความกตัญญูต่อพระองค์และดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรมมากขึ้น

เหตุการณ์เหล่านี้เป็นพยานถึงหลักธรรมสำคัญที่ว่า เมื่อเรากลับใจจากความชั่วช้าสามานย์ เราเริ่มรุ่งเรือง คำว่า รุ่งเรือง หมายถึง “หวัง” และ “ประสบความสำเร็จ” เช่นกัน และ “มักใช้ในแง่ของความสำเร็จทางโลก [แต่] ไม่ จำเป็นต้องหมายถึงความมั่งคั่งของทรัพย์สมบัติทางโลก—หรือแม้กระทั่งชีวิตที่ค่อนข้างสบายไร้ปัญหา …

“คนชอบธรรมที่แท้จริง จะ รุ่งเรืองในแง่ที่ว่าพวกเขามีความมั่นใจ ซึ่งปลุกเร้าศรัทธาให้เป็นการกระทำและสร้างสภาวการณ์ที่เป็นประโยชน์จากสภาวการณ์ที่อำนวยประโยชน์น้อยกว่า พวกเขาไม่รอให้พระเจ้าประทานหรือระงับรางวัล แต่ทูลขอการนำทางเกี่ยวกับสิ่งซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขามากที่สุด ทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายวิญญาณ การนำทางเช่นนั้นอาจนำไปสู่การเปลี่ยนอาชีพ ย้ายไปอยู่อีกท้องที่หนึ่ง รับการอบรมหรือทักษะใหม่ หรือยอมรับสิ่งที่เป็นอยู่แต่ทำงานภายในขีดจำกัดของตนและทำตามการนำทางของพระวิญญาณในด้านอื่นๆ” (Alan Webster, “I Have a Question,” Ensign, Apr. 1990, 52–53)

  1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. ท่านเคยได้รับพรอย่างไรสำหรับการเอาใจใส่ถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์

    2. สิ่งหนึ่งที่ท่านทำได้เพื่อเอาใจใส่ถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์มากขึ้นและมีคุณสมบัติคู่ควรรับพรของพระเจ้าคืออะไร

อีเธอร์ 8:1–9:12

เจเร็ดและเอคิชต่อจากนั้นเป็นกษัตริย์ของชาวเจเร็ดผ่านการมั่วสุมลับ

อ่านทวนรายการต่อไปนี้ เพลงที่ท่านฟัง ความคิดที่ท่านรับพิจารณา การวางตัวที่ โรงเรียน ภาพยนตร์ที่ท่านดู พฤติกรรมการออกเดทของท่าน กิจกรรมที่ท่านทำกับเพื่อนๆ สิ่งที่ท่านทำเมื่อไม่มีคนอยู่ ใกล้ๆ เหตุใดคนที่พัวพันกับพฤติกรรมชั่วร้ายจึงอยากปกปิดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเหล่านี้จากเพื่อนๆ บิดามารดา หรือผู้นำ อะไรคืออันตรายของการพัวพันกับกิจกรรมลับที่ ไม่ชอบธรรม

ตามที่กล่าวไว้ ใน อีเธอร์ 8 โอเมอร์เป็นกษัตริย์หลังจากชูลตาย แต่เจเร็ดบุตรของโอเมอร์ “กบฏต่อบิดาของเขา” (อีเธอร์ 8:2) และ “ ใฝ่ ใจอยู่กับอาณาจักรและกับการสรรเสริญของโลก” (อีเธอร์ 8:7) ธิดาของเจเร็ดคิดแผนกับบิดาเพื่อให้เขาได้อาณาจักร เธอเป็นหญิงงาม และเมื่อเต้นรำต่อหน้าชายชื่อเอคิช เขาจึงอยากแต่งงานกับเธอ เจเร็ดบอกเอคิชว่าเขาจะได้แต่งงานกับธิดาของตนก็ต่อเมื่อ “ท่านจะนำศรีษะบิดาของข้าพเจ้า, ผู้เป็นกษัตริย์มาให้ข้าพเจ้า” (อีเธอร์ 8:12) เอคิชเข้าไปในการมั่วสุมลับกับเพื่อนๆ เพื่อฆ่ากษัตริย์ โอเมอร์ การมั่วสุมลับคือที่ซึ่งคนมากกว่าสองคนให้สัตย์สาบานว่าจะปกปิดการกระทำมิชอบของพวกตนเป็นความลับทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงผลของการกระทำเหล่านั้น

อ่าน อีเธอร์ 8:15–18 ระบุคำและวลีที่พูดถึงแรงจูงใจและวิธีการบางอย่างเบื้องหลังคนที่น้อมรับการมั่วสุมลับ

  1. ตอบคำถามต่อไปนี้สองข้อหรือมากกว่านั้นในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. เหตุใดบางคนจึงเข้าร่วมการมั่วสุมลับ

    2. ท่านคิดว่าเหตุใดการมั่วสุมลับจึงเป็นภัยทางวิญญาณจนเชื่อว่าท่านสามารถทำ “ความชั่วร้าย … นานัปการ” (อีเธอร์ 8:16) หรือ “สิ่งใดก็ได้” ตามที่ท่านปรารถนา (อีเธอร์ 8:17) โดยไม่ต้องรับผลใดๆ

    3. วลีใดใน อีเธอร์ 8:18 บ่งบอกว่าพระเจ้าทรงรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการมั่วสุมลับ ท่านคิดว่าเหตุใดการมั่วสุมเช่นนั้นจึงถือว่า “ชั่วร้ายยิ่งกว่าสิ่งทั้งปวง”

อ่าน อีเธอร์ 8:20–22, 25 และ อีเธอร์ 9:5–6, 11–12 โดยมองหาผลของการสนับสนุนการมั่วสุมลับ สรุปสิ่งที่ท่านเรียนรู้

ความจริงประการหนึ่งที่ท่านอาจระบุไว้ ในข้อเหล่านี้คือ การสนับสนุนการมั่วสุมลับนำไปสู่ความพินาศของบุคคลและสังคม

โมโรไนหยุดเขียนเรื่องสงครามชาวเจเร็ดไว้ชั่วคราวเพื่อพูดกับเรา อ่าน อีเธอร์ 8:23–24, 26 ระบุว่าโมโรไนกระตุ้นผู้คนในสมัยของเรา ให้ประยุกต์ ใช้คำเตือนของเขาเกี่ยวกับการมั่วสุมลับอย่างไร

ตรึกตรองคำตอบของคำถามต่อไปนี้ ท่านคิดว่าเหตุใดประชาชาติ สังคม หรือคนอีกกลุ่มหนึ่งจึงอยู่ ใน “สภาพอันน่าพรั่นพรึง” (อีเธอร์ 8:24) เมื่อมีการมั่วสุมลับท่ามกลางพวกเขา ความลับให้อำนาจแก่การมั่วสุมลับเหล่านี้อย่างไร การรู้ความจริงเกี่ยวกับการมั่วสุมลับช่วยผู้คนกำจัดความชั่วนี้อย่างไร

  1. ย้อนกลับไปดูรายชื่อการกระทำที่ให้ไว้ตอนต้นบทเรียนส่วนนี้ แม้การเลือกไม่ถูกต้องในด้านเหล่านี้ของชีวิตท่านไม่จำเป็นต้องจัดอยู่ในการมั่วสุมลับ แต่ให้เขียนลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านถึงอันตรายที่มาจากการเลือกพัวพันกับกิจกรรมที่บุคคลนั้นจะรู้สึกว่าต้องปกปิดเป็นความลับ

อีเธอร์ 9:13–11:23

กษัตริย์องค์หนึ่งสืบทอดต่อจากอีกองค์หนึ่ง—กษัตริย์บางองค์ปกครองด้วยความชอบธรรมและบางองค์ปกครองด้วยความชั่วร้าย

ดังที่บันทึกไว้ใน อีเธอร์ 9–11 กษัตริย์หลายองค์ปกครองชาวเจเร็ด บางองค์ปกครองด้วยความชอบธรรมและบางองค์ปกครองด้วยความชั่วร้าย อ่าน อีเธอร์ 9:26–35 (ระหว่างการปกครองของเฮ็ธ) และ อีเธอร์ 11:1–8 (ระหว่างการปกครองของคอมกับชิบลัม) โดยมองหาหลักฐานยืนยันความจริงของหลักธรรมที่ว่า การปฏิเสธถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์นำไปสู่การเป็นเชลย ซึ่งสนทนาในช่วงต้นบทเรียนนี้

ภาพ
มงกุฎเพชร

นึกถึงวิธีที่ท่านจะเอาใจใส่ถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ให้ดีขึ้น ในวันต่อๆ มาให้ทำตามเป้าหมายนี้และมองหาโอกาสแบ่งปันประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับความสำคัญของการเชื่อฟังถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์

  1. เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า

    ฉันได้ศึกษาอีเธอร์ 7–11 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: