เซมินารี
หน่วย 28: วัน 1, 4 นีไฟ 1


หน่วย 28: วัน 1

4 นีไฟ 1

คำนำ

หลังจากการเสด็จเยือนและการปฏิบัติศาสนกิจของพระเยซูคริสต์ ในพื้นที่ทวีปอเมริกา ผู้คนประยุกต์ ใช้คำสอนของพระองค์ มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ความรุ่งเรือง และความสุขอยู่ 200 ปี แต่ ในที่สุดผู้คนเริ่มจองหองและชั่วร้ายมากขึ้น ไม่นานพวกเขาก็แบ่งแยกเป็นชาวนีไฟกับชาวเลมันอีกครั้ง หลังจาก 300 ปี ทั้งชาวนีไฟกับชาวเลมันกลายเป็นคนชั่วร้าย มีคนชอบธรรมเหลือเพียงไม่กี่คน

4 นีไฟ 1:1–18

ทุกคนเปลี่ยนใจเลื่อมใสและมีความสงบสุข

ภาพ
เยาวชนหญิงสามคนกำลังยิ้ม

อะไรช่วยให้ท่านมีความสุขอย่างแท้จริง

ท่านคิดว่าอะไรคือความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขชั่วคราวกับสิ่งที่นำไปสู่ความสุขอันยั่งยืน อ่าน 4 นีไฟ 1:16 เพื่อหาสิ่งที่มอรมอนเขียนเกี่ยวกับผู้คนหลังจากพระผู้ช่วยให้รอดเสด็จเยือนพวกเขา ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายวลี “แน่แท้แล้วไม่มีผู้คนใดมีความสุขยิ่งกว่านี้ได้”

  1. เขียนหัวข้อ ไม่มีผู้คนใดมีความสุขยิ่งกว่านี้ได้ ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน และวาดวงกลมใต้หัวข้อ ตามที่เห็นในแผนภาพถัดไป (ท่านจะเขียนสิ่งต่างๆ ด้านในและรอบวงกลม) อ่าน 4 นีไฟ 1:1–2 มองหาสิ่งที่ผู้คนทำเพื่อให้พวกเขาเกิดความสุข เขียนสิ่งที่ท่านพบลงในวงกลม

ภาพ
วงกลม

เพราะผู้คนประยุกต์ ใช้คำสอนของพระผู้ช่วยให้รอด พวกเขา “ทั้งหมด [จึง]ได้รับการเปลี่ยนใจเลื่อมใสมาสู่พระเจ้า” (4 นีไฟ 1:2) และมีความสุขใหญ่หลวง

เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่าการเปลี่ยนใจเลื่อมใสและความสุขเชื่อมโยงกันอย่างไร ขณะที่ท่านอ่านคำพูดเหล่านี้ ให้ขีดเส้นใต้สิ่งที่หมายถึงการเปลี่ยนใจเลื่อมใส

ภาพ
เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์

“ความสุขของท่านเวลานี้และตลอดกาลขึ้นอยู่กับระดับการเปลี่ยนใจเลื่อมใสและการเปลี่ยนแปลงที่การเปลี่ยนใจเลื่อมใสนำมาสู่ชีวิตท่าน แล้วท่านจะเปลี่ยนใจเลื่อมใสอย่างแท้จริงได้อย่างไร ประธาน [มาเรียน จี.] รอมนีย์บอกขั้นตอนที่ท่านต้องทำตามดังนี้

“‘การเป็นสมาชิกในศาสนจักรและการเปลี่ยนใจเลื่อมใสไม่จำเป็นต้องมีความหมายเหมือนกัน การเปลี่ยนใจเลื่อมใสและการมีประจักษ์พยานไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเดียวกัน ประจักษ์พยานเกิดขึ้นเมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ประทานพยานยืนยันความจริงแก่ผู้แสวงหาอย่างจริงจัง ประจักษ์พยานที่แท้จริงให้พลังแก่ศรัทธา กล่าวคือ ประจักษ์พยานทำให้เกิดการกลับใจและการเชื่อฟังพระบัญญัติ การเปลี่ยนใจเลื่อมใสเป็นผลหรือรางวัลสำหรับการกลับใจและการเชื่อฟัง’ [ ใน Conference Report, Guatemala Area Conference 1977, 8–9]

“กล่าวง่ายๆ คือ การเปลี่ยนใจเลื่อมใสที่แท้จริงเป็นผลของ ศรัทธา การกลับใจ และ การเชื่อฟังอยู่เสมอ …

“การเปลี่ยนใจเลื่อมใสที่แท้จริงให้ผลของความสุขอันยั่งยืนที่สามารถมี ได้แม้เมื่อโลกอยู่ ในความยุ่งเหยิงและคนส่วนใหญ่ ไม่มีความสุขเลย” (ดู “การเปลี่ยนใจอย่างสมบูรณ์นำมาซึ่งความสุข,” เลียโฮนา, ก.ค. 2002, –31)

  1. อ่าน 4 นีไฟ 1:2–3, 5, 7, 10–13, 15–18 มองหาคำและวลีบอกสิ่งที่ผู้คนประสบเพราะทุกคนเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระเจ้า ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน ให้เขียนคำเหล่านี้และวลีบางวลีไว้รอบนอกวงกลมที่ท่านวาดในงานมอบหมายก่อนหน้านี้

เราสามารถเรียนรู้จากช่วงเวลานี้ของความสุขและความรุ่งเรืองที่ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในบรรดาชาวนีไฟซึ่ง เมื่อคนกลุ่มหนึ่งเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระเจ้า สิ่งนั้นทำให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันและความสุข ท่านอาจต้องการเขียนหลักธรรมนี้ในพระคัมภีร์ของท่านใกล้ 4 นีไฟ 1:16 หรือในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

ไตร่ตรองสภาพที่ท่านคิดว่าจะเป็นถ้าทุกคนที่อยู่รอบข้างท่านเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระเจ้าอย่างแท้จริง

  1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. ท่านคิดว่าจะเกิดประโยชน์อะไรต่อครอบครัวท่านถ้าทุกคนในครอบครัวดำเนินชีวิตเหมือนผู้คนใน 4 นีไฟ

    2. ตรึกตรองช่วงเวลาในชีวิตท่านเมื่อท่านได้รับพรโดยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่เป็นหนึ่งเดียวกันในความชอบธรรม—เช่นในครอบครัวท่าน โควรัมหรือชั้นเรียน หรือกลุ่มเพื่อน ท่านคิดว่าอะไรช่วยให้คนกลุ่มนี้เป็นหนึ่งเดียวกันในความชอบธรรม ท่านและคนที่อยู่กับท่านได้รับพรอะไรบ้าง

4 นีไฟ 1:19–49

ความชั่วร้ายกลับมาและกระจายไปทั่วจนเหลือคนชอบธรรมเพียงไม่กี่คน

ท่านคิดว่าอะไรจะทำลายสังคมที่มีความสุขได้เหมือนผู้คนที่บรรยายไว้ ใน 4 นีไฟ

  1. เขียนหัวข้อ “การทำลายสังคมที่มีความสุข” ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน และวาดวงกลมใต้หัวข้อนี้ คล้ายกับแผนภาพในงานมอบหมายแรก อ่าน 4 นีไฟ 1:20, 23–24 มองหาสิ่งที่เริ่มทำลายความสงบสุขของผู้คน เขียนสิ่งที่ท่านพบในวงกลม

ท่านอาจต้องการเขียนคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานเฮน-รีย์ บี. อายริงก์แห่งฝ่ายประสูงสุดไว้ ในพระคัมภีร์ของท่านใกล้กับ 4 นีไฟ 1:24 หรือในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน “ความจองหองเป็นศัตรูตัวฉกาจกับความเป็นหนึ่งเดียวกัน” (“ ใจเราผูกพันเป็นหนึ่งเดียว,” เลียโฮนา, พ.ย. 2008, 87) ท่านคิดว่าความจองหองเป็นศัตรูกับความเป็นหนึ่งเดียวกันในด้านใด

คำกล่าวต่อไปนี้จากประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟแห่งฝ่ายประธานสูงสุดให้ข้อคิดเรื่องความจองหอง ขีดเส้นใต้วลีที่อธิบายว่าเหตุใดความจองหองจึงบ่อนทำลาย

ภาพ
ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ

“ความจองหองเป็นบาป … เพราะก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือความเป็นอริและนำเราไปอยู่ฝั่งตรงข้ามกับพระผู้เป็นเจ้าและเพื่อนมนุษย์ของเรา โดยพื้นฐานแล้ว ความจองหองคือบาปของการเปรียบเทียบ เพราะถึงแม้ โดยปกติจะเริ่มด้วย ‘ดูสิว่าฉันเยี่ยมแค่ ไหนและฉันทำสิ่งสำคัญอะไรบ้าง’ แต่มักจะลงเอยด้วย ‘เพราะฉะนั้น ฉันจึงดีกว่าเธอ”

“เมื่อใจเราเต็มไปด้วยความจองหอง เท่ากับเราทำบาปร้ายแรง เพราะเราละเมิดพระบัญญัติข้อใหญ่สองข้อ [ดู มัทธิว 22:36–40] แทนที่จะนมัสการพระผู้เป็นเจ้าและรักเพื่อนบ้าน เรากลับเผยเป้าหมายแท้จริงของการนมัสการและความรักของเรา—ภาพที่เราเห็นในกระจก” (“ความจองหองและฐานะปุ โรหิต,” เลียโฮนา, พ.ย. 2010, 70 71)

  1. อ่าน 4 นีไฟ 1:25–27, 30–35, 38–45 มองหาคำและวลีที่พูดถึงผลของความจองหองในบรรดาผู้คน เขียนคำและวลีเหล่านี้ไว้รอบนอกวงกลมในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านสำหรับงานมอบหมาย 4

ความจริงประการหนึ่งที่เราสามารถเรียนรู้ ได้จากข้อเหล่านี้คือ บาปของความจองหองก่อให้เกิดการแบ่งแยกและนำไปสู่ความชั่วร้ายที่ ใหญ่หลวงกว่า ท่านอาจต้องการเขียนวลีนี้ลงในพระคัมภีร์ของท่าน ความจองหองของคนคนหนึ่งหรือสองคนสามารถส่งผลกระทบต่อความสุขของคนทั้งกลุ่มได้อย่างไร

พิจารณาว่าใครในสถานการณ์ต่อไปนี้อาจได้รับผลในด้านลบเพราะความจองหองของคนๆ หนึ่ง

  • สมาชิกคนหนึ่งของชั้นเรียนเยาวชนหญิงไม่ต้องการฟังบทเรียนที่ครูเตรียมเกี่ยวกับพรที่มาจากการเชื่อฟังพระคำแห่งปัญญา เธอรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องฟังบรรยายเรื่องพระคำแห่งปัญญาอีก เธอจึงสร้างความแตกแยกและไม่ยอมมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

  • เพื่อนคนหนึ่งล้อเลียนหรือดูถูกเพื่อนอีกคนหนึ่งในกลุ่มอยู่เนืองๆ เพราะลักษณะการแต่งกายของเพื่อนคนนั้นแสดงให้เห็นว่าเขาไม่ค่อยมีเงิน

  1. ไตร่ตรองว่ามีองค์ประกอบของความจองหองในชีวิตท่านเองหรือไม่ อาจจะเป็นประโยชน์ถ้าทบทวนคำกล่าวของประธานอุคท์ดอร์ฟขณะไตร่ตรอง นึกถึงสิ่งที่ท่านสามารถทำได้เพื่อต่อต้านความจองหองและขอความช่วยเหลือในการเพิ่มความเป็นหนึ่งเดียวกันและความชอบธรรมในครอบครัวท่าน โคว-รัม ชั้นเรียน หรือกลุ่มเพื่อน เขียนความคิดและเป้าหมายของท่านลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์

  2. เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า

    ฉันได้ศึกษา 4 นีไฟ 1 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: