เซมินารี
หน่วย 29: วัน 2, มอรมอน 9


หน่วย 29: วัน 2

มอรมอน 9

คำนำ

โมโรไนจบบันทึกของบิดาโดยขอร้องคนที่ ไม่เชื่อในพระเยซูคริสต์ ให้หันมาหาพระผู้เป็นเจ้าผ่านการกลับใจ เขาสอนว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าแห่งปาฏิหาริย์ผู้ ไม่ทรงเปลี่ยนแปลง เขาสอนเช่นกันว่าปาฏิหาริย์ยุติก็ต่อเมื่อผู้คนเลิกมีศรัทธา เขากระตุ้นมนุษยชาติทั้งปวงให้สวดอ้อนวอนพระบิดาในพระนามของพระเยซูคริสต์เพื่อให้ ได้รับสิ่งที่พวกเขาต้องการ

มอรมอน 9:1–6

โมโรไนวิงวอนผู้ไม่เชื่อในพระเยซูคริสต์ให้กลับใจ

จินตนาการว่าท่านจะคิดและรู้สึกอย่างไรถ้าท่านต้องเข้าไป ในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าวันนี้ ท่านคิดว่าคนชั่วจะรู้สึกอย่างไรในที่ประทับของพระองค์ อ่าน มอรมอน 9:1–5 สังเกตว่าโมโรไนบอกสิ่งที่จะเกิดขึ้นในท้ายที่สุดเมื่อผู้เลือกไม่เชื่อในพระเยซูคริสต์ถูกนำเข้าไป ในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า

ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธอธิบายว่าคนมากมายเชื่ออย่างผิดๆ ว่าพวกเขาจะรู้สึกสบายใจในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าถึงแม้พวกเขาไม่ ได้กลับใจจากบาป

ภาพ
ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ

“จะมีความรอดไม่ ได้หากปราศจากการกลับใจ มนุษย์ที่มีบาปจะเข้าในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าไม่ ได้ คงเป็นเรื่องขัดแย้งกันมากที่มนุษย์จะเข้าในที่ประทับของพระบิดาและพำนักอยู่ ในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าโดยที่ยังมีบาป …

“ข้าพเจ้าคิดว่ามีคนมากมายบนแผ่นดินโลก อาจจะมากมายหลายคนในศาสนจักร—อย่างน้อยก็บางคนในศาสนจักร—ที่คิดว่าพวกเขาสามารถผ่านชีวิตนี้ไป ได้โดยทำอย่างที่พวกเขาพอใจ ละเมิดพระบัญญัติของพระเจ้า และคิดว่าสุดท้ายพวกเขาก็จะได้เข้าในที่ประทับของพระองค์ พวกเขาคิดว่าไว้ค่อยกลับใจทีหลัง อาจจะในโลกวิญญาณ

“พวกเขาควรอ่านถ้อยคำเหล่านี้ของโมโรไน ‘ท่านคิดหรือว่าท่านจะพำนักอยู่กับพระองค์ [พระคริสต์] ภายใต้ความสำนึกผิดของท่านได้ ? ท่านคิดหรือว่าท่านจะเป็นสุขที่จะพำนักอยู่กับพระสัตภาวะผู้บริสุทธิ์นั้น, เมื่อจิตวิญญาณท่านถูกทรมานด้วยความสำนึกผิดว่าท่านเคยทำผิดกฎของพระองค์ ?

“ ‘ดูเถิดข้าพเจ้ากล่าวแก่ท่านว่าท่านจะเศร้าหมองที่จะพำนักอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าผู้บริสุทธิ์และเที่ยงธรรม, ภายใต้ความสำนึกในความแปดเปื้อนของท่านต่อพระพักตร์พระองค์, ยิ่งกว่าท่านจะพำนักอยู่กับจิตวิญญาณที่อัปมงคลในนรก. เพราะดูเถิด, เมื่อท่านจะถูกนำมาให้เห็นความเปลือยเปล่าของท่านต่อพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้า, และรัศมีภาพของพระผู้เป็นเจ้าด้วย, และความบริสุทธิ์ของพระเยซูคริสต์, สิ่งนี้จะก่อให้เกิดเปลวเพลิงของไฟอันไม่รู้ดับกับท่าน’ [มอรมอน 9:3–5]” (Doctrines of Salvation, comp. Bruce R. McConkie, 3 vols. [1954–56], 2:195–96)

  1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน: ท่านคิดว่าเหตุใดการรอกลับใจในชีวิตนี้จึงไม่ถูกต้องโดยเชื่อว่าท่านสามารถกลับใจในชีวิตหน้าได้ (ท่านอาจต้องการใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้จาก มอรมอน 9:1–5; แอลมา 12:14; และ แอลมา 34:32–34 ในคำตอบของท่าน)

อ่าน มอรมอน 9:6 มองหาสิ่งที่ “ผู้ ไม่เชื่อ” ต้องทำเพื่อหลีกเลี่ยงความปวดร้าวที่ โมโรไนพูดถึง ท่านอาจจะทำเครื่องหมายคำต่างๆ ใน มอรมอน 9:6 ที่พูดถึงสภาพของผู้หันมาหาพระผู้เป็นเจ้าและทูลขอการให้อภัยจากพระองค์ จากข้อนี้เราเรียนรู้ว่า ถ้าเราจะกลับใจและวิงวอนพระผู้เป็นเจ้า เราจะไม่มีมลทินเมื่อเราเข้ามาในที่ประทับของพระองค์ ท่านอาจต้องการเขียนหลักธรรมนี้ลงในพระคัมภีร์หรือสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

  1. ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านให้เขียนสองสามประโยคว่าท่านคิดว่าจะรู้สึกอย่างไรในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าถ้าท่านรู้ว่าการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดทำให้ท่านบริสุทธิ์และไม่มีมลทิน

โดยผ่านการกลับใจและการดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรม ท่านสามารถเตรียมสบายใจในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าได้ ไตร่ตรองสิ่งสำคัญที่สุดที่ท่านรู้สึกว่าทำได้เวลานี้เพื่อให้พร้อมพบพระผู้เป็นเจ้า

มอรมอน 9:7–20

โมโรไนประกาศว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงกระทำปาฏิหาริย์และทรงตอบคำสวดอ้อนวอนของคนซื่อสัตย์

ภาพ
พระคริสต์ทรงรักษาชายตาบอด

ท่านเคยเห็นหรือประสบปาฏิหาริย์หรือไม่ เขียนนิยามของคำว่า ปาฏิหาริย์

ค้นหาคำ ปาฏิหาริย์ (miracle) ใน Bible Dictionary หรือคู่มือพระคัมภีร์เพื่ออธิบายหรือเพิ่มเติมนิยามของท่าน ท่านคิดว่าเหตุใดคนบางคนในทุกวันนี้ จึงไม่เชื่อเรื่องปาฏิหาริย์

ดังที่บันทึกไว้ ใน มอรมอน 9:7–8 โมโรไนเขียนถึงผู้คนในวันเวลาสุดท้ายผู้จะปฏิเสธว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงพระชนม์ พระองค์ประทานการเปิดเผย และพระองค์ทรงเทของประทานมาที่คนซื่อสัตย์ โมโรไนสอนด้วยพลังว่ามีพระผู้เป็นเจ้าและพระองค์ทรงเป็นเหมือนกันทั้ง “วันวาน, วันนี้, และตลอดกาล” (มอรมอน 9:9) พระองค์ยังทรงทำปาฏิหาริย์ ในบรรดาคนซื่อสัตย์ทุกยุคทุกสมัย อ่าน มอรมอน 9:9–11, 15–19 ระบุสิ่งที่ โมโร-ไนสอนเกี่ยวกับธรรมชาติของพระผู้เป็นเจ้าทั้งนี้เพื่อเขาจะได้ช่วยให้ผู้คนเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้ายังทรงทำปาฏิหาริย์

  1. ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านให้เขียนสิ่งที่ท่านเรียนรู้จาก มอรมอน 9:9–11, 15–19 เกี่ยวกับธรรมชาติของพระผู้เป็นเจ้า เขียนคำตอบของคำถามนี้ด้วย: ข้อเหล่านี้สอนอะไรท่านเกี่ยวกับความเต็มพระทัยและความสามารถของพระผู้เป็นเจ้าในการทำปาฏิหาริย์ในชีวิตผู้คนทุกวันนี้

อ่าน มอรมอน 9:20 มองหาเหตุผลที่บางคนอาจจะไม่ประสบปาฏิหาริย์

ถ้อยคำของโมโรไนดังที่บันทึกไว้ ใน มอรมอน 9:9–19 สอนหลักธรรมนี้ เพราะพระผู้เป็นเจ้าไม่ทรงเปลี่ยนแปลง พระองค์จึงทรงทำปาฏิหาริย์ตามศรัทธาของบุตรธิดาพระองค์ ท่านอาจต้องการเขียนหลักธรรมนี้ใกล้กับ มอรมอน 9:19–20 ในพระคัมภีร์ของท่าน

เราสามารถประสบพลังปาฏิหาริย์ของพระผู้เป็นเจ้าได้หลายด้านในชีวิตเรา หลังจากทบทวนปาฏิหาริย์ครั้งสำคัญบางเหตุการณ์ ในพระคัมภีร์ ซิสเตอร์ซิดนีย์ เอส. เรย์ โนลด์ซึ่งเคยรับใช้ ในฝ่ายประธานปฐมวัยสามัญ สอนดังนี้

“ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ‘ปาฏิหาริย์น่าพิศวง’ เหล่านี้คือ ‘ปาฏิหาริย์ส่วนตัว’ ที่เล็กน้อยกว่า ซึ่งสอนเราแต่ละคนให้มีศรัทธาในพระเจ้า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อเรารับรู้และเอาใจใส่การกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณในชีวิตเรา …

“ข้าพเจ้าเชื่อว่าพวกเราทุกคนสามารถเป็นพยานถึงปาฏิหาริย์เล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ เรารู้จักเด็กที่สวดอ้อนวอนขอให้ช่วยหาของที่หายจนพบ เรารู้เกี่ยวกับคนหนุ่มสาวที่รวบรวมความกล้าหาญเพื่อยืนเป็นพยานของพระผู้เป็นเจ้าและรู้สึกถึงพระหัตถ์ค้ำจุนของพระองค์ เรารู้จักเพื่อนที่จ่ายส่วนสิบด้วยเงินก้อนสุดท้ายและพบหลังจากนั้นโดยผ่านปาฏิหาริย์ว่าพวกเขามีเงินพอจ่ายค่าเล่าเรียน ค่าเช่า หรือมีอาหารสำหรับครอบครัวด้วยวิธีการบางอย่าง เราสามารถแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับคำตอบการสวดอ้อนวอนและพรฐานะปุ โรหิตที่ ให้ความกล้าหาญ นำมาซึ่งการปลอบโยน หรือฟื้นฟูสุขภาพ ปาฏิหาริย์ ในแต่ละวันเหล่านี้ทำให้เราคุ้นเคยกับพระหัตถ์ของพระเจ้าในชีวิตเรา” (ดู “พระผู้เป็นเจ้าของสิ่งอัศจรรย์,” เลียโฮนา, ก.ค. 2001, 15 16)

  1. เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ท่านเคยมีหรือที่ท่านรู้ซึ่งยืนยันว่าพระผู้เป็นเจ้ายังทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าแห่งปาฏิหาริย์ในทุกวันนี้

มอรมอน 9:21–37

โมโรไนสอนเรื่องการสวดอ้อนวอนและจุดประสงค์ของบันทึกชาวนีไฟ

ภาพ
เด็กผู้หญิงสวดอ้อนวอน

ท่านจำได้ ไหมเวลาที่ท่านรู้สึกว่าพระบิดาบนสวรรค์ประทานความช่วยเหลือที่ท่านต้องการเพราะท่านสวดอ้อนวอน อ่าน มอรมอน 9:21 มองหาสิ่งที่ โมโรไนสอนเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนพระบิดาบนสวรรค์เพื่อทูลขอความช่วยเหลือ

อ่านคำกล่าวต่อไปนี้ และดูว่าการสวดอ้อนวอนในพระนามของคริสต์หมายความว่าอย่างไร “เราสวดอ้อนวอนในพระนามของพระคริสต์เมื่อความคิดของเราเป็นพระดำริของพระคริสต์ และความปรารถนาของเราเป็นความปรารถนาของพระคริสต์—เมื่อพระวจนะของพระองค์อยู่ ในเรา (ยอห์น 15:7) จากนั้นเราทูลขอสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าจะประทานให้ ได้ คำสวดอ้อนวอนมากมายยังไม่ ได้รับตอบเพราะไม่ ได้สวดอ้อนวอนในพระนามของพระคริสต์ ไม่แสดงพระดำริของพระองค์ แต่เกิดจากความเห็นแก่ตัวของใจมนุษย์” (ดู คู่มือพระคัมภีร์, “สวดอ้อนวอน (การ), สวดอ้อนวอน (คำ)”

พิจารณาการสวดอ้อนวอนของท่านเองโดยอาศัยสิ่งที่ท่านเพิ่งอ่าน ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อสวดอ้อนวอนในพระนามของพระเยซูคริสต์

เพื่อยกตัวอย่างของผู้เชื่อในพระผู้ช่วยให้รอดและสามารถทำปาฏิหาริย์ ได้ โมโรไนจึงอ้างสิ่งที่พระเยซูคริสต์ทรงสอนสานุศิษย์ชาวนีไฟของพระองค์ ดังที่บันทึกไว้ ใน มอรมอน 9:22–25 พระผู้ช่วยให้รอดทรงบัญชาเหล่าสานุศิษย์ ให้ ไปทั่วโลกและสั่งสอนพระกิตติคุณ พระองค์ทรงสัญญาว่า “เครื่องหมาย [อันน่าอัศจรรย์]จะมีอยู่กับพวกเขาที่เชื่อ” (มอรมอน 9:24) โมโรไนสอนต่อจากนั้นเรื่องการสวดอ้อนวอน

  1. อ่าน มอรมอน 9:27–29 ระบุสิ่งที่โมโรไนสอนว่าเราควรสวดอ้อนวอนด้วยศรัทธาอย่างไร เขียนสิ่งที่ท่านระบุลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน จากนั้นให้เขียนข้อความสองสามประโยคบรรยายว่าท่านจะใช้คำสอนหนึ่งในนั้นปรับปรุงการสวดอ้อนวอนของท่านอย่างไร

ท่านอาจต้องการเขียนหลักธรรมต่อไปนี้ในพระคัมภีร์ของท่านใกล้ มอรมอน 9:27: หากเราสวดอ้อนวอนด้วยศรัทธาต่อพระบิดาบนสวรรค์ ในพระนามของพระเยซูคริสต์ พระองค์จะประทานพรเราซึ่งจะช่วยเราทำให้ความรอดของเราเกิดขึ้น

ตามที่ โมโรไนสรุปถ้อยคำของเขา เขาแสดงความกังวลว่าบางคนในวันเวลาสุดท้ายจะปฏิเสธพระคัมภีร์มอร-มอนเพราะความบกพร่องของผู้เขียน (ดู มอรมอน 9:30–34) อ่าน มอรมอน 9:35–37 มองหาสิ่งที่ โมโรไนประกาศเกี่ยวกับจุดประสงค์ของพระคัมภีร์มอรมอน

พิจารณาว่าการออกมาของพระคัมภีร์มอรมอนเป็นหลักฐานยืนยันเพิ่มเติมอย่างไรว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าแห่งปาฏิหาริย์และพระองค์ทรงตอบคำสวดอ้อนวอน

  1. เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า

    ฉันได้ศึกษามอรมอน 9 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: