เซมินารี
หน่วย 21: วัน 2, แอลมา 50–52, 54–55


หน่วย 21: วัน 2

แอลมา 50–52; 54–55

คำนำ

แม่ทัพโมโรไนยังคงช่วยผู้คนของเขาปกป้องตนเองโดยเสริมแนวป้องกันเมืองต่างๆ ชาวนีไฟต้านชาวเลมันสำเร็จจนกระทั่งการกบฏและความชั่วร้ายเริ่มทำให้พวกเขาอ่อนแอ ทั้งที่ โมโรไนพยายามทำให้เป็นหนึ่งเดียวและปกป้องผู้คน แต่ชาวนีไฟก็เสียเมืองหลายเมืองเพราะความขัดแย้งในบรรดาพวกตน ในที่สุด โมโรไน ทีแอนคัม และลีไฮก็ยึดเมืองแห่งมิวเล็คคืนและปราบกองทัพใหญ่สุดกองหนึ่งของชาวเลมัน แอโมรอนผู้นำที่ชั่วร้ายของชาวเลมันพยายามเจรจาแลกเปลี่ยนเชลย แต่โมโรไนปลดปล่อยเชลยชาวนีไฟโดยไม่มีการนองเลือด โมโรไนยืนหยัดมั่นคงและไม่ประนีประนอมกับแอโมรอนและผู้ติดตามเขา

แอลมา 50–51

ชาวนีไฟเข้มแข็งขึ้นและรุ่งเรืองเมื่อพวกเขาเชื่อฟังพระเจ้าและเป็นหนึ่งเดียวกันในบรรดาพวกเขา

นึกถึงเวลาในชีวิตท่านเมื่อท่านพยายามเอาชนะความท้าทาย เช่น การล่อลวง ปัญหาสุขภาพ ปัญหาที่ โรงเรียน หรือปัญหาด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัว ท่านประสงค์จะให้ท่านมีพลังทางวิญญาณมากขึ้นในเวลานั้นหรือไม่

ภาพ
ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์

ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดกล่าวว่า ขณะที่อิทธิพล [ของบาป] รอบข้างเราทวีความรุนแรง พลังทางวิญญาณใดก็ตามที่เคยมีมากพอจะไม่พอ และพลังทางวิญญาณใดก็ตามที่เราเคยคิดว่าอยู่ ในวิสัยจะทำให้เพิ่มขึ้นได้ เราจะต้องทำให้เพิ่มมากยิ่งกว่าเดิม ทั้งความจำเป็นของพลังทางวิญญาณและโอกาสได้พลังนั้นจะต้องเพิ่มตามอัตราส่วนที่เราประเมินอันตรายของเราต่ำลง” (“Always,” Ensign, Oct. 1999, 9)

การเตรียมสู้รบของชาวนีไฟสามารถช่วยให้เราเรียนรู้ความจริงนี้ หากเราเตรียมตนเองทางวิญญาณ เราย่อมสามารถเอาชนะความท้าทายของชีวิตได้

ทบทวน แอลมา 50:1–6 ชาวนีไฟทำอะไรเพื่อสร้างแนวป้องกันรอบเมืองของพวกเขา อ่าน แอลมา 50:7 ชาวนี-ไฟทำอะไรอีกเพื่อเตรียมสู้รบ

ชาวนีไฟสร้างแนวป้องกันที่ ให้พลังพวกเขาในเวลาของความลำบากอย่างยิ่ง เราสามารถทำตามแบบอย่างของพวกเขาได้โดยสร้างพลังทางวิญญาณเวลานี้เพื่อเราจะมีพลังที่เราต้องการในยามยากลำบาก เราสร้างพลังทางวิญญาณอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดโดยพยายามอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เราเข้มแข็งทางวิญญาณผ่านเรื่องต่างๆ เช่น ศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจำ สวดอ้อนวอน เข้าร่วมการประชุมของศาสนจักร ปฏิบัติหน้าที่ตามการเรียกของเรา แสดงความกตัญญูต่อพระผู้เป็นเจ้า รับใช้ผู้อื่น ฟังและเอาใจใส่คำแนะนำของผู้นำศาสนจักร

  1. เติมข้อความต่อไปนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. ฉันสามารถสร้างพลังทางวิญญาณให้มากขึ้นโดย (เขียนบางสิ่งที่ท่านทำได้)

    2. ฉันจะทำ (เลือกหนึ่งข้อจากรายการที่ท่านเพิ่งเขียน) เสมอต้นเสมอปลายมากขึ้นทุกวันเพื่อสร้างพลังทางวิญญาณ

อ่าน แอลมา 50:19–23 ดูว่าพระเจ้าประทานพรชาวนีไฟที่ซื่อสัตย์ต่อพระองค์อย่างไรทั้งที่พวกเขาอยู่ ในสภาพการณ์ที่ยากลำบากในยุคสมัยของพวกเขา ท่านอาจต้องการเขียนหลักธรรมนี้ไว้ ใกล้ๆ ข้อเหล่านี้: ความซื่อสัตย์ต่อพระผู้เป็นเจ้านำมาซึ่งพร แม้ท่ามกลางความสับสนอลหม่าน พิจารณา แอลมา 50:21 เพื่อดูสิ่งที่มอรมอนกล่าวว่าเป็นเหตุให้ชาวนีไฟสูญเสียพรเหล่านี้

ระหว่างช่วงเวลาที่แม่ทัพโมโรไนกำลังนำชาวนีไฟในการรบกับชาวเลมัน เพโฮรันกลายเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาของชาวนีไฟ เขาเป็นคนชอบธรรม และเขาทำงานเพื่อสถาปนาสันติภาพในแผ่นดิน แต่ชาวนีไฟกลุ่มหนึ่งปรารถนาจะเปลี่ยนกฎหมายชาวนีไฟเพื่อให้กษัตริย์ปกครองพวกเขา ไม่ ใช่ระบบผู้พิพากษา เรื่องนี้ต้องลงคะแนนเสียง และประชาชนลงคะแนนเสียงให้รักษาระบบผู้พิพากษาเอาไว้ อย่างไรก็ตาม “ผู้ชื่นชอบราชาธิป ไตย” ไม่ยอมสนับสนุนเสียงของประชาชน และไม่ยอมร่วมต่อสู้พร้อมกับชาวนีไฟคนอื่นๆ เมื่อชาวเลมันมารบ โมโรไนต้องนำกองทัพไปปราบผู้ชื่นชอบราชาธิป-ไตยเพื่อบังคับพวกเขาให้มาสมทบกับชาวนีไฟ ด้วยเหตุนี้ชาวนีไฟจึงอ่อนแออย่างมากในการรบกับชาวเลมัน (ดู แอลมา 51:1–21)

อ่าน แอลมา 51:22–27 มองหาหลักฐานที่ยืนยันว่าชาวเล-มันสามารถมีอำนาจเหนือชาวนีไฟ ได้เพราะความขัดแย้งกับผู้ชื่นชอบราชาธิป ไตย ตรึกตรองหลักธรรมนี้: การแตกแยกและความขัดแย้งทำลายสันติภาพ

  1. อ่าน แอลมา 50:39–40 และ แอลมา 51:22 สังเกตว่าเพโฮรันและแม่ทัพโมโรไนเพียรพยายามสถาปนาสันติภาพในบรรดาผู้คนมากเพียงใด นึกถึงเวลาในชีวิตท่านมื่อท่านเห็นความขัดแย้ง ไม่ว่าจะในหมู่เพื่อนฝูง สมาชิกครอบครัว เพื่อนนักเรียน หรือคนอื่นๆ นึกถึงลักษณะพิเศษของคนที่พยายามสถาปนาสันติภาพด้วย เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านเกี่ยวกับลักษณะพิเศษที่ผู้สร้างสันติอาจจะมี

แอลมา 52

โมโรไนและทีแอนคัมทำงานด้วยกันเพื่อปราบชาวเลมัน

ภาพ
แม่ทัพโมโรไนและธงแห่งเสรีภาพ

ดังที่บันทึกไว้ ใน แอลมา 51:33–34 อแมลิไคยาห์ถูกที-แอนคัมผู้นำทางทหารคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของชาวนี-ไฟสังหาร หลังจากการเสียชีวิตของอแมลิไคยาห์ แอโม-รอนน้องชายของเขาเข้าบัญชากองทัพชาวเลมัน โมโร-ไนแนะนำให้ทีแอนคัมสร้างแนวป้องกันและคุ้มครองตอนเหนือของแผ่นดินอุดมมั่งคั่งต่อไปและยึดเมืองของชาวนีไฟที่ชาวเลมันยึดครองกลับคืนหากเป็นไป ได้ (ดู แอลมา 52:1–10) อ่าน แอลมา 52:15–17 และดูว่าเหตุใดทีแอนคัมจึงตัดสินใจไม่ โจมตีเมืองแห่งมิวเล็ค

ทีแอนคัมรู้ว่าเมื่อศัตรูอยู่ในที่มั่น คงยากที่จะเอาชนะพวกเขา จากประสบการณ์นี้ เราสามารถเรียนรู้หลักธรรมนี้: หากเราหลีกเลี่ยงที่มั่นของปฏิปักษ์ เราจะหลีกเลี่ยงและต่อต้านการล่อลวงได้มากขึ้น

  1. สถานที่ใดบ้างที่อาจจะถือว่าเป็นที่มั่นของปฏิปักษ์ (สถานที่หรือสถานการณ์ที่อาจส่งผลให้ท่านทำบาปถ้าท่านไปที่นั่น ตัวอย่างเช่น งานเลี้ยงที่มีคนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือดูภาพยนตร์ที่ไม่เหมาะสม) เขียนสถานที่เช่นนั้นสองสามแห่งลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน เขียนด้วยว่าท่านคิดว่าเหตุใดท่านจึงควรหลีกเลี่ยงการไปสถานที่เหล่านี้

นี่เป็นเวลาลำบากสำหรับชาวนีไฟเพราะชาวเลมันยึดเมืองของชาวนีไฟหลายเมืองขณะที่ชาวนีไฟกำลังต่อสู้กับพวกชื่นชอบราชาธิป ไตย ชาวเลมันใช้เมืองเหล่านั้นเป็นที่มั่น ด้วยเหตุนี้ชาวนีไฟจึงยึดกลับคืนได้ยาก โมโร-ไนวางแผนให้ชาวเลมันออกจากเมืองแห่งมิวเล็คเพื่อชาวนีไฟจะได้เมืองนั้นคืน อ่าน แอลมา 52:21–26 เพื่อดูว่าโมโรไนและทีแอนคัมทำอะไร

  1. เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าโม-โรไนและทีแอนคัมทำอะไรเพื่อยึดเมืองแห่งมิวเล็ค (ดู แอล-มา 52:21–26) เขียนด้วยว่าท่านคิดอย่างไรเกี่ยวกับแม่ทัพโมโรไน เขาเป็นแม่ทัพที่ดีสำหรับชาวนีไฟในด้านใด

แอลมา 54–55

โมโรไนไม่ยอมแลกเปลี่ยนเชลยกับแอโมรอนและยึดเมืองแห่งกิดกลับคืน

ตลอดสงครามระหว่างชาวเลมันกับชาวนีไฟ ทั้งสองฝ่ายจับเชลยสงครามไว้มากมาย แอโมรอนผู้นำชาวเลมันส่งจดหมายถึงโมโรไน เสนอให้ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนเชลย โมโรไนมีความสุขกับการแลกเปลี่ยนเชลยทั้งนี้เพื่อจะได้ชาวนีไฟที่ถูกจับเป็นเชลยกลับคืนและเพื่อกองทัพของเขาจะไม่ต้องเลี้ยงและดูแลเชลยชาวเลมัน (ดู แอลมา 54:1–2)

อย่างไรก็ดี ขณะที่เขากับแอโมรอนแลกเปลี่ยนจดหมายระหว่างกัน แอโมรอนเขียนเรียกร้องให้ชาวนีไฟยอมแพ้และให้ชาวเลมันปกครองพวกเขา เขากล่าวว่าชาวนีไฟเป็นฆาตกรและชาวเลมันมีเหตุอันควรให้ต่อสู้กับพวกเขา เขาประกาศเช่นกันว่าไม่มีพระผู้เป็นเจ้า (ดู แอลมา 54:16–24)

เมื่อโมโรไนได้รับจดหมายฉบับนี้ เขารู้ว่าแอโมรอนกำลังพูดเท็จ แอโมรอนรู้ว่าชาวเลมันไม่มีเหตุอันควรให้ต่อสู้กับชาวนีไฟ โมโรไนกล่าวว่าเขาจะไม่แลกเปลี่ยนเชลยและไม่ ให้ชาวเลมันมีกำลังมากกว่านี้ เขาจะหาวิธีช่วยเชลยชาวนีไฟ โดยไม่แลกเปลี่ยนกับพวกเขา (ดู แอลมา 55:1–2)

อ่าน แอลมา 55:3–24 เพื่อดูว่าโมโรไนทำอะไรเพื่อช่วยเชลยชาวนีไฟ

เมื่อโมโรไนไม่ยอมตามข้อเรียกร้องของแอโมรอนและหาวิธีช่วยเชลยชาวนีไฟ เขาป้องกันชาวเลมันไม่ ให้ ได้เปรียบชาวนีไฟและกลับทำให้ชาวนีไฟได้เปรียบแทน ความจริงข้อหนึ่งที่เราเรียนรู้จากแบบอย่างของโมโรไนในเรื่องนี้คือ ถ้าเราวางใจและเชื่อฟังพระองค์อย่างเคร่งครัด พระองค์จะทรงสนับสนุนเราในการสู้รบของเรา

เรื่องที่พบใน แอลมา 55:3–24 เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากของการช่วยชีวิต จงนึกถึงสมาชิกครอบครัวหรือเพื่อนคนหนึ่งที่จะชอบฟังเรื่องนี้ และหาเวลาเล่าเรื่องให้เขาฟัง ท่านอาจต้องการแบ่งปันหลักธรรมตัวหนาในย่อหน้าข้างต้นกับบุคคลนี้และอธิบายว่าโมโรไนเป็นแบบอย่างของหลักธรรมดังกล่าวอย่างไร

  1. เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า

    ฉันได้ศึกษาแอลมา 50–52; 54–55 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: