เซมินารี
หน่วย 15: วัน 3, แอลมา 6–7


หน่วย 15: วัน 3

แอลมา 6–7

คำนำ

หลังจากสอนผู้คนในเซราเฮ็มลาและวางระเบียบศาสนจักรแล้ว แอลมาจึงไปเมืองแห่งกิเดียน เขาพบว่าผู้อยู่อาศัยที่นั่นมีศรัทธามากกว่าคนในเซราเฮ็มลา ด้วยเหตุนี้เขาจึงกระตุ้นผู้คนในกิเดียนให้พึ่งพาพระเจ้าตลอดเวลาและพยายามนำการชดใช้ของพระองค์มาใช้ ในชีวิตพวกเขา ประจักษ์พยานของแอลมาในพระเยซูคริสต์สามารถช่วยให้ท่านเข้าใจความกว้างของการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ ได้ดีขึ้นและสอนท่านให้รู้วิธี ได้รับพรของการชดใช้ทุกวันขณะเดินตามทางสู่อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าอย่างต่อเนื่อง

แอลมา 6

แอลมาเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ศาสนจักรในเซราเฮ็ม-ลาและไปสั่งสอนในกิเดียน

เติมประโยคต่อไปนี้ให้สมบูรณ์: ฉันไป โบสถ์เพราะ .

ขณะที่ท่านศึกษา แอลมา 6 ให้ตรึกตรองว่าการเข้าใจจุดประสงค์ของการประชุมในศาสนจักรจะสามารถทำให้การประชุมมีความหมายต่อท่านมากขึ้นได้อย่างไร

ก่อนแอลมาออกจากเซราเฮ็มลา เขาทำให้ศาสนจักรที่นั่นเข้มแข็ง อ่าน แอลมา 6:1–4 และระบุสองหรือสามวลีที่พูดถึงความรับผิดชอบของผู้นำฐานะปุ โรหิตในศาสนจักร

หลักธรรมสำคัญที่เราเรียนรู้จากประสบการณ์ของแอล-มาคือ ในสมัยของเรา เช่นเดียวกับในสมัยพระคัมภีร์มอรมอน ศาสนจักรได้รับการสถาปนาเพื่อความผาสุกของคนทั้งปวง อ่าน แอลมา 6:5–6 และทำเครื่องหมายที่วลีสองข้อต่อไปนี้: “ฟังพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า” และ “ร่วมอดอาหารและสวดอ้อนวอนอย่างสุดกำลังเพื่อความผาสุกในจิตวิญญาณของคนที่หารู้จักพระผู้เป็นเจ้าไม่” วลีเหล่านี้ระบุวิธีที่ศาสนจักรจัดเตรียมโอกาสให้ทุกคนเติบโตและช่วยเหลือผู้อื่น ตรึกตรองว่าสมาชิกของศาสนจักรในเซราเฮ็มลาจะเติมประโยคที่ท่านเติมข้างต้นว่าอย่างไร

  1. เขียนแนวคิดสองสามประการลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าการไปโบสถ์ด้วยเหตุผลดังระบุไว้ใน แอลมา 6:5–6 จะสร้างความแตกต่างในประสบการณ์ของท่านที่โบสถ์อย่างไร

พรของการเป็นสมาชิกศาสนจักรมี ไว้สำหรับลูกทุกคนของพระผู้เป็นเจ้า เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้

ภาพ
เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

ทุกท่าน สวดอ้อนวอนให้ผู้สอนศาสนา ขอให้ทำเช่นนั้นตลอดไป ด้วยเจตนาเดียวกันนี้ เราควรสวดอ้อนวอนให้คนที่กำลังพบ (หรือต้องการ) พบผู้สอนศาสนา ในเซราเฮ็มลาสมาชิกได้รับบัญชาให้ ‘ร่วมอดอาหารและสวดอ้อนวอนอย่างสุดกำลัง’ [แอลมา 6:6] ให้แก่คนที่ยังไม่ได้เข้ามาในศาสนจักรของพระผู้เป็นเจ้า เราสามารถทำได้เช่นกัน

“เราจะต้องสวดอ้อนวอนทุกวันสำหรับประสบการณ์ส่วนตัวของเราในงานสอนศาสนา จงสวดอ้อนวอนภายใต้การนำทางของพระองค์ ในเรื่องดังกล่าว ขอให้พระองค์ทรงเตรียมจิตใจของคนที่ โหยหาและค้นหาสิ่งที่ท่านมีสำหรับโอกาสงานสอนศาสนาที่ท่านต้องการ ‘ยังมีอยู่หลายคนบนแผ่นดินโลก … ที่ถูกกีดกั้นไว้จากความจริงเพราะพวกเขาหารู้ ไม่ว่าจะพบได้จากที่ ใด’ [คพ. 123:12] จงสวดอ้อนวอนขอให้เขาได้พบท่าน! และจงตื่นตัวเพราะมีคนมากมายในโลกที่รู้สึกอดอยากในชีวิต ไม่ ใช่อดอยากอาหาร ไม่ ใช่กระหายน้ำ แต่อดฟังพระคำของพระเจ้า [ดู อาโมส 8:11]” (ดู “เป็นพยานฝ่ายเรา,” เลียโฮนา, ก.ค. 2001, หน้า 19)

เพื่อทำตามคำแนะนำของเอ็ลเดอร์ฮอลแลนด์ ท่านอาจสวดอ้อนวอนขอให้พระบิดาบนสวรรค์ทรงช่วยให้ท่านรู้และทำตามโอกาสงานเผยแผ่ศาสนาที่เตรียมไว้ ให้ท่าน เสาะหาโอกาสเชื้อเชิญคนอื่นๆ มาร่วมแบ่งปันพรที่ท่านได้รับในฐานะสมาชิกศาสนจักร

แอลมา 7:1–13

แอลมาสอนผู้คนของกิเดียนเกี่ยวกับการชดใช้ของพระเยซูคริสต์

สมมติว่าท่านกำลังสนทนาเรื่องการกลับใจกับเพื่อนที่เป็นสมาชิกแข็งขันของศาสนจักร เพื่อนๆ คิดว่าพวกเขาไม่เคยทำบาปร้ายแรงและสงสัยว่าพวกเขาจะประสบกับเดชานุภาพแห่งการชดใช้จริงๆ ได้อย่างไร ตรึกตรองว่าท่านจะแบ่งปันอะไรกับเพื่อน จดจำแนวคิดเหล่านี้ขณะที่ท่านศึกษา แอลมา 7:1–13

หลังออกจากเซราเฮ็มลา แอลมาพูดกับผู้คนในเมืองแห่งกิเดียน อ่าน แอลมา 7:3–6 เพื่อดูว่าแอลมาหวังจะพบสภาพทางวิญญาณแบบใดในบรรดาผู้คนในกิเดียน จากนั้นให้อ่าน แอลมา 7:17–19 เพื่อดูว่าความหวังของแอล-มาเป็นจริงหรือไม่ เขียนอธิบายสภาพทางวิญญาณของผู้คนในกิเดียนไว้ที่บรรทัดต่อไปนี้

อ่าน แอลมา 7:7–10 มองหาเหตุการณ์ที่แอลมารู้สึกว่าสำคัญที่สุดที่ผู้คนต้องรู้และสิ่งที่ผู้คนต้องทำเพื่อเตรียมรับเหตุการณ์นั้น

  1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน: ท่านคิดว่าเหตุใดแอลมาจึงบอกคนที่มีศรัทธาแรงกล้าอยู่แล้ว (ดู แอลมา 7:17) ว่าพวกเขาต้องกลับใจเพื่อเตรียมรับการเสด็จมาของพระผู้ช่วยให้รอด (ดู โรม 3:23.)

แอลมาสอนหลักธรรมสำคัญนี้แก่ผู้คนของกิเดียน: พระเยซูคริสต์ทรงทนทุกข์เพื่อช่วยให้เรารอดจากบาปและความตาย และเพื่อช่วยให้เราผ่านพ้นการท้าทายของความเป็นมรรตัย อ่าน แอลมา 7:11–13 ทำเครื่องหมายสภาพต่างๆ ในพระคัมภีร์ที่พระผู้ช่วยให้รอดเต็มพระทัย “รับ” ไว้กับพระองค์เพื่อประโยชน์ของเรา

อาจจะเป็นประโยชน์ถ้ารู้ว่า ความทุพพลภาพ คือความอ่อนแอ ความพิการ หรือโรคภัยไข้เจ็บ—คำนี้ครอบคลุมปัญหาหลายประเภท คำว่าช่วยหมายถึงช่วยในยามยุ่งยากเดือดร้อน รากศัพท์ภาษาลาตินของคำนั้นหมายถึงวิ่งไปช่วยบางคน ซึ่งสื่อถึงความปรารถนาแรงกล้าของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อจะทรงช่วยเรา

ใกล้กับ แอลมา 7:11–13 ในพระคัมภีร์ของท่านหรือในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน ท่านอาจต้องการเขียนคำกล่าวต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์บรูซ ซี. ฮาเฟนผู้รับใช้เป็นสมาชิกสาวกเจ็ดสิบ “การชดใช้ ไม่ ใช่สำหรับคนบาปเท่านั้น” (“Beauty for Ashes: The Atonement of Jesus Christ,” Ensign, Apr. 1990, 7) (แอลมา 7:11–13 เป็นข้อผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายให้ชัดเจนเพื่อจะหาเจอได้ในภายหลัง)

  1. แผนภูมิต่อไปนี้มีคำจาก แอลมา 7:11–13 พูดถึงสภาพที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงรับไว้กับพระองค์ วาดแผนภูมิลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน จากนั้นเลือกคำหลายๆ คำและเขียนตัวอย่างว่าท่านหรือคนรู้จักเคยประสบกับสภาพเหล่านี้อย่างไร ตรึกตรองว่าการให้พระเยซูคริสต์รับสิ่งเหล่านี้ไว้กับพระองค์หมายความว่าอย่างไร

ความเจ็บปวด

ความทุกข์

การล่อลวง

ความป่วยไข้

ความตาย

ความทุพพลภาพ

บาป

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แบ่งปันประจักษ์พยานต่อไปนี้ว่าการชดใช้สามารถยกภาระไปจากเราได้

“ท่านกำลังสู้รบกับปีศาจร้ายแห่งการเสพติดหรือเปล่า—บุหรี่หรือยาเสพติดหรือการพนัน หรือภัยพิบัติร้ายแรงร่วมสมัยของสื่อลามกอนาจาร… ท่านสับสนทางเพศหรือแสวงหาความภาคภูมิ ใจในตนเองหรือเปล่า ท่าน—หรือคนที่ท่านรัก—เผชิญโรคร้ายหรือความซึมเศร้าหรือความตายหรือเปล่า ไม่ว่าท่านจะต้องใช้กระบวนการอื่นใดก็ตามเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ก่อนอื่นจงมาสู่พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ วางใจในคำสัญญาจากสวรรค์ ในเรื่องนี้ประจักษ์พยานของแอลมาคือประจักษ์พยานของข้าพเจ้า ‘พ่อรู้’ ท่านกล่าว ‘ว่าผู้ ใดก็ตามที่มอบความไว้วางใจของพวกเขาในพระผู้เป็นเจ้าจะได้รับการค้ำจุนในความเดือดร้อนของพวกเขา, และความยุ่งยากของพวกเขา และความทุกข์ของพวกเขา’ [แอลมา 36:3]

“การพึ่งพาพระลักษณะอันเมตตาของพระผู้เป็นเจ้าอยู่ที่ ใจกลางพระกิตติคุณซึ่งพระคริสต์ทรงสอน ข้าพเจ้าเป็นพยานว่าการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดไม่เพียงยกภาระบาปไปจากเรา แต่ยกภาระของความผิดหวังและโทมนัสของเราด้วย ความปวดร้าวและความสิ้นหวังของเรา [ดู แอลมา 7:11–12] นับจากกาลเริ่มต้น ความวางใจในความช่วยเหลือเช่นนี้มี ไว้เพื่อให้ทั้งเหตุผลและหนทางแก่เราเพื่อปรับปรุง เป็นแรงจูงใจที่จะวางภาระของเราและรับความรอดของเรา” (ดู “แตกสลายแต่ซ่อมได้,” เลียโฮนา, พ.ค. 2006, หน้า 85–)

  1. เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านเกี่ยวกับความรู้สึกที่ท่านมีต่อพระเยซูคริสต์และสิ่งที่พระองค์ทรงทำเพื่อท่านผ่านการชดใช้ จากนั้นให้ตอบคำถามต่อไปนี้หนึ่งชุดหรือทั้งสองชุด

    1. เมื่อใดที่การชดใช้ช่วยท่านในด้านหนึ่งจากหลายๆ ด้านดังที่แอล-มากล่าวไว้ใน แอลมา 7:11–13 การชดใช้ช่วยท่านอย่างไรในระหว่างนั้น

    2. การชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดจะช่วยท่านแก้ไขการท้าทายที่ท่านเผชิญอยู่ขณะนี้ได้อย่างไร ท่านจะทำอะไรเพื่อพึ่งพาการชดใช้ขณะเผชิญการท้าทายนี้

ภาพ
ไอคอนผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์
ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์—แอลมา 7:11–13

ถึงแม้ แอลมา 7:11–13 จะเป็นข้อผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ที่ยาว แต่มีคำเฉพาะที่สามารถช่วยท่านจดจำขอบเขตและพลังแห่งการชดใช้ ได้ตลอดชีวิตท่าน เพื่อช่วยท่านท่องจำคำสำคัญเหล่านี้ ให้เขียน แอลมา 7:11–13 อีกครั้งในแผ่นกระดาษแยกต่างหาก โดยเว้นคำที่พบในแผนภูมิช่วงต้นบทเรียนนี้ อ่านส่วนที่ท่านเขียนไว้ของพระคัมภีร์ข้อนี้จนกว่าท่านจะเติมคำที่หายไป ได้ โดยไม่ต้องดูพระคัมภีร์ ท่านอาจต้องการทบทวนข้อเหล่านี้ตลอดสองสามวันติดต่อกันเพื่อช่วยให้ท่านจำสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสามารถทำเพื่อท่านและคนอื่นๆ ได้ตลอดชีวิต ทดสอบความเชี่ยวชาญพระคัมภีร์ แอล- มา 7:11–13 โดยท่องออกเสียงให้ตนเองหรือสมาชิกครอบครัวหรือเพื่อนฟังหรือเขียนลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

ภาพ
ผู้ทรงยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาสิ่งทั้งปวง

แอลมา 7:14–27

แอลมากระตุ้นผู้คนให้เดินตามทางสู่อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าต่อไป

อ่าน แอลมา 7:19 เพื่อจดจำว่าแอลมาพูดถึงสภาพทางวิญญาณของผู้คนในกิเดียนอย่างไร แอลมากำลังสอนหลักธรรมสำคัญนี้ โดยดำเนินชีวิตตามหลักธรรมแห่งพระกิตติคุณ เรากำลังเดินตามทางสู่อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า (อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าคืออาณาจักรซีเลสเชียล) ค้นคว้า แอลมา 7:14–16 ขีดเส้นใต้คำและวลีแสดงให้เห็นสิ่งที่เราต้อง ทำ เพื่อเดินตามเส้นทางที่จะนำเราไปสู่อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า จากนั้นให้ค้นคว้า แอลมา 7:22–25 ขีดเส้นใต้คำและวลีแสดงสิ่งที่เราต้อง เป็น เพื่อเดินตามทางนี้

  1. วาดทางเดินในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านจากมุมซ้ายล่างของหน้าขึ้นไปถึงมุมบนขวาของหน้า เขียนตรงล่างสุดของทางเดินว่า ความเป็นมรรตัย และเขียนตรงบนสุดของทางเดินว่า อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า ระหว่างทางให้เขียนสิ่งที่ท่านควร ทำ และสิ่งที่ท่านควร เป็น ซึ่งจะนำท่านไปสู่อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า

  2. เลือกการกระทำหนึ่งอย่างจากทางเดิน และเขียนว่าท่านเคยเห็นคนบางคนทำสิ่งนี้อย่างไร จากนั้นให้เลือกคุณลักษณะอย่างหนึ่งจากทางเดิน และเขียนว่าท่านเคยเห็นคนบางคนเป็นแบบนี้อย่างไร ตั้งเป้าหมายที่จะช่วยท่านปรับปรุงสองด้านนี้เพื่อสักวันหนึ่งท่านจะสามารถเข้าอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าได้

อ่าน แอลมา 7:27 มองหาพรที่แอลมารู้ว่าผู้คนจะได้รับถ้าพวกเขาดำเนินต่อไป ในศรัทธาและงานดี จำไว้ว่าเมื่อท่านเดินตามทางที่นำไปสู่อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าอย่างซื่อสัตย์ ท่านจะได้รับพรเหล่านี้เช่นกัน

  1. เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า

    ฉันได้ศึกษาแอลมา 6–7 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: