เซมินารี
หน่วย 23: วัน 2, ฮีลามัน 11–12


หน่วย 23: วัน 2

ฮีลามัน 11–12

คำนำ

ฮีลามัน 11–12 ครอบคลุมประวัติศาสตร์ชาวนีไฟ 14 ปีและจะเห็นว่าผู้คนกำลังผ่านวัฏจักรของความชอบธรรมและความชั่วร้าย เพราะความจองหองพวกเขาจึงไม่ยอมกลับใจจากความชั่วร้าย นีไฟผนึกฟ้าสวรรค์ โดยทำให้เกิดความแห้งแล้งและความอดอยาก ความแห้งแล้งและความอดอยากทำให้ผู้คนนอบน้อม พวกเขากลับใจและหันมาหาพระเจ้า เพราะผู้คนไม่เลือกที่จะนอบน้อมถ่อมตน พวกเขาจึงเริ่มลืมพระเจ้าพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขาอย่างง่ายดายจนต้องทำให้พวกเขาตระหนักว่าพวกเขาต้องการความช่วยเหลือจากพระองค์มากเพียงใด ในพระเมตตาของพระองค์ พระผู้เป็นเจ้าทรงตีสอนผู้คนเพื่อนำพวกเขามาสู่การกลับใจและความรอด

ฮีลามัน 11

ชาวนีไฟผ่านวัฏจักรของความชอบธรรมและความชั่วร้าย

  1. วาดวัฏจักรของความชอบธรรมและความชั่วร้ายต่อไปนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน วัฏจักรนี้มักจะเรียกว่า “วัฏจักรความจองหอง” สังเกตว่าองค์ประกอบหมายเลข 4 ของวัฏจักรหายไปจากแผนภาพ ท่านคิดว่าจะใช้อะไรยกผู้คนจากความพินาศและความทุกขเวทนาขึ้นสู่ความชอบธรรมและความรุ่งเรือง ขณะที่ท่านศึกษา ฮีลามัน 11 ให้หาข้อมูลเพื่อช่วยท่านเติมวัฏจักรขั้นนี้

    ภาพ
    Rightous Cycle

ขณะที่ท่านอ่านใน ฮีลามัน 10 ผู้คนไม่ยอมฟังพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าที่ ให้ ไว้ โดยศาสดาพยากรณ์นี-ไฟ ทบทวนฮีลามัน 10:18 ระบุว่าท่านคิดว่าชาวนีไฟอยู่จุดใดบนวัฏจักรความจองหองในเวลานั้น (ปลายปีที่ 71 ของการปกครองของผู้พิพากษา)

กิจกรรมพระคัมภีร์ต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านเห็นวัฏจักรของความชอบธรรมและความชั่วร้ายในบรรดาผู้คนสมัยพระคัมภีร์มอรมอนตลอดประวัติศาสตร์ 14 ปีของพวกเขา ในแผนภูมิต่อไปนี้ ให้อ่านพระคัมภีร์อ้างอิงจากฮี-ลามัน 11 เขียนคำอธิบายพอสังเขปเกี่ยวกับสภาพของชาวนีไฟ และเขียนตัวเลขแสดงว่าท่านจะวางภาพนั้นไว้ตรงจุดใดในวัฏจักรความจองหอง มีตัวอย่างให้ ไว้สองตัวอย่าง มองหาคำช่วยท่านเติมในขั้นสี่ที่หายไปบนวัฏจักรที่ท่านวาดไว้ ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

ปีการปกครองของผู้พิพากษา

ฮีลามัน 11

คำอธิบายพอสังเขปเกี่ยวกับสภาพของชาวนีไฟ

ตำแหน่งบนวัฏจักร

72–73

ข้อ 1–2

ความขัดแย้งและสงครามเพิ่มขึ้น กองโจรลับดำเนินงานของการทำลายล้าง

2, 3

73–75

ข้อ 3–6

75

ข้อ 7, 9–12

76–77

ข้อ 17–18, 20–21

ผู้คนชื่นชมยินดีและเฉลิมพระเกียรติพระผู้เป็นเจ้า พวกเขาชอบธรรมและรุ่งเรืองอีกครั้ง

4, 1

78–79

ข้อ 22–23

80

ข้อ 24–26

80–81

ข้อ 27–30, 32–35

82–85

ข้อ 36–37

ดังที่แสดงไว้ ในกิจกรรมพระคัมภีร์ องค์ประกอบ 4 ในวัฏจักรความจองหองคือ “ความอ่อนน้อมถ่อมตนและการกลับใจ” เขียนสิ่งนี้ในแผนภูมิ ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

  1. วัฏจักรความจองหองไม่เพียงเป็นการสะท้อนสังคมเท่านั้น แต่เห็นได้เช่นกันในครอบครัวหรือในชีวิตของแต่ละบุคคล การเข้าใจว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรสามารถช่วยเราหลีกเลี่ยงวัฏจักรนี้ เขียนลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ว่าท่านคิดว่าท่านจำเป็นต้องมีอะไรเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าสู่ช่วง “ความจองหองและความชั่วร้าย” หรือ “ความพินาศและความทุกขเวทนา”ของวัฏจักร

ท่านอาจต้องการเขียนหลักธรรมต่อไปนี้ไว้ ในพระคัมภีร์ของท่านใน ฮีลามัน 11:โดยผ่านความอ่อนน้อมถ่อมตนและการกลับใจ เราสามารถหลีกเลี่ยงความจองหองและความพินาศได้ ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายสิ่งที่นีไฟหวังว่าความอดอยากจะทำเพื่อผู้คนของเขาใน ฮีลามัน 11:4

ตรึกตรองคำตอบของคำถามต่อไปนี้

  • สังคม ครอบครัว หรือบุคคลต้องเจริญรอยตามวัฏจักรความจองหองหรือไม่

  • ท่านคิดว่าสังคม ครอบครัว หรือบุคคลต้องทำอะไรเพื่อหลีกเลี่ยงการติดอยู่ในวัฏจักรความจองหอง

เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนของนีไฟดังนี้ “พระเจ้าทรงได้ยินคำวิงวอนของผู้รับใช้พระองค์ [ ใน ฮีลามัน 11:10–14] และทรงทำให้ความอดอยากยุติ แต่ ไม่ทรงทำเช่นนั้นจนถึงปีต่อมา เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าทรงฟังคำอ้อนวอนของเราทันทีแต่ทรงตอบเมื่อทรงเห็นในพระปรีชาญาณของพระองค์ว่าเราจะได้ประโยชน์มากที่สุดจากคำตอบของพระองค์” (“Nephi, Son of Helaman,” ใน Heroes from the Book of Mormon [1995,] 154)

ประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสันสอนเกี่ยวกับสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อเราจะไม่ถูกดึงเข้าไป ในวัฏจักรความจองหอง

ภาพ
ประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน

“พระผู้เป็นเจ้าจะทรงมีผู้คนที่นอบน้อมถ่อมตน เราจะเลือกถ่อมตนหรือเราจะถูกบังคับให้เป็นคนนอบน้อมถ่อมตนก็ได้ แอล-มากล่าวว่า ‘ความสุขเกิดแก่พวกเขาผู้ซึ่งนอบน้อมถ่อมตนโดยปราศจากการถูกบีบบังคับให้ถ่อมตน.’ (แอลมา 32:16)

“ขอให้เราเลือกถ่อมตน

“เราเลือกถ่อมตนได้ โดยเอาชนะความเป็นอริ [ความเกลียดชัง] ต่อพี่น้องชายหญิงของเรา นับถือพวกเขาเสมือนหนึ่งนับถือตนเอง และยกพวกเขาให้สูงเท่าหรือสูงกว่าเรา …

“เราเลือกถ่อมตนได้ โดยรับคำแนะนำและการตีสอน …

“เราเลือกถ่อมตนได้ โดยให้อภัยคนที่ทำให้เราขุ่นเคือง …

“เราเลือกถ่อมตนได้ โดยให้การรับใช้ที่ ไม่เห็นแก่ตัว …

“เราเลือกถ่อมตนได้ โดยไปทำงานเผยแผ่และสั่งสอนพระวจนะที่สามารถทำให้ผู้อื่นถ่อมตน …

“เราเลือกถ่อมตนได้ โดยไปพระวิหารให้บ่อยขึ้น

“เราเลือกถ่อมตนได้ โดยสารภาพและละทิ้งบาปของเราและเกิดจากพระผู้เป็นเจ้า …

“เราเลือกถ่อมตนได้ โดยรักพระผู้เป็นเจ้า ยอมให้ความประสงค์ของเราเป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์ และให้พระองค์มาเป็นอันดับแรกในชีวิตเรา …

“ขอให้เราเลือกถ่อมตน เราทำได้ ข้าพเจ้าทราบว่าเราทำได้” (“Beware of Pride,Ensign, May 1989, 6–7)

ฮีลามัน 12

มอรมอนอธิบายสาเหตุที่พระเจ้าทรงตีสอนผู้คน

สมมติว่าท่านเป็นศาสดาพยากรณ์มอรมอนและจบการเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาวนีไฟ 14 ปีที่พบใน ฮีลา-มัน 11 ท่านจะเติมข้อความต่อไปนี้ให้ครบถ้วนอย่างไร “และดังนั้นเราจึงเห็น

อ่าน ฮีลามัน 12:1 ระบุสิ่งที่มอรมอนต้องการให้เราเห็น ตรึกตรองสิ่งที่มอรมอนอาจหมายถึงเมื่อพูดถึง “ความรวนเรของใจลูกหลานมนุษย์”

ศึกษา ฮีลามัน 12:2–3 ระบุบทเรียนอื่นที่มอรมอนต้องการให้เราเรียนรู้ เอาใจใส่ ให้มากกับวลี “เราจะเห็น” (ข้อ 2) และ “ดังนั้นเราจึงเห็น” (ข้อ 3)

  1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. ท่านคิดว่าเหตุใดคนที่กำลังรุ่งเรืองจึงลืมพระเจ้าง่ายมาก

    2. ตัวอย่างอะไรบ้างของความสบายและความรุ่งเรืองในสมัยของเราที่อาจชักนำเราให้ลืมพระผู้เป็นเจ้า

    3. สถานการณ์ใดบ้างที่ท่านรับรู้ว่าบุคคลหรือกลุ่มคนลืมพระเจ้าเมื่อพวกเขากำลังรุ่งเรือง

บทเรียนบางบทที่มอรมอนต้องการให้ผู้อ่านเรียนรู้คือ ถ้าเราไม่ระวัง ความรุ่งเรืองของเราสามารถชักนำเราให้ลืมพระเจ้าได้ และ พระเจ้าทรงตีสอนผู้คนของพระองค์เพื่อปลุกเร้าพวกเขาให้ระลึกถึงพระองค์

ภาพ
เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่าเหตุใดพระเจ้าทรงตีสอนเรา

“แม้ว่าจะอดทนได้ยาก แต่จริงแล้วเราควรดีใจที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเห็นว่าเรามีค่าควรแก่เวลาและความยุ่งยากที่พระองค์จะทรงแก้ไขเรา …

“การตีสอนจากเบื้องบนมีจุดประสงค์อย่างน้อยสามประการ คือ (1) ชักชวนให้เรากลับใจ (2) ขัดเกลาและชำระเราให้บริสุทธิ์ และ (3) บางครั้งเพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิตเราไป ในทางที่พระผู้เป็นเจ้าทรงทราบว่าดีกว่า” (“เรารักผู้ ใดเราก็ตักเตือนและตีสอนผู้นั้น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2011, 122)

ท่านรู้สึกว่าจุดประสงค์ ใดสะท้อนเจตนาของพระเจ้าในการตีสอนชาวนีไฟและชาวเลมันใน ฮีลามัน 11–12 พระองค์ทรงใช้การตีสอนในชีวิตท่านเพื่อจุดประสงค์ใด

  1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. อ่าน ฮีลามัน 12:4–6 มองหาคำบรรยายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคนที่ลืมพระผู้เป็นเจ้า เจตคติส่วนตัวอะไรบ้างที่ขัดขวางบุคคลไม่ให้ระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า

    2. อ่าน ฮีลามัน 12:7–13 เหตุใดมอรมอนจึงกล่าวว่า “ลูกหลานมนุษย์ … เล็กน้อยกว่าผงธุลีของแผ่นดินโลก” ผงธุลีทำอะไรที่บางครั้งผู้คนไม่เต็มใจทำ

ภาพ
พระเยโฮวาห์ทรงสร้างแผ่นดินโลก
ภาพ
ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธ

ประธานโจเซฟ ฟิลดิงก์ สมิธสอนว่า “ศาสดาพยากรณ์ท่านนี้ [มอรมอน] มิได้มีเจตนาจะพูดว่าพระเจ้าทรงเป็นห่วงและทรงรักผงธุลีของแผ่นดินโลกมากกว่าบุตรธิดาของพระองค์ … ประเด็นที่พระองค์ทรงหมายถึงคือผงธุลีของแผ่นดินโลกเชื่อฟัง มันเคลื่อนไปทางโน้นและทางนี้ตามพระบัญชาของพระเจ้า สรรพสิ่งประสานสอดคล้องกับกฎของพระองค์ ทุกอย่างในจักรวาลเชื่อฟังกฎที่ ให้ ไว้ เท่าที่ข้าพเจ้ารู้ ยกเว้นมนุษย์ ทุกแห่งที่ท่านมองดูท่านพบกฎและระเบียบ ธาตุต่างๆ เชื่อฟังกฎที่ ให้ ไว้ ซื่อตรงต่อการเรียก แต่มนุษย์กบฏ และในเรื่องนี้มนุษย์เล็กน้อยกว่าผงธุลีของแผ่นดินโลกเพราะมนุษย์ปฏิเสธคำแนะนำของพระเจ้า” ( ใน Conference Report, Apr. 1929, 55)

มอรมอนเข้าใจว่าคนที่อยากให้พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้นำทางพวกเขายิ่งใหญ่กว่าผงธุลีของแผ่นดินโลก การเปรียบเทียบของเขาคือเพื่อดึงความสนใจมาที่คนจองหองและไม่ยอมรับสุรเสียงของพระเจ้าและผู้มีใจรวนเร ดังบันทึกไว้ ใน ฮีลามัน 12:9–20 มอรมอนเตือนเราให้นึกถึงเดชานุภาพอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าเหนือวัตถุธาตุ—ทั้งหมดเคลื่อนไปตามพระบัญชาของพระองค์ ใช้เวลาสักครู่ ไตร่ตรองระดับการเชื่อฟังที่ท่านมีต่อพระบัญญัติของพระเจ้า ความเต็มใจเชื่อฟังพระบัญญัติของพระองค์แสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนของท่านอย่างไร การใช้สิทธิ์เสรีของเราไม่เชื่อฟังพระวจนะของพระองค์แสดงถึงความจองหองของเราอย่างไร

  1. เขียนและเติมข้อความวลีต่อไปนี้ให้ครบถ้วนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. และดังนั้นข้าพเจ้าจึงเห็นใน ฮีลามัน 11–12 …

    2. ฉะนั้น ข้าพเจ้าจะ …

เมื่อเราระลึกถึงพระเจ้า สดับฟังสุรเสียงของพระองค์ และกลับใจ เท่ากับเราแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนและศรัทธาที่เรามีต่อพระองค์ ในทางกลับกัน พระองค์ทรงรักษาสัญญาว่าจะประทานพรและทำให้เรารุ่งเรือง โดยประทานชีวิตนิรันดร์แก่เราในท้ายที่สุด

  1. เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า:

    ฉันได้ศึกษาฮีลามัน 11–12 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: