เซมินารี
หน่วย 18: วัน 3, แอลมา 31


หน่วย 18: วัน 3

แอลมา 31

คำนำ

แอลมาเรียนรู้ว่ากลุ่มคนที่แตกแยกจากชาวนีไฟเรียกว่าชาวโซรัมได้หันเหออกจากความจริงของพระกิตติคุณ โดยที่เสียใจกับรายงานความชั่วร้ายเหล่านี้แอลมาจึงพาคนอื่นๆ ไปสอนพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าแก่ชาวโซ-รัม พวกเขาเห็นพิธีนมัสการแบบผู้ละทิ้งความเชื่อและความจองหองของชาวโซรัม แอลมาสวดอ้อนวอนอย่างจริงจังขอให้เขากับเพื่อนๆ พบการปลอบโยนและความสำเร็จในการนำชาวโซรัมกลับมาหาพระเจ้า

แอลมา 31:1–7

แอลมากับเพื่อนๆ สั่งสอนพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าแก่ชาวโซรัมผู้ละทิ้งความเชื่อ

สมมติว่าท่านมีเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัวที่เริ่มจะหันเหออกจากพระกิตติคุณหรือไม่ดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณอย่างเต็มที่เท่าที่เขาทำได้ ให้คิดหาคำตอบของคำถามต่อไปนี้

  • ท่านจะทำอะไรเพื่อช่วยให้บุคคลนี้กลับมาสู่ศาสนจักรและปรารถนาจะรักษาพระบัญญัติ

  • ท่านจะหันไปขอความช่วยเหลือจากใครในการแก้ ไขปัญหาและความเข้าใจผิดของบุคคลนี้

บทเรียนนี้เน้นวิธีที่แอลมาและคนอื่นๆ พยายามช่วยคนกลุ่มหนึ่งที่หันเหออกจากความจริงของพระกิตติคุณ อ่าน แอลมา 31:1–2 แอลมารู้สึกอย่างไรเมื่อเขาได้ยินเกี่ยวกับสิ่งที่ชาวโซรัมทำอยู่

อ่าน แอลมา 31:3–4 ค้นหาว่าเหตุใดชาวนีไฟจึงเริ่มกลัวเพราะการกระทำของชาวโซรัม

ขณะนึกถึงสิ่งที่ท่านเรียนรู้ ในระหว่างศึกษาพระคัมภีร์มอรมอน ท่านคิดว่าอะไรจะช่วยกระตุ้นชาวโซรัมให้กลับใจและกลับมาสู่ความจริงของพระกิตติคุณ อ่าน แอลมา 31:5 ระบุสิ่งที่แอลมารู้ว่าจะเป็นวิธี ได้ผลที่สุดในการเรียกชาวโซรัมกลับคืน

  1. จดลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า ท่านคิดว่าเหตุใดพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าจึงมีพลังในการช่วยให้ผู้คนเปลี่ยนแปลงมากกว่าใช้วิธีบังคับหรือวิธีอื่น

ไตร่ตรองคำกล่าวต่อไปนี้จากประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์ ประธานโควรัมอัครสาวกสิบสองเกี่ยวกับเดชานุภาพแห่งพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า

“หลักคำสอนที่แท้จริง ถ้าเข้าใจ จะเปลี่ยนเจตคติและพฤติกรรม

ภาพ
ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์

“การศึกษาหลักคำสอนของพระกิตติคุณจะปรับปรุงพฤติกรรมเร็วกว่าการศึกษาพฤติกรรมจะปรับปรุงพฤติกรรม การให้จิตใจหมกมุ่นกับพฤติกรรมที่ ไม่คู่ควรสามารถนำไปสู่พฤติกรรมที่ ไม่คู่ควร นั่นคือสาเหตุที่เราเน้นอย่างจริงจังมากให้ศึกษาหลักคำสอนของพระกิตติคุณ” (“Little Children,” Ensign, Nov. 1986, 17)

จาก แอลมา 31:5 และคำกล่าวของประธานแพคเกอร์ จงเติมหลักธรรมต่อไปนี้ให้ ได้ ใจความ: เมื่อฉันศึกษาพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า พระวจนะนั้นจะนำฉันให้.

คำตอบหนึ่งที่ท่านอาจจะใช้เติมหลักธรรมข้างต้นคือ: เมื่อฉันศึกษาพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า พระวจนะนั้นจะนำฉันให้ทำสิ่งถูกต้อง

  1. ไตร่ตรองประสบการณ์ที่ท่านมีกับพระคัมภีร์และการได้ฟังพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า เขียนเกี่ยวกับเวลาที่พระวจนะของพระผู้เป็นเจ้านำท่าน ครอบครัวท่านหรือเพื่อนๆ ให้ทำสิ่งถูกต้อง

แอลมา 31:8–23

ชาวโซรัมสวดอ้อนวอนและนมัสการผิดวิธี

แอลมาและคนอีกเจ็ดคนไปสั่งสอนพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าแก่ชาวโซรัม เมื่อพวกเขามาถึงพวกเขาสังเกตเห็นชาวโซรัมนมัสการพระผู้เป็นเจ้าด้วยวิธีที่น่าฉงน อะไรเข้ามาในความคิดเมื่อท่านนึกถึงคำว่า นมัสการ

นมัสการหมายถึงวิธีที่เราแสดงความรัก ความคารวะ และความภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า นมัสการมักรวมถึงการกระทำต่างๆ ด้วยเช่น การสวดอ้อนวอน อดอาหาร และการเข้าร่วมพิธีศาสนจักร อย่างไรก็ตาม การนมัสการที่แท้จริงเกี่ยวข้องกับใจเสมอ อ่าน แอลมา 31:8–11 ระบุแล้วทำเครื่องหมายคำและวลีที่พูดถึงการนมัสการของชาวโซรัม

อาจเป็นประโยชน์ถ้ารู้ว่า “การปฏิบัติของศาสนจักร” (แอลมา 31:10) เกี่ยวข้องกับ “ศาสนพิธี” เช่น การพลีบูชาที่เรียกร้องให้ทำในสมัยนั้นอันเป็นส่วนหนึ่งของกฎของโมเสสหรือศีลระลึกในสมัยของเรา ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายเหตุผลประการหนึ่งใน แอลมา 31:10 ที่เราควรนมัสการและสวดอ้อนวอนทุกวัน

ภาพ
ครอบครัวกำลังสวดอ้อนวอน

ท่านอาจจะเขียนหลักธรรมนี้ไว้ตรงช่องว่างริมหน้าพระคัมภีร์ของท่านใกล้กับ แอลมา 31:9–11: การพยายามสวดอ้อนวอนและรักษาพระบัญญัติทุกวันเสริมกำลังเราต่อต้านการล่อลวง

เอ็ลเดอร์รูลอน จี. คราเวน ขณะรับใช้เป็นสมาชิกสาวกเจ็ดสิบ ได้เน้นความสำคัญของการนมัสการส่วนตัวทุกวันเหมือนเป็นการป้องกันการล่อลวงและความผิดพลาด “ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาบางครั้งเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ ใหญ่ ได้ขอให้ข้าพเจ้าไปพบกับสมาชิกที่กลับใจของศาสนจักรและสัมภาษณ์พวกเขาเพื่อฟื้นฟูพรพระวิหาร นี่มักจะเป็นประสบการณ์อันน่าตื้นตันทางวิญญาณของการฟื้นฟูพรให้แก่คนที่ยอดเยี่ยมเหล่านั้นผู้กลับใจแล้ว ข้าพเจ้าได้ถามพวกเขาบางคนว่า ‘เกิดอะไรขึ้นในชีวิตคุณที่ทำให้คุณสูญเสียการเป็นสมาชิกในศาสนจักรชั่วคราว พวกเขาตอบด้วยน้ำตาคลอเบ้าว่า ‘ผมไม่เชื่อฟังหลักธรรมพื้นฐานของพระกิตติคุณ อาทิ การสวดอ้อนวอน การไป โบสถ์เป็นประจำ การรับใช้ ในศาสนจักรและศึกษาพระกิตติคุณ ผมจึงยอมต่อการล่อลวงและสูญเสียการนำทางของพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์” (ดู “การล่อลวง,” เลียโฮนา, ก.ค. 1996, 94)

คำกล่าวของเอ็ลเดอร์คราเวนสนับสนุนความจริงที่พบใน แอลมา 31:9–11 อย่างไร

อ่าน แอลมา 31:12–23 และนึกภาพว่าจะเป็นอย่างไรถ้าได้ยินชาวโซรัมสวดอ้อนวอนจากหอสูงของพวกเขา ตรึกตรองคำตอบของคำถามต่อไปนี้

  • ท่านจะมีข้อกังวลอะไรหากท่านได้ยินคนบางคนสวดอ้อนวอนในลักษณะนี้

  • ชาวโซรัมท่องหลักคำสอนเท็จอะไรบ้างในคำสวดอ้อนวอนของพวกเขา

  • พวกเขามีเจตคติเช่นไรต่อคนอื่นๆ (สังเกตว่า พวกข้าพระองค์ ปรากฏกี่ครั้งในคำสวดอ้อนวอนของชาวโซรัม)

หลังจากแต่ละคนกล่าวซ้ำคำสวดอ้อนวอนเดียวกันแล้ว “พวกเขาก็กลับไปบ้าน, ไม่เคยพูดถึงพระผู้เป็นเจ้าของตนอีกเลยจนกว่าจะมาชุมนุมกันอีกที่แท่นศักดิ์สิทธิ์” (แอลมา 31:23)

  1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. อะไรคืออันตรายบางอย่างของการนมัสการ สวดอ้อนวอน และพูดถึงพระผู้เป็นเจ้าเพียงสัปดาห์ละครั้ง

    2. เราสามารถนมัสการพระผู้เป็นเจ้าด้วยวิธีใดบ้างตลอดสัปดาห์

เจตคติของเราสำคัญเช่นกันเมื่อเรานมัสการ อ่านคำกล่าวต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองว่าเจตคติของเราส่งผลต่อการนมัสการของเราอย่างไร

“การนมัสการมักหมายรวมถึงการกระทำด้วย แต่การนมัสการที่แท้จริงจะเกี่ยวข้องกับเจตคติเสมอ

ภาพ
เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์

“เจตคติของการนมัสการก่อให้เกิดความรู้สึกลึกซึ้งที่สุดของความภักดี ความเลื่อมใส และความเกรงขาม การนมัสการผสมผสานความรักกับความคารวะไว้ ในสภาพของการอุทิศตนซึ่งดึงวิญญาณเราให้ ใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น” (Pure in Heart [1988], 125)

  1. เขียนลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าท่านเชื่อว่าท่านกำลังทำดีเพียงใดในการนมัสการ รวมถึงเจตคติของท่านในประเภทต่อไปนี้ (ก) การสวดอ้อนวอนส่วนตัวทุกวัน (ข) การศึกษาพระคัมภีร์ส่วนตัวทุกวัน (ค) การเชื่อฟังพระบัญญัติ และ (ง) การเข้าร่วมการประชุมของศาสนจักรและการรับส่วนศีลระลึกทุกสัปดาห์ ตั้งเป้าหมายปรับปรุงการนมัสการประจำวันของตัวท่าน ท่านอาจต้องการบอกเป้าหมายของท่านกับบิดามารดา ผู้นำ หรือเพื่อนเพื่อเขาจะสามารถให้กำลังใจท่านได้ตลอดสัปดาห์ที่จะมาถึง

แอลมา 31:24–38

แอลมาสวดอ้อนวอนขอพละกำลังและความสำเร็จให้ผู้สอนศาสนาในการนำชาวโซรัมกลับมาหาพระเจ้า

หลังจากเห็นการนมัสการแบบผู้ละทิ้งความเชื่อของชาวโซรัมแล้ว แอลมาสวดอ้อนวอนพระเจ้า อ่าน แอลมา 31:30–35 และดูว่าการสวดอ้อนวอนของแอลมาแตกต่างจากการสวดอ้อนวอนของชาวโซรัมอย่างไร

  1. เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับวิธีสวดอ้อนวอนจากการเปรียบเทียบการสวดอ้อนวอนของแอลมากับการสวดอ้อนวอนของชาวโซ-รัม บันทึกเช่นกันว่าแบบอย่างการสวดอ้อนวอนอันชอบธรรมของแอลมาสามารถมีอิทธิพลต่อการสวดอ้อนวอนส่วนตัวของท่านอย่างไร

อ่าน แอลมา 31:36–38 มองหาพรที่มาถึงแอลมาและเพื่อนๆ เมื่อพวกเขาได้รับพรฐานะปุโรหิตและสั่งสอนพระกิตติคุณ สังเกตประโยคที่ว่า “ท่านเอามือของท่านตบลงบนคนทั้งหมดที่อยู่กับท่าน” (แอลมา 30:36) หมายถึงการวางมือ

ประสบการณ์ของแอลมาและเพื่อนๆ สอนหลักธรรมนี้ ถ้าเราสวดอ้อนวอนและกระทำในศรัทธา พระเจ้าจะทรงเพิ่มพละกำลังให้เราในการทดลองของเรา

ภาพ
แอลมาและคนอื่นๆ สวดอ้อนวอน

หลังจากสวดอ้อนวอน แอลมาและเพื่อนๆ แสดงศรัทธาโดยไปทำงานและวางใจให้พระเจ้าทรงจัดหาให้พวกเขาขณะพวกเขารับใช้พระองค์และบุตรธิดาของพระองค์ มองหาวิธีที่ท่านจะสามารถทำตามแบบอย่างการสวดอ้อนวอนในศรัทธาของแอลมา

  1. เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า

    ฉันได้ศึกษาแอลมา 31 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: