เซมินารี
หน่วย 27: วัน 1, 3 นีไฟ 23


หน่วย 27: วัน 1

3 นีไฟ 23

คำนำ

หลังจากอ้างถ้อยคำของอิสยาห์ พระเยซูคริสต์ทรงบัญชาชาวนีไฟ ให้ค้นคว้าถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ พระผู้ช่วยให้รอดทรงตำหนิชาวนีไฟเพราะไม่ขยันหมั่นเพียรในการจดบันทึกของพวกเขา

3 นีไฟ 23:1–5

พระเยซูคริสต์ทรงบัญชาผู้คนให้ค้นคว้าถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์

ไตร่ตรองประสบการณ์ของท่านกับการศึกษาพระคัมภีร์ในช่วงปีที่ผ่านมา เขียนข้อความสองสามคำหรือวลีสั้นๆ บรรยายพรที่เข้ามาในชีวิตท่านอันเป็นผลจากการที่ท่านศึกษาพระคัมภีร์

ขณะมองดูรายการที่ท่านเขียน ให้พิจารณาว่าพรเหล่านี้จะสอนอะไรท่านเกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษาพระคัมภีร์

หลังจากอ้างคำสอนบางเรื่องของอิสยาห์ (ดู 3 นีไฟ 22) พระผู้ช่วยให้รอดทรงบัญชาผู้คนให้ค้นคว้าถ้อยคำของอิสยาห์และเหล่าศาสดาพยากรณ์อย่างขยันหมั่นเพียร อ่าน 3 นีไฟ 23:1–5 ระบุ สาเหตุ ที่พระผู้ช่วยให้รอดตรัสว่าเราควรค้นคว้าถ้อยคำของอิสยาห์และเหล่าศาสดาพยากรณ์ ท่านอาจทำเครื่องหมายคำและวลีที่จะช่วยท่านจดจำสิ่งที่เรียนรู้

เหตุผลข้อหนึ่งที่เราได้รับบัญชาให้ศึกษาถ้อยคำของอิส-ยาห์คือเพราะ “เขาพูดไว้ ในทุกเรื่องอย่างแน่นอนเกี่ยวกับผู้คน [แห่งพันธสัญญาของพระเจ้า] ซึ่งเป็นของเชื้อสายแห่งอิสราเอล” (3 นีไฟ 23:2) เพราะท่านได้ทำพันธ-สัญญาไว้กับพระเจ้า ท่านจึงเป็นส่วนหนึ่งของเชื้อสายแห่งอิสราเอล งานเขียนของอิสยาห์เกี่ยวข้องกับท่าน อีกเหตุผลหนึ่งที่เราควรศึกษาถ้อยคำของอิสยาห์คือเพราะถ้อยคำเหล่านั้นจะเกิดสัมฤทธิผล (ดู 3 นีไฟ 23:3)

สังเกตใน 3 นีไฟ 23:1 ว่าพระเยซูคริสต์ทรงบัญชาชาวนีไฟเป็นพิเศษให้ “ค้นหา [ถ้อยคำของอิสยาห์] อย่างขยันหมั่นเพียร”

  1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. ท่านคิดว่าอะไรคือความแตกต่างระหว่างการอ่านถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์กับการค้นคว้าถ้อยคำเหล่านั้นอย่างขยันหมั่นเพียร

    2. วิธีศึกษาพระคัมภีร์วิธีใดสามารถช่วยให้ท่านค้นคว้าถ้อยคำของอิสยาห์และเหล่าศาสดาพยากรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความหมาย (ท่านอาจต้องการทบทวนบทเรียนหน่วย 1: วัน 1 “การศึกษาพระคัมภีร์” เพื่อจะจำความช่วยเหลือที่สำคัญบางอย่างในการศึกษาพระคัมภีร์)

เอ็ลเดอร์เมอร์ริลล์ เจ. เบทแมน สมาชิกเกียรติคุณแห่งสาวกเจ็ดสิบ กล่าวถึงพรบางอย่างที่เข้ามาในชีวิตเราเมื่อเราค้นคว้าถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ “มีพรแน่ชัดที่ได้มาเมื่อคนๆ หนึ่งค้นคว้าพระคัมภีร์ เมื่อบุคคลหนึ่งศึกษาพระดำรัสของพระเจ้าและเชื่อฟัง เขาจะใกล้ชิดพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นและเกิดความปรารถนามากขึ้นที่จะดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรม พลังต่อต้านการล่อลวงจะเพิ่มขึ้น และเขาจะเอาชนะความอ่อนแอทางวิญญาณ บาดแผลทางวิญญาณได้รับการเยียวยา” (“Coming unto Christ by Searching the Scriptures,” Ensign, Nov. 1992, 28)

อ่าน 3 นีไฟ 23:5 มองหาคำสัญญาที่พระผู้ช่วยให้รอดประทานแก่เราทุกคนถ้าเราศึกษาและปฏิบัติตามคำเชื้อเชิญในพระคัมภีร์

  1. สมมติท่านมีเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัวคนหนึ่งที่ไม่อยากศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจำ ใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้ใน 3 นีไฟ 23:1–5 เขียนสิ่งที่ท่านจะพูดเพื่อกระตุ้นบุคคลนี้ให้ศึกษาถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์อย่างขยันหมั่นเพียรและมีประสบการณ์ที่มีความหมายกับพระคัมภีร์

3 นีไฟ 23:6–14

พระเยซูคริสต์ทรงตำหนิเหล่าสานุศิษย์ของพระองค์เพราะไม่บันทึกเหตุการณ์สำคัญ

อ่านคำกล่าวต่อไปนี้จากประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์

ภาพ
ประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์

“พระเจ้าพระเยซูคริสต์พระองค์เองทรงเน้นความสำคัญยิ่งของการจดบันทึกกับชาวนีไฟและชาวเลมัน [ดู 3 นีไฟ 23:6–13] …

“ข้าพเจ้าดี ใจที่ข้าพเจ้าจะไม่ถูกตำหนิติเตียน แม้อย่างนุ่มนวลและอ่อนโยน เพราะไม่ทำตามข้อผูกมัดในการจดบันทึกของข้าพเจ้าจนถึงปัจจุบัน …

“… จำไว้ว่า พระผู้ช่วยให้รอดทรงตำหนิคนที่ ไม่บันทึกเหตุการณ์สำคัญๆ” (“The Angels May Quote from It,” New Era, Feb. 2003, 32, 34–35)

ส่วนที่เหลือของ 3 นีไฟ 23 ประกอบด้วยเรื่องราวที่ประธานคิมบัลล์พูดถึง เมื่อพระผู้ช่วยให้รอดทรงตำหนิชาวนีไฟเพราะไม่รวมเหตุการณ์สำคัญบางอย่างไว้ ในบันทึกของพวกเขา อ่าน 3 นีไฟ 23:6–11 ระบุสิ่งที่ชาวนีไฟ ไม่ ได้บันทึก ท่านคิดว่าเหตุใดจึงสำคัญที่ชาวนีไฟต้องบันทึกสัมฤทธิผลแห่งคำพยากรณ์นี้ที่แซมิวเอลชาวเลมันกล่าวไว้ การมีบันทึกดังกล่าวในพระคัมภีร์มอรมอนช่วยเราในสมัยของเราอย่างไร

  1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน เหตุใดจึงสำคัญที่ท่านต้องจดเหตุการณ์ทางวิญญาณและการกระตุ้นเตือนที่เกิดขึ้นในชีวิตท่าน

ถ้ามีเหตุการณ์ทางวิญญาณเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ในชีวิตแต่ท่านไม่ ได้บันทึกไว้ ท่านอาจจะเขียนลงในบันทึกส่วนตัวของท่านตอนนี้ สมุดจดง่ายๆ หรือกระดาษสมุดฉีกก็พอใช้จดบันทึกส่วนตัวได้ อ่าน 3 นีไฟ 23:12–14 มองหาสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำหลังจากชาวนีไฟเชื่อฟังพระบัญญัติ ให้จดสัมฤทธิผลแห่งคำพยากรณ์ของแซมิวเอลชาวเลมัน

พระผู้ช่วยให้รอด “ทรงอรรถาธิบายพระคัมภีร์รวมกันทั้งหมด” ซึ่งหมายความว่าพระองค์ทรงอธิบายความหมายของพระคัมภีร์

อ่าน 3 นีไฟ 24:1 สังเกตความคล้ายคลึงระหว่างส่วนแรกของข้อนี้กับสิ่งที่เกิดขึ้นใน 3 นีไฟ 23:12–14 สังเกตว่าหลังจากชาวนีไฟบันทึกสิ่งที่พระเยซูคริสต์ทรงสอนพวกเขาแล้ว พระองค์ประทานความรู้และการเปิดเผยแก่พวกเขามากขึ้นโดยทรงอรรถาธิบายเรื่องเหล่านั้น

ใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้จาก 3 นีไฟ 23:6–14 เติมหลักธรรมต่อไปนี้ให้ครบถ้วน เมื่อฉันจดการกระตุ้นเตือนและเหตุการณ์ศักดิ์สิทธิ์ ฉันเชื้อเชิญ.

ถ้อยคำส่วนหนึ่งที่ท่านอาจจะใช้เติมหลักธรรมข้างต้นคือ เมื่อฉันจดการกระตุ้นเตือนและเหตุการณ์ศักดิ์สิทธิ์ ฉันเชื้อเชิญพระเจ้าให้ประทานการเปิดเผยแก่ฉันมากขึ้น

เพื่อเข้าใจความจริงที่ท่านเรียนรู้อย่างถ่องแท้มากขึ้น ให้อ่านคำกล่าวสองย่อหน้าต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์ริ-ชาร์ด จี. สก็อตต์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง

ภาพ
เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์

“ความรู้ที่บันทึกอย่างละเอียดคือความรู้ที่ใช้ประโยชน์ ได้ ในยามจำเป็น ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนทางวิญญาณควรเก็บไว้ ในที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อสื่อสารกับพระเจ้าว่าท่านเห็นคุณค่าเพียงใด การปฏิบัติเช่นนั้นเพิ่มโอกาสให้ท่านได้รับความสว่างมากขึ้น” (“Acquiring Spiritual Knowledge,” Ensign, Nov. 1993, 88)

“จดเรื่องสำคัญๆ ที่ท่านเรียนรู้จากพระวิญญาณไว้ในที่ปลอดภัย ท่านจะพบว่าเมื่อท่านจดความประทับใจอันมีค่า ความประทับใจนั้นจะเกิดบ่อยขึ้น อีกทั้งความรู้ที่ท่านได้รับจะใช้ประโยชน์ได้ตลอดชีวิตท่าน” (“To Acquire Knowledge and the Strength to Use It Wisely,” Ensign, June 2002, 32)

  1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. ท่านคิดว่าเหตุใดการจดการเปิดเผยที่เราได้รับจากพระเจ้าจึงอาจช่วยให้เราได้รับการเปิดเผยมากขึ้น

    2. การใช้เวลาเขียนเกี่ยวกับอิทธิพลของพระเจ้าในชีวิตเราจะช่วยให้เราสำนึกคุณต่อพรของเราและแสดงความกตัญญูต่อพระองค์ได้อย่างไร

ท่านอาจจะกังวลว่าท่านไม่เคยมีประสบการณ์พิเศษหรือศักดิ์สิทธิ์ที่พอจะบันทึกได้ เอ็ลเดอร์จอห์น เอช. โกรเบิร์ก สมาชิกเกียรติคุณแห่งสาวกเจ็ดสิบ กล่าวถึงความกังวลนี้ว่า “บางคนกล่าวว่า ‘ฉันไม่มีอะไรจะบันทึก ไม่มีเรื่องทางวิญญาณเกิดขึ้นกับฉัน’ ข้าพเจ้ากล่าวว่า ‘จงเริ่มบันทึก และเรื่องทางวิญญาณจะเกิดขึ้น เรื่องทางวิญญาณมีอยู่ตลอดเวลา แต่เราจะรู้สึกไวมากขึ้นต่อเรื่องเช่นนั้นเมื่อเราเขียน’” (“Writing Your Personal and Family History,” Ensign, May 1980, 48)

ท่านสามารถเริ่มประยุกต์ ใช้สิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับการบันทึกประสบการณ์ทางวิญญาณโดยพกแผ่นกระดาษ สมุดจด หรือบันทึกส่วนตัวสำหรับสัปดาห์หน้า บันทึกการกระตุ้นเตือน ความประทับใจ ประสบการณ์ หรือความรู้สึกที่ท่านมีตลอดสัปดาห์ บันทึกด้วยว่าท่านรู้สึกว่าต้องทำตามการกระตุ้นเตือนที่ท่านได้รับอย่างไร หลังจากท่านพยายามทำตามนี้แล้ว ให้เขียนประสบการณ์ของท่าน

บอกบางคน (สมาชิกครอบครัว เพื่อน หรือผู้นำศาสนจักร) เกี่ยวกับแผนการจดบันทึกประสบการณ์ทางวิญญาณของท่าน ท่านอาจจะเชิญบุคคลนี้ร่วมทำด้วยโดยบันทึกประสบการณ์ทางวิญญาณของเขา การเชิญชวนอีกคนให้ทำโครงการนี้กับท่านจะส่งเสริมและรายงานความก้าวหน้าของท่านให้กันได้ อย่างไรก็ดี ท่านควรจำไว้ว่าไม่จำเป็นต้อง—และอาจไม่สมควร—เล่าประสบการณ์ศักดิ์สิทธิ์ของท่านให้กันฟัง

  1. เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า:

    ฉันได้ศึกษา 3 นีไฟ 23 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: