เซมินารี
หน่วย 26: วัน 2, 3 นีไฟ 18


หน่วย 26: วัน 2

3 นีไฟ 18

คำนำ

ขณะพระเยซูคริสต์ทรงยุติการปฏิบัติศาสนกิจวันแรก ในบรรดาชาวนีไฟ พระองค์ทรงปฏิบัติศีลระลึกและทรงบัญชาผู้คนให้สวดอ้อนวอนพระบิดาเสมอและขยายมิตรภาพให้คนทั้งปวง พระผู้ช่วยให้รอดทรงสัญญาพรมากมายกับคนที่รักษาพระบัญญัติเหล่านี้ จากนั้นพระองค์ประทานคำแนะนำแก่สานุศิษย์ชาวนี-ไฟสิบสองคนเกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนกิจของพวกเขาในศาสนจักร ก่อนเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ พระองค์ประทานอำนาจให้พวกเขามอบของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์

3 นีไฟ 18:1–14

พระเยซูคริสต์ทรงปฏิบัติศีลระลึกให้ชาวนีไฟ

อ่านเรื่องเล่าต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์เจอรัลด์ เอ็น. ลันด์ผู้เคยรับใช้เป็นสมาชิกสาวกเจ็ดสิบ และจินตนาการว่าจะเป็นอย่างไรถ้าท่านเป็นชายในเรื่องนี้

“ ไม่นานมานี้มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการปีนเขา [มีอยู่] เรื่องหนึ่งที่ ให้คำตอบดีมากของคำถามที่ว่า ‘เราจะทำอะไรได้บ้างในฐานะผู้รับใช้ที่ ไม่สมค่าเพื่อทดแทนสิ่งที่พระคริสต์ทรงทำเพื่อเรา’

“บทความเป็นเรื่องเกี่ยวกับชายคนหนึ่งชื่อเซนคุชผู้เปิดโรงเรียนสอนปีนเขา … เซนคุชกำลังอธิบายเรื่องระบบล็อคเชือกในการปีนเขากับผู้สัมภาษณ์คนหนึ่ง นี่เป็นระบบที่นักปีนเขาใช้ป้องกันตัวไม่ ให้ตกเขา นักปีนเขาคนหนึ่งจะอยู่ ในตำแหน่งที่ปลอดภัยและเอาเชือกมัดติดกับนักปีนเขาอีกคนโดยปกติจะมัดรอบตัวเขา ‘คุณถูกล็อคไว้แล้ว’ หมายความว่า ‘คุณกับผมผูกติดกันแล้ว ถ้าเกิดอะไรขึ้น ผมจะกันไม่ ให้คุณตก’ นี่เป็นส่วนสำคัญของการปีนเขา ตอนนี้ลองสังเกตสิ่งที่อยู่ต่อจากนั้นในบทความ ‘การล็อคเชือกทำให้เซนคุชมีช่วงเวลาดีที่สุดและแย่ที่สุดในการปีนเขา เซนคุชเคยตกจากหน้าผาสูง ทำให้หมุดสามตัวหลุดและดึงตัวล็อคเชือกของเขาออกจากชั้นหิน [ดอน] คนที่ผูกเชือกติดกับเขาออกแรงดึงเขาสุดแขนเพื่อกันเขาไม่ ให้ตก เขาจึงอยู่ ในท่าห้อยหัวลง สูงจากพื้น 10 ฟุต “ดอนช่วยชีวิตผม” เซนคุชกล่าว “คุณตอบแทนเพื่อนแบบนี้อย่างไร ให้เชือกปีนเขาเป็นของขวัญคริสต์มาสหรือ เปล่าเลย คุณระลึกถึงเขา คุณระลึกถึงเขาเสมอ” ’ [Eric G. Anderson, “The Vertical Wilderness,” Private Practice, Nov. 1979, 21; เน้นตัวเอน]” (“The Grace and Mercy of Jesus Christ,” in Jesus Christ: Son of God, Savior, ed. Paul H. Peterson, Gary L. Hatch, and Laura D. Card [2002], 48)

อ่าน 3 นีไฟ 18:1–11 มองหาสิ่งที่พระเยซูคริสต์ทรงขอให้ชาวนีไฟทำเพื่อระลึกถึงพระองค์ ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายคำว่า ความระลึกถึง และ ระลึกถึง ใน ข้อ 7 และ 11 ท่านคิดว่าเหตุใดจึงสำคัญที่ต้องระลึกถึงการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดสำหรับท่านตลอดเวลา ท่านทำต่างจากเดิมอย่างไรเมื่อท่านระลึกถึงพระผู้ช่วยให้รอด

พระบัญชาของพระผู้ช่วยให้รอดให้ระลึกถึงพระวรกายและพระโลหิตของพระอง์จะมีความหมายต่อผู้คนเป็นพิเศษเพราะพวกเขาเพิ่งคลำรอยแผลในพระวรกายของพระองค์ ไม่นานก่อนหน้านั้น ถึงแม้ท่านไม่เคยเห็นรอยแผลในพระวรกายของพระผู้ช่วยให้รอดเหมือนผู้คนสมัยพระคัมภีร์มอรมอน แต่ท่านสามารถระลึกถึงการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ของพระองค์ได้ขณะรับส่วนศีลระลึก

  1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน การระลึกถึงการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดในระหว่างศีลระลึกช่วยให้ท่านรู้สึกกตัญญูต่อพระองค์อย่างไร

พระดำรัสของพระเยซูคริสต์ดังบันทึกไว้ ใน 3 นีไฟ 18:7–11 สอนหลักธรรมต่อไปนี้ เมื่อเรารับส่วนศีลระลึก เราเป็นพยานต่อพระบิดาว่าเราเต็มใจทำทั้งหมดที่พระองค์ทรงบัญชา เมื่อเรารับส่วนศีลระลึก เราเป็นพยานต่อพระบิดาว่าเราจะระลึกถึงพระเยซูคริสต์ตลอดเวลา ทบทวน 3 นีไฟ 18:7–11 ทำเครื่องหมายคำหรือวลีที่สอนหลักธรรมเหล่านี้ ขณะที่ท่านอ่าน ข้อ 11 ให้ตรึกตรองว่าท่านจะรู้สึกอย่างไรถ้าพระผู้ช่วยให้รอดตรัสถ้อยคำเหล่านั้นกับท่าน

  1. เลือกคำถามต่อไปนี้สองข้อเพื่อตอบลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. พระชนม์ชีพและการปฏิบัติศาสนกิจของพระผู้ช่วยให้รอดในด้านใดบ้างที่ท่านจะระลึกถึงในระหว่างศาสนพิธีศีลระลึก

    2. ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อระลึกถึงพระผู้ช่วยให้รอดตลอดเวลาในช่วงเวลาที่เหลือของสัปดาห์

    3. ถ้าท่านพยายามระลึกถึงพระผู้ช่วยให้รอดอย่างจริงใจในช่วงศีลระลึก สิ่งนี้อาจจะส่งผลต่อท่านอย่างไรในระหว่างสัปดาห์ที่จะมาถึง

ระบุหลักธรรมอีกหนึ่งข้อที่สอนไว้ ใน 3 นีไฟ 18:7, 11 โดยเติมข้อความต่อไปนี้ด้วยวลีที่อธิบายว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงสัญญาอะไรกับคนที่รับส่วนศีลระลึกและระลึกถึงพระองค์ เมื่อเรารับส่วนศีลระลึกและระลึกถึงพระผู้ช่วยให้รอดตลอดเวลา เราจะ.

ภาพ
ขนมปังและน้ำ
  1. เปรียบเทียบ 3 นีไฟ 18:12–14 กับ ฮีลามัน 5:12 เขียนลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าการรับส่วนศีลระลึกทุกสัปดาห์จะช่วยให้ท่านทำให้พระเยซูคริสต์เป็นรากฐานซึ่งท่านสร้างชีวิตไว้บนนั้นได้อย่างไร

  2. เพื่อช่วยให้ท่านระลึกถึงพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น ให้เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านทุกวันสำหรับสัปดาห์ถัดไปว่าท่านทำอะไรเพื่อระลึกถึงพระผู้ช่วยให้รอดในวันนั้น ท่านอาจจะเขียนด้วยว่าท่านนึกถึงอะไรในระหว่างศีลระลึกหรือการระลึกถึงพระผู้ช่วยให้รอดมีอิทธิพลต่อความคิด คำพูด และการกระทำของท่านอย่างไร

3 นีไฟ 18:15 25

พระเยซูทรงสอนชาวนีไฟให้สวดอ้อนวอนพระบิดาเสมอและประชุมกันบ่อยๆ

หลังจากพระเยซูทรงปฏิบัติศีลระลึกต่อชาวนีไฟ พระองค์ทรงสอนหลักธรรมสำคัญๆ แก่พวกเขาเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน หลักธรรมข้อหนึ่งที่พระองค์ทรงสอนคือ ถ้าเราจะเฝ้าดูและสวดอ้อนวอนพระบิดาเสมอ เราจะต่อต้านการล่อลวงของซาตานได้ เมื่อเรา เฝ้าดู เราย่อมตื่นตัวทางวิญญาณ ไหวตัว หรือระมัดระวัง

อ่าน 3 นีไฟ 18:15–21 ทำเครื่องหมายคำหรือวลีที่สอนหลักธรรมดังกล่าวข้างต้น ท่านคิดว่าเหตุใดทั้งการเฝ้าดูและการสวดอ้อนวอนจึงจำเป็นสำหรับการต่อต้านการล่อลวง

สังเกตว่า 3 นีไฟ 18:15, 20–21 เป็นข้อผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ ท่านอาจทำเครื่องหมายข้อเหล่านี้ในพระคัมภีร์ของท่าน

  1. อ่านและตรึกตรองคำถามต่อไปนี้ จากนั้นให้ตอบคำถามสองข้อหรือมากกว่านั้นลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. การสวดอ้อนวอนช่วยท่านต่อต้านการล่อลวงของซาตานอย่างไร

    2. ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อปรับปรุงการสวดอ้อนวอนส่วนตัวของท่าน

    3. ท่านเคยประสบพรอะไรบ้างจากการสวดอ้อนวอนกับครอบครัว (ดู 3 นีไฟ 18:21)

    4. ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยให้ครอบครัวท่านสวดอ้อนวอนเป็นครอบครัวอย่างสม่ำเสมอและเปี่ยมด้วยความหมาย

เมื่อเราสวดอ้อนวอนพระบิดาบนสวรรค์และใกล้ชิดพระผู้ช่วยให้รอดของเรา พระเยซูคริสต์มากขึ้น เรามักจะต้องการช่วยให้ผู้อื่นใกล้ชิดพระองค์มากขึ้นเช่นกัน นึกถึงบางคนที่ท่านประสงค์จะช่วยให้ ใกล้ชิดพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น อ่าน 3 นีไฟ 18:22–24 มองหาหลักธรรมต่อไปนี้ในข้อเหล่านั้น: เมื่อเราปฏิบัติศาสนกิจต่อผู้อื่น เราสามารถช่วยให้พวกเขามาหาพระคริสต์

ดังที่บันทึกไว้ ใน 3 นีไฟ 18:24 พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนว่าเราแต่ละคนต้องชูแสงสว่างของเราเพื่อมันจะส่องโลก พระองค์ตรัสเช่นกันว่าพระองค์ทรงเป็นแสงสว่างที่เราต้องชูขึ้น เอ็ลเดอร์ โรเบิร์ต ดี. เฮลส์แห่งโคว-รัมอัครสาวกสิบสองสอนว่าเราชูแสงสว่างของพระผู้ช่วยให้รอดโดยรักษาพระบัญญัติของพระองค์และทำตามแบบอย่างของพระองค์

ภาพ
เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์

“เราควรเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดเมื่อพระองค์ทรงเตือนว่า ‘จงตามเรามา’ พระเยซูจะไม่พอพระทัยหรอกหรือถ้าเราให้แสงสว่างของเราส่องจนคนที่เดินตามเราจะเดินตามพระผู้ช่วยให้รอด มีคนกำลังค้นหาแสงสว่าง [ผู้] จะยินดีผ่านประตูแห่งบัพติศมาไปบนทางคับแคบและแคบที่นำไปสู่ชีวิตนิรันดร์ (ดู 2 นี-ไฟ 31) ท่านจะเป็นแสงสว่างนั้นเพื่อจะนำพวกเขาไปสู่ท่าเรือที่ปลอดภัยหรือไม่ …

“ท่านเคยฉุกคิดหรือไม่ว่าบางทีท่านอาจเป็นแสงสว่างที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงส่งมานำอีกคนหนึ่งกลับบ้านอย่างปลอดภัยหรือเป็นประภาคารจากระยะไกลเพื่อแสดงให้เห็นทางกลับสู่เส้นทางคับแคบและแคบที่นำไปสู่ชีวิตนิรันดร์ แสงสว่างของท่านเป็นประภาคารและไม่ควรหยุดฉายแสงหรือนำคนที่กำลังมองหาทางกลับบ้านไปผิดทาง …

“… พระเยซูคริสต์ทรงเป็นแสงสว่างที่ประทานแก่เราเพื่อให้เราเดินตามและรู้ว่าจะไปที่ ใด [ข้าพเจ้าสวดอ้อนวอน] ขอให้เราแต่ละคนเลือกความถูกต้อง [ทั้งนี้เพื่อเราจะสามารถ] ยกระดับและทำให้คนรอบข้างเข้มแข็ง” (“That Ye May Be Children of Light” [ ไฟร์ ไซด์ระบบการศึกษาของศาสนจักรสำหรับคนหนุ่มสาว, 3 พ.ย., 1996], 6–7)

การสวดอ้อนวอนให้ผู้อื่น การเชิญพวกเขามาเข้าร่วมการประชุมของศาสนจักร และการเป็นแบบอย่างเฉกเช่นพระคริสต์เป็นวิธีที่เราสามารถปฏิบัติต่อผู้อื่นได้ ใคร่ครวญว่าท่านรู้สึกอย่างไรเมื่อท่านทำตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์และช่วยให้คนอื่นๆ มาใกล้พระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น ท่านจะทำอะไรในวันนี้ หรือสัปดาห์นี้เพื่อแสงสว่างของท่านจะส่องทางให้คนที่เดินตามท่านเดินตามพระผู้ช่วยให้รอดเช่นกัน

3 นีไฟ 18:26–39

พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนเหล่าสานุศิษย์ของพระองค์ให้ผูกมิตรกับทุกคน

หลังจากพระผู้ช่วยให้รอดทรงจัดตั้งศีลระลึกและทรงสอนชาวนีไฟเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน พระองค์ทรงเหลียวมองสานุศิษย์สิบสองคนที่พระองค์ทรงเลือกไว้และทรงแนะนำพวกเขาให้รู้วิธีนำและกำกับดูแลกิจจานุกิจของศาสนจักร (ดู 3 นีไฟ 18:26–39) สังเกตใน 3 นีไฟ 18:26 พระผู้ช่วยให้รอดทรงหยุดตรัสกับฝูงชนและเหลียวมองผู้นำ “ที่พระองค์ทรงเลือกไว้” ข่าวสารของพระองค์ ใน ข้อ 28–29 ประทานแก่ผู้นำฐานะปุ โรหิตเหล่านั้นเพื่อเตือนว่าอย่ายอมให้ผู้ ไม่มีค่าควรรับส่วนศีลระลึก

สมาชิกศาสนจักรควรมุ่งความคิดมาที่ความมีค่าควรในการรับส่วนศีลระลึกของตนและปล่อยความรับผิดชอบในการตัดสินความมีค่าควรในการรับส่วนศีลระลึกของผู้อื่นไว้กับคนที่พระเจ้าทรงเรียกให้ตัดสินเช่นนั้น อาทิ อธิการหรือประธานสเตค อ่าน 3 นีไฟ 18:32 โดยดูว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนเหล่าสานุศิษย์ ให้ดูแลคนที่หันเหจากศรัทธาอย่างไร ตรึกตรองว่าท่านจะ “ปฏิบัติต่อไป” อย่างไรกับเพื่อน สมาชิกครอบครัว หรือคนในวอร์ดหรือสาขาของท่านที่หันเหจากศรัทธา

ภาพ
ไอคอนผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์
ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์—3 นีไฟ 18:15, 20–21

ท่านอาจใช้เวลาสองสามนาทีท่อง 3 นีไฟ 18:15, 20–21 เขียนข้อพระคัมภีร์ทั้งสามข้อไว้ ในกระดาษแผ่นหนึ่งและฝึกพูด หลังจากอ่านสองสามครั้ง ให้เริ่มลบหรือขีดฆ่าคำบางคำออกขณะที่ท่านพูดข้อเหล่านั้น ท่านอาจต้องการทำขั้นตอนนี้ซ้ำจนกว่าจะลบหรือขีดฆ่าข้อความจนหมด

ขณะที่ท่านกำลังท่องข้อเหล่านี้ ให้ตรึกตรองว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงกำลังสอนอะไร ดังที่บันทึกไว้ ใน 3 นีไฟ 18:15 พระเยซูคริสต์ทรงสอนชาวนีไฟ ให้รู้วิธีต้านทานการล่อลวงของมาร สังเกตพลังที่มาจากการสวดอ้อนวอน โดยผ่านการสวดอ้อนวอนเราสามารถได้รับความเข้มแข็งเพื่อต่อต้านการล่อลวง

ดังที่บันทึกไว้ ใน 3 นีไฟ 18:20–21 พระเยซูคริสต์ทรงสอนว่าเมื่อเราสวดอ้อนวอนด้วยศรัทธา พระบิดาทรงตอบคำสวดอ้อนวอนของเราเสมอ แต่พระองค์ทรงตอบตามแผนที่ทรงมี ไว้สำหรับบุตรธิดาของพระองค์และสิ่งที่พระองค์ทรงทราบว่าเหมาะกับเรา อ่านออกเสียงข้อ 20 อีกครั้ง “และอะไรก็ตามที่เจ้าจะทูลขอพระบิดาในนามของเรา, ซึ่งถูกต้อง, โดยเชื่อว่าเจ้าจะได้รับ, ดูเถิดพระองค์จะประทานให้เจ้า” ท่านคิดว่าวลี “ซึ่งถูกต้อง” หมายความว่าอย่างไรในข้อความนี้ (ท่านอาจต้องการอ้างถึง ยากอบ 4:3)

ภาพ
ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์

ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์แบ่งปันประจักษ์พยานนี้ “พระผู้เป็นเจ้าพระบิดานิรันดร์ของเราทรงพระชนม์ พระองค์ทรงเป็นพระผู้สร้างและพระผู้ปกครองจักรวาล แต่กระนั้นพระองค์ยังทรงเป็นพระบิดาของเรา พระองค์ทรงเป็นพระผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์และทรงอยู่เหนือสิ่งทั้งปวง เราสามารถเข้าถึงพระองค์ ได้ ในการสวดอ้อนวอน … พระองค์ทรงได้ยินคำสวดอ้อนวอนของเด็กไหม แน่นอนพระองค์ทรงได้ยิน พระองค์ทรงตอบหรือไม่ แน่นอนพระองค์ทรงตอบ ไม่ ใช่ตามที่เราปรารถนาเสมอไป แต่พระองค์ทรงตอบ พระองค์ทรงได้ยินและทรงตอบ” (Teachings of Gordon B. Hinckley [1997], 468)

เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า “[ ใน 3 นีไฟ 18:20] พระผู้ช่วยให้รอดทรงเตือนสติเราว่าศรัทธา ไม่ว่าจะแรงกล้าเพียงใด ไม่สามารถก่อให้เกิดผลตรงข้ามกับพระประสงค์ของพระองค์ผู้ทรงเป็นพลังศรัทธานั้นได้ การใช้ศรัทธาในพระเจ้าพระเยซูคริสต์มักจะอยู่ภายใต้ระเบียบของสวรรค์ พระคุณความดี พระประสงค์ พระปรีชาญาณ และจังหวะเวลาของพระเจ้าเสมอ นั่นคือสาเหตุที่เราไม่สามารถมีศรัทธาแท้จริงในพระจ้าได้หากไม่มีความไว้วางใจอย่างสมบูรณ์ในพระประสงค์ของพระเจ้าและในจังหวะเวลาของพระเจ้า” (“Faith in the Lord Jesus Christ,” Ensign, May 1994, 100)

  1. เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า:

    ฉันได้ศึกษา 3 นีไฟ 18 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: