เซมินารี
หน่วย 25: วัน 1, 3 นีไฟ 11:18–3 นีไฟ 12


หน่วย 25: วัน 1

3 นีไฟ 11:18–12:48

คำนำ

หลังจากผู้คนที่พระวิหารในแผ่นดินอุดมมั่งคั่งได้คลำรอยแผลในพระปรัศว์ พระหัตถ์ และพระบาทของพระเยซูคริสต์ด้วยตนเองแล้ว พระผู้ช่วยให้รอดได้ประทานอำนาจในการให้บัพติศมาแก่นีไฟและคนอื่นๆ พระผู้ช่วยให้รอดทรงเตือนผู้คนให้หลีกเลี่ยงความขัดแย้งและทรงสัญญาว่าคนที่ดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณจะได้อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าเป็นมรดก พระองค์ทรงสอนพวกเขาเช่นกันให้รู้วิธีรับพรของพระกิตติคุณและทรงแนะนำพวกเขาให้เป็นอิทธิพลดีต่อผู้อื่น พระผู้ช่วยให้รอดทรงประกาศว่าพระองค์ทรงทำให้กฎของโมเสสเกิดสัมฤทธิผล และพระองค์ประทานกฎที่สูงกว่าเพื่อเตรียมผู้คนให้เป็นเหมือนพระองค์และพระบิดาในสวรรค์

3 นีไฟ 11:18–30

พระเยซูคริสต์ประทานอำนาจในการให้บัพติศมาแก่นีไฟและคนอื่นๆ และทรงประณามความขัดแย้ง

ท่านจำความคิดและความรู้สึกของท่านได้หรือไม่เมื่อท่านเตรียมรับบัพติศมาหรือท่านเคยเห็นเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัวเตรียมรับบัพติศมาหรือไม่ คนจำนวนมากมีคำถามเช่น “ ใครสามารถให้บัพติศมาฉันได้” และ “การประกอบศาสนพิธีบัพติศมาทำอย่างไร” พิจารณาว่าท่านจะตอบคำถามเหล่านั้นอย่างไร

ขณะศึกษา 3 นีไฟ 11:1–17 ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับการปรากฏของพระเยซูคริสต์ต่อ “ผู้คนของนีไฟ …, รอบพระวิหารซึ่งอยู่ ในแผ่นดินอุดมมั่งคั่ง” (3 นีไฟ 11:1) คนเหล่านี้คลำรอยแผลของพระองค์และกลายเป็นพยานส่วนตัวถึงการฟื้นคืนพระชนม์และความเป็นพระเจ้าของพระองค์ ทันทีหลังจากประสบการณ์นี้ พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนพวกเขาเกี่ยวกับบัพติศมา รวมถึงคนที่สามารถให้บัพติศมาและวิธีที่ควรประกอบพิธีบัพ-ติศมา

อ่าน 3 นีไฟ 11:18–22, 24–25 เขียนคำตอบของคำถาม “ ใครสามารถให้บัพติศมาฉันได้”

ดังที่บันทึกไว้ ใน 3 นีไฟ 11 จากสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดตรัสและทรงทำ เราเรียนรู้ว่า บัพติศมาต้องประกอบโดยบุคคลผู้ดำรงสิทธิอำนาจที่ถูกต้อง การเปิดเผยยุคปัจจุบันให้ความกระจ่างว่าบัพติศมาประกอบโดยบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งปุ โรหิตในฐานะปุ โรหิตแห่งอา-โรน (ดู คพ. 20:46) หรือผู้ดำรงฐานะปุ โรหิตแห่งเมลคี-เซเดคเท่านั้น (ดู คพ. 20:38–39; 107:10–11) นอกจากนี้ เขาต้องกระทำภายใต้การกำกับดูแลของผู้นำฐานะปุ โรหิตที่ถือกุญแจฐานะปุ โรหิตอันจำเป็นต่อการมอบอำนาจให้ประกอบศาสนพิธี (เช่น อธิการ ประธานสาขา ประธานคณะเผยแผ่ หรือเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่)

อ่าน 3 นีไฟ 11:23–27 เขียนคำตอบของคำถาม “การประกอบศาสนพิธีบัพติศมาทำอย่างไร”

ภาพ
บัพติศมา
  1. เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าเหตุใด จึงต้องบัพติศมาในวิธีที่พระเจ้าทรงกำหนด เกิดอะไรขึ้นถ้าไม่ได้พูดถูกต้องตามคำที่กำหนดไว้ในศาสนพิธีบัพติศ-มาหรือถ้าไม่ได้จุ่มผู้รับบัพติศมาลงไปในน้ำจนมิด

  2. ตอบชุดคำถามต่อไปนี้หนึ่งชุดหรือมากกว่านั้นลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. ท่านจำอะไรได้บ้างเกี่ยวกับสาเหตุที่ท่านรับบัพติศมาและเกี่ยวกับพิธีบัพติศมา ใครให้บัพติศมาท่าน ท่านอายุเท่าใด ท่านมีความรู้สึกอย่างไรเมื่อท่านรับบัพติศมา การรับบัพติศมาโดยผู้ดำรงสิทธิอำนาจที่ถูกต้องและในวิธีที่พระเจ้าทรงกำหนดมีความหมายต่อท่านอย่างไร

    2. ท่านเป็นพยานในพิธีบัพติศมาของคนบางคนเมื่อเร็วๆ นี้หรือไม่ ท่านมีความรู้สึกอย่างไร

    3. ถ้าท่านดำรงตำแหน่งปุโรหิตในฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน การรู้ว่าท่านมีสิทธิอำนาจในการให้บัพติศมาทำให้ท่านรู้สึกอย่างไร ถ้าท่านเคยมีโอกาสให้บัพติศมาบางคน ท่านรู้สึกอย่างไรและเรียนรู้อะไรในระหว่างประสบการณ์นั้น

ดังที่บันทึกไว้ ใน 3 นีไฟ 11:28–30 พระเจ้าทรงแนะนำผู้คนไม่ ให้ โต้เถียงหรือขัดแย้ง ( โต้แย้ง) กันเกี่ยวกับบัพ-ติศมาหรือประเด็นอื่นของหลักคำสอน พระองค์ทรงสอนว่าความขัดแย้งเป็นของมารและควรหมดไป

3 นีไฟ 11:31–41

พระเยซูคริสต์ทรงประกาศหลักคำสอนของพระองค์

นึกถึงสิ่งที่ท่านทำวันนี้ (การกระทำ) ซึ่งส่งผลบวก เขียนการกระทำและผลไว้ ในด้านที่เหมาะสมของแผนภาพต่อไปนี้ จากนั้นให้นึกถึงสิ่งที่ท่านทำวันนี้ ซึ่งส่งผลลบ

ภาพ
ลูกศร

ความสัมพันธ์ของการกระทำกับผลบางครั้งเรียกว่ากฎแห่งการเก็บเกี่ยว การเปิดเผยยุคปัจุบันอธิบายดังนี้ “สิ่งใดก็ตามที่เจ้าหว่าน, เจ้าก็จะเก็บเกี่ยวสิ่งนั้น; ฉะนั้น, หากเจ้าหว่านความดีเจ้าก็จะเก็บเกี่ยวความดีเป็นรางวัลของเจ้า” (คพ. 6:33)

อ่าน 3 นีไฟ 11:31 และระบุสิ่งที่พระเยซูคริสต์ตรัสว่าพระองค์จะทรงประกาศต่อผู้คน

  1. ดังที่บันทึกไว้ใน 3 นีไฟ 11:32–39 พระเยซูคริสต์ทรงประกาศหลักคำสอนของพระองค์ “ซึ่งพระบิดาประทานให้ [พระองค์]” (3 นีไฟ 11:32) ลอกแผนภูมิต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน อ่านพระคัมภีร์อ้างอิงแต่ละข้อ ระบุการกระทำและผลที่พระเยซูคริสต์ทรงสอนอันเกี่ยวข้องกับหลักคำสอนของพระองค์ บันทึกสิ่งที่ท่านพบในแผนภูมิลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    การกระทำ

    ผล

    3 นีไฟ 11:32–34

    3 นีไฟ 11:35–36

    3 นีไฟ 11: 37–38

    3 นีไฟ 11: 39–40

ตามที่เห็นในแผนภูมิของท่าน อะไรคือการกระทำหลักที่พระเยซูคริสต์ทรงสอนว่าบุตรธิดาทุกคนของพระบิดาบนสวรรค์ต้องทำเพื่อเข้าอาณาจักรแห่งสวรรค์

ท่านอาจสังเกตว่า 3 นีไฟ 11:32 กล่าวว่า พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นพยานถึงพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ ไตร่ตรองครั้งล่าสุดเมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นพยานต่อท่านถึงการดำรงอยู่จริงและความรักของพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์

3 นีไฟ 12:1–16

พระเยซูคริสต์ทรงสอนฝูงชนเกี่ยวกับพรที่เราได้รับเมื่อเราดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของพระองค์

ภาพ
พระเยซูทรงสอนในซีกโลกตะวันตก

ทำแบบสอบถามถูก-ผิดต่อไปนี้โดยวงกลมคำตอบด้านล่าง

  • พระบิดาบนสวรรค์ทรงต้องการให้เราดีพร้อม

  • เราต้องดีพร้อมในชีวิตนี้จึงจะเข้าอาณาจักรซีเลสเชียลได้

  • เราดีพร้อมได้

เพื่อช่วยตรวจคำตอบของท่าน ให้อ่าน 3 นีไฟ 12:48 ก่อน (ข้อนี้เป็นข้อผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายข้อนี้ให้ชัดเจนเพื่อท่านจะหาเจอในอนาคต)

ภาพ
เอ็ลเดอร์รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน

การเป็นคนดีพร้อมเกิดขึ้นได้อย่างไร เอ็ลเดอร์รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวดังนี้เกี่ยวกับพระบัญญัติให้ดีพร้อม “เราไม่ต้องท้อใจหากความพยายามตั้งใจไปสู่ความดีพร้อมของเราเวลานี้ดูเหมือนลำบากอย่างยิ่ง [ยาก] และไม่สิ้นสุด ความดีพร้อมเป็นกระบวนการต่อเนื่อง จะสมบูรณ์ ได้ก็ต่อเมื่อหลังจากการฟื้นคืนชีวิตและผ่านพระเจ้าเท่านั้น ความดีพร้อมคอยท่าทุกคนที่รักพระองค์และรักษาพระบัญญัติของพระองค์” (ดู “ความดีพร้อมเป็นกระบวนการต่อเนื่อง,” เลียโฮนา, ม.ค. 1996, 96)

ไตร่ตรองคำถามต่อไปนี้: ท่านคิดว่าความดีพร้อมสามารถเกิดขึ้นได้ โดย “ผ่านพระเจ้าเท่านั้น” หมายความว่าอย่างไร

กลับไปดูแบบสอบถามถูก-ผิดที่ท่านเพิ่งทำ เปลี่ยนคำตอบตามที่ท่านเรียนรู้จาก 3 นีไฟ 12:48 และคำกล่าวของเอ็ลเดอร์เนลสัน

คำสอนของพระเยซูคริสต์ ใน 3 นีไฟ 12–14 บางครั้งเรียกว่าเป็น “คำเทศนาที่พระวิหาร” เพราะคำสอนเหล่านั้นคล้ายคลึงและมักเพิ่มความเข้าใจให้เราเกี่ยวกับคำเทศนาบนภูเขาของพระผู้ช่วยให้รอดซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี (ดู มัทธิว 5–7) ประธานฮาโรลด์ บี. ลีสอนว่า “ ในคำเทศนาบนภูเขา พระอาจารย์ ได้ประทานการเปิดเผยบางอย่างแก่เราเกี่ยวกับพระอุปนิสัยของพระองค์ ซึ่งสมบูรณ์แบบ หรือสิ่งที่อาจกล่าวได้ว่าเป็น ‘อัตชีวประวัติ ทุกพยางค์ที่พระองค์ทรงจดไว้ ในการกระทำ’ และการทำเช่นนั้นได้ ให้พิมพ์เขียวสำหรับชีวิตเราเอง” (Decisions for Successful Living [1973], 56) ขณะที่ท่านศึกษา 3 นีไฟ 12–14 ให้มองหาด้านต่างๆ ที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงต้องการให้เราพยายามดีพร้อม

เฉกเช่นคำเทศนาบนภูเขา พระผู้ช่วยให้รอดทรงเริ่มเทศนาต่อชาวนีไฟด้วยผู้เป็นสุขหลายครั้ง—การประกาศสภาพอันเป็นพรและเปี่ยมปีติของผู้ที่ซื่อสัตย์ (ดู 3 นีไฟ 12:1–12) ขณะที่ท่านอ่านให้ดูว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงกระตุ้นเราให้พัฒนาคุณลักษณะใดและพระองค์ทรงสัญญาพรอะไรบ้างอันเนื่องจากการทำเช่นนั้น ขณะที่ท่านอ่าน ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายคุณลักษณะเหล่านี้และพรที่สัญญาไว้ อาจเป็นประโยชน์ถ้ารู้ว่า ยากจนทางวิญญาณ (3 นีไฟ 12:3) หมายถึงนอบน้อมถ่อมตนและพึ่งพาพระเจ้า โศกเศร้า (3 นีไฟ 12:4) โยงถึงความรู้สึกเศร้าเสียใจเพราะบาปของเราอันนำไปสู่การกลับใจ และ อ่อนโยน (3 นี-ไฟ 12:5) สามารถหมายถึงถ่อมตนและอ่อนน้อม ยอมตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า หรืออดทนในการบาดเจ็บโดยไม่แสดงความขุ่นเคืองใจ

  1. ระบุคุณลักษณะประการหนึ่งที่ท่านเพิ่งอ่านซึ่งท่านกำลังพยายามหรือจะพยายามให้ได้มา เขียนในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่าท่านกำลังได้รับหรือหวังจะได้รับพรอะไรบ้างขณะพัฒนาคุณลักษณะนั้น

จากความจริงมากมายใน 3 นีไฟ 12:1–12 เราเรียนรู้ว่า ถ้าเราดำเนินชีวิตสอดคล้องกับคำสอนของพระเยซูคริสต์ เราจะได้รับพรและพร้อมเข้าอาณาจักรแห่งสวรรค์ ขณะทำเช่นนั้น เราจะเป็นแบบอย่างหรือแสงสว่างต่อโลกด้วย (ดู 3 นีไฟ 12:14–16)

3 นีไฟ 12:17–48

พระเยซูคริสต์ทรงสอนฝูงชนให้รู้กฎที่สูงกว่าซึ่งจะช่วยให้พวกเขาเป็นเหมือนพระองค์และพระบิดาบนสวรรค์

พระเยซูคริสต์ทรงสอนชาวนีไฟ ให้รู้วิธีมาหาพระองค์โดยกลับใจและเชื่ อฟังพระบัญญัติ (ดู 3 นีไฟ 12:19–20) ในส่วนที่เหลือของ 3 นีไฟ 12 พระองค์ตรัสถึงหลายส่วนในกฎของโมเสสและจากนั้นทรงสอนกฎที่สูงกว่า พระองค์ทรงแนะนำส่วนต่างๆ ในกฎของโมเสสด้วยวลีเช่น “คนในสมัยโบราณกล่าวไว้” หรือ “มีเขียนไว้” จากนั้นพระองค์ทรงแนะนำกฎใหม่ที่สูงกว่าซึ่งพระองค์ทรงต้องการให้เราดำเนินชีวิตในทุกวันนี้ โดยใช้วลีว่า “เรากล่าวแก่เจ้า …”

  1. อ่านพระคัมภีร์อ้างอิงต่อไปนี้ และเขียนพฤติกรรมต่างๆ ที่พระผู้ช่วยให้รอดตรัสว่าจะนำไปสู่ความดีพร้อมลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่าน

    1. 3 นีไฟ 12:21–22 อาจจะเป็นประโยชน์ถ้าเข้าใจว่าคำว่า เจ้าทึ่ม เป็นคำที่มีความหมายเสื่อมเสียอันแสดงถึงการดูหมิ่น ไม่ชอบอย่างเปิดเผย หรือเกลียดชัง

    2. 3 นีไฟ 12:23–24 ใช้เชิงอรรถ 24 ช่วยค้นหาความหมายของการคืนดีกับคนบางคน

    3. 3 นีไฟ 12:25 อาจจะเป็นประโยชน์ถ้าเข้าใจว่าการ “ปรองดองกับปฏิปักษ์ของเจ้าโดยเร็ว” หมายถึงการยุติความขัดแย้งกับผู้อื่นโดยเร็ว ไม่ยอมให้พวกเขาพยาบาทและก่อปัญหาใหญ่กว่าเดิม เอ็ลเดอร์เดวิด อี. โซเรนเซ็นสอนขณะรับใช้เป็นสมาชิกสาวกเจ็ดสิบดังนี้ “หลักธรรมนี้นำมาใช้ในครอบครัวเราได้มากกว่าที่อื่น” (“การให้อภัยจะเปลี่ยนความขมขื่นเป็นความรัก,” เลียโฮนา, พ.ค. 2003, 13)

    4. 3 นีไฟ 12:27–30 อาจเป็นประโยชน์ถ้าเข้าใจว่า ตัณหาราคะหมายถึงความปรารถนาที่ไม่เหมาะสม ชั่วร้าย และเห็นแก่ตัว

    5. 3 นีไฟ 12:38–42

    6. 3 นีไฟ 12:43–45

หลักธรรมข้อหนึ่งที่เราสามารถเรียนรู้ ได้จากข้อเหล่านี้ใน 3 นีไฟ 12 คือ เมื่อเรามาหาพระคริสต์และรักษาพระบัญญัติของพระองค์ เราสามารถเป็นเหมือนพระองค์และพระบิดาในสวรรค์ผู้ทรงดีพร้อมได้มากขึ้น

ภาพ
ประธานเจมส์ อี. เฟาสท์

แม้เราจะไม่บรรลุความดีพร้อมในชีวิตนี้ แต่ประธานเจมส์ อี. เฟาสท์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดอธิบายว่าเราต้องพยายามเจริญก้าวหน้าสู่ความดีพร้อมในตอนนี้เพื่อเราจะสามารถบรรลุความดีพร้อมในชีวิตหน้า “ความดีพร้อมเป็นเป้าหมายนิรันดร์ ขณะที่เรายังดีพร้อมไม่ ได้ ในความเป็นมรรตัย แต่ความพยายามที่จะดีพร้อมเป็นพระบัญญัติ ซึ่งโดยผ่านการชดใช้ เราจะดีพร้อมได้ ในที่สุด” (“นี่เป็นยุคของเรา,” เลียโฮนา, ก.ค. 1999, 25)

ภาพ
ไอคอนผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์
ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์—3 นีไฟ 12:48

  1. ดูว่าท่านสามารถท่องจำ 3 นีไฟ 12:48ได้ครบถ้วน หรือไม่ เขียนข้อความลงในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านเมื่อท่านคิดว่าท่านท่องจำได้แล้ว

จำไว้ว่าพระเจ้าไม่ทรงคาดหวังให้เราดีพร้อมในทุกเรื่องระหว่างชีวิตมรรตัยของเรา แต่เมื่อเราเพียรพยายามทำตามพระองค์และรับส่วนพรแห่งการชดใช้ เราจะดีพร้อมได้ ในท้ายที่สุด

  1. เขียนต่อท้ายงานมอบหมายของวันนี้ในสมุดบันทึกการศึกษาพระคัมภีร์ของท่านว่า:

    ฉันได้ศึกษา 3 นีไฟ 11:18–12:48 และศึกษาเสร็จวันที่ (วันเดือนปี)

    คำถาม ความคิด และข้อคิดเพิ่มเติมที่ฉันอยากแบ่งปันกับครู: