จงตามเรามา
คำแนะนำสำหรับช่วงเวลาร้องเพลง


“คำแนะนำสำหรับช่วงเวลาร้องเพลงและการนำเสนอการประชุมศีลระลึกของเด็ก” จงตามเรามา—สำหรับช่วงเวลาร้องเพลง: 2020 (2020)

“คำแนะนำสำหรับช่วงเวลาร้องเพลง” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2020

ภาพ
เด็กและครูกำลังร้องเพลง

คำแนะนำสำหรับช่วงเวลาร้องเพลงและการนำเสนอการประชุมศีลระลึกของเด็ก

เรียน ฝ่ายประธานปฐมวัยและผู้นำดนตรี

เพลงปฐมวัยเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับแผนแห่งความสุขของพระบิดาบนสวรรค์และความจริงอันเป็นรากฐานแห่งพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ ขณะเด็กร้องเพลงเกี่ยวกับหลักธรรมพระกิตติคุณ พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงเป็นพยานถึงความจริงเหล่านั้น เนื้อร้องและทำนองจะอยู่ในความคิดและจิตใจเด็กไปตลอดชีวิต

แสวงหาความช่วยเหลือจากพระวิญญาณขณะท่านเตรียมสอนพระกิตติคุณผ่านเสียงเพลง แบ่งปันประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับความจริงที่ท่านขับร้อง ช่วยให้เด็กเห็นว่าดนตรีเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้และประสบการณ์ที่บ้านรวมทั้งประสบการณ์ในชั้นเรียนปฐมวัยอย่างไร เด็กและครอบครัวจะได้รับพรจากการทำงานอย่างอุทิศตนของท่าน

เรารักท่านและขอแสดงความขอบคุณสำหรับการรับใช้อย่างอุทิศตนที่ท่านทำอยู่เพื่อเสริมสร้างพลังและปกป้องเด็กอันล้ำค่าของเรา

ฝ่ายประธานปฐมวัยสามัญ

แนวทางสำหรับการนำเสนอการประชุมศีลระลึก

ภายใต้การกำกับดูแลของอธิการ โดยปกติการนำเสนอการประชุมศีลระลึกของเด็กจะจัดในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี ฝ่ายประธานปฐมวัยและผู้นำด้านดนตรีจัดเตรียมการประชุมตั้งแต่ต้นปีกับที่ปรึกษาในฝ่ายอธิการผู้ควบคุมดูแลปฐมวัยเพื่อเริ่มสนทนาเรื่องแผนการนำเสนอ เมื่อท่านวางแผนเสร็จสมบูรณ์ ให้ขอความเห็นชอบจากที่ปรึกษาท่านนั้น

การนำเสนอควรเปิดโอกาสให้เด็กนำเสนอสิ่งที่พวกเขาและครอบครัวได้เรียนรู้จากพระคัมภีร์มอรมอนที่บ้านและในปฐมวัย รวมทั้งเพลงปฐมวัยที่ร้องระหว่างปีด้วย พิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนว่าหลักธรรมพระกิตติคุณข้อใดและเพลงใดจะสนับสนุนสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ จดบันทึกคำพูดและประสบการณ์ส่วนตัวของเด็กตลอดทั้งปีเพื่อจะใช้ในการนำเสนอได้ เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันข้อพระคัมภีร์ เรื่องราว และประจักษ์พยานของพวกเขาในการนำเสนอ เมื่อท่านวางแผนการนำเสนอ ให้นึกถึงวิธีที่จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมประชุมเน้นที่พระผู้ช่วยให้รอดและคำสอนของพระองค์

หน่วยที่เด็กไม่มากอาจคิดหาวิธีให้สมาชิกครอบครัวมีส่วนร่วมกับเด็กๆ สมาชิกท่านหนึ่งในฝ่ายอธิการจะจบการประชุมด้วยคำพูดสั้นๆ

ขณะท่านเตรียมการนำเสนอ พึงจดจำแนวทางต่อไปนี้

  • การฝึกซ้อมไม่ควรใช้เวลานอกชั้นเรียนปฐมวัยหรือเวลาของครอบครัวโดยไม่จำเป็น

  • รูปภาพ ชุดแสดง และการนำเสนอด้วยสื่อไม่เหมาะสำหรับการประชุมศีลระลึก

ดู คู่มือเล่ม 2: การบริหารงานศาสนจักร, 11.5.4

คำแนะนำสำหรับช่วงเวลาร้องเพลง

5 นาที (ฝ่ายประธานปฐมวัย): การสวดอ้อนวอนเปิด ข้อพระคัมภีร์หรือหลักแห่งความเชื่อ และผู้พูดหนึ่งคน

20 นาที (ผู้นำด้านดนตรี): ช่วงเวลาร้องเพลง

ฝ่ายประธานปฐมวัยและผู้นำด้านดนตรีคัดเลือกเพลงของแต่ละเดือนเพื่อช่วยเสริมหลักธรรมที่เด็กกำลังเรียนรู้ในชั้นเรียนและที่บ้าน รายชื่อเพลงที่ช่วยเสริมหลักธรรมเหล่านี้มีอยู่ในคู่มือเล่มนี้ เพลงเหล่านี้แนะนำไว้ในโครงร่างใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย ด้วย

ขณะสอนเพลงให้เด็ก ท่านจะเชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาแล้วเกี่ยวกับเรื่องราวและหลักธรรมคำสอนที่เพลงสอน ท่านอาจต้องการทบทวนโครงร่าง จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย ที่เด็กกำลังศึกษาในชั้นเรียนของพวกเขา นี่จะช่วยให้ท่านทราบเรื่องราวและหลักธรรมที่พวกเขากำลังเรียนรู้ทั้งนี้เพื่อท่านจะสามารถคิดหาวิธีสนับสนุนการเรียนรู้ของพวกเขาด้วยเพลง

ระหว่างช่วงเวลาร้องเพลง ท่านสามารถทบทวนเพลงที่เด็กเรียนรู้ไปก่อนหน้านี้และเพลงที่พวกเขาชอบร้องด้วย ขณะทบทวนท่านจะเชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันความคิดและความรู้สึกเกี่ยวกับความจริงที่พบในเพลงเหล่านั้น

หนังสือเพลงสำหรับเด็ก เป็นแหล่งช่วยพื้นฐานสำหรับดนตรีในปฐมวัย เพลงจากหนังสือเพลงสวดและเพลงจาก เพื่อนเด็ก และ เลียโฮนา เป็นเพลงที่เหมาะสมเช่นกัน บางโอกาสเด็กอาจร้องเพลงปลุกใจหรือเพลงวันหยุดที่เหมาะกับวันอาทิตย์และวัยของเด็ก การใช้เพลงอื่นในปฐมวัยทุกเพลงต้องได้รับอนุมัติจากฝ่ายอธิการ (ดู คู่มือเล่ม 2: การบริหารงานศาสนจักร, 11.2.4)

ภาพ
เด็กกำลังร้องเพลง

ภาพรวมของปฐมวัย

แต่ละสัปดาห์ ปฐมวัยประกอบด้วย:

ช่วงเวลาร้องเพลง25 นาที

ช่วงเปลี่ยนชั้นเรียน5 นาที

ชั้นเรียน20 นาที

ผู้นำของปฐมวัยกลุ่มใหญ่อาจแบ่งเด็กออกเป็นสองกลุ่มและให้กลุ่มหนึ่งอยู่ในชั้นเรียนปฐมวัยส่วนอีกกลุ่มอยู่ในช่วงเวลาร้องเพลง จากนั้นทั้งสองกลุ่มจะสลับกัน ในกรณีดังกล่าว ผู้นำปฐมวัยอาจต้องปรับเวลาข้างต้นให้เหมาะกับสภาวการณ์

เพลงสำหรับช่วงเวลาร้องเพลง

มกราคม

กุมภาพันธ์

มีนาคม

เมษายน

พฤษภาคม

มิถุนายน

กรกฎาคม

สิงหาคม

  • การกลับใจหนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 148

  • สุรเสียงสงบแผ่วเบาเลียโฮนา, เม.ย. 2006, พ13

  • ทำตามศาสดาหนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 58–59

กันยายน

ตุลาคม

พฤศจิกายน

ธันวาคม

การใช้ดนตรีสอนหลักคำสอน

ช่วงเวลาร้องเพลงมีไว้ช่วยให้เด็กเรียนรู้ความจริงของพระกิตติคุณ แนวคิดต่อไปนี้จะดลใจท่านขณะวางแผนวิธีสอนหลักธรรมพระกิตติคุณที่พบในเพลงสวดและเพลงปฐมวัย

อ่านพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง หลายเพลงใน หนังสือเพลงสำหรับเด็ก และหนังสือเพลงสวดจะระบุพระคัมภีร์อ้างอิงที่เกี่ยวข้อง จงช่วยเด็กอ่านพระคัมภีร์เหล่านี้บางข้อ และพูดคุยกันว่าพระคัมภีร์ข้อนั้นเกี่ยวข้องกับเพลงอย่างไร ท่านจะเขียนพระคัมภีร์อ้างอิงสองสามข้อไว้บนกระดานด้วยก็ได้และให้เด็กจับคู่แต่ละข้อกับเพลงหรือข้อจากเพลง

เติมคำในช่องว่าง เขียนเนื้อเพลงข้อหนึ่งบนกระดานโดยเว้นว่างตรงคำสำคัญหลายๆ คำ จากนั้นให้เด็กร้องเพลงและฟังคำที่จะเติมในช่องว่างเหล่านั้น เมื่อพวกเขาเติมคำในช่องว่างแต่ละช่อง ให้สนทนาว่าท่านเรียนรู้หลักธรรมพระกิตติคุณข้อใดจากคำที่หายไป

คำพูดอ้างอิงจากผู้นำศาสนจักร เชื้อเชิญให้เด็กฟังคำพูดอ้างอิงจากผู้นำศาสนจักรที่สอนหลักธรรมพระกิตติคุณข้อเดียวกันกับเพลงปฐมวัย ขอให้เด็กยกมือเมื่อพวกเขาได้ยินบางอย่างที่ช่วยให้เข้าใจความจริงที่กำลังขับร้อง ขอให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่ได้ยิน

ภาพ
ผู้นำของช่วงเวลาร้องเพลง

เป็นพยาน แสดงประจักษ์พยานให้เด็กฟังสั้นๆ เกี่ยวกับความจริงพระกิตติคุณที่พบในเพลงปฐมวัย ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าการร้องเพลงเป็นวิธีหนึ่งที่พวกเขาสามารถแสดงประจักษ์พยานและรู้สึกถึงพระวิญญาณได้

ยืนเป็นพยาน เชื้อเชิญให้เด็กผลัดกันยืนแบ่งปันว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรจากเพลงที่พวกเขากำลังร้องหรือพวกเขารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับความจริงที่เพลงนั้นสอน ถามเด็กว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรขณะร้องเพลง และช่วยพวกเขาแยกแยะอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์

ใช้ภาพ ขอให้เด็กช่วยท่านหาหรือทำภาพประกอบคำหรือวลีสำคัญๆ ในเพลง ให้พวกเขาแบ่งปันว่าภาพนั้นเกี่ยวข้องกับเพลงอย่างไรและเพลงนั้นสอนอะไร ตัวอย่างเช่น ถ้าท่านกำลังสอนเพลง “The Iron Rod” (Hymn, no. 274) ท่านจะวางภาพเกี่ยวกับคำสำคัญๆ จากเพลงไว้ทั่วๆ ห้อง (เช่น ราวเหล็ก พระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า นำทาง การล่อลวง และ สวรรค์) ขอให้เด็กเก็บภาพมาเรียงลำดับให้ถูกต้องขณะท่านร้องเพลงด้วยกัน

แบ่งปันบทเรียนที่ใช้อุปกรณ์จริง ท่านจะใช้อุปกรณ์จริงสร้างแรงบันดาลใจให้สนทนาเกี่ยวกับเพลง ตัวอย่างเช่น เพลง “ศรัทธา” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 50–51) กล่าวถึงเมล็ดเล็กๆ ท่านจะให้เด็กดูเมล็ดพืชและสนทนาว่าเราแสดงศรัทธาอย่างไรเมื่อเราเพาะเมล็ด นี่จะนำไปสู่การสนทนาเกี่ยวกับวิธีที่เราแสดงศรัทธาในพระเยซูคริสต์ดังอธิบายไว้ในเพลง

เชื้อเชิญให้แบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัว ช่วยเด็กเชื่อมโยงหลักธรรมที่สอนในเพลงกับประสบการณ์ที่พวกเขาเคยมีกับหลักธรรมเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ก่อนร้องเพลง “ฉันชอบมองดูพระวิหาร” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 99) ท่านจะขอให้เด็กยกมือถ้าพวกเขาเคยเห็นพระวิหาร เชื้อเชิญให้พวกเขาคิดขณะร้องเพลงว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นพระวิหาร

ถามคำถาม มีคำถามมากมายที่ท่านถามได้ขณะร้องเพลง ตัวอย่างเช่น ท่านถามเด็กได้ว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรจากเพลงแต่ละข้อ ท่านสามารถขอให้พวกเขาคิดคำถามที่เพลงตอบได้ นี่จะนำไปสู่การสนทนาเกี่ยวกับความจริงที่สอนไว้ในเพลง

ฟังคำตอบ ขอให้เด็กฟังคำตอบของคำถามเช่น “ใคร” “อะไร” “ที่ไหน” “เมื่อไร” หรือ “เหตุใด” ตัวอย่างเช่น ในเพลง “ความกล้าหาญของนีไฟ” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 64–65) เด็กจะฟังว่ามีคนขอให้ใครไปเอาแผ่นจารึก ที่ไหน เมื่อใด อย่างไร และเหตุใดเขาจึงเชื่อฟังพระเจ้า ท่านจะขอให้เด็กฟังคำสำคัญๆ หรือนับนิ้วด้วยว่าพวกเขาร้องคำนั้นกี่ครั้ง

การช่วยให้เด็กเรียนรู้และจดจำเพลงปฐมวัย

เด็กเรียนเพลงจากการฟังและร้องซ้ำหลายๆ ครั้ง ร้องเพลงใหม่ให้เด็กฟังเสมอ—อย่าเพียงแค่อ่านหรือท่องปากเปล่า จะช่วยให้เด็กเชื่อมโยงทำนองกับเนื้อร้องได้ หลังจากสอนเพลงแล้ว ให้ใช้วิธีสนุกๆ หลายๆ วิธีทบทวนเพลงนั้นตลอดปี ต่อไปนี้เป็นแนวคิดบางประการที่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้และทบทวนเพลงต่างๆ

ทำโปสเตอร์ ติดโปสเตอร์ที่มีเนื้อร้องจากแต่ละข้อหรือภาพแทนเนื้อร้องเหล่านั้น ขณะเด็กร้องเพลงให้ปิดคำบางคำหรือภาพบางภาพจนกว่าพวกเขาจะร้องทั้งเพลงได้โดยไม่ดูโปสเตอร์ ท่านสามารถเชื้อเชิญให้เด็กช่วยทำแผ่นโปสเตอร์ด้วย

แสดงระดับเสียงสูงต่ำ เพื่อช่วยให้เด็กรู้ท่วงทำนองเพลง ท่านจะประคองมือให้อยู่ในแนวนอน และท่านจะขยับมือให้สูงขึ้นเมื่อร้องเสียงสูงขึ้น และลดมือลงเมื่อร้องเสียงต่ำลง

ร้องตาม เชื้อเชิญให้เด็กร้องตามท่าน ร้องวลีสั้นๆ หรือหนึ่งท่อนให้เด็กฟัง แล้วให้พวกเขาร้องตามหลังท่าน

ใช้ความหลากหลาย ร้องเพลงหลายๆ วิธี เช่น กระซิบ ฮัม ปรบมือตามจังหวะ เปลี่ยนความเร็ว หรือร้องเพลงขณะนั่งและยืน ท่านจะทำลูกเต๋ากระดาษแล้วเขียนวิธีขับร้องแบบต่างๆ บนลูกเต๋าแต่ละด้านด้วยก็ได้ ให้เด็กคนหนึ่งทอยลูกเต๋าเพื่อตัดสินใจว่าจะให้เด็กร้องเพลงอย่างไร

ร้องเป็นกลุ่ม ให้ชั้นเรียนแต่ละชั้นหรือเด็กแต่ละคนร้องหนึ่งวลีขณะยืน แล้วให้พวกเขาเปลี่ยนวลีกันร้องจนกว่าชั้นเรียนแต่ละชั้นหรือเด็กแต่ละคนได้ร้องครบทุกวลี

ใช้ท่ามือ ให้เด็กคิดท่ามือง่ายๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาจำเนื้อร้องและข่าวสารของเพลงได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อท่านร้องข้อสองของเพลง “พระบิดาบนสวรรค์ทรงรักฉัน” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 16–17) ท่านจะให้เด็กชี้ที่ตาของตนเอง ทำท่าเหมือนผีเสื้อ และใช้มือป้องหูทั้งสองข้าง ขอให้เด็กเอามือแนบอกขณะร้องว่า “ใช่ ฉันจึงรู้พระบิดารักฉัน”

เด็กผู้หญิงร้อง เด็กผู้ชายร้อง วาดภาพเด็กผู้ชายกับภาพเด็กผู้หญิง ทากาวหรือใช้เทปติดภาพกับแท่งไม้ภาพละแท่ง ขณะทบทวนเพลง ให้ชูภาพใดภาพหนึ่งเพื่อให้รู้ใครจะร้องท่อนนั้น

โยนลงตะกร้า วางตะกร้าหรือภาชนะอื่นที่ติดตัวเลขแล้วไว้หน้าห้อง—ให้จำนวนภาชนะเท่ากับจำนวนข้อของเพลงที่จะร้อง ให้เด็กโยนถุงถั่วหรือก้อนกระดาษลงในภาชนะหรือใกล้ภาชนะที่ติดตัวเลข ให้เด็กร้องข้อเดียวกับตัวเลขที่ภาชนะ

จับคู่ภาพกับวลี เขียนเพลงลงในกระดาษแผ่นละท่อน แล้วหาภาพที่มีความหมายของเพลงแต่ละท่อน วางภาพไว้ด้านหนึ่งของห้องและกระดาษไว้อีกด้านหนึ่ง ร้องเพลง และขอให้เด็กจับคู่ภาพกับเนื้อร้อง

หมายเหตุ: คำว่าวอร์ดและฝ่ายอธิการหมายรวมถึงสาขาและฝ่ายประธานสาขาด้วย