คำสอนของประธานศาสนจักร
บทที่ 46: ความรับผิดชอบของบิดามารดา


บทที่ 46

ความรับผิดชอบของบิดามารดา

ประธานบริคัม ยัง รักเด็กๆ และเชื่อว่าเด็กๆ บริสุทธิ์ในสายพระเนตรของพระผู้เป็นเจ้า คำเทศนามากมายของท่านบรรจุไว้ด้วยคำแนะนำที่ให้กับสิทธิชนถึงวิธีที่จะดูแลลูกๆ ของ เขายกตัวอย่าง ลูกชายคนเล็กของท่านมีนิสัยชอบทิ้งช้อนและชามที่ใส่นมกับขนมปงลง บนพื้น ทุกครั้งที่มันวางอยู่ต่อหน้าเขา มารดาของลูกคนนี้ไม่รู้จะทำอย่างไร บริคัม แนะ นำเธอว่า “ครั้งต่อไปถ้าเขาทิ้งจานจากมือคุณ เอาเขาพิงไว้กับเถ้าอี้ อย่าพูดกับเขาแม้แต่ คำเดียว [และ] ไปทำงานของคุณต่อ” มารดาทำตาม ตอนแรกเด็กจะยืนอยู่ช้างๆ เก้าอี้ และมองไปที่แม่ของเขา ต่อจากนั้นก็จะมองไปยังสิ่งที่เขาทิ้งไว้บนพื้น ในที่สุดเขาจะ คลานไปที่ช้อนและชาม และนำมันกลับมาวางไว้ที่โต๊ะเหมีอนเดิม เด็กคนนั้นไม่เคยทิ้ง มันลงมาจากโต๊ะอีกเลยประธานยังกล่าวถึงการกระทำของภรรยาของท่านว่า “เธออาจ จะดีและทำให้เขาเจ็บตัวเหมือนกับที่มารดาส่วนใหญ่ทำ แต่หากเธอรู้ว่าจะทำอะไร เธอ จะแก้ไขลูกๆ ได้โดยปราศจากความรุนแรง” (LBY, ⅹⅹⅴ) การที่ประธานยังคำเนินชีวิตตาม หลักธรรมที่ท่านสอนทำให้เห็นเด่นชัดถึงคำพรรณนาของลูกสาวชื่อชูซาที่พูดถึงท่านว่า ท่านเป็น “พ่อที่สมบูรณ์แบบ ใจดีจนรู้ว่านั่นเกือบเป็นสิ่งผิดส่าหรับท่าน อ่อนโยน ช่างคิด ยุติธรรมและหนักแน่น…ไม่มีลูกคนใดกลัวท่าน พวกเราทุกคนนับถือท่าน” (LSBY, 356)

คำสอนของบริคัม ยัง

บิดามารดาเป็นผู้คุ้มครองลูกๆ ของพระผู้เป็นเจ้า ต้องอบรม ให้การศึกษา และดูแลพวกเขา

เราเป็นผู้คุ้มครองลูกๆ ของเรา เราได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เลียงดูอบรมและให้การศึกษา แก่ลูกๆ ของเรา และหากเราไม่ทำตามวิถีซึ่งจะทำให้พวกเขารอดจากอิทธิพลของความชั่ว ร้าย เมื่อนั้นเราจะถูกพิพากษา (LBY, ⅹⅹⅳ)

บิดามารดาต้องรับผิดชอบต่อวิธีที่พวกเขาให้การศึกษาและอบรมลูกๆ ของเขาต่อพระ พักตร์พระเจ้า เพราะ “นี่แน่ะ บุตรทั้งหลายเป็นมรดกจากพระเจ้า ผลิตผลของครรภ์เป็น รางวัลชายใดๆ ที่มีลูกธนูเต็มแล่ง ก็เป็นสุข เขาจะไม่ต้องละอาย” [สดุดี 127:3–5]” (DNW, 7 Dec. 1864, 2)

บิดามารดา จงพยายามให้เกียรติลูกๆ ของท่าน เลี้ยงดูพวกเขาในการอบรมสั่งสอนและ การต้กเตือนของพระเจ้า สอนความจริงไม่ใช่ความเชื่อผิดๆ แก่พวกเขา สอนให้เขารักและ รับใช้พระผู้เป็นเจ้า [ดู เฉลยธรรมบัญญัติ 6:5] สอนให้เขาเชื่อในพระเยซูคริสต์พระบุตรของ พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ช่วยให้รอดของโลก (DNSW, 8 Aug. 1877, 1)

มารดาเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในความอารักขาของพระผู้เป็นเจ้าที่จะชี้นำสู่จุดหมาย ปลายทางของประชาชาติ ขอให้มารดาของประชาชาติต่างๆ สอนลูกๆ ของเขาพวกไม่ให้ทำ สงคราม ลูกๆ จะไม่มีวันเติบโตชี้นและเช้าสู่ลงคราม หากมารดาลอนลูกๆ ของเขาว่า “สงคราม สงครามกับศัตรู ใช่แล้ว ทำลงครามให้ถึงที่สุด” พวกเขาจะเต็มไปด้วยวิญญาณนี้ ดังนั้นท่านจะเห็นในทันทีว่าสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการปลกฝังไวในความคิดของท่านคือ มารดา เป็นเครื่องจักรที่เพิ่มความกระตือรือร้นแก่มนุษย์ทั้งปวง มารดาจะนำจุดหมายปลายทาง และชีวิตของมนุษย์บนแผ่นดินโลก (DBY, 199–200)

เราลามารถนำทาง ชี้แนะ และตัดเล็มกิ่งอ่อนให้มันเติบโตไปในทิศทางที่เราต้องการ หาก เราทำอย่างฉลาดและประยุกต์ใช้อย่างชำนาญ ด้วยเหตุนี้หากเราสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็ก ด้วยอิทธิพลที่ดีและเป็นประโยชน์ให้คำแนะนำที่เหมาะลมและป้อนประเพณีเกี่ยวกับความ จริงเข้าไปในความคิดของเขา บางทีสิ่งนี้อาจจะนำพวกเขาไปในทางแห่งชีวิต (DBY, 209)

บิดามารดาควรเลี้ยงดูลูกๆ ของเขาในความรักและความอ่อนโยน

ขอให้บิดามารดาปฏิบัติต่อลูกๆ ของเขาเหมือนกับที่ต้วเขาประสงค์จะได้รับการปฏิบัติเช่น นั้น และเป็นตัวอย่างต่อพวกเขา ซึ่งเป็นสิ่งเหมาะลมที่ท่านจะทำในฐานะสิทธิชนของพระผู้ เป็นเจ้า (DNW, 7 Dec. 1864, 2)

อบรมลูกๆ ให้รักและเกรงกลัวพระเจ้า ศึกษาอุปนิสัยใจคอของพวกเขา และจัดการกับ พวกเขาตามนั้น อย่ายอมให้ตัวท่านลงโทษเขาเมื่อท่านกำลังโกรธ สอนเขาให้รักท่านแทนที่ จะกลัวท่าน (DBY, 207)

ในธุรกิจประจำวันของชีวิตไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดหรือประเภทใดก็ตามสิทธิชนยุคสุดท้าย…ควรรักษาความเสมอตันเสมอปลายและใจเย็น ทั้งยามที่อยู่ในบ้านและอยู่นอกบ้านเขา ต้องไม่ยอมให้ความล้มเหลวและสภาพที่ไม่นำพึงใจทำให้เขารู้สึกท้อแท้ จนต้องระบาย ความรู้สึกเบื่อหน่ายและหงุดหงิดที่บ้าน พูดคำที่เต็มไปด้วยความรุนแรงและทำให้ผู้ฟังเจ็บ ปวด…สร้างความกลัดกลุ้มและเศร้าหมองในบ้านของเขา ทำให้ครอบครัวกลัวเขาแทนที่จะรัก เขา เราไม่ควรยอมให้ความโกรธผุดชี้นในใจของเรา และไม่ควรเอ่ยคำพูดที่เกิดจากความรู้สึก โกรธออกจากปากของเรา “คำตอบอ่อนหวานช่วยละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป แต่คำ กักขฬะเร้าโทละ” [สุภาษิต 15:1] “ความพิโรธก็ดุร้าย ความโกรธก็ท่วมท้น” [สุภาษิต 27:4] แต่ “สามัญสำนึกที่ดีกระทำให้คนโกรธช้า และที่มองข้ามการทรยศไปเสียก็เป็นศักดิ์ศรีแก่ เขา” [สุภาษิต 19:11] (DBY, 203–4)

ในชีวิตที่ผ่านมาข้าพเจ้าเห็นว่าบิดามารดาส่วนใหญ่มุ่งหวังมากที่จะปกครองและควบคุม ลูกๆ ของเขา เท่าที่สังเกต ข้าพเจ้าเห็นบิดามารดาที่ไม่สามารถควบคุมตนเองมีจำนวนมาก กว่าบิดามารดาที่ไม่สามารถควบคุมลูกๆ ของเขา หากมารดาประสงค์ที่จะควบคุมลูกๆ ของ เธอ ขอให้เธอเรียนรู้ที่จะควบคุมตนเองก่อน จากนั้นเธอจึงจะได้รับความสำเร็จในการนำ ลูกๆ มาอยู่ภายใต้ความต้องการของเธออย่างลมบูรณ์ แต่หากเธอไม่ควบคุมตนเองเธอจะ หวังได้อย่างไรว่าลูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ ที่ยังไม่มีความเข้าใจ —จะเป็นคนฉลาด รอบ คอบและดีกว่าคนที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว? (DNSW, 12 July 1870, 2)

บิดามารดาไม่ควรบังคับลูกๆ ให้ทำบางสิ่งบางอย่าง แต่จูงใจเขา ให้ความรู้แก่เขาตราบ ที่พวกเขาพร้อมจะรับมัน การลงโทษอาจจำเป็นหากได้รับการกระตุ้นเตือน แต่บิดามารดา ควรปกครองลูกๆ โดยศรัทธามากกว่าไม้เรียว นำพวกเขามาลู่ความจริงและความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งมวลด้วยความเมตตาโดยการเป็นตัวอย่างที่ดี (DBY, 208)

เราไม่ลามารถตีลอนลูกเพราะการทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความต้องการของเรา หากเขารู้ก็ ไม่มีอะไรดีขึ้นมา แต่เมื่อลูกๆ ของเราได้รับการลอนที่ดีกว่าและรู้ถึงสิ่งที่เขาถูกเรียกร้องจาก นั้นหากเขาดื้อดึง แน่นอน เขาต้องได้รับการดีลอน และมันเป็นสิทธิที่ท่านควรจะทำอย่าง ลมบูรณ์ (DNSW, 8 July 1873, 1)

ข้าพเจ้าจะพูดกับบิดามารดาที่นี่ว่า คำพูดที่อ่อนหวานและการกระทำที่เต็มไปด้วยความ รักต่อลูกๆ จะพิชิตนิสัยที่ไม่ดีของเขาได้มากยิ่งกว่าไม้เรียว หรืออีกนัยหนึ่ง มากกว่าการลง โทษทางกาย แม้จะมีเขียนไว้ว่า “ไม้เรียวและคำตักเตือนให้ปัญญา แต่ถ้าปล่อยเด็กไว้ แต่ สําพังจะนำความอับอายมาสู่มารดาของตน [สุภาษิต 29:15]” และ “บุคคลที่ลงวนไม้เรียวก็ เกลียดบุตรชายของตน แต่ผู้ที่รักเขาพยายามตีสอนเขา [สุภาษิต 13:24]” ข้อความที่ยกมา เหล่านี้หมายถึง…การแก้ไขที่ฉลาดและรอบคอบ เด็กที่มีชีวิตอยู่ในอิทธิพลที่ดีของความรัก และความอ่อนโยนของบิดามารดา เมื่อรู้ต้วว่าทำให้บิดามารดาไม่พอใจ และได้รับคำตักเตือน ที่อ่อนโยนจากปากบิดามารดา จะได้รับการตีสอนอย่างเต็มที่มากกว่าการลงโทษทางกาย ใดๆ ที่นำมาใช้ได้กับร่างกายของเขา (DNW, 7 Dec. 1864, 2)

ข้าพเจ้าเข้าใจว่ามีชายเป็นจำนวนมากในที่ประชุมนี้ที่ขับไล่ลูกๆ ออกไปจากเขาโดยการ ใช้ไม้เรียว ที่ใดมีความรุนแรง ที่นั้นไม่มีความรักหรือความรู้สึกกตัญณูในหัวใจของทั้งลูกๆ และบิดามารดา ลูกๆ ยอมไปจากพ่อดีกว่าจะอยู่กับเขา (DBY, 203)

ไม่ใช่โดยแส้หรือไม้เรียวที่จะทำให้ลูกเชื่อฟัง แต่โดยศรัทธาและการสวดอ้อนวอน รวมทั้ง การเป็นตัวอย่างที่ดีต่อพวกเขา (DNW, 9 Aug. 1865, 3)

ข้าพเจ้าไม่เชื่อการแสดงอำนาจในการเป็นสามีหรือบิดาโดยใช้วิธีบังคับเยี่ยงสัตว์ แต่โดย ความรู้แจ้งที่เหนือกว่า โดยเฉพาะโดยการแสดงให้เขาเห็นว่าข้าพเจ้าสามารกสอนพวกเขา ได้…หากพระเจ้าทรงกำหนดให้ข้าพเจ้าเป็นหัวหน้าครอบครัว ขอให้ข้าพเจ้าเป็นด้วยความ อ่อนน้อมถ่อมตนและความอดทนทั้งหมดไม่ใช่เป็นผู้ปกครองเผด็จการ แต่เป็นเพื่อนที่ ชื่อสัตย์พ่อที่ผ่อนผันและเต็มไปด้วยความเมตตา เป็นผู้ปกครองที่มีความคิด ไม่อวดดี และ สามารถทำหน้าที่ของข้าพเจ้าให้บรรลุหนทางที่จะทำให้เกิดความรอดแก่ทุกคนที่มอบให้อยู่ ในความรับผิดชอบของข้าพเจ้า โดยการช่วยเหลือของพระวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้า (DNW, 23 July 1862, 2)

บ่อยครั้งที่ลูกๆ ของเราอาจไม่มีวิญญาณที่ดีอยู่ในเขา แต่หากบิดามารดายังคงมีพระวิญญาณที่ดีอยู่ ลูกจะมีวิญญาณที่ไม่ดีในช่วงเวลาสั้นๆ หากบิดามารดาผู้ปกครองในความ ชอบธรรม ในความเกรงกลัวและความรักของพระผู้เป็นเจ้า ลูกๆ ของท่านจะทำตามท่าน (DNSW, 7 Apr. 1868, 3)

แววตาที่อ่อนโยน การปฏิบัติและคำพูดที่อ่อนโยน การวางตัวอย่างถูกต้องและบริสุทธิ์ต่อ [ลูกๆ] จะผูกลูกๆ ไว้กับเราด้วยสายใยที่จะไม่ขาดได้ง่ายๆ ขณะที่การปฏิบัติด้วยความรุน แรงและไร้ความเมตตาจะผลักคันพวกเขาออกจากเรา ทำลายสายสัมพันธ์อันคักดิ์สิทธี์ที่ผูก เข้าไว้กับเรา และกับพันธสัญญาอันเป็นนิจชึ่งโอบล้อมพวกเราอยู่ให้พินาศย่อยยับ ถ้าหาก ครอบครัวของข้าพเจ้าและพี่น้องชายหญิงของข้าพเจ้า…ไม่เชื่อพังข้าพเจ้าบนพื้นฐานของ ความเมตตา และชีวิตอันน่ายกย่องสรรเสริญต่อมนุษย์ทั้งปวงและต่อชาวสวรรค์ทั้งผองแล้ว ก็คงไม่มีสิ่งใดมีอิทธิพลต่อพวกเขาได้อีก (DNW, 7 Dec. 1864, 2)

ขอให้เราดำเนินชีวิตเพื่อที่วิญญาณแห่งศาสนาของเราจะอยู่ภายในเรา แล้วเราจะมีสันติ ความชื่นบาน ความสุขและความสฺําราญใจ ชึ่งถ่อให้เกิดบิดามารดาที่ถูกใจ ลูกๆ ที่ถูกใจ ครอบครัว เพื่อนบ้าน ชุมชนและเมีองที่ถูกใจ นั่นคุ้มค่าพอที่จะมีชีวิตอยู่ และข้าพเจ้าคิดว่า สิทธิชนยุคสุดท้ายควรพยายามเพื่อให้ได้สิ่งนี้ (DBY, 204)

บิดามารดาควรนำลูกๆ อย่างแน่วแน่และเมตตา ในการดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรม

ท่านควรจะทำตัวเป็นตัวอย่างต่อลูกๆ ของท่านในความคิดและความรู้สึกของเขาแทนการ บีบบังคับโดยการเฆี่ยนดีลูกเพื่อให้ทำสิ่งที่เขาควรทำ จงล่งเสริมลูกๆ ด้วยความอ่อนโยน และโดยคำแนะนำ การนำและการชี้แนะเพื่อให้เขาทำสิ่งที่ถูกต้อง เมื่อท่านจะพูดว่า “มาลูก มานี่” และท่านจะไม่ใช้ไม้เรียว เขายินดีที่จะทำตามท่าน เขาจะชอบคำพูดและวิธีของท่าน เพราะท่านปลอบโยนพวกเขาเสมอ ท่านให้ความพึงพอใจและความสุขแก่เขา หากเขาเกเร เพียงเล็กน้อยจงหยุดพวกเขาเมื่อเขาออกไปไกลมากพอแล้ว..เมื่อเขาล่วงละเมิดและอยู่เลย ขอบเขต เราต้องให้เขาหยุด หากท่านเป็นผู้นำเขาจะหยุด เขาวิ่งลํ้าหน้าท่านไม่ได้ แต่หาก ท่านอยู่หลังเขาจะวิ่งหนีไปจากท่าน (DNSW, 8 Dec. 1868, 2–3)

ลูกชอบรอยยิ้มของมารดา แต่เกลียดหน้าบึ้งของเธอ ข้าพเจ้าบอกมารดาว่าอย่ายอมให้ ลูกๆ ของท่านพัวพันในความเลาร้าย แต่ขณะเดียวกันปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยความอ่อนโยน หากต้องการให้ลูกก้าวไปในทิศทางหนึ่ง และดูเหมือนจะไม่เป็นไปอย่างนั้นก็ค่อยๆ ดึงเขา ไปในทางที่ปรารถนาอย่างนุ่มนวล และพูดว่า นั้นไง ลูกรักของแม่ หนูต้องก้าวเมื่อแม่บอก หนู ลูกๆ ต้องการการชี้นำและการสอนสิ่งที่ถูกต้องด้ายท่าทีที่อ่อนโยนและเต็มไปด้ายความ รัก (DBY, 209)

อย่าปล่อยให้ตัวเองทำสิ่งที่เราไม่อยากเห็นลูกๆ ของเราทำ เราควรเป็นแบบอย่างตามที่ เราปรารถนาจะให้เขาเลียนแบบ เราตระหนักถึงสิ่งนี้หรือไม่? บ่อยครั้งเพียงใดที่เราเห็นบิดา มารดาปรารถนาการเชื่อฟัง ความประพฤติที่ดี คำพูดที่อ่อนโยน สีหน้าที่เบิกบานนํ้าเสียงที่ ไพเราะ และแววตาที่ลดใสจากลูกๆ ขณะที่ตัวเขาเองเต็มไปด้วยความระทมทุกข์และการ ดุด่าว่ากล่าว! ช่างตรงกันข้ามและไม่มีเหตุผลเอาเลียเลย! (DBY, 208)

ลูกๆ จะผูกพันกับบิดามารดาของเขาด้วยสายใยอันเป็นนิจ

ขอให้บิดาและมารดาผู้เป็นสมาซิกของศาสนาจักรและอาณาจักรแห่งนี้ดำเนินไปในวิถีที่ ชอบธรรม และพยายามอย่างสุดกำลังที่จะไม่ทำผิดเลย แต่ทำสิ่งที่ดีตลอดชีวิต ไม่ว่าเขาจะมี ลูกหนึ่งคนหรือหนึ่งร้อยคน หากเขาประพฤติตนต่อลูกๆ ดังที่ควร ผูกลูกๆ ไว้กับพระเจ้า โดยศรัทธาและการสาดอ้อนวอน ข้าพเจ้าไม่ห่างเลยว่าเด็กๆ เหล่านั้นจะไปในทิศทางใด พากเขาถูกผูกไว้กับบิดามารดาของเขาด้ายลายใยอ้นเป็นนิจ และไมมีอำนาจใดบนโลกนี้ หรือในนรกจะสามารถแยกพวกเขาออกจากบิดามารดาได้ในความเป็นนิรันดร์ พากเขาจะ กลับสู่แหล่งนํ้าพุที่พากเขาถือกำเนิดมาอีกครั้ง (DBY, 208)

ข้อแนะนำสำหรับการศึกษา

บิดามารดาเป็นผู้คุ้มครองลูกๆ ของพระผู้เป็นเจ้า ต้องอบรม ให้การศึกษา และดูแลพวกเขา

  • ตามที่ประธานยังกล่าว บิดามารดาเป็นผู้คุ้มครองลูกๆ ของเขาอย่างไร? ทัศนะนี้มีผล กระทบอย่างไรต่อการเลี้ยงดูลูก?

  • การชี้นำสูกๆ ใน “ทางแห่งชีวิต “หมายความว่าอะไร? บิดามารดาจะทำสิ่งใดได้บ้างใน การชี้นำน?

  • ประธานยังกล่าวว่าอะไรคือพรของบิดามารดาที่ชื่อสัตย์? สิ่งนี้จะบรรลุผลสำเร็จได้อย่างไร?

บิดามารดาควรเลี้ยงดูลูกๆ ของเขาในความรักและความอ่อนโยน

  • บิดามารดาจะสอนลูกๆ ให้รักเขาแทนที่จะกลัวเขาได้อย่างไร? ทำใมสิ่งนี้จึงสำคัญ?

  • ทำไม บิดามารดาบางคนจึง “มุ่งหวังที่จะปกครองและคาบคุมลูกๆ ของเขา”? บิดา มารดา ต้องทำอะไรก่อนที่เขาจะปกครองลูกๆ ได้อย่างชอบธรรม? ท่านได้รับความสำเร็จ ในการคาบคุมตนเองขณะที่มีความโกรธได้อย่างไร?

  • อะไรคือความแตกต่างระหว่างการตีสอนลูกที่ดื้อ กับการล่างเกินทางกายหรือวาจา? เวลาใดและวิธีใดจึงจะเหมาะสมกับการตีสอนลูก?

  • ทำไมความอ่อนโยนจึงมีประสิทธิภาพมากกว่าการลงโทษทางกายในการสร้างระเบียบวินัยให้ลูก?

  • ท่านคิดว่าประธานยังหมายความว่าอะไรเมื่อท่านกล่าวว่า “เด็กที่มีชีวิตอยู่ในอิทธิพล ของความรักและความอ่อนโยนของบิดามารดา เมื่อรู้ตัวว่าทำให้บิดามารดาไม่พอใจ และได้รับคำตักเตือนที่อ่อนโยนจากปากบิดามารดาจะได้รับการตีลอนอย่างเต็มที่ยิ่งเลีย กว่าการลงโทษทางกายใดๆ ที่ลามารถนำมาใช้กับร่างกายของเขา”?

  • การกระทำใดจะผูกมัดลูกๆ ไว้กับบิดามารดาของเขา? การกระทำใดจะขับไล่ลูกไปจาก บิดามารดาของเขา?

บิดามารดาควรนำลูกๆ อย่างแน่วแน่และเมตตา ในการดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรม

  • เวลาใดที่เด็กๆ ต้องการการชี้นำ? ทำไมจึงสำคัญที่จะกำหนด “ขอบเขต” ให้เด็ก?

  • ตามที่ประธานยังกล่าว อะไรคือหนทางที่ดีที่สุดที่จะให้การชี้นำแก่เด็กๆ? บิดามารดาจะ ทำอะไรได้บ้างเพื่อนำลูกๆ แทนที่จะขับไล่ลูกๆ ของเขา?

ลูกๆ จะผูกพันกับบิดามารดาของเขาด้วยสายใยอันเป็นนิจ

  • ท่านจะผูกลูกๆ ของท่านไว้กับท่านด้ายสายใยอันเป็นนิจได้อย่างไร?

ภาพ
Brigham Young’s house

บีไฮว์ เฮาส์ บ้านของบริคัม ยัง ในซอลท์ เลค ซิตี้ ยูท่าห์ ณ สถานที่แห่งนี้ท่านสวดอ้อนวอน และศึกบาพระคัมภีร์เป็นประจำทุกวันคับสมาชิกในครอบครัวของท่าน