คำสอนของประธานศาสนจักร
บทที่ 1: การปฏิบัติศาสนกิจของบริคัม ยัง


บทที่ 1

การปฏิบัติศาสนกิจของบริคัม ยัง

บริคัม ยังเป็นประธานคนที่สองของศาสนาจักรของพระเยซูคริสต์แห่งสิทธิชนยุคสุดท้าย เป็นผู้บุกเบิกอาณานิคม และผู้สร้างมวลชนที่ยิ่งใหญ่ของสิทธิชนยุคสุดท้ายในอเมริกา ตะวันตก ทั้งยังเป็นสามีและบิดาผู้อุทิศตน ท่านเป็นสานุศิษย์และอัครสาวกที่ชื่อสัตย์ของ พระเจ้าพระเยซูคริสต์ ท่านแสดงประจักษ์พยานว่า “พระเยซูคือหัวหน้ากองทัพและผู้นำ ของเรา” (DNW, 24 May 1871, 5) “ศรัทธาของข้าพเจ้าแน่วแน่อยู่กับพระเจ้าพระเยซู คริสต์และความรู้สึกทั้งมวลที่ข้าพเจ้าได้รับจากพระองค์” ท่านยีนยัน (DNW, 21 Nov. 1855, 2) ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตของท่านมุ่งไปที่การเสริมสร้างและผดุงไว้ชึ่งอาณาจักรของ พระเจ้าพระเยซูคริสต์บนแผ่นดินโลก

ประสบการณ์จากชีวิตของบริคัม ยัง

การเรียนรู้โดยผ่านการทำงานหนัก

บริคัม ยัง เกิดที่เวอร์มอนทํในปี 1801 เป็นบุตรคนที่เก้าในจำนวน 11 คนของจอห์นและ อบิเกล โฮว์ ยัง ท่านเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในพื้นที่ป่าทึบใจกลางรัฐนิวยอร์ค ชึ่งบ้านของ ครอบครัวท่านและผืนดินบริเวณรอบๆ นั้น กลายเป็นชั้นเรียนของท่าน (see DNW, 22 Apr. 1857, 4) บิดามารดาของท่านยากจน ท่านเล่าในเวลาต่อมาว่า “ในวัยเยาว์เราไม่ เคยมีโอกาลเรียนหนังลือ แต่เรามีสิทธิพิเศษที่ได้เก็บกิ่งไม้ โค่นต้นไม้ เข็นต้นซุง และขุด รากต้นไม้ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นท่าให้แข้งขา เท้า และนิ้วเท้าของเราฟกชํ้า” (DNW, 12 Aug. 1857, 4) บริคัม ยัง ทำงานหนักมาก ท่านช่วยหักร้างถางพง ทำไร่ และช่วยงานบ้าน ท่าน ไม่เคยลืมการอบรมสั่งลอนในต้านศีลธรรมที่เคร่งครัดของบิดา หรือวิธีที่มารดาของท่าน “ลอนลูกๆ อยู่เสมอว่าจงให้เกียรติพระนามของพระบิดาและพระบุตร ให้ความเคารพต่อ [พระคัมภีร์ไบเบิล]: เธอกล่าวว่า จงอ่านพระคัมภีร์ไบเบิล ปฎิบ้ติตามคำลอนที่อยู่ในนั้น และนำมาใช้กับชีวิตประจำวันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำไต้ทำทุกอย่างที่เป็นความดี ไม่ทำสิ่งที่ ชั้วร้ายใดๆ ทั้งลิ้น และหากลูกเห็นใครก็ตามอยู่ในความเศร้าโศก จงช่วยลงเคราะห์ในสิ่งที่ เขาต้องการ” (MSS, 1853, 55) มารดาของบรีคัม ยัง เสียชีวิตเมื่อท่านมีอายุเพียง 14 ปี

เมื่อบริคัม ยัง อายุได้ 16 ปี ท่านไปฟึกงานเป็นช่างไม้ ช่างตกแต่งภายใน ช่างทาสี และ ช่างตัดกระจก ท่านภาคภูมิใจฝืมีอในเชิงช่างของท่าน’โดยกล่าว1ว่า ในความคิดของท่าน ท่าน ถือว่า “ความชื่อตรง ความไว้วางใจได้ ที่ให้กับนายจ้าง สิ่งนี้จะยั่งยืน” และเป็น “ส่วนหนึ่ง ของศาสนาของข้าพเจ้า” (Brigham Young to George Hickox, 19 Feb. 1876, BYP)

เมื่ออายุ 23 ปี ท่านแด่งงานกับมิเรียม แองเจลีน เวิร์คส ทั้งสองมีบุตรสาวสองคน บริคัมเลี้ยงดูครอบครัวโดยทำและซ่อมเก้าอี้ โต๊ะ ดู้ และติดตั้งหน้าต่าง ประตู บันได ราม ทั้งแท่นเตาผิงในฟาร์มของบิดาที่เม็นดอน รัฐนิายอร์ค ท่านสร้างบ้านและร้านเฟอร์นิเจอร์ ติดกับลำธารเล็กๆ โดยใช้ระหัดวิดนํ้าเพื่อให้เครื่องจักรโรงเลื่อยทำงาน

เมื่อมิเรียมเป็นวัณโรค บรีคัม ต้องรับภาระงานบ้านของเธอมาบวกกับงานประจำของ ท่าน เมื่อเธอป่ายหนักขึ้น ท่านต้องเตรียมอาหารเช้าให้ครอบครัว แต่งตัวให้บุตรสาว ทำ ความสะอาดบ้านและ “อุ้มภรรยาไปที่เก้าอี้โยกใกล้เตาผิงและให้เธอนั่งอยู่ที่นั่นจนกว่าท่าน จะกลับบ้านในตอนเย็น” ซึ่งเมื่อกลับมาท่านก็ต้องทำอาหารค่ำ พาสมาชิกในครอบครัวไป นอนและทำงานบ้านที่เหลือให้เสร็จ (LSBY, 5) ประสบการณ์ในวัยเยาว์ ชีวิตแต่งงานช่าง แรกๆ ที่ต้องคอยดูแลลูกๆ และจัดบ้าน สอนท่านอย่างมากเกี่ยวกับการร่วมแรงร่วมใจของ ครอบครัว และการดูแลบ้าน หลายปีต่อมาท่านแนะนำสิทธิชนในเรื่องเหล่านี้และคุยอาดเชิง หยอกล้อว่า ท่านเก่งกว่า “สตรีทุกคนในชุมชนนี้ในเรื่องการดูแลบ้าน” (DNW, 12 Aug 1857, 4)

การได้รับประจักษ์พยานแห่งพระวิญญาณ

บริคัมและมิเรียมเข้าร่วมกับนิกายเมโธคิสต์ในปีที่ทั้งสองแต่งงานกัน แต่บริคัมยังคงมีข้อ สงสัยเกี่ยวกับเรื่องทางศาสนา ท่านแสวงหาศาสนาจักรที่จัดระเบียบตามแบบที่พระเยซูทรง สถาปนาขึ้น ตามแบบแผนในพันธสัญญาใหม่ที่มี “ระบบแห่งการแต่งตั้ง” (DNW, 19 July 1866, 3) และของประทานทั้งหมดของพระกิตติคุณ เนื่องจากความพยายามในการเผยแผ่ ศาสนาของแซมิวเอล น้องชายของโจเซฟ สมิธ ทำให้ครอบครัวของบรีคัม ยังได้รับพระ คัมภีร์มอรมอนสองเล่มในเดือนเมษายน 1830 ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือนหลังจากพิมพ์พระคัมภีร์มอรมอนออกมา พี่น้องของบรีคัมบางคนอ่านพระคัมภีร์เล่มนี้และประกาศ ว่ามันเป็นความจริง แต่บรีคัมเองไม่ไต้ยอมรับในทันที (see LL, 33) “ข้าพเจ้าบอกกับตัว เองว่า ‘ไม่ต้องรีบร้อน…’ คอยสักช่างเวลาหนึ่ง คำสอนของพระคัมภีร์เล่มนี้คืออะไร และ พระเจ้าประทานการเปีดเผยอะไร? ขอให้ผมไต้ตรวจตราสิ่งนี้ด้ายความคิดและความรู้สึกของ ผมเสียก่อน’…บ้าพเจ้าตราจสอบเรื่องราวอย่างเอาจริงเอาจังเป็นเวลาถึงลองปีก่อนที่ข้าพเจ้า จะตัดสินใจยอมรับหนังลือเล่มนี้ข้าพเจ้าทราบว่าพระคัมภีร์เล่มนี้จริง เช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้า ทราบว่า ข้าพเจ้ามองเห็นไต้ด้ายตา หรือรู้สึกไต้ด้ายการใช้นิ้วมือจับต้อง หรือสัมผัสไต้ด้าย ประสาทสัมผัสใดๆ ก็ตาม หากไม่ไต้เป็นดังที่กล่าวมา ข้าพเจ้าจะไม่มีวันยอมรับพระคัมภีร์ เล่มนั้นจนถึงทุกวันนี้” (MSS, 15:45)

บริคัม ยังต้องรู้ด้วยตัวของท่านเอง ต่อมาทานสอนสิทธิชนว่าพระผู้เป็นเจ้าไม่ประสงค์ให้ พากเขา “ไต้รับการนำทางจากใครทั้งสิ้น หรือพึ่งพาศรัทธาของผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา โดยไม่มี ความเข้าใจของตนเองเลย” (DNW, 24 Aug. 1854, 1) “เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะรู้พระ ดำริของพระเจ้าเกี่ยวกับตัวข้าพเจ้าเอง” ท่านบอกพากเขาเช่นนั้น (DNW, 22 Sept. 1875, 4)“เป็นสิทธิพิเศษและหน้าที่ของท่านที่จะดำเนินชีวิตเพื่อให้รู้ว่าเมื่อใดพระคำของพระเจ้ามา ถึงท่านและเมื่อใดที่พระดำริของพระเจ้าเปิดเผยมาถึงท่าน” (DNW, 22 Sept. 1875, 4)

ผู้ลอนศาสนาจากสาขาของศาสนาจักรในโคลัมเบีย รัฐเพ็นชิลวาเนีย ซึ่งเดินทางผ่าน เมืองเมนดอน ในปี 1831 สอนว่าท้องฟ้าถูกเปิด พระกิตติคุณและฐานะปุโรหิตอันศักดิ์สิทธิ์ได้รับการฟื้นฟูโดยผ่านโจเซฟ สมีธ หลังจากบริคัมและสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวรามทั้ง เพื่อนๆ ของท่านไปเยี่ยมสาขาโคลัมเบีย ท่านเชื่อว่าท่านไต้พบศาลนาที่ท่านแสวงหามา เป็นเวลานานแล้ว แต่ท่านมีความยากลำบากในการตัดสินใจว่าท่านจะลามารถเลียสละทุก สิ่งเพื่อศาลนานั้นไต้หรือไม่ และแล้ว ขณะที่ผู้สอนศาสนาคนหนึ่งแสดงประจักษ์พยาน ท่านจำไต้ว่า “พระวิญญาณบริสุทธิซึ่งเกิดจากชายผู้นั้นทำให้ความเข้าใจของข้าพเจ้าสว่าง ความสว่าง รัศมีภาพ และความเป็นอมตะฉายล่องอยู่ตรงหน้าข้าพเจ้า” ท่านกล่าวว่าท่าน ถูกห้อมล้อมและเต็มไปด้ายสิ่งเหล่านั้น และท่านรู้ด้ายตนเองว่าประจักษ์พยานของชายผู้ นั้นเป็นความจริง (DNW, 9 Feb. 1854. 4) วันที่ 15 เมษายน 1832 ซึ่งเป็นวันที่หนาว เย็นและมีหิมะ บ่ริคัม ยัง รับบัพดิศมาในลำธารที่ไหลผ่านโรงลีของท่าน ท่านไต้รับการ ยืนยัน และการแต่งตั้งเป็นเอ็ลเดอร์ (see DNW, 2 Apr. 1862, 1) “ตามพระดำรัสของ พระผู้ช่วยให้รอด ข้าพเจ้ารู้สึกถ่อมใจ มีวิญญาณที่เหมือนเด็ก ซึ่งเป็นพยานต่อข้าพเจ้าว่า บาปของข้าพเจ้าไต้รับการอภัยแล้ว” ท่านหวนคิด (MHBY–1, 3) มิเรียมเข้าสู่นํ้าแห่งบัพติศมาลามสัปดาห์ต่อมา (MHBY–1, 3) พ่อแม่และพี่น้องใกล้ชิดทุกคนของบริคัม ยังไต้รับ บัพติศมาและเป็นสิทธิซนที่ซื่อสัตย์ตลอดชีวิตของพวกเขา

ปลายฤดูร้อนของปี 1832 ภายหลังกลับจากการเดินทางไปลอนศาลนาในชนบทใกล้ๆ บริคัม ยัง เฟ้าพยาบาลมีเรียมตลอดสัปดาห์สุดท้ายของความเจ็บป่ายด้ายวัณโรคที่รุมเร้าเธอ อยู่ เธอเลียชีวิตในเดือนกันยายน 1832

การเสียสละเพื่อสร้างและปกป้องอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า

บริคัม ยังทุ่มเทความลนใจและพลังให้ศาสนาจักรอย่างเต็มที่ ด้ายความกระดือริอร้นที่ จะพบกับศาสดาโจเซฟ สมีธ ท่านจึงออกเดินทางไปเคิร์ทแลนด์ รัฐโอไฮโอทันที ท่านไปกับ พี่ชายชื่อโจเซฟ และฮีเบอร์ ชี. คิมบัลล์เพื่อนสนิท พากเขาพบโจเซฟ สมีธขณะกำลังตัดไม้ กับพี่ชายและน้องชายของท่าน บริคัม “มีความสุขอย่างเต็มเปียมเมื่อไต้รับสิทธิพิเศษในการ จับมือกับศาสดาของพระผู้เป็นเจ้า” และ ได้รับ “ประจักษ์พยานที่แน่นอนโดยพระวิญญาณ แห่งการพยากรณ์ว่า ท่านเป็นบุคคลที่ใครๆ ก็เชื่อว่าท่านเป็นศาสดาที่แท้จริง” (MHBY–1, 4) นี่คือการเริ่มด้นของลัมพันธภาพที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของบริคัม ยัง เมื่อท่านกลับมาที่ นิวยอร์ค ท่านแจกจ่ายข้าวของของท่านและทำธุรกิจน้อยลงเพื่อจะอุทิศเวลาให้กับศาลนา จักรไต้มากขี้น เมื่อแน่ใจว่าไวเลต คืมบัลล์ ภรรยาของฮีเบอร์จะดูแลลูกลาวของท่าน ท่านจึงไปรับใช้เป็นผู้ลอนศาลนาอีกหลายครั้ง ท่านจัดประชุมและให้บัพติศมาในเขตชนบท รอบเมืองเม็นดอน ท่านเดินทางไปยังตอนเหนือของนิวยอร์คและออนตาริโอประเทศ แคนาดาด้วย พื่อลอนพระกิตติคุณและแสดงประจักษ์พยานวาโจเซฟ ลมืธ คือศาลดาของ พระผู้เป็นเจ้า

ด้วยความปรารถนาที่จะทำตามคำแนะนำของศาลดาที่ให้ไปอยู่รวมกับสิทธิชน บริคัม ยัง จึงย้ายครอบครัวจากเม็นดอนไปยังเคิร์ทแลนด์ในปี 1833 ที่นั่น บริคัม “ได้รับสิทธิพิเศษใน การฟังคำลอนของศาลดาและการได้อยู่ในสังคมของสิทธิชน ท่านทำงานอย่างหนักโดยยึด การค้าขายแบบเดิม” (MHBY–1, 7) ท่านช่วยสร้างบ้าน พระวิหารเคิร์ทแลนด์ และอาคาร สาธารณะอีกหลายแห่ง

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 1834 ท่านแต่งงานกับแมรีย์ แอนน์ แองเจลล์ สิบปีต่อมา ครอบ ครัวของทั้งสองก็มีสมาชิกเพิ่มนมาอีกหกคน บริคัมบันทึกไว้ว่า แมรีย์ แอนน์ “ทำงาน อย่างชื่อสัตย์เพื่อประโยชน์สุขในครอบครัวของข้าพเจ้าและอาณาจักร” (MHBY–1, 8)

ระหว่างที่ท่านอยู่ในเคิร์ทแลนด์. (1833–38) บริคัมเรียนรู้ว่าการสร้างอาณาจักรของพระ ผู้เป็นเจ้าเรียกร้องการเชื่อฟังและการเลียสละ ในฤดูใบไม้ผลิของปี 1834 ท่านอาสาสมัคร ร่วมเดินทางไปกับค่ายไชอันซึ่งเป็นกลุ่มคนจำนวน 205 คนที่โจเซฟ สมิธเกณฑ์ไปช่วยเหลือ และให้เสบียงอาหารแก่สิทธิชนที่ถูกบังคับให้ออกจากบ้านในอำเภอแจ็คสัน รัฐมิสซู่รี “เรา เดินทาง 3,200 กิโลเมตรด้วยเท้า” บริคัมระลึกถึง (DNW, 8 Oct. 1856, 2) ท่านจำได้ ว่า เนื่องจากความยากลำบากอย่างแลนลาหัสและความเจ็บป่วย “จึงมีหลายคนในค่ายที่ ปนว่า” บริคัมกล่าวว่า พวกผู้ชายจำเป็นต้องได้รับการสั่งลอนในเรื่องความอดทนและความ สามัคคี ดังนั่น “โจเซฟ [สมิธ] จึงด้องนำ ให้คำปรึกษา และนำทางกลุ่ม” โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งพวกผู้ชายที่มิ “วิญญาณที่ไม่สงบ ไร้ระเบียบวินัย และขัดแย้ง” (DNW, 3 Dec. 1862, 1) การเดินทางที่ยากลำบากทำให้ความจงรักภักดีของบริคัม ที่มีต่อโจเซฟ สมีธ เพิ่มมากขี้น และให้บทเรียนอันหาค่ามิได้ในเรื่องการเชื่อฟังพระผู้เป็นเจ้า และศาสดาของพระองค์ (see DNW, 3 Aug. 1854, 2)

ผู้ที่ผ่านประสบการณ์จากค่ายไซอันเก้าคน รวมทั้งบริคัม ยัง ได้รับเลือกเป็นสมาชิกโควรมอัครสาวกสิบลองในการประชุมใหญ่ครั้งพิเศษ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1835 (ดู ค.พ. 18:26–32) บริคัม ยังได้รับการแต่งตั้งโดยการวางมือและได้รับพรว่า “ท่านจะออกไป และรวบรวมผู้ที่ถูกเลือก เพื่อเป็นการเตรียมรับวันอันยิ่งใหญ่แห่งการเสด็จมาของพระเจ้า” ท่านและสมาชิกโควรัมท่านอื่นๆ “ได้รับเรียกให้สอนพระกิตติคุณของพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าแก่ประชาชาติของแผ่นตินโลก” (HC, 2:196) พวกท่านออกเดินทางในเดือนพฤษภาคม ปี 1835 ไปทางตะวันตกของสหรัฐฯ เพื่อรับใช้งานเผยแผ่เป็นเวลาสี่เดือน ท่านกลับ ไปเป็นผู้สอนศาสนาในรัฐทางตะวันออกอีกครั้งระหว่างฤดูร้อนของปี 1836 และปี 1837

เอ็ลเดอร์ยังควบคุมดูแลการทาสีและการตกแต่งภายในพระวิหารเคิร์ทแลนด์ท่านอยู่ด้วย เมื่อศาสดาใจเซฟ สมิธให้คำแนะนำเกี่ยวกับพิธีการเบื้องด้นที่นั่น ท่านเข้าร่วมพิธีอุทิศใน เดือนมีนาคม 1836 พร้อมกับสิทธิชนอีกหลายร้อยคนที่เสียสละอย่างมากในการสร้างพระ วิหารแห่งแรกในสมัยการประทานนี้ (see MHBY–1, 12; HC, 2:428)

ก่อนที่เอ็ลเดอร์ยัง จะใช้ประสบการณ์เหล่านั้นกอบกู้ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกลับ คืนมาได้อย่างเต็มที่ ผู้ที่แยกตัวออกจากศาสนาจักรหลายคนกลับเป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรง ต่อศาสดาใจเซฟ สมีธ ถึงขนาดพยายามจะแย่งชิงตำแหน่งผ้นำของศาสนาจักรไปจากท่าน ในเดือนมกราคม 1838 เอ็ลเดอร์ยัง เผชิญหน้ากับผู้ที่ละทิ้งความเชื่อเหล่านี้ในพระวิหาร เคิร์ทแลนด์ “ข้าพเจ้ายืนนี้นและพูดด้วยท่ามีที่สงบแต่ทรงพลังว่าใจเซฟคือศาสดา ข้าพเจ้ารู้ เช่นนั้น และข้าพเจ้าบอกว่าพวกเขาอาจตำหนิและใส่ร้ายป้ายสีท่านเท่าที่พวกเขาพอใจ แต่พวกเขาจะล้มเลิกข้อเท็จจริงที่ว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงแต่งตั้งใจเซฟเป็นศาสดาของพระองค์ ไม่ได้ พวกเขาทำได้แต่เพียงทำลายอำนาจของตัวเอง ตัดพันธนาการที่ผูกพวกเขาไว้กับ ศาสนาและกับพระผู้เป็นเจ้าออกและทำให้ตัวเองจมดิ่งลงไปในนรก” (MHBY–1, 16)

การยอมรับความรับผิดชอบ

บริคัม ยัง ระลึกถึงการรอคอยอยู่กับใจเซฟ สมีธ “เป็นเวลาหลายต่อหลายคืน พร้อมที่ จะต่อสู้กับฝูงชนที่พยายามเอาชีวิต [ของศาสดา]” (DNSW, 15 May 1877, 1) ท่านเล่า ว่าท่านไม่ยอมอ่อนข้อเลยแม้แต่น้อย ในเรื่องการสนับสนุนศาสดาจนทำให้พวกละทิ้งความ เชื่อ “ข่มขู่จะเอาชีวิต (ท่าน)” (MHBY–1, 23–24) ท่านหนีออกจากเคืร์ทแลนด์และไปที่ ภาคตะวันตกของรัฐมิสชูรีเพื่อไปอยู่กับใจเซฟ สมีธและผู้น่าศาสนาจักรท่านอื่นๆ ที่ถูกฃู่เอา ชีวิต แต่เมื่อสิทธิชนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาสู่ภาคตะวันตกของรัฐมิสชูรีมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ ตั้งถิ่นฐานเติมที่นั้นก็เริ่มกลัวว่าสิทธิชนจะมาครอบครองการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐ ความ ตึงเครียดปะทะขึ้นในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงของปี 1838 และขึ้นถึงขีดสุดเมื่อผู้ว่าการรัฐสั่ง ให้กองทหารอาสาสมัครกวาดล้างสิทธิชนยุคสุดท้ายหรือขับไล่พวกเขาออกจากรัฐเมื่อใจเซฟ สมืธและผู้น่าสำคัญคนอื่นๆ ถูกจำคุก อีกทิ้งสมาชิกโควรัมอัครสาวกสิบลองคนอื่นๆ ละทิ้ง ความเชื่อหรือไม่ก็เสียชีวิต ทำให้บริคัม ยังซึ่งตอนนี้เป็นประธานโควรัมอัครสาวกสิบสองต้อง มีหน้าที่และความรับผิดชอบใหม่ ท่านกับอัครสาวกฮีเบอร์ ชี. คิมบัลล์เป็นสมาชิกของโควรมที่ควบคุมศาสนาจักรเพียงสองคนเท่านั้นซึ่งยังอยู่ในเมืองคอยช่วยนำทางและช่วยเหลือ สิทธิชนในการอพยพออกจากมีสชูรีในฤดูหนาวอันยากลำบาก ภายใต้การนำทางของทั้งสอง ท่าน สิทธิชนทำพันธสัญญาว่าจะช่วยเหลือคนยากจน นำสิทธิชนทุกคนออกจากรัฐ และ เตรียมตัวเพื่อการรวมกันอีกครั้งหนึ่ง

สิทธิชนที่ถูกขับไล่สร้างเมืองใหม่ที่คอมเมีร์ช รัฐอิลลินอยส์ ซึ่งต่อมาพวกเขาตั้งชื่อเมืองนี้ ว่า นอวู อย่างไรก็ตาม ประธานยัง พักอยู่ที่นั้นเพียงไม่กี่เดือน เนื่องจากศาสดาใจเซฟไต้รับ การเปิดเผยให้เรียกสมาชิกโควรัมอัครสาวกสิบสองไปสอนศาสนาที่ประเทศอังกฤษ ในฤดู ใบไม้ร่วงปี 1839 ประธานยังออกจากอิลลินอยส์ด้วยความตั้งใจเด็ดเดี่ยวที่จะทำหน้าที่รับผิด ชอบใหม่ทั้งๆ ที่ท่านและครอบครัวกำลังมีสุขภาพยาแย่ ต่อมาท่านจำไต้ว่าท่านเดินไต้ไม่ไกล นักหากไม่ไต้รับความช่วยเหลือ แฟนนีพื่สาวของท่านขอร้องไม่ให้ท่านไป แต่ท่านตอบว่า “พี่แฟนนี ผมไม่เคยรู้สึกดือย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิตของผม เธอเป็นผู้หญิงที่แปลกมากเธอ มองข้าพเจ้าด้วยดวงตาที่คลอไปด้วยนํ้าตาแล้วพูดว่า ‘เธอพูดปด’ ข้าพเจ้าไม่พูดอะไร แต่ ข้าพเจ้าตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะไปประเทศอังกฤษหรือไม่ก็จะพยายามจนตาย ความตั้งใจมั่น ของข้าพเจ้าถือว่าข้าพเจ้าจะทำสิ่งที่ข้าพเจ้าถูกเรียกร้องให้ทำเพื่อพระกิตติคุณแห่งชีวิตและ ความรอด หรือไม่ข้าพเจ้าก็จะตายในความพยายามทำสิ่งนั้น” (DNSW, 2 Aug. 1870, 1)

สมาชิกแปดคนของโควรัมอัครสาวกสิบสองรับใช้งานเผยแผ่ในเกาะอังกฤษระหว่างปี 1840 และ 1841 โดยบริคัม ยังในฐานะประธานโควรัมเป็นผู้ดูแลการทำงานของเขา ระหว่าง ปีที่สำคัญยิ่งปีนั้น อัครสาวกสิบสองประสบความสำเร็จอย่างนำอัศจรรย์ เมื่อประธานยัง เตรียมตัวออกจากสิเวอร์พูลในเดือนเมษายนปี 1841 ท่านเล่าด้วยความชาบชึ้งต่อ “สิ่งที่ พระผู้เป็นเจ้าทรงกระทำต่อข้าพเจ้าและพี่น้องชายของข้าพเจ้าในสภาสิบสองระหว่างปีที่ ผ่านมาในชีวิตของข้าพเจ้า…มันดูราวกับสิ่งมหัศจรรย์ เมื่อมองเห็นความแตกต่างของตอนที่ เราขึ้นฝังสิเวอร์พูลกับตอนที่เราจะจากไป เราขึ้นฝังในฤดูใบไม้ผลิของปี 1840 ในฐานะคน แปลกหน้าในแผ่นดินแปลกแห่งหนึ่งโดยไม่มีแม้แต่สตางค์แดงเดียว แต่ด้วยพระเมตตา ของพระผู้เป็นเจ้าเราจึงม่เพื่อนมากมาย เราสถาปนาศาสนาจักรขึ้นในเมืองเล็กเมืองใหญ่ที่ มีชื่อเสียงเกือบทุกแห่งในอาณาจักรของเกาะอังกฤษ ให้บัพติศมาผู้คนประมาณเจ็ดถึงแปด พันคน พิมพ์พระคัมภีร์มอรมอน 5,000 เล่ม หนังลือเพลงสวด 3,000 เล่ม มิลเลเนียลสตาร์ 2,500 ฉบับ และจุลสาร 50,000 เล่ม รวมทั้งอพยพผู้คนไปไซอัน 1,000 คน…พวกเราเพาะ เมล็ดแห่งความจริงนิรันดรไว้ในใจของผู้คนหลายหมื่นคน ซึ่งจะนำผลออกมาถวายเป็น เกียรติและรัศมีภาพของพระผู้เป็นเจ้า แต่กระนั้นเรามิเคยขาดอะไรที่จะใช้ดื่ม กินหรือสวมใส่ ข้าพเจ้ารู้สึกซาบซึ้งถึงพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้าในสิ่งทั้งหมดนี้” (MHBY–1, 96–97)

โดยการยอมรับความรับผิดชอบใหม่นี้ด้วยสุดจิตสุดใจ ประธานยังและเพื่อนอัครสาวก ของท่านไม่เพียงขยายความสามารถส่วนตัวเท่านั้นแต่ยังขยายความสามารถของโควรัมที่จะ ทำงานด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมีประสิทธิภาพเพื่อศาสนาจักร โจเซฟ สมีธ วางใจใน “ปัญญาอันเป็นหนึ่ง” ของพวกท่าน และได้ประกาศในเมืองนอวูเมื่อเดือน สิงหาคม 1841 ว่า “เวลามาถึงแล้วที่อัครสาวกสิบสองจะได้รับเรียกให้ยืนอยู่ในตำแหน่งกัด จากฝ่ายประธานสูงสุด” (HC, 4:403) อัครสาวกสิบสองได้รับการมอบความรับผิดชอบที่ยิ่ง ใหญ่ขึ้น รวมถึงการสอนพระกิตติคุณ จัดตั้งถิ่นฐานให้ผู้อพยพ ชื้อที่ดิน และสร้างพระวิหาร นอวู

ก่อนที่พระวิหารจะเสร็จ โจเซฟ สมืธแนะน่าประธานยังและสมาชิกโควรัมอัครสาวกสิบ สองท่านอื่นๆ เป็นส่วนตัวถึงเรื่องพิธีการพระวิหาร ซึ่งได้แก่พิธีบัพติศมาแทนคนตาย เอ็นดาวเมนทํพระวิหาร การผนึกครอบครัว โดยคาดหวังว่าอัครสาวกสิบสองจะสอนพิธีการเหล่า นี้ให้กับสมาชิกของศาสนาจักร ศาสดาประชุมกับอัครสาวกสิบสองในฤดูใบไม้ผลิของปี 1844 เพื่อประสาทกุญแจทั้งหมดและอำนาจที่จำเป็นในการดำเนินงานของอาณาจักรให้คนเหล่า นั้น “ข้าพเจ้าก่ายทอดภาระและความรับผิดชอบในการน่าศาสนาจักรนี้จากบ่าของข้าพเจ้า มาบนบ่าของพวกท่าน” ศาสดาประกาศว่า “บัดนี้จงรับภาระนี้ และยืนหยัดภายใต้สิ่งนี้ เฉกเช่นบุรุษ เพราะพระเจ้าทรงอนุญาตให้ข้าพเจ้าพักผ่อนสักชั่วขณะหนึ่ง” (undated Certificate of the Twelve, BYP)

ภายในสามเดือนหลังจากนั้นศาสดาโจเซฟ สมีธก็เสียชีวิต ขณะที่ประธานยังกำลังรับใช้ งานเผยแผ่ช่วงฤดูร้อนในเขตบอสตัน ท่านทราบว่าโจเซฟแสะไฮรัม สมิธถูกฝูงชนกระทำ ฆาตกรรมที่คาร์เทจ รัฐอิลลินอยส์ เมื่อทราบข่าวนี้ ท่านถามตัวเองว่า “ใจเซฟน่าเอากุญแจ ของอาณาจักรออกไปจากโลกพร้อมกับท่านหรือไม่” แต่แล้วท่านก็รู้สึกมั่นใจทันทีว่ากุญแจ ของอาณาจักรยังอยู่กับอัครสาวกสิบสอง (MHBY–1, 171) บริคัม ยังกลับมาที่นอวูทันที ท่านพบว่าซิดนีย์ ริกดัน ที่ปรึกษาที่หนึ่งของใจเซฟ เสนอตนเองเป็นผู้น่าของศาสนาจักร และได้มีการเรียกชุมนุมครั้งใหญ่ของสิทธิชนเพื่อสนับสนุนผู้น่าคนใหม่ ประธานยังพูดกับ สิทธิชนที่มารวมกันด้วยความเรียบง่ายแต่ทรงพลังยิ่ง:

“เป็นครั้งแรกในชีวิตของข้าพเจ้า ครั้งแรกในชีวิตของท่าน ครั้งแรกในอาณาจักรของพระ ผู้เป็นเจ้าในศตวรรษที่ 19 ที่ไม่มีศาสดาเป็นผู้นําของเรา ข้าพเจ้าก้าวออกมาเพื่อกระทำใน การเรียกของข้าพเจ้าซึ่งผูกพันกับโควรัมอัครสาวกสิบสอง ในฐานะอัครสาวกของพระเยซูดริสต์ในชั่วอายุนี้–อัครสาวกที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกโดยการเปิดเผยผ่านศาสดาใจเซฟ ผู้ที่ ได้รับการแต่งตั้งและการเจิมให้ถือกุญแจอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าในทั่วโลก

“…บัดนี้ หากท่านต้องการให้ซิดนีย์ริกด้นหรือวิลเลียม ลอว์ หรือใครก็ตามน่าท่าน ท่าน ก็สามารถเลือกได้โดยเสรี แต่ข้าพเจ้าขอบอกท่าน ในพระนามของพระเจ้าว่า ไม่มีใครจะมา อยู่ระหว่างอัครสาวกสิบสองกับศาสดาใจเซฟได้ ทำไมหรือ? ก็เพราะว่าใจเซฟคือผู้นำที่ ตราตรึงอย่ในความทรงจำของพากเขา และท่านได้มอบกุญแจของอาณาจักรในสมัยการ ประทานนี้สำหรับทั้งโลกไว้ในมือของอัครสาวก” (HC, 7:232, 235)

มีพยานหลายคนบันทึกไว้ว่าประธานยังมีท่าทางและนํ้าเสียงเหมือนศาสดาใจเซฟขณะที่ ท่านพูด ซึ่งเป็นการแสดงให้ประจักษ์อย่างทรงพลังถึงความเห็นชอบจากสวรรค์ สิทธิชน เกือบ 5,000 คนที่มารามกันสนับสนุนอัครสาวกสิบสองเป็นโควรัมที่คาบคุมศาสนาจักร สาม วันหลังจากการประชุมดังกล่าวซึ่งประธานยังบอกกับสิทธิชนว่าท่าน “อยากร้องไห้และครา ครวญอย่างน้อยสามสิบวัน” (HC, 7:232) ท่านแสดงความเศร้าโศกอย่างเงียบๆ ว่า “มัน เป็นช่างเวลาแห่งความเศร้าสลด [นับตั้งแต่] ใจเซฟและไฮรัมถูกนำจากคาร์เทจมาที่ [นอวู] หลายคนทั้งในและนอกศาสนาจักรประเมินว่ามีนํ้าตาที่หลั่งออกมามากกว่าห้าบาร์เรล ข้าพเจ้าทนไม่ได้ที่จะคิดถึงเรื่องนั้น” (MHBY–1, 177)

ในช่างเกือบหนึ่งทศวรรษแห่งการรับใช้ในฐานะอัครสาวกของพระเยซูคริสต์ บริคัม ยัง ได้เรียนรู้วิถีทางของพระเจ้า ความตั้งใจที่จะทำงานหนัก เชื่อฟัง เสียสละ และยอมรับการ เรียกอีกทั้งความสามารถในการได้รับและกระทำตามการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณ เตรียมท่านไว้สำหรับการคาบคุมดูแลสิทธิชนยุคสุดท้ายโดยตอนแรกท่านเป็นประธานโควรัม อัครสาวกสิบสอง และภายหลังเป็นประธานของศาสนาจักรเมื่อเตือนธันวาคม 1847 ภายใต้ การเป็นผู้นำที่ไม่ธรรมดาของท่านด้ายระยะเวลานานถึง 33 ปี ท่านได้สอนสิทธิชนถึงวิธีการ สร้างไซอันในอเมริกาตะวันตก ในจิตใจในครอบครัว และวอร์ดของพากเขาเอง “บราเดอร์ ใจเซฟ ศาสดา ได้วางรากฐานสำหรับงานอันยิ่งใหญ่ไว้แล้ว และเราจะสร้างบนรากฐาน นั้น” ท่านสัญญากับสิทธิชนในเตือนสิงหาคม ปี 1844 “เราจะสร้างอาณาจักรอย่างที่ไม่ เคยมีมาก่อนในโลก” (HC, 7:234) ศรัทธาอันไม่สั่นคลอนในพระผู้เป็นเจ้า การอุทิศตน ประสบการณ์ อารมณ์ขัน ความรักในคำสอนและพิธีการของพระกิตติคุณ ความเข้าใจใน ระเบียบฐานะปุโรหิตและองค์การศาสนาจักร คือคุณสมบัติที่ช่วยทำให้ท่านสามารถนำสิทธิ ชนไปสู่ความเป็นหนึ่งทั้งในจิตใจและความคิด

การรวบรวมสิทธิชนเพื่อสร้างอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า

ประธานบริดัม ยัง เป็นผู้นำในการอพยพสิทธิชนจากนอวูไปสู่หุบเขาซอสทํเลคท่ามกลาง เทือกเขาร็อคกี การอพยพครั้งนี้ทำให้สิทธิชนได้รวมกันอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในโอไฮโอ มิสซู่รี หรืออีสสินอยส์ เมื่อประธานยังมองดหุบเขาเกรทซอลท์เลคในวันที่ 24 กรกฎาคม 1847 ท่านแน่ใจว่าท่านได้พบสถานที่คุ้มภัยซึงใจเซฟ สมิธเคยมองเห็นและพยากรณ์ว่าสิทธิ ชนจะมาอยู่ที่นึ่ในภาคตะวันตก และตัวท่านเองก็เคยเห็นในภาพที่มาปรากฏ ตังนั้น ท่าน จึงทราบว่านี่คือสถานที่ที่ถูกต้อง บริคัมเขียนไว้ว่า “วิญญาณแห่งความสว่างพำนักอยู่บน ข้าพเจ้าและปกคลุมทั่วหุบเขา ข้าพเจ้ารู้สึกว่าสิทธิชนจะได้รับการคุ้มกันและปลอดภัยเมื่อ อยู่ที่นั่น” (MHBY–2, 564) ณ ที่นี้ สิทธิชนจะหาเวลาและพื้นที่ว่างเปล่าที่จำเป็นในการ สร้างตัวเองในฐานะผู้คนที่แยกออกจากโลก

การรวมกันในภาคตะวันตกซึ่งเริ่มตันพื้นเมื่อประธานยังและกลุ่มผู้บุกเบิกมาถึงหุบเขาใน เดือนกรกฎาคม ปี 1847 ดำเนินต่อไปหลายทศวรรษ สิทธิชนจำนวนแปดหมื่นคนเดินทาง ด้วยความยากลำบากลู่ภาคตะวันตกก่อนปี 1869 แต่เมื่อทางรถไฟสร้างเสร็จจึงทำให้การ เดินทางสะดวกพื้นมาก แม้หลังจากนั่น สิทธิชนก็ยังคงละทิ้งบ้านและครอบครัวกันบ่อยๆ เพื่อมารวมกันที่ไชอัน การอพยพทางภูมิศาสตร์ของพวกเขาเป็นสัญลักษณ์ถึงการอพยพ ทางวิญญาณให้ห่างจากโลก ประธานยัง ประกาศว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกสิทธิชน “จาก ส่วนที่ไกลสุดของแผ่นดินโลกให้มารวมกัน…เป็นหนึ่งเดียวในความคิดและจิตใจในการทำ งานและความเพียรพยายามที่จะสร้างอาณาจักรของพระคริสต์ทิ้งทางวิญญาณภาพและ กายภาพบนแผ่นดินโลก เพื่อเตรียมรับการเสด็จมาของบุตรมนุษย์ในอำนาจและรัศมีภาพ อันยิ่งใหญ่” (DNSW, 21 Jan. 1868, 2) ท่านคาดหวังและเรียกร้องให้ผู้คนจำนวนมาก สร้างไชอันทิ้งทางโลกและทางวิญญาณ พวกเขาไม่เพียงเดินทางไปยังยอดภูเขาเท่านั่น แต่ ยังสละทรัพย์สิ่งของเพื่อช่วยสิทธิชนคนอื่นๆ ที่ตามพวกเขาไปเพื่อรวมกันด้วย

ภายใต้การนำของประธานยัง สิทธิชนออกจากหุบเขาชอลท์เลคเพื่อไปจัดตั้งอาณานิคม แห่งใหม่ประมาณ 400 แห่งในอเมริกาตะวันตก พวกเขาทำงานเพื่อผลิตอาหารเลี้ยงปาก ท้องตนเองทำเครื่องนุ่งห่มด้วยตนเอง และจัดตั้งอุตสาหกรรมพื้นบ้านเพื่อให้สามารถพึ่งพา ตนเองได้โดยไม่ต้องลิ้นเปลือง พวกเขาเรียนรู้ที่จะพึ่งพาพระเจ้าและพึ่งพาอาศัยกัน

ใช่ว่าโครงการทางเศรษฐกิจที่ประธานยังสั่งให้สิทธิชนเข้าดูแลจะประลบความสำเร็จไป เลียทิ้งหมด อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจไม่ใช่จุดสนใจหลักของท่านในส่วน ลึกที่สุด ท่านให้ความสนใจในเรื่องการทำไร่นาและการหาเงินน้อยกว่าการช่วยให้ผู้คนของ ท่านกลายมาเป็นประชาชาติที่ปริสุทํธิ์ ท่านรู้จากประสบการณ์ว่าพวกเขาจะเติบโตโดยการ ทำงานหนักและการยอมรับหน้าที่ความรับผิดชอบ ท่านบอกกับสมาชิกที่มาประชุมกันใน ชอลท์เลค ชิตี้ในปี 1856 ว่า “นี่คือสถานที่ที่ตีในการทำให้ผู้คนกลายเป็นสิทธิชน” (DNW, 10 Sept. 1856, 5)

เป็นเวลาหลายปีที่บริค้ม ยังรับใช่ในตำแหน่งผู้ว่าการอาณานิคมซึ่งมิชื่อว่า เดเชเร็ท (ต่อ มาเป็นรัฐยูท่าห์) และในตำแหน่งผู้ควบคุมดูแลเรื่องของชาวอินเดียนแดง ต่อมาผู้ได้รับการ แต่งตั้งจากรัฐบาลกลางก็มาทำหน้าที่ตังกล่าวแทนท่าน ท่านพยายามอยู่หลายปีในการแก้ไข สข้อขัดแย้งระหว่างสิทธิชนยุคสุดท้ายกับรัฐบาลสหรัฐฯด้วยเรื่องความต้องการของสิทธิชนที่จะ เป็นอิสระทางการปกครอง ท่านอดทนกับคำวิพากษ์วิจารณ์และการเยาะเย้ยจากพวกพระ นักเขียนบทความ นักปฏิรูป และนักการเมืองที่โจมตีท่านและผู้คนของท่านเกี่ยวกับความ เชื่อทางศาสนา รวมทั้งการดำเนินชีวิตทางลังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของพวกเขา แต่ ปัญหาเหล่านั้นก็ไม1ได้เปลี่ยนแปลงความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งของท่านถึงความจำเป็นที่จะ ต้อง “สร้างผู้คนให้เป็นสิทธิชน” และสร้างไชอัน ประธานยังประกาศว่า “ข้าพเจ้าเคยมอง เห็นชุมชนสิทธิชนยุคสุดท้ายในภาพที่มาปรากฏ และเห็นพวกเขารวมกัน เป็นครอบครัว สวรรค์ที่ยิ่งใหญ่ครอบครัวเดียว แต่ละคนทำหน้าที่หลายอย่างในขอบข่ายงานของตนโดย ทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าเพื่อยกฐานะของตนเอง และในภาพนั้นข้าพเจ้า ได้เห็นระเบียบที่สวยงามที่สุดเท่าที่สมองของมนุษย์จะสามารถคิดขึ้นมาได้ อีกทั้งยังเห็นผล อันยิ่งใหญ่ที่สุดของการสร้างอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าและการแพร่กระจายความชอบธรรม บนผืนแผ่นดินโลก” (DNSW, 21 Jan. 1868, 2)

การสร้างไซอันโดยฝานพิธีการและองค์การฐานะปุโรหิต

ประธานยังตระหนักดีว่าการทำงานหนักเพียงอย่างเดียวไม่อาจสร้างไชอันได้ ฐานะปุโรหิตต้องเป็นผู้ควบคุมไชอัน ซึ่งท่านรู้ว่าจะเป็น “การปกครองของพระบุตรของพระผู้เป็น เจ้า” (DNW, 10 Aug. 1864, 2) ท่านรู้ว่าสิทธิชนจะ “มีใจเดียวและความคิดเดียวใน ความร่วมมือกันและความเพียรพยายามทั้งหมด” (DNSW, 21 Jan. 1868, 2) ได้โดย “รูปแบบการปกครองอันบริสุทธิ์และสักดิ์สิทธิ์” เท่านั้น (DNSW, 8 Nov. 1870, 3) ท่าน สอนว่าสมาชีกของศาสนาจักรจะรับการชำระให้บริสุทธิ์ได้ก็โดยการมีส่วนร่วมในพิธีการ ฐานะปุโรหิตเท่านั้น ฉะนั้น พิธีการและองค์การฐานะปุโรหิตคือหัวใจของคำสอนและการ นำของท่าน

นับตั้งแต่ปี 1844 ถึง 1846 ประธานยังและอัครสาวกสิบสองดำเนินการสร้างพระวิหาร นอวูเสร็จเรียบร้อยชึ่งนับเป็นงานสำคัญเร่งด่วนอันดับแรก มีการประกอบพิธีเอ็นดาวเม้นท์ และการผนึกตั้งแต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ประธานยังบันทึกไว้ในสมุดบันทึกประจำวัน ของท่านว่า “เหล่าสิทธิชนได้แสดงให้เห็นถึงความกระตีอรือร้นที่จะรับพิธีการดังกล่าวและ เราเองก็มีความกระตือรือร้นที่จะประกอบพิธีการให้พวกเขาจนถึงขนาดที่ข้าพเจ้าอุทิศตนเอง ทั้งหมดเพื่องานของพระเจ้าในพระวิหารทั้งกลางวันและกลางคืน โดยเฉลี่ยนอนหลับไม่เกิน วันละลี่ชั่วโมง และกลับบ้านเพียงสัปดาห์ละหนึ่งครั้งเท่านั้น” (MHBY–2, 10) ระหว่างวัน ที่ 10 ธันวาคม 1845 และ 7 กุมภาพันธ์ 1846 มีสิทธิชนได้รับพิธีการเอ็นดาวเม้นทํประมาณ 5,615 คน และครอบครัวจำนวนมากได้รับการผนึก หนึ่งปีกว่าต่อมาลามวันหลังจาก มาถึงหุบเขาชอลท์เลค ประธานยังกำหนดตำแหน่งที่จะสร้างพระวิหารชอลท์เลคให้เป็น ศูนย์กลางของเมืองและศูนย์กลางชีวิตของสิทธิชน พระวิหารอันยิ่งใหญ่ใช้เวลาสร้างถึง 40 ปี เสร็จลมบูรณ์หลังจากประธานยังเลียชีวิตไปแล้วแต่ท่านได้กำหนดลถานที่อันสักดิ์สิทธิ์ที่ อื่นอีกเพื่อจะสามารถประกอบพิธีเอ็นดาวเม้นท์พระวิหารและการผนึกให้คนเป็นได้ในขณะ ที่รอพระวิหารเสร็จ ในการประชุมอุทิศชั้นใต้ดินของพระวิหารเซ็นต์จอร์จเมื่อวันที่ า มกราคม 1877 ไม่กี่เดือนก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต ประธานยังกล่าวคำปราศรัยอย่างแข็งขันถึง การประกอบพิธีการแทนคนตายต่อไปว่า “เมื่อข้าพเจ้าคิดถึงเรื่องนี้ ข้าพเจ้าอยากให้เสียง สายฟัาฟาดทั้งเจ็ดปลุกผู้คนให้ตื่น บรรพบุรุษจะรอดได้โดยปราศจากเราหรือ? ไม่เลย เราจะรอดได้โดยปราศจากพวกเขาหรือ? ไม่เลย” (MS, 39:119)

พิธีการพระวิหารเป็นสิ่งสำคัญที่จะเชื่อมโยงแต่ละชั้วอายุเข้าด้วยกันและล่งต่อความจริง อันศักดิ์สิทธิ์จากคนชั่วอายุหนึ่งไปยังคนอีกชั้วอายุหนึ่ง สิทธิชนที่เกิดหรือเปลี่ยนใจเลื่อมใส ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่สิบเก้าจะไม่พบการข่มเหงในมิสชูรี ทั้งไม่รู้จักศาลดาโจเซฟ สมิธเป็นการส่วนตัว เมื่อเวลาผ่านไป สิทธิชนที่ได้รบประสบการณ์ในการเป็นผู้บุกเบิกและ การจัดตั้งอาณานิคมก็ลดจำนวนลง แต่พวกเขาก็จำเป็นต้องเรียนรู้ความจริงอันศักดิ์สิทธิ์ เกี่ยวกับการสร้างไชอันด้วยเช่นกัน ประธานยังกระตุ้นให้มิการลอนพระกิตติคุณแก่เยาวชน ของศาสนาจักรและทำงานหนักเพื่อกลั่นกรององค์การศาสนาจักรให้บริสุทธิ์ โดยท่านแสดง ความปรารถนาที่จะ “สร้างชั้วอายุของชายและหญิงที่จะรักและผดุงไว้ซึ่งความจริงและ ความชอบธรรมให้คงอยู่บนผืนแผ่นดินโลก” (MFP, 2:288) โรงเรียนวันอาทิตย์วอร์ดสำหรับ เด็กๆ ซึ่งจัดตั้งชั้นเป็นครั้งแรกในปี 1849 เริ่มดำเนินงานอย่างพร้อมเพรียงภายใต้การดูแล ของคณะกรรมาธิการกลางในปี 1867 เนื่องจากคำขอร้องของประธานยัง มิการจัดตั้งสมาคมหลายสมาคมในปี 1869 เพื่อทำให้เยาวชนหญิงเข้มแข็งชั้นในความเข้าใจพระกิตติคุณ และการผูกมัดตนกับการดำเนินชีวิตอย่างประหยัดมัธยัสถ์ ทั้งนี้ได้เริ่มกับบรรดาบุตรลาว ของประธานยังก่อน ในปี 1875 มิการจัดตั้งสมาคมคล้ายๆ กันนั้นเพื่อลอนเยาวชนชายและ ให้ประลบการณ์ในการเป็นผู้นำแก่พวกเขา

โดยที่ตระหนักว่าจะสร้างไซอันไม่ได้หากปราศจากพี่น้องสตรี ประธานยังจึงจัดตั้งสมาคม ลงเคราะห์ชั้นมาใหม่ในปี 1867 ดังที่ศาลดาโจเซฟ ลมิธเคยจัดตั้งในนอวู สตรีช่วยอธิการใน การอำนวยความช่วยเหลือคนยากจนและคนป่วย กระตุ้นครอบครัวให้จัดหาปัจจัยในการ ดำรงชีวิตด้วยการทำชั้นเอง ลอนพระกิตติคุณให้กันและกัน รวมทั้งดูแลการลอนสตรีที่อายุ น้อยกว่าและเด็ก

ระหว่างปีสุดท้ายของชีวิตท่าน ประธานยังจัดโควรัมฐานะปุโรหิตให้เป็นระเบียบ ท่าน แบ่งและวางระเบียบสเตคขึ้นใหม่ โดยเพิ่มจำนวนสเตคจากแปดเป็นสิบแปดลเตค ท่าน ควบคุมการวางระเบียบโควรัมเอ็ลเดอร์และลอนเอ็ลเดอร์ในเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบของ พวกเขาทั้งทางโลกและทางวิญญาณ ท่านเน้นให้วอรัดเป็นหน่วยท้องที่หลักของกิจกรรม ศาลนาจักรและขยายบทบาทของอธิการในฐานะหัวหน้าของวอรัด สมาชิกโควรัมอัครสาวก สิบลองซึ่งเคยควบคุมดูแลหน่วยท้องที่ถูกปลดจากตำแหน่งต่างๆ นั้นเพื่อว่าพวกเขาจะได้ ปฎิบีติงานที่ได้รับเรียกในฐานะพยานพีเศษของพระเยซูคริสต์ต่อบรรดาประชาชาติได้ เมื่อ ท่านเสียชีวิต ในวันที่ 29 สิงหาคม 1877 ศาสนาจักรก็ได้รับการวางระเบียบด้งที่สิทธิชน ส่วนใหญ่รู้จักในทุกวันนี้

ภาระหน้าที่ซึ่งประธานยังต้องรับผิดชอบในการสร้างไชอันโดยผ่านการจัดตั้งอาณานิคม โครงการทางเศรษฐกิจ พิธีการพระวิหารอันคักดี์สิทธิ์ และองค์การฐานะปุโรหิต จะเห็นได้ จากคำเทศนาของท่าน คำเทศนาครั้งเดียวจะทำให้เกิดความเข้าใจในวิสัยทัศน์ของท่าน ไม่ได้ ท่านประกาศเมื่อสิ้นสุดคำปราศรัย ครั้งหนึ่งว่า “ข้าพเจ้ากล่าวถึงคำเทศนาพระกิตติ คุณอันยิ่งใหญ่เพียงเล็กน้อยเท่านี้น” (MSS,15:49) ท่านเชื่อว่า ความสมบูรณ์ของพระ กิตติคุณจะสอนได้ทีละเล็กทีละน้อย ทีละบรรทัดเท่านั้น ท่านกล่าวว่า “พระกิตติคุณของ พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า…เป็นอยู่จากนิรันดรถึงนิรันดร เมื่อภาพแห่งความคิดเปิดออก ท่านจะเห็นส่วนใหญ่ของมันได้ แต่ท่านเห็นมันอย่างเดียวกับผู้พูดเห็นใบหน้าของผู้เข้าร่วม ประชุมการที่จะมองดูและพูดคุยกับคนเหล่านั้นทีละคนพร้อมทั้งทำความรู้จักคุ้นเคยกับพวก เขาอย่างเต็มที่นี้นแค่ใช้เวลาเพียงคนละห้านาทีก็คงจะกินเวลานานโข มันไม่ใช่จะทำได้ ง่ายๆ มันเป็นเช่นเดียวกันกับภาพของนิรันดร เราจะเห็นและเข้าใจได้ แต่เป็นสิ่งยากที่จะ อธิบาย” (DNW, 26 Oct. 1854, 2) ในคำลอนและการนำของท่าน ประธานบริคัม ยัง พยายามเสมอที่จะช่วยสิทธิชนให้เห็นและเข้าใจความจริงนิรันดรของพระกิตติคุณ

ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตของบริคัม ยัง มุ่งไปที่การลอนพระกิตติคุณ การเสริมสร้างและคํ้า จุนอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า ท่านบอกกับสิทธิชนว่า “อาณาจักรสวรรค์คือสิ่งที่สำคัญ ที่สุดต่อเรา” (DNW, 27 July 1864, 2)

บางทีอัครสาวกที่รับใช้ในช่วงเวลาที่ประธานยังเสียชีวิตจะเล่าถึงการเป็นผู้นำของท่านได้ ดีที่ลุด “ระหว่างสามสิบสามปีที่ท่านปกครองศาสนาจักรนับตั้งแต่มรณสักขีของศาสดา โจเซฟ ท่านไม่เคยแสดงความลังเล ท่านไม่เคยหวั่นไหวหรือเสียกำลังใจ ไม่ว่าการคุกคาม จากภายนอกจะมีมากเพียงใดหรือโอกาลในการประลบความสำเร็จจะมีน้อยเพียงใด ท่าน ไม่เคยประหวั่นพรั่นพรึง แต่ในช่วงเวลาเหล่านั้นท่านแสดงให้เห็นความเชื่อมั่นและศรัทธาที่ ลดใสอีกทั้งยังให้คำพูดที่หนุนใจเพื่อปลอบโยนและให้กำลังใจทุกคน จึงทำให้พวกเขาเกิด ความรักและเลื่อมใสท่าน อย่างไรก็ตาม พระเจ้ามีได้ทรงอวยพรท่านด้วยความกล้าหาญ เท่านั้น แต่พระองค์ทรงประสิทธิ์ประสาทปัญญาอันยิ่งใหญ่ให้ท่านด้วย ความรอดจะมาสู่ คนที่ทำตามคำแนะนำของท่าน และถ้ามองในฐานะที่เป็นผู้จัดตั้งอาณานิคมและผู้บริหาร แล้วท่านไม่เป็นที่ลองรองใคร…

‘ในเรื่องการรับใช้ของท่าน พระเจ้าทรงสวมมงกุฎให้ท่านด้วยความสำเร็จอันนำอัศจรรย์ พระเจ้าทรงให้เกียรติและทำให้คำพูดของบริคัม ยังบรรลุผล และผู้ที่ทำตามคำแนะนำของ ท่าน พระองค์จะทรงให้พรและคํ้าจุน เวลาจะมาถึงเมื่อการเป็นประธานควบคุมดูแลศาสนาจักรของพระเยซูคริสต์แห่งสิทธิชนยุคสุดท้ายของท่านจะถูกนำไปสู่ช่วงเวลาของเหตุการณ์ อันน่ามหัศจรรย์” (MFP, 2:298)

ข้อแนะนำสำหรับการศึกษา

  • บริคัม ยังรู้ได้อย่างไรว่าศาสนาจักรนี้แท้จริง?

  • ความเต็มใจของบริคัม ยังที่จะเชื่อฟังและเสียสละช่วยท่านในการสร้างและปกบ้อง อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร?

  • สมาชิกของศาสนาจักรในทุกวันนี้จะเรียนรู้อะไรได้จากตัวอย่างที่บริอัม ยังสนับสนุน ศาสดาใจเซฟ สมิธอย่างสมํ่าเสมอไม่เปลี่ยนแปลง?

  • มีเหตุการณ์ใดบ้างในชีวิตของบริอัม ยังที่เตรียมท่านไว้เพื่อให้ท่านปกครองศาสนาจักร? พระเจ้ากำลังเตรียมเราแต่ละคนเพื่อรับใช้ในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร?

  • ประธานยังกล่าวว่าจุดประสงค์ของการรวมสิทธิชนคืออะไร? ประธานยังเสริมสร้าง อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าในทางใดบ้าง?

  • ปริอัม ยังกล่าวว่าอะไรคือ “การปกครองของพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า”? ประธานยังใช้ ฐานะปุโรหิตของท่านอย่างเต็มที่อย่างไร?

  • อะไรคือข้อกำหนดในการ “สร้างชั่วอายุของชายและหญิงที่จะรักและผดุงไว้ซึ่งความจริง และความชอบธรรมให้คงอยู่บนผืนแผ่นดินโลก”? ปริอัม ยังทำอะไรเพื่อให้บรรลุถึงสิ่งนี้ ทำไมสิ่งนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในทุกวันนี้?

  • ประธานยังช่วยให้สิทธิชนเห็นและเข้าใจความจริงนิรันดร์ของพระกิตติคุณอย่างไร? ท่าน คิดว่าทำไมจึงเป็นประโยชน์ที่จะศึกษาและไตร่ตรองคำสอนของบริอัม ยังในช่วงสองปีต่อ ไปนี้?

ภาพ
President Brigham Young

ประธานยังเมื่อประมาณปี 1847–50 “ข้าพเจ้าอยากจะตะโกนดั่งเสียงฟ้าร้องเพื่อประกาศพระกิตติคุณให้บรรดาประชาชาติ พระกิตติคุณเผาไหม้อยู่ในกระดูกของข้าพเจ้าจนข้าพเจ้าไม’สามารถจะกักเก็บเอาไว้ได้…ไม่มีสิงใดจะทำให้ข้าพเจ้าพอใจ นอกจากการประกาศถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำในยุคสุดท้ายนี้ให้กับคนทั้งโลก’’ (DNW, 24 Aug 1854, 1)

ภาพ
pioneers crossing river

ภาพวาดของจิตรกรแสดงให้เห็นถึงตอนที่สิทธิชนข้ามแม่นํ้ามิสซิสซิปปีที่กลายเปีนนํ้าแข็ง ระหว่างการอพยพออกจากนอวู รัฐอิลลินอยส์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 1846