คำสอนของประธานศาสนจักร
บทที่ 27: การเรียนรู้โดยการศึกษาและศรัทธา


บทที่27

การเรียนรู้โดยการศึกษาและศรัทธา

แม้ว่าประธานบริคัม ยัง จะได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนเพียงแค่ 77 วัน แต่ท่านเข้าใจถึง ความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ทั้งเรื่องของโลกและพระปรีชาญาณของพระผู้เป็นเจ้า ท่าน ไม่เคยหยุดเรียนรู้จากหนังสือ พระคัมภีร์ และจากการเปิดเผยของพระเจ้า ท่านสอนให้ สิทธิชนสร้างโรงเรียนและเพลิดเพลินกับการเรียนรู้ ในปี 1850 ท่านก่อตั้งมหาวิทยาลัย แห่งเดเซเร็ท ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งรัฐยุท่าห์ ในปี 1875 ท่านก่อตั้ง วิทยาลัยในโพรโว รัฐยุท่าห์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยบริคัม ยัง วิทยาลัยบริคัม ยังที่โลแกนได้รับการสถาปนาขึ้นในปี 1877 เพื่อฝึกอบรมครูที่จะสอนในโรงเรียนทั่วถิ่น ฐานของสิทธิชนยุคสุดท้าย โดยที่ยึดมั่นกับการสนับสนุนเรื่องการศึกษาดังกล่าว ท่านจึง จัดให้มีโรงเรียนครอบครัวใกล้ห้านท่านในช่วง 12 ปี สุดท้ายของชีวิตท่านด้วย ประธาน ยัง ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยและครูที่ฉลาดลํ้าลึกผู้หนึ่งสอนว่าหากเราปรารถนาจะเป็นเหมึอน พระบิดาบนสวรรค์ เราด้องเติบโตในความรู้และสติยัญญาอย่างต่อเนื่อง

คำสอนของบริคัม ยัง

เราถูก” เรียกร้องโดยหน้าที่ให้ศึกษา” เรียนรู้ และดำเนินชีวิตตามหลักธรรมนิรันดร

ขณะที่ผ้อาศัยของแผ่นดินโลกกำลังทุ่มความสามารถทั้งหมดทั้งสติปัญญาและร่างกายใน เรื่องวัตถุที่เน่าเปื่อยได้ ผู้ที่ประกาศตนว่าเป็นสิทธิชนยุคสุดท้าย ชึ่งมีสิทธิพิเศษของการได้ รับและเข้าใจหลักธรรมแห่งพระกิตติคุณอันศักดิ์สิทธิ์ถูกเรียกร้องโดยหน้าที่ให้ศึกษา ค้นหา และปฎิบัติหลักธรรมที่มีจุดประสงค์ให้คงทนยั่งยืน และทำให้เกิดความเจริญเติบโตอย่างต่อ เนื่องในเรื่องนี้ ทั้งในโลกนี้และในโลกที่จะมาถึง (DNW, 20 July 1854, 1)

ศาสนาของพระเยชูคริสต์ไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้คนคุ้นเคยกับเรื่องของพระผู้เป็นเจ้าตลอด จนพัฒนาความดีเลิศและความบริสุทธิ์ทางศีลธรรมภายในตัวพวกเขาเท่านั้น แต่ยังให้แรง กระตุ้นและแรงจูงใจทุกอย่างที่เป็นไปได้แก่พวกเขาที่จะเพิ่มพูนความรู้และสติปัญญาในทุก สาขาของกลศาสตร์ หรือในด้านศิลปะ วิทยาศาสตร์ เพราะปัญญาทุกอย่าง ศิลปะและ วิทยาศาสตร์ ทุกอย่างในโลกนี้มาจากพระผู้เป็นเจ้า และมีจุดประสงค์เพื่อความดีของผู้คน ของพระองค์ (DBY, 247)

ศิลปะและวิทยาศาสตร์ทุกแขนงที่ลูกหลานมนุษย์รูจักและศึกษาถูกบรรจุไวในพระกิตติคุณ ความรู้ที่ทำให้มนุษย์บรรลุถึงความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในสาขาวิทยาศาสตร์และกลศาสตร์ ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมานั้นมาจากไหน? เรารู้ว่าความรู้มาจากพระผู้เป็นเจ้า แต่ทำไมพวก เขาจึงไม่ยอมรับพระองค์? เพราะเขาตาบอดอยู่กับความสนใจของตนเอง พวกเขาไม่เห็น และไม่เข้าใจสิ่งต่างๆ ดังที่มันเป็น ใครเล่าสอนมนุษย์ให้ควบคุมกระแสไฟฟ้า? มนุษย์ที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ ค้นพบสิ่งนั้นด้วยตนเองหรือ? ไม่เลย เขาไค้รับความรู้จากพระผู้ สงสุด ศิลปะและวิทยาศาสตร์ทุกแขนงเกิดจากพระองค์เช่นกัน แม้ว่าเกียรติจะตกอยู่กับคน นและคนนั้น แต่พวกเขาไค้รับความรู้จากที่ไหน สิ่งนั้นอยู่ในตัวพวกเขาและเป็นของตัวเขา เองหรือ? ไม่เลย พวกเขาต้องยอมรับว่าพวกเขาไม่สามารถทำให้หญ้าเพียงใบเดียวเติบโต ทั้งไม่สามารถทำให้ผมเป็นสีขาวหรือดำ [ดู บัทธิว 5:36] โดยไม่ต้องใช้ของเทียม พวกเขา ต้องพึ่งพาพระผู้สูงสุดเช่นเดียวกับคนยากจนและคนที่ไม่รู้อะไรเลย เราได้รับความรู้ในการ สร้างเครื่องจักรกลผ่อนแรงซึ่งนับเป็นสิ่งอัศจรรย์ในยุคปัจจุบันจากที่ไหน? จากสวรรค์เราได้ รับความรู้ด้านดาราศาสตร์หรืออำนาจที่จะทำกล้องมองทะลุความกว้างใหญ่ของอวกาศจาก ที่ไหน?…นักดาราศาสตร์จิตรกรและช่างเครื่องกลทุกคนที่เคยอาศัยอยู่บนแผ่นดินโลกได้รับ ความรู้ในสาขาของตนจาก [พระผู้เป็นเจ้า] (DBY, 246)

ความยุ่งยากใหญ่หลวงที่สุดที่เราต้องเผชิญคือสิ่งที่เรียกว่าความโง่เขลา หรือการขาด ความเข้าใจของบรรดาผู้คน (DBY, 247)

ศาสนาที่สิทธิชนยุคสุดท้ายยอมรับ หากเข้าใจเพียงเล็กน้อย จะกระตุ้นให้พวกเขาแสวงหาความรู้อย่างพากเพียร [ดู ค.พ. 88:118] ในบรรดาผู้คนที่มีอยู่ทั้งหมดไม่บีกลุ่มคนใดจะมี ความกระตือรีอร้นที่จะเห็น ได้ยิน เรียนรู้ และเข้าใจความจริงมากไปกว่านี้ (DBY, 247)

ใช้ความสามารถในการเรียนรู้ให้เร็วที่สุดเท่าที่ท่านสามารถทำได้ รวบรวมพลังแห่งความ คิดและหลักธรรมแห่งศรัทธาทั้งหมดเท่าที่ท่านสามารถทำได้ แล้วจากนั้นจงกระจายความรู้ ของท่านให้กับผู้คน (DBY, 247)

ขอให้เราฝึกฝนจิตใจของเราจนกระทั่งเราชื่นชมในสิ่งที่ดี สวยงาม และศักดิ์สิทธิ์โดยการ แสวงหาความรู้แจ้งอย่างต่อเนื่องซึ่งสิ่งนั้นจะช่วยให้เราสามารถเสรีมสร้างไชอันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ..โดยการแสวงหาที่จะทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าตลอดวันเวลาของชีวิต เราปรับปรุงความคิดในความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเครื่องกล แสวงหาอย่างพากเพียรที่จะ เข้าใจแบบและแผนอันยิ่งใหญ่ในการสร้างสรรค์สิ่งทั้งปวง เพื่อเราจะรู้ว่าควรทำอะไรกับชีวิต ของเราและจะปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกภายในขอบเขตความสามารถของเราอย่างไร (DBY, 247)

เราถูกเรียกให้เติบโตในพระคุณและความรู้เพื่อนิรันดร

นี่คืองานของเรา ธุรกิจของเรา และการเรียกของเรา—ที่จะเติบโตในพระคุณและความรู้ ในแต่ละวันและแต่ละปี (DBY, 248)

ขณะที่ข้าพเจ้ายังมีชีวิตหรือเมื่อข้าพเจ้าอยู่ในโลกแห่งวิญญาณข้าพเจ้าจะไม่หยุดเรียน แต่ข้าพเจ้าจะเรียนรู้ด้วยความเชี่ยวชาญมากขึ้น และเมื่อข้าพเจ้าได้รับร่างกายอีกครั้ง ข้าพเจ้าจะเรียนรู้ได้มากเป็นพันเท่าโดยใช้เวลาน้อยกว่าเป็นพันเท่า และเมื่อถึงเวลานั้น ข้าพเจ้าก็ไม่ตั้งใจจะหยุดการเรียนรู้ แต่จะดำเนินต่อไปในการด้นคว้าของข้าพเจ้า (DBY, 248)

เราจะไม่มีวันได้เห็นเวลาที่เราไม่จำเป็นต้องได้รับการสอน ทั้งเวลาที่ปราศจากเป้าหมาย ของการได้รับความรู้ ข้าพเจ้าไม่เคยคาดหวังว่าจะเห็นช่วงเวลาที่ปราศจากอำนาจซึ่งเหนือ กว่าความรู้ที่เลอเลิศกว่า และแรงผลักดันที่จะทำให้ก้าวหน้าและได้รับการปรับปรุงมากขึ้น กว่าเติม (DBY, 248)

หากเรามีชีวิตอยู่ในสมัยของเมธูเชลา…และใช้ชีวิตในการค้นหาหลักธรรมแห่งชีวิตนิรันดร เมื่อนิรันดรหนึ่งผ่านมาถึงเรา เราจะพบว่าจนถึงเวลานั้นเราเป็นแต่เพียงเด็ก เป็นทารกที่ เพิ่งเริ่มเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับนิรันดรต่างๆ ของพวกพระผู้เป็นเจ้า (DBY, 249)

เราอาจถามว่าเมื่อใดเราจะหยุดเรียนเล่า? ข้าพเจ้าจะแสดงความคิดเห็นของข้าพเจ้า เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า: ไม่เลย ไม่มีวัน (DBY, 249)

ประสบการณ์สอนเราว่าต้องใช้เวลาที่จะเรียนรู้ในสาขาใดสาขาหนึ่งของกลศาสตร์ รวม ทั้งหลักธรรมและแนวความคิดที่เราปรารถนาจะมีความชำนาญในด้านนั้นๆ ยิ่งผู้คนปรับ ความคิดของพวกเขาให้เข้าใกล้จุดประสงค์ที่ถูกต้องมากขึ้นเพียงใด พวกเขาก็จะเติบโตและ ทวีความรู้เรื่องความจริงได้เร็วขึ้นเท่านั้น เมื่อพวกเขาเรียนรู้ที่จะควบคุมความรู้สึกของ ตนเอง ในไม่ช้าพวกเขาก็เรียนรู้ที่จะควบคุมการไตร่ตรองและความนึกคิดในระดับที่จำเป็น เพื่อบรรลุเป้าหมายที่พวกเขาแสวงหา แต่ขณะที่พวกเขายอมแพ้ต่อความรู้สึกหรือวิญญาณ ที่หันเหจิตใจออกไปจากเรื่องที่พวกเขาอยากจะศึกษาและเรียนรู้พวกเขาจะไม่มีวันมีอำนาจ เหนือจิตใจของตนเองได้ (DBY, 250)

แนวทางปฎิบัติความชอบธรรมที่มั่นคงและไม่เปลี่ยนแปลงตลอดชีวิตคือสิ่งที่เป็นประกัน ว่าบุคคลนั้นจะได้รับปัญญาที่แท้จริง (DBY, 245)

เราควรให้การศึกษาแก่ตัวเราและลูกๆ ของเรา ในสิ่งเรียนรู้ของโลกและเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า

จงสอนลูกๆ ให้ความรู้ในเรื่องของโลกและพระผู้เป็นเจ้าแก่พวกเขา ยกระดับจิตใจของ เขา เพื่อเขาจะไม่เพียงแต่เข้าใจแผ่นดินโลกที่เขาเดินอยู่ แต่เข้าใจอากาศที่เราหายใจ นํ้าที่ เราดื่ม และธาตุทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินโลกด้าย (DBY, 251)

จงดูว่าลูกของท่านได้รับการศึกษาพื้นฐานของภาษาท้องถิ่นอย่างเหมาะสม และจากนั้น ให้พากเขาศึกษาต่อไปถึงสาขาความรู้ที่สูงขึ้น ให้เขาได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์และจริงใน ทุกแขนงมากกว่าที่บรรพบุรุษของพากเขาเคยได้รับ เมื่อพากเขาคุ้นเคยกับภาษาของตนเอง เป็นอย่างดีแล้ว จึงให้พากเขาศึกษาภาษาอื่น และทำตัวให้คุ้นเคยกับกิริยามารยาท ประ เพณี กฎหมาย การปกครอง และวรรณกรรมของประเทศ ผู้คน และภาษาอื่นๆ ให้พากเขา เรียนรู้ความจริงทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับศิลปะ วิทยาศาสตร์ และวิธีที่จะประยุกต์สิ่งเหล่านั้น เข้ากับความต้องการทางโลกของพากเขา ให้พากเขาศึกษาสิ่งที่อยู่บนแผ่นดินโลก สิ่งที่อยู่ ในแผ่นดินโลก และสิ่งที่อยู่เหนือท้องฟ้า (DBY, 252)

ความสำเร็จทุกอย่าง ความงดงามทุกอย่าง การบรรลุผลสำเร็จที่มีประโยชน์ในด้าน คณิตศาสตร์ ดนตรี วิทยาศาสตร์และศิลปะทุกอย่างเป็นของสิทธิชน พากเขาควรนำเอา ความอุดมสมบูรณ์ของความรู้ซึ่งวิทยาศาสตร์ให้กับนักวิชาการที่พากเพียรและอุตสาหะ เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างฉับไวที่สุดเท่าที่จะทำได้ (DBY, 252)

ข้าพเจ้ามีความสุขที่จะได้เห็นเด็กๆ ของเราหมกมุ่นกับการศึกษาและฝึกฝนดนตรี ขอให้ พากเขาได้รับการศึกษาในสาขาความรู้ที่มีประโยชน์ทุกแขนง เพราะเราในฐานะผู้คนต้อง บรรลุความสำเร็จในเรื่องศาสนา วิทยาศาสตร์และปรัชญาเหนือกว่าประชาชาติของแผ่นดิน โลก (DBY, 256)

ที่นี่มีคนหนุ่มหลายร้อยคนที่ไปเรียนหนังสือได้ ซึ่งดีกว่าจะเสียเวลาไปเปล่าๆ จงศึกษา ภาษา แสวงหาความรู้และความเข้าใจ ขณะที่ทำสิ่งนี้ จงแสวงหาปัญญาจากพระผู้เป็นเจ้า และอย่าลืมมัน จงเรียนรู้วิธีที่จะประยุกต์ใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อมันจะเป็นประโยชน์กับท่านตลอด ชีวิต (DBY, 252)

จงไปโรงเรียนและศึกษา…ข้าพเจ้าต้องการให้มีโรงเรียนเพื่อสร้างความรื่นรมย์ให้จิตใจ ของผู้คนและดึงพากเขาให้มาเรียนรู้ศิลปะและวิทยาศาสตร์ จงส่งลูกคนโตมาโรงเรียนและ คนเล็กด้าย ไม่มีสิ่งใดที่ข้าพเจ้าอยากทำมากไปกว่าการเรียนเคมี พฤกษศาสตร์ ธรณีวิทยา แร่วิทยา เพื่อข้าพเจ้าจะบอกได้ว่าข้าพเจ้าเดินอยู่บนอะไร คุณสมบัติของอากาศที่ข้าพเจ้า หายใจคืออะไร สิ่งที่ข้าพเจ้าดื่มคืออะไร ฯลฯ (DBY, 253)

เราควรเป็นผู้คนที่มีความรู้อันลึกซึ้ง

เราควรเป็นผู้คนที่มีความรู้อันลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องทางโลก เราควรคุ้นเคยกับภาษาหลายๆ ภาษา เพราะเราปรารถนาจะล่งผู้สอนศาสนาไปยังประชาชาติและเกาะต่างๆ ในทะเล เรา ปรารถนาให้ผู้สอนศาสนาที่ไปประเทศฝรั่งเศสสามารถพูดภาษาฝรั่งเศสอย่างคล่องแคล่ว และผู้ที่ไปประเทศเยอรมัน อิตาลี สเปน และประเทศอื่นๆ คุ้นเคยกับภาษาของประเทศ เหล่านั้น (DBY, 254)

เราปรารถนาให้พวกเขาเข้าใจสภาพภูมิศาสตร์ อุปนิสัยใจคอ ขนบธรรมเนียมตลอดจน ประเพณี กฎหมายของประเทศและอาณาจักรต่างๆ นี่คือคำแนะนำในการเปิดเผย [ดู ค.พ. 88:78–80; 93:53] ในการเปิดเผยเหล่านี้เราได้รับการสอนให้ศึกษาหนังสือดีที่สุด เพื่อเราจะ คุ้นเคยกับสภาพภูมิศาสตร์ของโลกเป็นอย่างดีเช่นเดียวกับที่เราคุ้นเคยกับสวนของเรา และ เพื่อเราจะคุ้นเคยกับผู้คนของโลกเป็นอย่างดีเช่นเดียวกับที่เราคุ้นเคยกับคนในครอบครัว และเพื่อนบ้านของเรา—อย่างน้อยที่สุดก็ตราบเท่าที่บีบันทึกไว้ (DBY, 254–55)

เราอยู่ในโรงเรียนใหญ่ (ความเป็นมตะ) เราควรพากเพียรในการเรียนรู้ และดำเนินต่อ ไปในการสะสมความรู้ของสวรรค์ และแผ่นดินโลก อ่านหนังสือที่ดี แม้ข้าพเจ้ามิอาจกล่าว ว่าข้าพเจ้าจะแนะนำให้อ่านหนังสือทุกเล่ม เพราะใช่ว่าหนังสือทุกเล่มจะดี อ่านหนังสือดี และคั้นเอาปัญญาและความเข้าใจออกมาให้มากที่สุดเท่าที่ท่านสามารถทำได้ ทั้งนี้โดยได้ รับความช่วยเหสือจากพระวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้า (DBY, 248)

ข้าพเจ้าขอแนะนำให้ท่านอ่านหนังสีอที่บีค่าต่อการอ่าน อ่านประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้ และค้นหาปัญญาจากหนังสือดีที่สุดเท่าที่ท่านจะหามาได้ (DBY, 256)

น่ายินดีเพียงใดที่เราจะเข้าใจหลักธรรมทุกข้อที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และศิลปะ และ คุ้นเคยกับการทำงานอันสลับขับช้อนทุกอย่างของธรรมชาติอย่างทะลุปรุโปร่ง และด้วยการ เปลี่ยนแปลงทางเคมีทั้งหมดที่กำลังเป็นอยู่รอบตัวเราอย่างสมาเสมอ สิ่งนี้ช่างนำยินดีเพียง ใดรวมทั้งท้องทุ่งแห่งความจริงและอำนาจที่ไร้ขอบเขตถูกเปิดให้เราสำรวจ! เราเพิ่งเข้าใกล้ ชายฝังของมหาสมุทรแห่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโลกทางกายภาพใบนี้เท่านั้น โดยไม่พูดถึงสิ่ง ที่เกี่ยวข้องกับสวรรค์ เทพและมนุษย์ชั้นสูง สถานที่อยู่ของพวกเขา ลักษณะชีวิตของพวก เขาและความก้าวหน้าของพวกเขาที่มีระดับแห่งความดีพร้อมสูงกว่า (DBY, 255)

การเปิดเผยของพระเจ้าพระเยซูคริสต์ต่อครอบครัวมนุษย์คือความรู้ทั้งหมดที่เราเคยได้รับ ส่วนมากของความรู้นี้เราได้รับจากหนังสือซึ่งเขียนโดยผู้ที่ไตร่ตรองในหัวเรื่องต่างๆ มาแล้ว อย่างลึกซึ้งรวมทั้งการเปิดเผยของพระเยซูได้เปิดความคิดของพวกเขาไม่ว่าเขาจะรู้หรือยอม รับหรือไม่ก็ตาม (DBY, 257–58)

ศาสนาของเราจะไม่ต่อสู้หรือขัดแย้งกับความจริงของวิทยาศาสตร์ไม่ว่าประเด็นใด ยก ตัวอย่าง เช่น ท่านอาจเรียนวิชาธรณีวิทยา และมันคือวิทยาศาสตร์ที่เป็นความจริง ข้าพเจ้า จะไม่พูดขณะนี้ว่าข้อสรุปและการอนุมานของผู้เชี่ยวชาญเป็นจริง นอกจากหลักธรรม สำคัญๆ เท่านั้นที่เป็นความจริง มันคือข้อเท็จจริง—มันเป็นนิรันดร์ และที่อ้างว่าพระเจ้าทรง สร้างโลกนี้จากความว่างเปล่านั้นเป็นสิ่งที่ไร้สาระและเป็นไปไม่ได้ [ดู เอบราแฮม 3:24; ค.พ. 131:7] พระผู้เป็นเจ้าไม่เคยสร้างสิ่งใดจากความว่างเปล่า มันไม่ได้อยู่ในระบบหรือกฎ ที่โลกเหล่านี้เคยเป็นอยู่หรือที่เป็นอยู่ขณะนี้หรือกำลังจะเป็นมีความเป็นนิรันดร์อยู่ตรงหน้า เรามันเต็มไปด้วยสสาร หากเราจะเข้าใจพระเจ้าและวิธีของพระองค์อย่างเพียงพอเราจะ กล่าวว่าพระองค์ทรงนำสสารนี้มาและจัดระเบียบโลกนี้จากสสารนั้นโลกนี้ถูกจัดระเบียบมา นานเท่าใดมีใช่เรื่องที่ข้าพเจ้าจะพูด และข้าพเจ้าไม่สนใจเรื่องนี้เลย…หากเราเข้าใจกระบวน การสร้างจะไม่มีเรื่องลับลึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ มันจะเป็นเรื่องที่มีเหตุผลและเรียบง่าย ในทุกสิ่ง เพราะไม่มีเรื่องลับลึกใดๆ นอกจากกับคนที่โง่เขลา สิ่งนี้เรารู้จากเรื่องราวที่เราเรียนรู้อย่าง เป็นธรรมชาตินับตั้งแต่เราเป็นอยู่บนแผ่นดินโลก (DBY, 258–59)

เรามีสิทธิพิเศษของการแสวงหาปัญญาจากพระผู้เป็นเจ้า

เป็นสิทธิพีเศษของมนุษย์ที่จะแสวงหาปัญญาจากพระผู้เป็นเจ้าซึ่งเกี่ยวข้องกับแผ่นดินโลกและสวรรค์ ปัญญาแท้จริงคือความพึงพอใจแท้จริง ปัญญา ความเฉียบแหลม และ ความเข้าใจแท้จริงคือความสบายใจแท้จริง (DBY, 262)

บุคคลที่ใช้ประโยชน์จากความคิดและความปรารถนาเพื่อให้ได้ปัญญา และแสวงหา ความเข้าใจอย่างพากเพียร จะเติบโตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในอิสราเอล (DBY, 261)

ขอให้ปัญญาได้รับการหว่านลงในใจของท่าน และขอให้มันนำมาซึ่งการเก็บเกี่ยวอันอุดม มันจะให้ผลประโยชน์แก่ท่านมากกว่าทอง เงิน และความร่ำรวยทั้งหมดของแผ่นดินโลก ขอ ให้ปัญญางอกอยู่ในใจท่าน และจงเพาะเลี้ยงมัน (DBY, 261)

เราเตรียมวัสดุเพื่อสร้างบ้านหรือพระวิหารฉันใด มนุษย์จะเตรียมตัวเพื่อได้รับปัญญา นิรันดร์ฉันนั้น เราไปยังที่ที่มีวัสดุเพื่อสร้างบ้าน และจัดเตรียมสิ่งต่างๆ ให้เพียงพอกับจุด ประสงค์ของเรา ดังนั้นเราจะไปยังสถานที่ที่มีปัญญานิรันดรและแสวงหาเพื่อจะเป็นเจ้าของ มันด้วยความพากเพียร เพราะราคาของสิ่งดังกล่าวสูงกว่าทับทิม [ดู โยบ 28:18] (DBY, 261–62)

หลังจากใช้ความเพียรพยายามทั้งหมดเพื่อให้ได้มาชึ่งปัญญาจากหนังสือดีที่สุด ยังคงมี แหล่งกำเนิดที่เปิดสำหรับทุกคน “หากผู้ใดในพวกท่านขาดสติปัญญา ก็ให้ผู้นั้นทูลขอจาก พระเจ้า” [ดู ยากอบ 1:5] (DBY, 261)

หากท่านดำเนินชีวิตจนมีพระวิญญาณบริสุทธิ์…ท่านจะเห็นความแตกต่างระหว่างปัญญาของมนุษย์และพระปรีชาญาณของพระผู้เป็นเจ้าได้ทันที ท่านจะใช้ดุลยพินิจในการวัด สิ่งต่างๆ และประเมินค่าได้ตามความเป็นจริง (DBY, 323)

ขอให้สิทธิชนยุคสุดท้ายทุกคนปึกฝนตนเองอยู่เสมอในการทำความดีทั้งโดยคำพูดและ การกระทำ จงยอมรับว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้า จงเคร่งครัดในการรักษากฎ ของพระองค์ และเรียนรู้ที่จะมีความกรุณา หลีกเลี่ยงความชั่วร้ายและชื่นชมยินดีในการทำ สิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงพอพระทัยเสมอ (DBY, 261)

มีเพียงแหล่งเดียวที่มนุษย์ได้รับปัญญา นั่นคือพระผู้เป็นเจ้า แหล่งกำเนิดแห่งปัญญาทั้ง ปวงและแม้ว่ามนุษย์จะอ้างว่าตนด้นพบสิ่งใหม่ๆ ด้วยปัญญาของตนเอง โดยการใคร่ครวญ และพินิจพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แต่พวกเขาก็เป็นหนี้พระบิดาบนสวรรค์สำหรับทุกสิ่ง (DBY, 259–60)

ข้อแนะนำสำหรับการศึกษา

เราถูก “เรียกร้องโดยหน้าที่ให้ศึกษา” เรียนรู้ และดำเนินชีวิตตามหลักธรรมนิรันดร

  • ขณะที่คนอื่นๆ “กำลังทุ่มความสามารถทั้งหมด…ในเรื่องวัตถุที่เน่าเปื่อยได้” สิทธิชนยุค สุดท้ายควรใช้เวลาและพลังงานอย่างไร? “วัตถุที่เน่าเปื่อยได้” คืออะไร? ให้เขียน “หลัก ธรรมที่มีจุดประสงค์ให้คงทนยั่งยืน และทำให้เกิดความเจริญเติบโต..ในโลกที่จะมาถึง”

  • ใครคือแหล่งพลังของการบรรลุความสำเร็จอ้นยิ่งใหญ่ในความรู้? ผู้คนมักให้เกียรติความ สำเร็จเหล่านี้แก่ใคร?

  • พระกิตติคุณกระตุ้นให้สมาชิกของศาสนาจักร “เพิ่มพูนความรู้และปัญญา” ในวิธีใด? ทำไมจึง “ไม่มิกลุ่มคนใดที่บีความกระตือรือรันในการเห็น ได้ยิน เรียนรู้ และเข้าใจ ความจริงมากไปกว่านี้”? ทำไมเราจึงควรแสวงหาเพื่อให้เราไม่หยุดการเรียนรู้?

  • เรา “ฝึกฝนจิตใจของเราจนกระทั้งเราชื่นชมในสิ่งที่ดี สวยงาม และคักดิ์สิทธ์” อย่างไร? ผลของ “การปรับปรุงความคิดของเรา” คืออะไร?

เราถูกเรียกให้เติบโตในพระคุณและความรู้เพื่อนิรันดร

  • ตามคำพูดของประธานยัง บุคคลหยุดการเรียนรู้เมื่อใด?

  • เราต้องทําตามวิธีใดเพื่อจะมีอํานาจเหนือจิตใจของเราและได้รับปัญญาที่แท้จริง?

เราควรให้การศึกษาแก่ตัวเราและลูกๆ ของเรา ในสิ่งเรียนรู้ของโลกและเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า

  • ประธานยังบัญชาให้เราสอนลูกๆ ของเรา เราต้องสอนอะไร? เราสามารถทำสิ่งใดเพื่อ กระตุ้นให้ลูกๆ ของเราได้รับการศึกษา?

  • เราจะทำให้การได้รับความรู้ทางโลกสมดุลโดยการได้รับปัญญาจากพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร? เป้าหมายเหล่านี้ทำงานร่วมกันในวิธีใด?

  • ในการสอนเด็กๆ อะไรคือความรับผิดชอบของครู? บิดามารดา? และผู้ใหญ่คนอื่นๆ?

เราควรเป็นผู้คนที่มีความรู้อันศึกซึ้ง

  • ทำไมเราจึงควรแสวงหา “ความรู้อันลึกซึ้ง”? เราควรศึกษาอะไร? ทำไมเราจึงควรอ่าน หนังสืออื่นๆ นอกเหนือจากพระคัมภีร์?

  • ประธานยังเตือนให้เรา “ศึกษาหนังสือดีที่สุด” ท่านหมายถึงหนังสือประเภทใด? เราจะ แยกแยะระหว่างหนังสือดีกับหนังสือไม่ดีได้อย่างไร? นอกเหนือจากการอ่านหนังสือดีๆ แล้ว ท่านอาจทำอะไรได้อีกเพื่อจะได้รับความรู้?

  • อะไรคือแหล่งกำเนิดของ “ความรู้ทั้งหมดที่เราเคยได้รับ”? เราจะเรียนรู้จากแหล่งนั้น อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร?

  • ตามคำพูดของประธานยัง ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาที่แท้จริงและ “ความจริงของ วิทยาศาสตร์” คืออะไร?

เรามีสิทธิพิเศษของการแสวงหาปัญญาจากพระผู้เป็นเจ้า

  • ประธานยังกล่าวว่า ปัญญาของพระผู้เป็นเจ้า “ให้ผลประโยชน์แก่ท่านมากกว่าทอง เงิน และความรารวยทั้งหมดของแผ่นดินโลก” ปัญญาจะเป็น “ความพึงพอใจ” และ “ความ สบายใจ” ได้อย่างไร?

  • เราไปหาใครเพื่อได้รับ “ปัญญานิร้นดร์”? เราต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อได้รับปัญญานิรันดร์? เราจะ “เห็นความแตกต่างระหว่างปัญญาของมนุษย์กับพระปริชาญาณของพระ ผู้เป็นเจ้า” ได้อย่างไร?

ภาพ
Karl G. Maeser

รูปภาพของ คาร์ล จี. เมเซอร์ ครูคนแรกของวิทยาลัยบริคัม ยัง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยบริคัม ยัง

ภาพ
faculty of Brigham Young Academy

คณาจารย์ของวิทยาลัยบริคัม ยัง ประมาณปี 1885