สถาบัน
บทเรียนที่ 18 สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน: รับของประทานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งพระคุณจากพระผู้ช่วยให้รอด


“บทที่ 18 สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน: รับของประทานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งพระคุณจากพระผู้ช่วยให้รอด,” พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (2023)

“บทที่ 18 สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน,” พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

ภาพ
พระเยซูคริสต์ทรงยื่นพระหัตถ์ให้ชายคนหนึ่ง

บทที่ 18 สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน

รับของประทานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งพระคุณจากพระผู้ช่วยให้รอด

ท่านเคยรู้สึกท้อแท้เพราะบาป ความผิดพลาด ความอ่อนแอ และความบกพร่องของท่านไหม? ท่านเคยพูดกับตนเองบ้างไหมว่า “ฉันไม่ดีพอ” หรือ “ฉันจะไม่มีวันดีพอ”? ขณะที่ท่านศึกษา ให้พิจารณาว่าพระคุณของพระเจ้าสามารถช่วยให้ท่านพ้นจากการวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง เปลี่ยนจุดอ่อนให้กลายเป็นจุดแข็ง (ดู อีเธอร์ 12:27) และสนับสนุนให้ท่านเป็นคนดีขึ้นและทำดีมากกว่าที่ท่านจะทำได้ด้วยตนเองอย่างไร

หมวดที่ 1

เหตุใดฉันจึงต้องการพระคุณของพระผู้ช่วยให้รอด?

อัครสาวกเปาโลเป็นพยานว่า “ข้าพเจ้าเผชิญได้ทุกอย่างโดยพระองค์ผู้ทรงเสริมกำลังข้าพเจ้า” (ฟีลิปปี 4:13) การเสริมสร้างหรือพระเดชานุภาพอันกอปรด้วยพระปรีชาสามารถนี้เรียกว่า พระคุณ และ “ประทานให้เราผ่านการชดใช้ของพระเจ้าพระเยซูคริสต์” (Gospel Topics, “Grace,” topics.ChurchofJesusChrist.org)

พระผู้ช่วยให้รอดทรงแสดงให้เห็นความจำเป็นที่เราต้องมีพระคุณของพระองค์ในอุปมาเรื่องเถาองุ่นแท้

ภาพ
แผนภาพที่มีป้ายกำกับแสดงภาพเถาวัลย์ กิ่ง ผล
ภาพ
ไอคอน ศึกษา

ศึกษาเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน

อ่าน ยอห์น 15:1–8 และพิจารณาว่าสัญลักษณ์ในอุปมานี้สามารถสอนอะไรเราได้บ้างเกี่ยวกับความจำเป็นที่เราต้องการความช่วยเหลือจากพระเจ้า   

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวถึงอุปมานี้:

ภาพ
เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

พระคริสต์คือทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับเราและเราต้อง “ติดสนิท” อยู่กับพระองค์อย่างถาวร ไม่ย่อหย่อน แต่มั่นคงตลอดกาล เพราะผลของพระกิตติคุณจะเบ่งบานและเป็นพรแก่ชีวิตเรา เราต้องแนบสนิทอย่างมั่นคงกับพระองค์ … พระองค์คือเถาองุ่นซึ่งเป็นแหล่งแท้จริงของความเข้มแข็งและเป็นหนึ่งเดียวของที่มาแห่งชีวิตนิรันดร์ (“จงเข้าสนิทอยู่ในเรา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2004, 40)

การเข้าสนิทอยู่หรือคงอยู่ในพระเยซูคริสต์ทำให้เราได้รับพระคุณของพระองค์เพื่อที่เราจะสามารถเอาชนะบาปและตระหนักถึงศักยภาพสูงสุดของเรา ลีไฮสอนว่า “ไม่มีเนื้อหนังใดจะสามารถพำนักอยู่ในที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าได้, นอกจากจะเป็นโดยผ่านความดีงาม, และพระเมตตา, และพระคุณของพระเมสสิยาห์ผู้บริสุทธิ์” (2 นีไฟ 2:8) และโมโรไนเป็นพยานว่าโดยผ่านพระคุณของพระคริสต์ เราอาจเป็นเหมือนพระองค์—ได้รับการชำระให้บริสุทธิ์ ดีพร้อม และศักดิ์สิทธิ์ (ดู โมโรไน 10:32–33)

ภาพ
ดวงอาทิตย์ส่องแสงไปที่คนหนุ่มสาว

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่าพระคุณที่มีให้ผ่านการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด “ช่วยให้เราเห็น ทำ และเป็นคนดีอย่างที่เราไม่มีวันรู้หรือทำได้ด้วยความสามารถอันจำกัดของมนุษย์อย่างเรา” (“ในพลังของพระเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2004, 94)

ภาพ
ไอคอน สนทนา

สนทนาเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน

ถามเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวว่าจะอธิบายพระคุณของพระเยซูคริสต์อย่างไร และเคยประสบพระคุณของพระองค์อย่างไร

หมวดที่ 2

ศรัทธาและการเชื่อฟังของฉันมีบทบาทอย่างไรในการได้รับพระคุณของพระผู้ช่วยให้รอด?

ภาพ
คนถือของขวัญ
ภาพ
เหรียญตกออกจากกระเป๋า

ลองพิจารณา​ภาพ​สอง​ภาพ​ที่ให้มา ภาพเหล่านี้แสดงถึงพระคุณของพระเจ้าได้สองมุมมอง บางคนมองว่าพระคุณเป็นของขวัญที่มอบให้โดยไม่คำนึงว่าเราทำอะไรในชีวิต คนอื่นเชื่อว่าเราสามารถได้รับพระคุณจากพระผู้เป็นเจ้าจากงานดีของเรา เอ็ลเดอร์ฮอลแลนด์กล่าวจากมุมมองที่ไม่สมบูรณ์ทั้งสองนี้ว่า:

ภาพ
เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

ของประทานบางอย่างที่มาจากการชดใช้นั้นเป็นของสากล ไม่มีขอบเขต และไม่มีเงื่อนไข ของประทานเหล่านี้ได้แก่การไถ่ของพระองค์สำหรับการล่วงละเมิดครั้งแรกของอาดัม … [และ] การฟื้นคืนชีวิต …

ของประทานด้านอื่นๆ อันเนื่องจากการชดใช้ของพระคริสต์มีเงื่อนไข ขึ้นอยู่กับความพากเพียรของเราในการรักษาพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า ตัวอย่างเช่น ถึงแม้สมาชิกทุกคนในครอบครัวมนุษย์จะได้รับการผ่อนผันจากบาปของอาดัมโดยไม่ต้องพยายามในส่วนของตน แต่พวกเขาไม่ได้รับการผ่อนผันจากบาปของตนเองเว้นแต่สัญญาว่าจะศรัทธาในพระคริสต์ [และ] กลับใจจากบาปเหล่านั้น …

เห็นได้ชัดว่าเราได้พรแบบไม่มีเงื่อนไขของการชดใช้โดยไม่ต้องทำอะไร แต่เราต้องทำอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้พรที่มีเงื่อนไข ไโดยดำเนินชีวิตอย่างซื่อสัตย์และการรักษาพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า เราจะได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติม แต่ยังคงได้มาเปล่าๆ โดยไม่ต้องทำอะไร (ดู “การชดใช้ของพระเยซูคริสต์,” เลียโฮนา, มี.ค. 2008, 35–36)

เมื่อพูดถึงของประทานแห่งพระคุณแบบมีเงื่อนไขซึ่งมีให้ผ่านการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด นีไฟกล่าวว่า “เรารู้ว่าโดยพระคุณนั่นเองที่เราได้รับการช่วยให้รอด, หลังจากเราทำทุกสิ่งจนสุดความสามารถแล้ว” (2 นีไฟ 25:23) บางคนรู้สึกกังวลกับวลีที่ว่า “หลังจากเราทำทุกสิ่งจนสุดความสามารถแล้ว” เพื่อช่วยให้ท่านเข้าใจถ้อยคำของนีไฟมากขึ้น ให้อ่านคำกล่าวของผู้นำศาสนจักรต่อไปนี้:

ภาพ
เอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ

ข้าพเจ้าสงสัยว่าบางครั้งเราตีความวลี “หลังจากเราทำทุกสิ่งจนสุดความสามารถแล้ว” ผิดไปหรือไม่ เราต้องเข้าใจว่า “หลังจาก” ไม่เหมือนกับ “เพราะ”

เราไม่ได้รอด “เพราะ” ทำทุกสิ่งจนสุดความสามารถแล้ว มีใครทำจน สุด ความสามารถแล้วบ้าง พระผู้เป็นเจ้าทรงรอจนเราใช้ความพยายามทุกอย่างก่อนที่จะทรงแทรกเข้ามาในชีวิตเราด้วยพระคุณที่ช่วยให้รอดของพระองค์หรือ? …

ข้าพเจ้าแน่ใจว่านีไฟรู้ว่าพระคุณของพระผู้ช่วยให้รอด ช่วยให้ และ ทำให้ เราเอาชนะบาปได้ [ดู 2 นีไฟ 4:19–35; แอลมา 34:31] นี่คือสาเหตุที่นีไฟทำงานอย่างขยันหมั่นเพียรเพื่อชักชวนลูกหลานและพี่น้อง “ให้เชื่อในพระคริสต์, และให้คืนดีกับพระผู้เป็นเจ้า” [2 นีไฟ 25:23] (ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “ของประทานแห่งพระคุณ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 110)

ภาพ
เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน

เราไม่จำเป็นต้องมีความสามารถหรือความดีในระดับต่ำสุดระดับหนึ่งก่อนที่พระผู้เป็นเจ้าจะทรงช่วยเหลือ—เรารับความช่วยเหลือจากสวรรค์นั้นได้ทุกโมงยามของทุกวัน ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนบนเส้นทางแห่งการเชื่อฟัง … คำวิงวอนของข้าพเจ้าคือขอเพียงมีความรับผิดชอบและไปทำงานเพื่อพระผู้เป็นเจ้าจะทรงมีบางสิ่งที่จะช่วยเหลือเรา (ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “เป็นอิสระตลอดกาล เพื่อกระทำด้วยตนเอง,” เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 19)

ภาพ
เอ็ลเดอร์บรูซ ซี. ฮาเฟน

ของประทานแห่งพระคุณของพระผู้ช่วยให้รอดที่ประทานแก่เราไม่จำกัดเฉพาะ “หลังจาก” เราทำทุกสิ่งจนสุดความสามารถแล้วเท่านั้น เราอาจได้รับพระคุณก่อน ระหว่าง และหลังจากที่เราเพิ่มความพยายาม (บรูซ ซี. ฮาเฟน, The Broken Heart: Applying the Atonement to Life’s Experiences [1989], 155–56)

ภาพ
ไอคอน ไตร่ตรอง

ไตร่ตรองเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน

ท่านเคยได้ยินความเข้าใจผิดอะไรบ้างเกี่ยวกับพระคุณของพระผู้ช่วยให้รอด? สิ่งที่ท่านกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับพระคุณจะเป็นพรแก่ท่านและคนอื่นๆ ที่ท่านรู้จักอย่างไร?

หมวดที่ 3

พระคุณของพระผู้ช่วยให้รอดเปลี่ยนชีวิตฉันได้อย่างไร?

พระเยซูคริสต์ทรงประสบความเจ็บปวด การล่อลวง ความทุพพลภาพ และความอ่อนแอทั้งหมดของพระชนม์ชีพมรรตัย พระองค์จึงทรงทราบวิธีช่วยเรา (ดู ฮีบรู 2:18; 4:15; แอลมา 7:11–12; หลักคำสอนและพันธสัญญา 62:1) เพราะพระเยซูคริสต์ทรงเป็นทั้งพระผู้ช่วยให้รอดที่เต็มพระทัยและปรีชาสามารถ เราจึงสามารถ “เข้า‍มา​ถึง​พระ‍ที่‍นั่ง​แห่ง​พระ‍คุณ​ด้วย​ความ​กล้า เพื่อ​เรา​จะ​ได้​รับ‍พระ‍เมตตา และ​จะ​พบ​พระ‍คุณ​ที่​ช่วย​เรา​ใน​ยาม‍ต้อง‍การ” (ฮีบรู 4:16)

ภาพ
คนหนุ่มสาวกำลังสวดอ้อนวอน
ภาพ
ไอคอน ศึกษา

ศึกษาเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน

พิจารณาสิ่งที่ท่านสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการแสวงหาหรือรับพระคุณของพระเจ้าจากเรื่องราวพระคัมภีร์ต่อไปนี้หนึ่งเรื่องขึ้นไป

  • อีเธอร์ 12:23–28: โมโรไนกังวลเกี่ยวกับความอ่อนแอเรื่องการเขียน

  • 2 นีไฟ 4:17–26, 30–33: นีไฟกังวลเกี่ยวกับบาปของเขา

  • โมไซยาห์ 24:8–16: ผู้คนของแอลมาทนทุกข์ในความเป็นทาส

  • โมเสส 6:27, 31–32; 7:10–13: เอโนครู้สึกไม่คู่ควรที่จะสั่งสอนและพยากรณ์

  • 2 โครินธ์ 12:7–10: เปาโลพูดถึง “หนามในเนื้อ” ซึ่งเป็นอุปมาที่บ่งบอกถึงความทุพพลภาพที่เขาใช้ชีวิตร่วมกับสิ่งที่ทำให้เขาลำบากใจ

ขณะที่ท่านอ่าน ให้ใคร่ครวญคำถามต่อไปนี้:

  1. พระคุณปรากฏอย่างไร?

  2. บุคคลนี้ (หรือบุคคลอื่นๆ) ทำอะไรเพื่อเชื้อเชิญหรือพึ่งพาพระคุณของพระเจ้า?

  3. ฉันจะเชื่อมโยงเรื่องราวนี้กับชีวิตของฉันได้อย่างไร?

ภาพ
ไอคอน บันทึก

บันทึกความคิดของท่าน

คิดและบันทึกเวลาที่ท่านรู้สึกว่าได้รับพระคุณของพระเจ้า พึงระลึกไว้เสมอว่าพระคุณมักจะมาในวิธีที่เล็กน้อยและเรียบง่าย เตรียมแบ่งปันตัวอย่างระหว่างชั้นเรียน