สถาบัน
ภาคผนวก: เอกสารแจก


“ภาคผนวก: เอกสารแจก,” พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (2023)

“เอกสารแจก,” พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

ภาคผนวก

เอกสารแจก

บทที่ 2

ข่าวสารสำหรับสมัยของเราใน “พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์”

ข่าวสารสำหรับสมัยของเราใน “พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์”

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 2

เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้:

ภาพ
เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์

“พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก” เตรียมไว้ล่วงหน้าเมื่อเราต้องการมากที่สุดในเวลานี้ (“การประชุมใหญ่สามัญ: เสริมสร้างศรัทธาและประจักษ์พยาน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2013, 7)

ทบทวน “พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์” สำหรับข่าวสารที่ท่านรู้สึกว่าจำเป็นที่สุดในสมัยของเรา เตรียมพร้อมที่จะแบ่งปันสิ่งที่ท่านพบกับคู่ร่วมศึกษาของท่าน

บทที่ 2

พูดถึงพระเยซูคริสต์มากขึ้น

พูดถึงพระเยซูคริสต์มากขึ้น

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 2

เอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวว่า

ภาพ
เอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น

ขณะที่โลกพูดถึงพระเยซูคริสต์น้อยลง ขอให้เราพูดถึงพระองค์มากขึ้น เมื่อเราเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของเราในฐานะสานุศิษย์ของพระองค์ คนรอบข้างเราหลายคนจะพร้อมรับฟัง (“เราพูดถึงพระคริสต์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 90)

ทบทวน “พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์” สำหรับข่าวสารที่ท่านรู้สึกว่าสำคัญอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันในโลกที่พูดถึงพระเยซูคริสต์น้อยลง เตรียมพร้อมที่จะแบ่งปันสิ่งที่ท่านพบกับคู่ร่วมศึกษาของท่าน

บทที่ 4

โมเสสเรียนรู้ความจริงที่สำคัญเกี่ยวกับการสร้าง

โมเสสเรียนรู้ความจริงที่สำคัญเกี่ยวกับการสร้าง

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 4

อ่านสถานการณ์สมมติต่อไปนี้:

  • เกรทเชนชื่นชอบวิทยาศาสตร์ จากการศึกษาของเธอ เธอได้เรียนรู้มากมายว่าโลกธรรมชาติทำงาน อย่างไร แต่เธอยังไม่พบคำตอบที่น่าพอใจว่า ทำไม โลกจึงเกิดขึ้นมาได้ เธอมีคำถามหลายข้อเกี่ยวกับจุดประสงค์ของแผ่นดินโลกและชีวิตของเรา

  • บางคนอาจเผชิญความท้าทายอะไรบ้างหากพวกเขาไม่เข้าใจว่า ทำไม โลกจึงถูกสร้างขึ้น?

อ่าน โมเสส 1:27–39 ด้วยกัน และมองหาความจริงที่สามารถยกระดับมุมมองของเกรทเชนเกี่ยวกับการสร้าง จากนั้นให้สมาชิกแต่ละคนเลือกหัวข้อย่อยด้านล่างและใช้เวลาสองสามนาทีเพื่อเตรียมคำตอบ จากนั้นพวกเขาแต่ละคนจะแบ่งปันความคิดของตนกับกลุ่ม

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับธรรมชาติของพระผู้สร้างจากการสร้าง? ศรัทธาของท่านในพระเยซูคริสต์ได้รับอิทธิพลจากการรู้ว่าพระองค์ทรงสร้างทุกสิ่งอย่างไร?

  • ท่านมีความคิดหรือความรู้สึกอย่างไรเมื่อพิจารณาว่า “เราคือเหตุผลที่ [พระผู้เป็นเจ้า] ทรงสร้างจักรวาล”? (ท่านอาจต้องการทบทวน คำกล่าวของประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ ในหมวดที่ 1 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน)

  • ท่านเคยทำหรืออาจทำอะไรเพื่อช่วยให้ผู้อื่นบรรลุศักยภาพของพวกเขาในฐานะบุตรธิดาของพระบิดาบนสวรรค์? (ท่านอาจเชิญให้สมาชิกกลุ่มบันทึกสิ่งที่พวกเขาอาจรู้สึกว่าได้รับการกระตุ้นเตือนให้ทำกับคนรู้จัก)

  • ความรู้ประเภทใดที่เราได้จากวิทยาศาสตร์? เราจะได้รับความรู้ประเภทใดจากพระคัมภีร์? เหตุใดเราจึงต้องการความรู้ทั้งสองรูปแบบ? (ท่านอาจต้องการทบทวนคำกล่าวของ ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน และ ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ ในหมวดที่ 3 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน)

บทที่ 7

ความยุติธรรมและความรักของพระผู้เป็นเจ้า

ความยุติธรรมและความรักของพระผู้เป็นเจ้า

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 7

ก่อนที่ท่านจะเริ่มการสนทนากลุ่ม ให้อ่านเคล็ดลับการสนทนาต่อไปนี้ด้วยกัน:

ปรับปรุงการสนทนากลุ่มของเรา

มุ่งมั่นเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมเท่าๆ กัน เราจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อเรารับฟังจากสมาชิกทุกคนในกลุ่ม ไม่ใช่แค่หนึ่งหรือสองคน หากท่านเป็นคนพูดเก่งและเข้าสังคมเก่งโดยธรรมชาติ โปรดระมัดระวังอย่าเป็นผู้ควบคุมการสนทนา ขัดจังหวะ หรือพูดแทรกผู้อื่น หากท่านเป็นคนเงียบๆ และปกติไม่ค่อยพูดนัก โปรดแสดงความกล้าหาญและพูดออกมาเพื่อให้คนอื่นได้เรียนรู้จากท่าน ละทิ้งความคิดที่ว่าความคิดเห็นของท่านไม่สำคัญ

อ่านออกเสียงสถานการณ์ต่อไปนี้ด้วยกัน:

เซนรู้สึกหนักใจกับกฎและพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า เป็นเวลานานแล้วที่เขารู้สึกว่าตนเองไม่ดีพอและไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คาดหวังไว้ เมื่อไม่นานมานี้เขารู้สึกท้อแท้เนื่องจากการขาด “ความก้าวหน้า” เขาจึงตกไปสู่รูปแบบของการล่วงละเมิดร้ายแรง เขารู้สึกสูญเสียพระวิญญาณ เขาไม่มีค่าควรที่จะมีใบรับรองพระวิหารอีกต่อไป เขาสงสัยว่าพระผู้เป็นเจ้ายังทรงรักเขาอยู่หรือไม่ เพราะการเลือกที่ไม่ดีของเขา เขาเพิ่งพูดกับมีอาเพื่อนของเขาว่า “ชีวิตของฉันมันไร้ค่า ฉันค่อนข้างแน่ใจว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงละทิ้งฉันแล้ว” มีอาตอบกลับว่า “อย่ากังวลเลย พระผู้เป็นเจ้าทรงรักเราอย่างไม่มีเงื่อนไขและพระองค์จะทรงช่วยเธอให้รอดโดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่เธอทำ นั่นคือจุดประสงค์ของการชดใช้ของพระเยซูคริสต์”

ทบทวนสภาพก่อนเกิดน้ำท่วมโดยสังเขป จากนั้นทบทวน โมเสส 7:28–29, 32–33, 37 และมองหาสิ่งที่เอโนคเรียนรู้เกี่ยวกับพระลักษณะของพระผู้เป็นเจ้าจากการเฝ้าดูพระองค์ทอดพระเนตรบุตรธิดาที่ไม่เชื่อฟังของพระองค์ทนทุกข์ จากนั้นให้สนทนาคำถามต่อไปนี้

  • ความจริงใดจากข้อเหล่านี้สามารถช่วยเซนตระหนักว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงรักเขาทั้งที่เขาละเมิดพระบัญญัติ? ความรู้นี้จะช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์ของเซนกับพระบิดาบนสวรรค์ได้อย่างไร? (ท่านอาจอ่าน คำกล่าวของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ ในหมวดที่ 1 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนานี้)

  • ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งบางครั้งแสดงออกด้วยความกริ้วหรือพระพิโรธของพระองค์ เป็นหลักฐานแสดงความรักของพระองค์ในทางใด? (ท่านอาจจะให้อ่าน คำกล่าวของประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ ด้วยกันในหมวดที่ 1 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน) ถ้าพระผู้เป็นเจ้าไม่ทรงยุติธรรม สิ่งนี้จะทำให้ศรัทธาของเราในพระองค์อ่อนแอลงอย่างไร?

  • สิ่งใดเป็นเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับมุมมองของมีอาต่อความรักของพระผู้เป็นเจ้า? (อาจเป็นประโยชน์หากอ่าน คำกล่าวของเอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน ในหมวดที่ 1) มีวิธีใดบ้างที่ดีกว่าในการอธิบายความรักของพระผู้เป็นเจ้า? ท่านเคยประสบกับความรักของพระผู้เป็นเจ้าในทางใด?

บทที่ 9

พระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระผู้เป็นเจ้า

พระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระผู้เป็นเจ้า

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 9

แบ่งงานมอบหมายการอ่านต่อไปนี้ให้แต่ละกลุ่ม ขณะที่ท่านอ่าน ให้มองหาวิธีที่พระเจ้าเสด็จจากตำแหน่งที่สูงลงมาสู่สถานะที่ต่ำกว่าด้วยความสมัครใจ

  1. อับราฮัม 3:24–25, 27; ฟีลิปปี 2:7–8

  2. 1 นีไฟ 11:14–22

  3. 1 นีไฟ 11:26–27, 31–33

  4. คำกล่าวของ ประธานแทด อาร์. คอลลิสเตอร์ และ เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน ในหมวดที่ 2 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน และข้อความต่อไปนี้โดยซิสเตอร์เวนดีย์ อุลริช อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาทั่วไปของสมาคมสงเคราะห์:

[พระผู้ช่วยให้รอด] ประสูติมาเป็นทารกที่ช่วยพระองค์เองไม่ได้ในร่างมรรตัยและได้รับการเลี้ยงดูจาก [บิดามารดา] ที่ไม่ดีพร้อม พระองค์ต้องทรงหัดเดิน พูด ทำงาน และใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆ พระองค์ทรงหิวและเหนื่อย มีอารมณ์ความรู้สึกแบบมนุษย์ อาจทรงเจ็บป่วย ทนทุกข์ พระโลหิตไหล และสิ้นพระชนม์ (“การเป็นคนอ่อนแอไม่ใช่บาป,” เลียโฮนา, เม.ย. 2015, 23)

จากนั้นให้สนทนาคำถามต่อไปนี้ด้วยกัน:

  • งานอ่านเหล่านี้สอนอะไรเราเกี่ยวกับพระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระเยซูคริสต์?

  • พระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระเยซูคริสต์สอนอะไรเราเกี่ยวกับความรักที่พระผู้ช่วยให้รอดและพระบิดาบนสวรรค์ทรงมีต่อเรา? ความรักที่พระองค์ทรงมีต่อท่านส่งผลต่อความรักของท่านที่มีต่อพระองค์อย่างไร?

บทที่ 10

ให้พระผู้เป็นเจ้าทรงมีชัย

ให้พระผู้เป็นเจ้าทรงมีชัย

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 10

ใช้เวลาอีกสองสามนาทีถัดไปเพื่อเตรียมความคิดสั้นๆ เกี่ยวกับการยอมต่อพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ความคิดของท่านควรมีตัวอย่างความว่านอนสอนง่ายจากพระคัมภีร์หรือจากชีวิตท่านหรือชีวิตของคนที่ท่านรู้จัก และอาจรวมถึงวิธีที่เราจะประยุกต์ใช้ตัวอย่างนั้นในชีวิตเราด้วย ท่านอาจใช้แหล่งข้อมูลแหล่งใดแหล่งหนึ่งต่อไปนี้ขณะเตรียมตัว:

บทที่ 16

พระเยซูคริสต์ทรงทนทุกข์เพื่อช่วยเราให้รอด

พระเยซูคริสต์ทรงทนทุกข์เพื่อช่วยเราให้รอด

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 16

อ่านคำถามต่อไปนี้และเน้นประเด็นที่กลุ่มของท่านต้องการพูดคุยมากที่สุด

  1. ท่านมีความคิดและความรู้สึกอย่างไรต่อพระผู้ช่วยให้รอดขณะใคร่ครวญความทุกขเวทนาของพระองค์แทนท่าน? ความเต็มใจที่จะทนทุกข์ของพระองค์สอนอะไรเราเกี่ยวกับพระองค์? (อ่าน 1 นีไฟ 19:9)

  2. เหตุใดพระบิดาบนสวรรค์จึงทรงถอนพระวิญญาณเมื่อพระผู้ช่วยให้รอดทรงทนทุกข์บนไม้กางเขน? (ท่านอาจทบทวน มาระโก 15:34 และ คำกล่าวของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ ในหมวดที่ 2 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน) สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราจดจำประสบการณ์ของพระเจ้าบนไม้กางเขนได้อย่างไรเมื่อเรารู้สึกโดดเดี่ยว ถูกลืม หรือถูกทอดทิ้ง?

  3. ประจักษ์พยานเรื่องการชดใช้ของพระเจ้าจะช่วยเราได้อย่างไรเมื่อเราสงสัยในคุณค่าของตนเอง? (ท่านสามารถทบทวน หลักคำสอนและพันธสัญญา 18:10–11) การมุ่งเน้นที่พระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์มีอิทธิพลต่อวิธีที่เรามองศักยภาพและอนาคตของเราอย่างไร?

  4. เราส่งสารอะไรถึงตัวเราและพระผู้ช่วยให้รอดเมื่อเราเลือกกลับใจ? เหตุใดพระเจ้าอาจทรงรู้สึกปีติเมื่อเรากลับใจ? (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 18:13)

  5. หากบางคนรู้สึกไม่แน่ใจเกี่ยวกับความเป็นจริงของการชดใช้ของพระเจ้า เขาจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้ได้รับประจักษ์พยานในเรื่องนี้?

บทที่ 21

ฟังพระองค์

ฟังพระองค์!

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 21

จินตนาการว่าท่านได้รับโอกาสให้สร้างวิดีโอสั้นๆ ที่แสดงให้เห็นว่าท่านฟังสุรเสียงของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร เขียนโครงร่างสั้นๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ท่านจะแบ่งปันเพื่อตอบว่า “ฉันฟังพระองค์อย่างไร” คำถามต่อไปนี้อาจช่วยท่านขณะสร้างโครงร่างได้

  • ประสบการณ์ใดช่วยให้ท่านเข้าใจดีขึ้นว่าพระเจ้าตรัสกับท่านอย่างไร?

  • ท่านอาจรวมแนวคิดใดบ้างจากคำกล่าวของ ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน และ ซิสเตอร์มิเชลล์ ดี. เครก ในหมวดที่ 2 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน?

  • ท่านจะแบ่งปันความคิดและความรู้สึกในแบบที่คนอื่นเข้าใจง่ายได้อย่างไร?

จากโครงร่างของท่าน ให้สร้างข้อความสั้นๆ (หนึ่งถึงสองย่อหน้า) ที่ท่านสามารถแบ่งปันกับชั้นเรียนได้

หากท่านต้องการ ท่านสามารถไตร่ตรองและบันทึกสิ่งที่ท่านต้องการทำแทนเพื่อเพิ่มความสามารถในการฟังสุรเสียงของพระผู้ช่วยให้รอด

บทที่ 23

หญิงพรหมจารีผู้โง่เขลา

หญิงพรหมจารีผู้โง่เขลา

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 23

  1. สนทนาคำถามต่อไปนี้ด้วยกัน

    • ตะเกียงและน้ำมันเติมตะเกียงในเรื่องน่าจะหมายถึงสิ่งใด? (ท่านอาจทบทวน หลักคำสอนและพันธสัญญา 45:56–57 และ คำกล่าวของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน ในหมวดที่ 2 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน)

    • วลีที่ว่า “เมื่อเจ้าบ่าวมาช้า” (มัทธิว 25:5) และ “เมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนก็มีเสียงร้องว่า” (ข้อ 6) น่าจะมีนัยสำคัญอย่างไร?

    • เหตุใดหญิงพรหมจารีห้าในสิบคนจึงถูกบรรยายว่าโง่เขลา? (ท่านอาจสนทนาว่าวลี “เราไม่รู้จักท่าน” [ข้อ 12] และ “ท่าน ไม่รู้จัก เรา” (งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มัทธิว 25:11   ) สอนอะไรเราเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของหญิงพรหมจารีเหล่านี้)

  2. ระบุตัวอย่างทั่วไปหนึ่งหรือสองตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า ในฐานะสมาชิกของศาสนจักร เราอาจจะกลายเป็นเหมือนหญิงพรหมจารีผู้โง่เขลาได้อย่างไร พร้อมแบ่งปันตัวอย่างของท่านกับกลุ่มที่สนทนาเรื่องหญิงพรหมจารีผู้มีปัญญา

บทที่ 23

หญิงพรหมจารีผู้มีปัญญา

หญิงพรหมจารีผู้มีปัญญา

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 23

  1. สนทนาคำถามต่อไปนี้ด้วยกัน

    • ตะเกียงและน้ำมันเติมตะเกียงในเรื่องน่าจะหมายถึงสิ่งใด? (ท่านอาจทบทวน หลักคำสอนและพันธสัญญา 45:56–57 และ คำกล่าวของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน ในหมวดที่ 2 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน)

    • เหตุใดหญิงพรหมจารีห้าในสิบคนจึงถูกบรรยายว่ามีปัญญา?

    • เหตุใดหญิงพรหมจารีผู้มีปัญญาจึงไม่แบ่งน้ำมันตะเกียงให้หญิงพรหมจารีผู้โง่เขลา?

  2. ระบุตัวอย่างหนึ่งหรือสองตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า ในฐานะสมาชิกของศาสนจักร เราจะเป็นเหมือนหญิงพรหมจารีผู้มีปัญญาได้อย่างไร ขณะเตรียมรับการเสด็จมาครั้งที่สอง พร้อมแบ่งปันตัวอย่างของท่านกับกลุ่มที่สนทนาเรื่องหญิงพรหมจารีผู้โง่เขลา

บทที่ 24

พระเยซูคริสต์ทรงเป็น “ผู้พิพากษาที่ชอบธรรม” (2 ทิโมธี 4:8)

พระเยซูคริสต์ทรงเป็น “ผู้พิพากษาที่ชอบธรรม” (2 ทิโมธี 4:8)

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 24

อ่านออกเสียง สดุดี 9:8 และ 96:11–13 จากนั้นเชื้อเชิญให้สมาชิกแต่ละกลุ่มมาแบ่งปันพระคุณลักษณะจากพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอดซึ่งแสดงว่าพระเยซูคริสต์ทรงพิพากษาทุกคนด้วยความชอบธรรม ขณะแบ่งปันคุณลักษณะ ท่านอาจต้องการสนทนาคำถามต่อไปนี้

  • คุณลักษณะที่ว่านี้อาจส่งผลต่อวิธีที่พระเยซูคริสต์ทรงพิพากษาเราอย่างไร?

  • คุณลักษณะที่ว่านี้ทำให้ท่านยิ่งวางใจว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเหมาะที่จะเป็นผู้พิพากษาของท่านอย่างไร?

หลังจากระบุคุณลักษณะที่เจาะจงแล้ว ให้สนทนาว่าพระเยซูคริสต์ทรงแตกต่างจากผู้พิพากษาที่เป็นมนุษย์ปุถุชนทั้งหมดอย่างไร (ท่านอาจทบทวนคำกล่าวของ ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ และ เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์ ในหมวดที่ 1 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน) ท่านอาจสนทนาว่าเหตุใดการที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงมีพระคุณลักษณะทั้งหมดนี้จึงมีความสำคัญต่อการเป็นผู้พิพากษาของเรา

บทที่ 25

การประเมินตนเองในด้านการเป็นสานุศิษย์

การประเมินตนเองในด้านการเป็นสานุศิษย์

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 25

พิจารณาแต่ละข้อความแล้วให้คะแนนตนเอง โดยใช้มาตรคะแนนต่อไปนี้: 1 = ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง, 2 = ไม่ค่อยเห็นด้วย, 3 = เฉยๆ, 4 = ค่อนข้างเห็นด้วย และ 5 = เห็นด้วยอย่างยิ่ง

  1. ฉันเพียรพยายามเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ด้วยใจจริง

  2. ฉันพยายามรักษาพระบัญญัติของพระผู้ช่วยให้รอดทุกวัน

  3. ฉันพยายามรักและรับใช้ผู้คนรอบข้างดังที่พระเยซูคริสต์จะทรงปฏิบัติ

  4. ฉันเพียรพยายามเสียสละความปรารถนาทางโลกเพื่อติดตามพระผู้ช่วยให้รอด