สถาบัน
บทเรียนที่ 16 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู: น้อมรับการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้อันยิ่งใหญ่ของพระผู้ช่วยให้รอด


“บทที่ 16 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู: น้อมรับการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้อันยิ่งใหญ่ของพระผู้ช่วยให้รอด,” พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (2023)

“บทที่ 16 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู,” พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจของพระองค์ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

บทที่ 16 สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

น้อมรับการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้อันยิ่งใหญ่ของพระผู้ช่วยให้รอด

การชดใช้ของพระเยซูคริสต์เป็นศูนย์กลางของแผนแห่งความรอดของพระบิดาบนสวรรค์ ระหว่างบทเรียนนี้ นักเรียนจะรู้สึกซาบซึ้งมากขึ้นสำหรับราคาที่พระเยซูคริสต์ทรงจ่าย “เพื่อชดใช้บาปของมนุษยชาติทั้งปวง” (“พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก,” ChurchofJesusChrist.org) พวกเขาจะได้รับเชิญให้พิจารณาว่าตนจะทำอะไรได้บ้างเพื่อทำให้การกลับใจกลายเป็นส่วนที่น่ายินดีและมีพระคริสต์เป็นศูนย์กลางในชีวิตมากขึ้น

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

เนื่องจากการตก เราจึงต้องการการชดใช้ของพระเยซูคริสต์

ปรับปรุงการสอนและการเรียนรู้ของเรา

บ่มเพาะสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทางวิญญาณ ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์สอนว่า “การดลใจเกิดง่ายขึ้นในสภาวะแวดล้อมที่มีสันติ” (“Reverence Invites Revelation,” Ensign, Nov. 1991, 21) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของท่านมีระเบียบ สะอาด และสะดวกสบายหรือไม่? สิ่งใดที่อาจทำให้นักเรียนเสียสมาธิจากกระบวนการเรียนรู้ และท่านจะลดสิ่งเหล่านั้นลงให้เหลือน้อยที่สุดได้อย่างไร? นักเรียนรู้สึกได้รับการต้อนรับเมื่อพวกเขามาถึงหรือไม่? เพลงศักดิ์สิทธิ์หรือภาพที่เกี่ยวข้องกับพระกิตติคุณจะช่วยเตรียมนักเรียนให้พร้อมเรียนรู้ได้อย่างไร?

ท่านอาจเริ่มชั้นเรียนโดยการแบ่งปันสถานการณ์สมมติต่อไปนี้:

โลแกนซาบซึ้งต่อการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ แต่เขาไม่เคยรู้สึกว่าต้องการพระผู้ช่วยให้รอดในชีวิตเขาตอนนี้ เขาเชื่อว่าเนื่องจากตนเป็นคนดี รักษาพระบัญญัติโดยทั่วไป รับใช้ในศาสนจักร และไม่มีความผิดในบาปใหญ่ใดๆ การชดใช้ของพระเจ้าจึงไม่สำคัญต่อสถานการณ์ของเขามากนัก

  • ท่านจะอธิบายมุมมองของโลแกนเกี่ยวกับการชดใช้ของพระเจ้าอย่างไร? โลแกนอาจมีข้อสันนิษฐานใดที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด?

  • การศึกษาเรื่องการตกจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของโลแกนเกี่ยวกับการชดใช้ของพระเยซูอย่างไร?

ท่านอาจแสดงคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน

ภาพ
ประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน:

ไม่มีใครรู้อย่างถูกต้องและเพียงพอว่าเหตุใดเขาจึงต้องการพระคริสต์จนกว่าเขาจะเข้าใจและยอมรับหลักคำสอนเรื่องการตกและผลของการตกต่อมวลมนุษย์ (A Witness and a Warning: A Modern-Day Prophet Testifies of the Book of Mormon [1988], 33)

เชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนถึงผลกระทบบางประการของการตกของอาดัมและเอวาด้วยตนเองหรือกับคู่ (นักเรียนสามารถดู หมวดที่ 1 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน ประกอบได้) จากนั้นท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่พบกับชั้นเรียน หลังจากนักเรียนแบ่งปันแล้ว ท่านอาจช่วยให้พวกเขาเข้าใจอย่างลึกซึ้งขึ้นโดยถามคำถามต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งข้อ:

  • เหตุใดคนทุกคน รวมทั้งคน “ดี” และ “เชื่อฟัง” เช่นโลแกน จึงมีความต้องการที่มีอยู่แล้วและในตอนนี้สำหรับการชดใช้ของพระเจ้า? (การอ่าน 2 นีไฟ 9:7–9 อาจเป็นประโยชน์ นักเรียนอาจระบุหลักธรรมทำนองนี้: เราจะเอาชนะสภาพของความตายทางร่างกายและทางวิญญาณได้โดยผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์เท่านั้น)

  • อะไรคือความหมายของความตายทางร่างกายและทางวิญญาณ? (หากจำเป็น ให้ทบทวน คำกล่าวของเอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน ในหมวดที่ 1 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน) ท่านคิดว่าเหตุใดเจคอบจึงบรรยายความตายทางร่างกายและทางวิญญาณว่าเป็น “อสูรร้าย”? (2 นีไฟ 9:10)

  • ท่านมีความรู้สึกอย่างไรต่อพระผู้ช่วยให้รอด โดยรู้ว่าพระองค์ทรงเป็นหนทางเดียวที่ท่านจะเอาชนะความตายทางร่างกายและทางวิญญาณได้? (ดู โมไซยาห์ 3:17)

พระเยซูคริสต์ทรงทนทุกข์ในเกทเสมนีและบนไม้กางเขนเพื่อเราจะกลับใจและรับการไถ่ได้

เตือนนักเรียนว่าในการเตรียมตัวเข้าชั้นเรียน พวกเขาได้รับเชิญให้อ่าน มาระโก 14:33–37, ลูกา22:43–44 และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:18 และบันทึกความคิดและความรู้สึก ให้เวลานักเรียนทบทวนข้อเหล่านี้ จากนั้นให้พวกเขาจัดกลุ่มย่อยและจัดเตรียมเอกสารแจกต่อไปนี้

พระเยซูคริสต์ทรงทนทุกข์เพื่อช่วยเราให้รอด

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 16

อ่านคำถามต่อไปนี้และเน้นประเด็นที่กลุ่มของท่านต้องการพูดคุยมากที่สุด

  1. ท่านมีความคิดและความรู้สึกอย่างไรต่อพระผู้ช่วยให้รอดขณะใคร่ครวญความทุกขเวทนาของพระองค์แทนท่าน? ความเต็มใจที่จะทนทุกข์ของพระองค์สอนอะไรเราเกี่ยวกับพระองค์? (อ่าน 1 นีไฟ 19:9)

  2. เหตุใดพระบิดาบนสวรรค์จึงทรงถอนพระวิญญาณเมื่อพระผู้ช่วยให้รอดทรงทนทุกข์บนไม้กางเขน? (ท่านอาจทบทวน มาระโก 15:34 และ คำกล่าวของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ ในหมวดที่ 2 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน) สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราจดจำประสบการณ์ของพระเจ้าบนไม้กางเขนได้อย่างไรเมื่อเรารู้สึกโดดเดี่ยว ถูกลืม หรือถูกทอดทิ้ง?

  3. ประจักษ์พยานเรื่องการชดใช้ของพระเจ้าจะช่วยเราได้อย่างไรเมื่อเราสงสัยในคุณค่าของตนเอง? (ท่านสามารถทบทวน หลักคำสอนและพันธสัญญา 18:10–11 ) การมุ่งเน้นที่พระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์มีอิทธิพลต่อวิธีที่เรามองศักยภาพและอนาคตของเราอย่างไร?

  4. เราส่งสารอะไรถึงตัวเราและพระผู้ช่วยให้รอดเมื่อเราเลือกกลับใจ? เหตุใดพระเจ้าอาจรู้สึกปีติเมื่อเรากลับใจ? (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 18:13)

  5. หากบางคนรู้สึกไม่แน่ใจเกี่ยวกับความเป็นจริงของการชดใช้ของพระเจ้า เขาจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้ได้รับประจักษ์พยานในเรื่องนี้?

พระเยซูคริสต์ทรงทนทุกข์เพื่อช่วยเราให้รอด

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณอันเป็นนิจ สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู—บทที่ 16

ภาพ
เอกสารแจกจากครู

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาประทับใจระหว่างการสนทนา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของพวกเขา หรือท่านอาจเน้นหลักคำสอนเรื่องการกลับใจโดยแสดงสองข้อความต่อไปนี้ เชื้อเชิญให้นักเรียนพิจารณาว่าพวกเขารู้สึกเชื่อมโยงกับเรื่องใดมากที่สุดเมื่อเห็นความจำเป็นในการกลับใจของตนเอง

  1. การกลับใจรู้สึกเหมือนเป็นการลงโทษที่ต้องหลีกเลี่ยง

  2. การกลับใจเป็นเหมือนของขวัญศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องน้อมรับด้วยความยินดี

เพื่อช่วยให้นักเรียนไตร่ตรองเจตคติของพวกเขาต่อการกลับใจ ท่านอาจจะอ่านออกเสียง คำกล่าวของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน ในหมวดที่ 3 ของสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน จากนั้นท่านอาจช่วยนักเรียนระบุความจริงนี้: “เมื่อร่วมกับศรัทธา การกลับใจเปิดประตูสู่พลังแห่งการชดใช้ของพระเยซูคริสต์” (“เราสามารถทำได้ดีขึ้นและเป็นคนดีขึ้น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 67) จากนั้นให้ถามว่า:

  • ศรัทธาและการกลับใจทำให้เราเข้าถึงเดชานุภาพของพระผู้ช่วยให้รอดในทางใดบ้าง?

  • เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อมองการกลับใจเป็นของประทานอันศักดิ์สิทธิ์และน้อมรับไว้ด้วยความชื่นชมยินดีมากขึ้น?

หลังจากนักเรียนตอบ ท่านอาจให้เวลาพวกเขาเขียนสิ่งที่จะทำเพื่อทำให้การกลับใจเป็นส่วนที่น่ายินดีและมีความหมายมากขึ้นในชีวิตพวกเขา

เมื่อเวลาผ่านไป ท่านอาจจะเชิญนักเรียนบางคนแบ่งปันว่าการกลับใจช่วยให้พวกเขาเข้าถึงเดชานุภาพการชำระของพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไร เตือนนักเรียนว่าอย่าเปิดเผยบาปในอดีตขณะพวกเขาแบ่งปัน

สำหรับครั้งต่อไป

เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเตรียมตัวสำหรับ บทที่ 17 ท่านอาจจะส่งข้อความและภาพต่อไปนี้ให้นักเรียน: ขณะท่านศึกษาเนื้อหาสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนบทที่ 17 ให้ไตร่ตรองความสำคัญของอุโมงค์ที่ว่างเปล่าของพระผู้ช่วยให้รอด

ภาพ
อุโมงค์ที่ว่างเปล่าของพระเยซูคริสต์