เซมินารีและสถาบัน
บทที่ 17: พลังแห่งพระวจนะ


บทที่ 17

พลังแห่งพระวจนะ

คำนำ

ศาสดาพยากรณ์ในพระคัมภีร์มอรมอนพยายามมากเพื่อจัดทำและปกปักรักษาพระคัมภีร์ซึ่งจะเป็นพรแก่เราในสมัยของเรา ในบทนี้จะเตือนนักเรียนว่าเมื่อพวกเขาศึกษาและปฏิบัติตามถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ พวกเขาจะได้รับพลังเอาชนะซาตาน เดินทางผ่านความเป็นมรรตัย และได้รับชีวิตนิรันดร์ในที่สุด

ความรู้พื้นฐานที่ควรอ่าน

  • ริชาร์ด จี. สก็อตต์, “พลังแห่งพระคัมภีร์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 6–9

  • ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “พรจากพระคัมภีร์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2010, 39–43

  • “พลังแห่งพระวจนะ,” บทที่ 8 ใน คำสอนของประธานศาสนจักร: เอสรา แทฟท์ เบ็นสัน [2014], 115-124

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

1 นีไฟ 3:19–20; 5:21–22; ออมไน 1:14–17; โมไซยาห์ 1:3–5; แอลมา 37:3–4, 8

ความสำคัญของพระคัมภีร์

ให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง และถามนักเรียนว่าพวกเขาจะตอบคำถามที่ท่านถามอย่างไร

ภาพ
เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน

“เราเป็นหนี้บุญคุณ [ใหญ่หลวง] ต่อคนเหล่านั้นผู้บันทึกและปกปักรักษาพระคำอย่างซื่อสัตย์มาตลอดหลายยุคหลายสมัย มักจะด้วยความบากบั่นและการเสียสละ—ไม่ว่าจะเป็นโมเสส อิสยาห์ อับราฮัม ยอห์น เปาโล นีไฟ มอรมอน โจเซฟ สมิธ และคนอื่นๆ อีกมากมาย พวกท่านเหล่านั้นรู้อะไรเกี่ยวกับความสำคัญของพระคัมภีร์ที่เราต้องรู้เช่นกัน” (“พรจากพระคัมภีร์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2010, 39-40)

  • ท่านคิดว่าผู้เขียนเหล่านี้รู้อะไรเกี่ยวกับความสำคัญของพระคัมภีร์ที่เราต้องรู้เช่นกัน

เตือนนักเรียนว่านีไฟกับพี่ๆ ได้รับบัญชาจากพระเจ้าให้กลับไปเอาแผ่นจารึกทองเหลืองที่เยรูซาเล็ม เชิญนักเรียนสองสามคนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก 1 นีไฟ 3:19–20 และ 5:21–22 ขณะชั้นเรียนมองหาเหตุผลที่เแผ่นจารึกทองเหลืองสำคัญมากต่อลีไฮและครอบครัว

  • ตามที่กล่าวไว้ในข้อเหล่านี้ เหตุใดพระคัมภีร์จึงสำคัญมาก (นักเรียนควรระบุความจริงต่อไปนี้: พระคัมภีร์ปกปักรักษาพระวจนะและพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าตามที่สื่อสารผ่านศาสดาพยากรณ์ของพระองค์)

เพื่อช่วยเสริมความจริงนี้ เตือนนักเรียนว่าหลายร้อยปีหลังจากครอบครัวของลีไฮมาถึงแผ่นดินที่สัญญาไว้ ผู้สืบตระกูลของพวกเขาพบผู้คนของเซราเฮ็มลา (ชาวมิวเล็ค) ผู้เดินทางจากเยรูซาเล็มหลังครอบครัวของลีไฮไม่นาน

เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน ออมไน 1:14–17 และ โมไซยาห์ 1:3–5 ในใจและสังเกตความแตกต่างระหว่างคนที่มีพระคัมภีร์ (ชาวนีไฟ) กับคนที่ไม่มี (ชาวมิวเล็ค) (หมายเหตุ: เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะการศึกษาพระคัมภีร์ “เปรียบเทียบและเปรียบต่าง” ให้ดู การสอนและการเรียนพระกิตติคุณ: คู่มือสำหรับครูและผู้นำในเซมินารีและสถาบันศาสนา [2012], 22)

  • ชาวมิวเล็คได้รับผลอะไรบ้างเพราะพวกเขาไม่มีพระคัมภีร์ (ดู 1 นีไฟ 4:13ด้วย)

  • พรใดมาสู่ชาวนีไฟเพราะพวกเขามีพระคัมภีร์

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง แอลมา 37:3-4, 8 ขณะชั้นเรียนมองหาพรที่ชาวนีไฟได้รับจากแผ่นจารึกทองเหลือง

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 8ชาวนีไฟได้รับพรอะไรบ้างจากแผ่นจารึกทองเหลือง

  • ท่านคิดว่าแอลมาหมายความว่าอย่างไรเมื่อเขากล่าวว่าพระคัมภีร์ “ขยายความทรงจำของคนเหล่านี้”

เพื่อช่วยชี้แจงความหมายของวลีนี้ ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันขณะชั้นเรียนมองหาข้อคิดเพิ่มเติมว่าพระคัมภีร์ขยายความทรงจำของเราอย่างไร

ภาพ
เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน

“พระคัมภีร์ขยายความทรงจำของเราโดยช่วยให้เราจดจำพระเจ้าและสัมพันธภาพระหว่างเรากับพระองค์และพระบิดาอยู่เสมอ เตือนความทรงจำถึงสิ่งที่เราเคยรู้ในชีวิตก่อนเกิด และขยายความทรงจำของเราอีกด้านหนึ่งโดยสอนเราเกี่ยวกับช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์ ผู้คน และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เราไม่ได้ประสบด้วยตนเอง …

“พระคัมภีร์ยังขยายความทรงจำของเราโดยช่วยไม่ให้เราลืมสิ่งที่เรากับคนรุ่นก่อนได้เรียนรู้ ผู้ที่ไม่มีหรือไม่เอาใจใส่บันทึกพระคำของพระผู้เป็นเจ้าสุดท้ายก็จะเลิกเชื่อในพระองค์และลืมจุดประสงค์ในการดำรงอยู่ของตนเอง” (“พรจากพระคัมภีร์,” 40)

  • พระคัมภีร์ขยายความทรงจำของเราในวิธีใดบ้าง

  • หลักคำสอน หลักธรรม หรือเรื่องราวอะไรในพระคัมภีร์ได้ขยายความทรงจำของท่านเกี่ยวกับพระเจ้าและสัมพันธภาพของท่านกับพระองค์

1 นีไฟ 8:21–24, 29–30; 15:23–24; 2 นีไฟ 3:12; 32:3; 33:4–5; เจคอบ 2:8; 7:10–11; แอลมา 5:10–13; 31:5; 37:2, 8–10; ฮีลามัน 3:29–30; 15:7–8

พระวจนะของพระผู้เป็นเจ้านำมาซึ่งพร

เชิญนักเรียนคนหนึ่งสรุปนิมิตของลีไฮเกี่ยวกับต้นไม้แห่งชีวิต (ดู 1 นีไฟ 8) จากนั้นให้ถามชั้นเรียนว่าราวเหล็กแทนอะไรและเหตุใดจึงเป็นส่วนสำคัญของนิมิตนี้ หากจำเป็นให้นักเรียนอ่าน 1 นีไฟ 8:21-24, 29-30

ขอให้นักเรียนค้นคว้า 1 นีไฟ 15:23-24 และมองหาพรที่มาถึงผู้ยึดมั่นในพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า ท่านอาจกระตุ้นให้นักเรียนทำเครื่องหมายสิ่งที่พบ

  • ท่านคิดว่า “ยึดมั่น” ในพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าหมายความว่าอย่างไร

  • ตามที่กล่าวไว้ในข้อเหล่านี้ เราจะได้รับพรอะไรบ้างจากการยึดมั่นในพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า (นักเรียนควรค้นพบหลักธรรมต่อไปนี้: ถ้าเรายึดมั่นในพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า เราจะไม่พินาศทางวิญญาณและปฏิปักษ์จะไม่สามารถมีอำนาจเหนือเรา)

ให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง และเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง

ภาพ
เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์

“ข้าพเจ้าขอแนะนำว่าส่วนใหญ่แล้วการยึดราวเหล็กไว้แน่นเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับการใช้พระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์อย่างตั้งใจจริงและสม่ำเสมอร่วมกับการสวดอ้อนวอน ในฐานะเป็นแหล่งที่แน่นอนของความจริงที่ได้รับการเปิดเผยและเป็นเครื่องนำทางที่เชื่อถือได้สำหรับการเดินไปตามทางคับแคบและแคบสู่ต้นไม้แห่งชีวิต—แม้สู่พระเจ้าพระเยซูคริสต์” (“ความฝันของลีไฮ: ยึดราวเหล็กไว้แน่น,” เลียโฮนา, ต.ค. 2011, 36)

อธิบายว่าศาสดาพยากรณ์หลายท่านในพระคัมภีร์มอรมอนสอนเกี่ยวกับพรเพิ่มเติมที่มาถึงผู้ยึดมั่นในพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า เขียนข้ออ้างอิงต่อไปนี้ไว้บนกระดาน เชิญนักเรียนแต่ละคนศึกษาหนึ่งหรือสองข้อ โดยพยายามค้นหาพรที่มาจากการศึกษาพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า จากนั้นขอให้นักเรียนเขียนพรที่พวกเขาค้นพบไว้บนกระดานใกล้กับข้ออ้างอิงที่สอดคล้องกัน

2 นีไฟ 3:12

2 นีไฟ 32:3

2 นีไฟ 33:4-5

เจคอบ 2:8

เจคอบ 7:10-11

แอลมา 5:10-13

แอลมา 31:5

แอลมา 37:2, 8-10.

ฮีลามัน 3:29–30

ฮีลามัน 15:7-8

  • ท่านเคยประสบพรประการใดประการหนึ่งเหล่านี้เมื่อใด

เชื้อเชิญให้นักเรียนบอกสิ่งที่หนุ่มสาวโสดทำได้ในชีวิตประจำวันเพื่อยึดราวเหล็กให้แน่น

ขอให้นักเรียนพิจารณาว่าการใช้พระคัมภีร์ของพวกเขาบอกได้หรือไม่ว่าพวกเขากำลังยึดราวเหล็กไว้แน่น

เชื้อเชิญให้นักเรียนพิจารณาและจดสิ่งที่พวกเขาจะทำได้เพื่อยึดราวเหล็กแน่นขึ้นและได้รับพรเหล่านี้อย่างเต็มที่มากขึ้น

แอลมา 37:38-46

พระวจนะของพระผู้เป็นเจ้านำไปสู่ชีวิตนิรันดร์

เตือนนักเรียนว่าศาสดาพยากรณ์ลีไฮได้รับเครื่องมืออย่างหนึ่งจากพระเจ้าเรียกว่าเลียโฮนา เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง แอลมา 37:38-42 ขณะชั้นเรียนหาดูว่าเลียโฮนาเป็นพรแก่ครอบครัวของลีไฮอย่างไร

  • เลียโฮนาเป็นพรแก่ครอบครัวของลีไฮอย่างไร

  • ครอบครัวของลีไฮต้องทำอะไรจึงจะทำให้เลียโฮนาทำงานปกติ (เข็มทิศทำงานก็ต่อเมื่อพวกเขาเอาใจใส่คำแนะนำของเข็มทิศตลอดจนใช้ศรัทธาและความขยันหมั่นเพียร) ดู 1 นีไฟ 16:28ด้วย)

อธิบายว่าแอลมาสอนว่าการใช้เลียโฮนาเป็น “รูปลักษณ์” และ “รูปแบบ”—หมายถึงสัญลักษณ์—ของวิธีที่เราควรใช้พระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า ขอให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง แอลมา 37:43-46 ขณะชั้นเรียนบอกถึงการเทียบเคียงของแอลมาระหว่างเลียโฮนากับพระวจนะของพระคริสต์

  • แอลมาสอนหลักธรรมอะไรเกี่ยวกับพระวจนะของพระคริสต์ในข้อเหล่านี้ (นักเรียนควรระบุหลักธรรมต่อไปนี้: หากเราเอาใจใส่พระวจนะของพระคริสต์ พระองค์จะทรงนำเราไปในวิถีตรงสู่ชีวิตนิรันดร์ ท่านอาจกระตุ้นให้นักเรียนทำเครื่องหมายทุกครั้งที่พบคำว่า หาก ใน ข้อ 45–46 บอกนักเรียนว่าการเรียนรู้ที่จะระบุความสัมพันธ์แบบเหตุและผลเป็นทักษะสำคัญที่จะยกระดับการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขา)

  • ท่านคิดว่าการนำไปใน “วิถีตรง” สู่ชีวิตนิรันดร์หมายความว่าอย่างไร

  • เราจะทำสิ่งใดได้บ้างนอกเหนือจากการอ่านพระวจนะของพระคริสต์และเริ่ม “เอาใจใส่” พระวจนะเหล่านั้น

สรุปบทเรียนโดยให้ดูคำกล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์ เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่านและไตร่ตรองคำถามของเอ็ลเดอร์เบดนาร์

ภาพ
เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์

“น้ำธำรงชีวิตที่ไหลไม่ขาดสายสำคัญยิ่งกว่าการจิบเป็นพักๆ

“ท่านและข้าพเจ้าอ่าน ศึกษา และค้นคว้าพระคัมภีร์ทุกวันในลักษณะที่ทำให้เราสามารถยึดราวเหล็กได้หรือไม่ … ท่านและข้าพเจ้ากำลังมุ่งหน้าสู่บ่อน้ำธำรงชีวิต—โดยพึ่งพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าหรือไม่ นี่เป็นคำถามสำคัญที่เราแต่ละคนต้องไตร่ตรองร่วมกับการสวดอ้อนวอน” (“A Reservoir of Living Water” [ไฟร์ไซด์ระบบการศึกษาของศาสนจักรสำหรับคนหนุ่มสาว, 4 ก.พ., 2007], 7, lds.org/broadcasts)

ถามว่านักเรียนคนใดต้องการแบ่งปันประจักษ์พยานหรือไม่ว่าการศึกษาพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าเป็นพรแก่พวกเขาอย่างไร กระตุ้นให้นักเรียนไตร่ตรองคำถามของเอ็ลเดอร์เบดนาร์ต่อไป และเชื้อเชิญให้พวกเขาติดตามความคิดและความประทับใจที่ได้รับระหว่างบทเรียนเพื่อทำให้การศึกษาพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้ามีประสิทธิภาพและมีความหมายมากขึ้น

สิ่งที่นักเรียนควรอ่าน