เซมินารีและสถาบัน
บทที่ 26: พระเยซูคริสต์จะทรงปกครองอย่างจอมกษัตริย์และผู้พิพากษาโลก


บทที่ 26

พระเยซูคริสต์จะทรงปกครองอย่างจอมกษัตริย์และผู้พิพากษาโลก

คำนำ

ในช่วงมิลเลเนียม พระเยซูคริสต์ “จะทรงปกครองอย่างจอมกษัตริย์และทรงครองบัลลังก์อย่างจอมเจ้านาย ทุกคนจะคุกเข่าและทุกลิ้นจะสรรเสริญพระเจ้าในการนมัสการต่อ เบื้องพระพักตร์พระองค์ เราแต่ละคนจะยืนต่อพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้าเพื่อรับคำพิพากษาตามงานของเรา และตามความปรารถนาของใจเรา” (“พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก,” เลียโฮนา, เม.ย. 2000, 3) บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าพวกเขาต้องไม่รอจนถึงมิลเเลเนียมจึงจะรับพรบางประการของมิลเลเนียม

ความรู้พื้นฐานที่ควรอ่าน

  • บทที่ 45, “มิลเลเนียม,” หลักธรรมพระกิตติคุณ [2009], 263–267

  • บทที่ 46, “การพิพากษาครั้งสุดท้าย,” หลักธรรมพระกิตติคุณ [2009], 268–274

  • ถ้ามี: บทที่ 37 The Millennium and the Glorification of the Earth, Doctrines of the Gospel Student Manual, 2nd ed. (Church Educational System manual, 2010), 104–6

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 65:1–6

พระเยซูคริสต์จะทรงปกครองบนแผ่นดินโลกด้วยพระองค์เอง

ขอให้นักเรียนเขียนสิ่งที่พวกเขาสวดอ้อนวอนขอเป็นประจำลงในแผ่นกระดาษ เชิญนักเรียนสองสามคนแบ่งปันสิ่งที่เขียนไว้ถ้าพวกเขารู้สึกสบายใจจะทำเช่นนั้น

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงบทนำภาคของ หลักคำสอนและพันธสัญญา 65 (ถ้านักเรียนไม่มีพระคัมภีร์ฉบับปี 2013 ให้อธิบายว่าภาคนี้เป็นการเปิดเผยเรื่องการสวดอ้อนวอนที่ประทานผ่านศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธ) อธิบายว่าในการเปิดเผยนี้พระเจ้าทรงบอกสิ่งที่เราควรสวดอ้อนวอนขอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเป็นพยานเห็นสัมฤทธิผลของเหตุการณ์ที่พยากรณ์ไว้ว่าจะเกิดขึ้นในยุคสุดท้าย

ขอให้นักเรียนสองคนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 65:1–2 ขอให้นักเรียนที่เหลือดูตามโดยมองหาคำอธิบายของพระเจ้าเกี่ยวกับการขยายพระกิตติคุณ จากนั้นให้ถามว่า

  • พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์จะขยายไปไกลเพียงใด (นักเรียนควรระบุหลักคำสอนต่อไปนี้: พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์จะออกไปถึงสุดแดนแผ่นดินโลก เขียนหลักคำสอนนี้ไว้บนกระดาน)

  • ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 2 ก้อนหินที่ถูกสกัดจากภูเขาโดยปราศจากมือคืออะไร

หลังจากนักเรียนตอบ ให้อ่านข้อความต่อไปนี้ของประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ (1895-1985)

ภาพ
ประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์

“ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย … คืออาณาจักรที่พระผู้เป็นเจ้าแห่งสวรรค์ทรงตั้งขึ้นซึ่งจะไม่มีวันถูกทำลายหรือถูกแย่งที่ … ต้นศตวรรษที่สิบเก้า วันจัดตั้งศาสนจักร … มาถึง วันนั้นศาสนจักรยังเล็ก มีสมาชิกเพียงหกคน เมื่อเทียบกับก้อนหินที่ถูกสกัดจากภูเขาโดยปราศจากมือซึ่งจะทำให้ประชาชาติอื่นแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและจะกลิ้งออกไปจนเต็มทั้งแผ่นดินโลก … ปัจจุบันหินก้อนนั้นกลิ้งออกไปจนเต็มแผ่นดินโลก” (The Stone Cut without Hands, Ensign, May 1976, 8, 9)

  • การเป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าบนแผ่นดินโลกมีความหมายต่อท่านอย่างไร

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง หลักคำสอนและพันธสัญญา 65:3–4 เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง ข้อ 5–6 ขอให้นักเรียนที่เหลือดูตาม โดยมองหาคำแนะนำของพระเจ้าเกี่ยวกับสิ่งที่เราควรสวดอ้อนวอนขอ จากนั้นให้สนทนาคำถามต่อไปนี้

  • ตามที่กล่าวไว้ในข้อเหล่านี้ เราควรสวดอ้อนวอนขออะไรขณะเตรียมรับการเสด็จมาครั้งที่สอง (ขณะที่นักเรียนตอบคำถามนี้ ท่านอาจต้องการเชื้อเชิญพวกเขาให้เปรียบเทียบ ข้อ 6 กับคำสวดอ้อนวอนของพระเจ้าใน มัทธิว 6:10)

  • อาณาจักรสองแห่งที่กล่าวถึงใน ข้อ 6 คืออะไร (“อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า” บนแผ่นดินโลก [หรือศาสนจักร] และ “อาณาจักรแห่งสวรรค์”)

  • พระเจ้าทรงบัญชาให้ “อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า” บนแผ่นดินโลกทำอะไร (ขณะที่นักเรียนตอบ ให้เน้นหลักคำสอนต่อไปนี้: อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าบนแผ่นดินโลก หรือศาสนจักรของพระเยซูคริสต์ จะขยายไปทั่วโลกและเตรียมผู้อยู่อาศัยของแผ่นดินโลกให้พร้อมรับการปกครองมิลเลเนียมของพระคริสต์)

(หมายเหตุ: ท่านอาจต้องการเน้นว่าในช่วงมิลเลเนียม พระเยซูคริสต์จะทรงใช้อำนาจทางการเมืองและศาสนาปกครองทั่วแผ่นดินโลก [ถ้ามี ให้ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา คู่มือนักเรียน, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 (คู่มือระบบการศึกษาของศาสนจักร, 2001), 186–188])

ลอกแผนภูมิต่อไปนี้บนกระดานหรือจัดเตรียมเป็นเอกสารแจกให้นักเรียนแต่ละคน (ไม่ต้องลอกเนื้อหาในวงเล็บ)

ภาพ
เอกสารแจก พระเยซูคริสต์และมิลเลเนียม

พระเยซูคริสต์และมิลเลเนียม

พระคริสต์จะทรงทำอะไรในช่วงมิลเลเนียม

อิสยาห์ 9:6–7; 33:22; วิวรณ์ 11:15; 1 นีไฟ 22:24

(พระองค์จะทรงครองอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าบนแผ่นดินโลก พระองค์จะทรงเป็นผู้พิพากษาและผู้ให้กฎและจะทรงช่วยให้เรารอด)

พระคริสต์จะประทับที่ใดในช่วงมิลเลเนียม

เศฟันยาห์ 3:15–17; หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:11; 45:59

(พระองค์จะประทับบนแผ่นดินโลกท่ามกลางผู้คนของพระองค์)

พระคริสต์จะทรงปกครองอย่างไรในช่วงมิลเลเนียม

วิวรณ์ 19:15; หลักคำสอนและพันธสัญญา 38:21–22

(พระคริสต์จะทรงเป็นกษัตริย์และผู้ให้กฎ)

การปกครองของพระคริสต์จะมีผลเช่นไร

อิสยาห์ 2:2–4; 1 นีไฟ 22:25–28; 2 นีไฟ 30:10–18

(พระองค์จะทรงสถาปนาสันติสุข ความเป็นหนึ่งเดียว และความชอบธรรมบนแผ่นดินโลก) ซาตานจะไม่มีอำนาจเหนือใจผู้คน

(หมายเหตุ: ท่านอาจต้องการอธิบายว่าบางครั้งกิจกรรมนี้จะแสดงให้เห็นคุณค่าของการศึกษาพระคัมภีร์ตามหัวข้อ เมื่อเราศึกษาพระคัมภีร์ตามหัวข้อ เราจะเห็นรายละเอียด–เช่นรูปแบบและสาระสำคัญ—ชัดเจนมากขึ้น)

แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ ละสี่คน ขอให้นักเรียนคนหนึ่งในแต่ละกลุ่มศึกษาพระคัมภีร์อ้างอิงและตอบคำถามในแผนภูมิแถวแรก ขอให้นักเรียนอีกคนหนึ่งในกลุ่มทำเช่นเดียวกันกับแถวสอง และอีกสองคนศึกษาแถวสามและสี่ตามลำดับ แนะนำนักเรียนให้เอาใจใส่เป็นพิเศษต่อคำและวลีที่ช่วยตอบคำถามที่มอบหมาย ท่านอาจต้องการแนะนำให้นักเรียนทำเครื่องหมายสิ่งที่พวกเขาพบ หลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว เชิญนักเรียนสนทนาสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้กับสมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่ม

(หมายเหตุ: ในช่วงเตรียมบทเรียน ให้ค้นคว้าคู่มือต่อไปนี้เพื่อดูข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ 1 นีไฟ 22:26: Book of Mormon Student Manual [Church Educational System manual, 2009], 48)

จากนั้นให้ถามคำถามต่อไปนี้

  • จากสิ่งที่ท่านสนทนา ท่านตั้งตารออะไรมากที่สุดเกี่ยวกับมิลเลเนียม (หลังจากนักเรียนตอบแล้ว ให้เขียนหลักคำสอนต่อไปนี้บนกระดาน: พระผู้ช่วยให้รอดจะทรงปกครองแผ่นดินโลกด้วยพระองค์เองในช่วงมิลเลเนียม)

  • เราจะยอมให้พระผู้ช่วยให้รอดทรงปกครองในชีวิตเราตอนนี้ด้วยวิธีใดบ้าง

  • ชีวิตเราจะเปลี่ยนได้อย่างไรถ้าเรายอมให้พระคริสต์ทรงปกครองในชีวิตเรา

อ่านออกเสียงข้อความต่อไปนี้ของประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์

ภาพ
ประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์

“เมื่อซาตานถูกมัดในครอบครัวหนึ่ง—เมื่อซาตานถูกมัดในชีวิตหนึ่ง—มิลเลเนียมได้เริ่มขึ้นแล้วในครอบครัวนั้น ในชีวิตนั้น” (The Teachings of Spencer W. Kimball, ed. Edward L. Kimball 1982, 172)

ให้เวลานักเรียนไตร่ตรองสิ่งที่พวกเขาจะทำเพื่ออัญเชิญพระผู้ช่วยให้รอดให้ทรงปกครองในชีวิตและครอบครัวของพวกเขา

ยอห์น 5:22; มัทธิว 12:36–37; วิวรณ์ 20:12–13; โมไซยาห์ 4:30; หลักคำสอนและพันธสัญญา 137:9

พระเยซูคริสต์จะทรงเป็นผู้พิพากษาของเรา

ให้ดูพระคัมภีร์อ้างอิงต่อไปนี้หรือเขียนไว้บนกระดาน

ยอห์น 5:22

มัทธิว 12:36–37

วิวรณ์ 20:12–13

โมไซยาห์ 4:30

หลักคำสอนและพันธสัญญา 137:9

ขอให้นักเรียนสมมติว่าพวกเขาจะตอบอย่างไรถ้าเพื่อนถามคำถามต่อไปนี้: “ใครจะเป็นผู้พิพากษาเราในวันพิพากษา” และ “เราจะถูกตัดสินตามเกณฑ์ใด” ให้เวลานักเรียนหลายๆ นาทีศึกษาข้อพระคัมภีร์ที่เขียนไว้บนกระดานและคิดหาคำตอบของคำถามนี้ หลังจากผ่านไปสองสามนาที เชื้อเชิญนักเรียนให้สนทนาคำตอบกับคนที่นั่งใกล้กัน จากนั้นให้ถามนักเรียนว่า

  • ท่านได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับวันพิพากษา (นักเรียนควรระบุหลักคำสอนต่อไปนี้: พระเยซูคริสต์จะทรงเป็นผู้พิพากษาของเรา)

  • พระผู้ช่วยให้รอดจะทรงพิพากษาเราตามเกณฑ์ใด (คำตอบควรมีหลักคำสอนต่อไปนี้รวมอยู่ด้วย: พระผู้ช่วยให้รอดจะทรงพิพากษาเราตามคำพูด ความคิด การกระทำ และความปรารถนาของใจเรา)

อ่านออกเสียงคำกล่าวต่อไปนี้โดยเอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง

ภาพ
เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์

“พระอาจารย์ของเราทรงดำเนินชีวิตดีพร้อมปราศจากบาป และดังนั้นจึงเป็นอิสระจากข้อเรียกร้องของความยุติธรรม พระองค์ทรงดีพร้อมในคุณสมบัติทุกด้าน รวมถึงความรัก ความเมตตา ความอดทน การเชื่อฟัง การให้อภัย และพระจริยวัตรอันอ่อนน้อม …

“ข้าพเจ้าเป็นพยานว่าด้วยความทุกข์ทรมานและความเจ็บปวดจนสุดจะจินตนาการในราคาอันมิอาจประมาณได้ พระผู้ช่วยให้รอดทรงรับสิทธิ์อันชอบธรรมให้เป็นพระผู้ไถ่ของเรา พระผู้ทรงทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย และพระผู้พิพากษาสุดท้ายของเรา”

  • ความรู้ที่ว่าพระเยซูคริสต์จะทรงเป็น “พระผู้พิพากษาสุดท้าย” ของเรามีผลต่อความรู้สึกของเราเกี่ยวกับการพิพากษาครั้งสุดท้ายอย่างไร

กระตุ้นให้นักเรียนเขียนคำถามต่อไปนี้บนการ์ดหรือแผ่นกระดาษและติดไว้ในที่ซึ่งเห็นได้ชัดเจน: ฉันจะยอมให้พระเยซูคริสต์ทรงปกครองชีวิตฉันวันนี้อย่างไร

สิ่งที่นักเรียนควรอ่าน

  • มัทธิว 25:31–46

  • บทที่ 45, “มิลเลเนียม,” หลักธรรมพระกิตติคุณ [2009], 263–267

  • บทที่ 46, “การพิพากษาครั้งสุดท้าย,” หลักธรรมพระกิตติคุณ [2009], 268–274