เซมินารีและสถาบัน
บทที่ 14: พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์


บทที่ 14

พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์

คำนำ

ศาสดาพยากรณ์ในพันธสัญญาเดิมเป็นพยานถึงพระเมสสิยาห์ที่จะเสด็จมา—ผู้สืบตระกูลของกษัตริย์ดาวิดผู้จะทรงปลดปล่อยผู้คนของพระองค์ พระเยซูคริสต์ทรงเป็น “พระเยโฮวาห์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งพันธสัญญาเดิม พระเมสสิยาห์แห่งพันธสัญญาใหม่” (“พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก,เลียโฮนา, เม.ย. 2000, 2) ในบทเรียนนี้ นักเรียนจะสำรวจคำพยากรณ์บางอย่างในพันธสัญญาเดิมเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และค้นหาว่าคนบางคนตอบสนองอย่างไรเมื่อเผชิญกับการยอมรับหรือการปฏิเสธพระเยซูคริสต์ในฐานะพระเมสสิยาห์

ความรู้พื้นฐานที่ควรอ่าน

  • จี. โฮเบอร์ เดอร์แฮม, Jesus the Christ: The Words and Their Meaning, Ensign, May 1984, 14–16.

  • “พระพันธกิจอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูคริสต์: พระเมสสิยาห์,” เลียโฮนา, ส.ค. 2014, 7.

ข้อเสนอแนะสำหรับการสอน

อิสยาห์ 61:1–2; ลูกา 4:16–24

พระเยซูทรงประกาศว่าพระองค์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์

ถามนักเรียนว่าพวกเขาเคยประสบกับการได้ยินคำประกาศที่เฝ้ารอมานานหรือเห็นเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัวที่เฝ้ารอมานานมาถึงหรือไม่ บอกนักเรียนว่าบทเรียนวันนี้สำรวจประสบการณ์คล้ายกันท่ามกลางชาวยิวสมัยโบราณ เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง อิสยาห์ 61:1–2 จากนั้นให้ถามว่า

  • คำพยากรณ์นี้เกี่ยวกับใคร

ฉายวีดิทัศน์เรื่อง “พระเยซูทรงประกาศว่าพระองค์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์” 3:24) จาก วีดิทัศน์ไบเบิลพระชนม์ชีพของพระเยซูคริสต์ (ดาวน์โหลดและดูวีดิทัศน์ก่อนชั้นเรียน) เชื้อเชิญนักเรียนให้ดูตามใน ลูกา 4:16–21 ขณะชมวีดิทัศน์

หลังจากดูวีดิทัศน์จบแล้ว ให้ถามว่า

  • ท่านจะสรุปข่าวสารของพระผู้ช่วยให้รอดในนาซาเร็ธวันนั้นว่าอย่างไร (ขณะที่นักเรียนตอบ พึงแน่ใจว่าการสนทนาเน้น ข้อ 18 และ ข้อ 21)

  • ท่านคิดว่าอะไรคือนัยสำคัญของข้อความนี้ “พระองค์ทรงเจิมตั้งข้าพเจ้าไว้” และ “พระคัมภีร์ตอนนี้ที่พวกท่านได้ยินกับหูก็สำเร็จแล้วในวันนี้” (เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าทั้ง พระเมสสิยาห์ และ พระคริสต์ หมายถึง “ผู้ได้รับการเจิม” ให้พวกเขาอ่านข้อมูลสำหรับ “พระเมสสิยาห์” ในคู่มือพระคัมภีร์ (ดู scriptures.lds.org)

  • พระเยซูทรงทำให้คำพยากรณ์จากอิสยาห์ที่พระองค์ทรงอ้างเกิดสัมฤทธิผลอย่างไร (ดู ข้อ 18–19)

มัทธิว 21:1–11

พระเยซูคริสต์เสด็จมาในฐานะพระเมสสิยาห์

ให้ดูหรือเขียนข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้บนกระดาน และเชื้อเชิญนักเรียนให้เลือกศึกษาหนึ่งหรือสองชุด ขณะที่นักเรียนเปรียบเทียบข้อที่เลือก ขอให้พวกเขาตรึกตรองว่าเหตุใดจึงจัดกลุ่มข้อเหล่านั้นไว้ด้วยกันและข้อเหล่านั้นสอนอะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์

อิสยาห์ 7:14; มัทธิว 1:21–23

มีคาห์ 5:2; ลูกา 2:4–7

เศคาริยาห์ 9:9; มัทธิว 21:6–11; ยอห์น 12:12–15

สดุดี 22:16, 18; มัทธิว 27:35

อิสยาห์ 53:9; มัทธิว 27:59–60; ยอห์น 19:18, 38–42

เชื้อเชิญนักศึกษาให้แบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ (ถึงแม้นักเรียนจะใช้คำพูดต่างกัน แต่พวกเขาควรเข้าใจว่า พระเยซูคริสต์เสด็จมา ทรงพระชนม์ และสิ้นพระชนม์ตามสัมฤทธิผลแห่งคำพยากรณ์เกี่ยวกับพระเมสสิยาห์) เน้นว่าความจริงนี้คือสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงประกาศในนาซาเร็ธ อ่านออกเสียง ลูกา 4:28–29 จากนั้นให้ถามว่า

  • ผู้คนในธรรมศาลาที่นาซาเร็ธตอบสนองอย่างไรต่อคำประกาศของพระเยซู

บอกนักเรียนว่าไม่กี่ปีให้หลัง พระเยซูทรงประสบกับการตอบสนองที่ต่างออกไปมากจากบางคนในเยรูซาเล็ม เชิญนักเรียนหลายๆ คนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก มัทธิว 21:1–11 ก่อนนักเรียนอ่าน กระตุ้นให้พวกเขานึกภาพตนเองอยู่ในเหตุการณ์ที่บรรยายไว้ในข้อเหล่านี้ อธิบายให้นักเรียนฟังว่าขณะพวกเขาฝึกนึกภาพสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในพระคัมภีร์ พวกเขาจะเปิดโอกาสให้พระวิญญาณบริสุทธิ์สอนพวกเขามากขึ้น

  • เหตุใดผู้คนในเยรูซาเล็มจึงตอบสนองอย่างที่พวกเขาทำ (พวกเขาตระหนักว่าพระเยซูคือพระเมสสิยาห์ที่เฝ้ารอมานาน)

  • ท่านคิดว่าท่านจะตอบสนองอย่างไร

ชี้ให้เห็นคำว่า โฮซันนา ใน ข้อ 9; จากนั้นให้แบ่งปันนิยามต่อไปนี้

“[โฮซันนาเป็น] คำจากภาษาฮีบรูหมายความว่า ‘โปรดช่วยเราให้รอดเถิด’ ใช้ในการสรรเสริญและการวิงวอน

“… เมื่อพระเจ้าเสด็จเข้ามาในเยรูซาเล็มอย่างผู้พิชิต ฝูงชนพากันร้อง ‘โฮซันนา’ และปูใบปาล์มให้พระเยซูทรงลาเหยียบไปบนนั้น ด้วยวิธีนี้เป็นการแสดงออกถึงความเข้าใจของพวกเขาว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าองค์เดียวกันกับผู้ทรงปลดปล่อยอิสราเอลในสมัยโบราณ (สดุดี 118:25–26; มัทธิว 21:9, 15; มาระโก 11:9–10; ยอห์น 12:13) ผู้คนเหล่านี้ยอมรับพระคริสต์เป็นพระเมสสิยาห์ที่พวกเขาเฝ้ารอมานาน. คำว่า โฮซันนา กลายเป็นการเฉลิมฉลองพระเมสสิยาห์ในทุกยุคทุกสมัย (1 นีไฟ 11:6; 3 นีไฟ 11:14…17) การโห่ร้องโฮซันนารวมอยู่ในการอุทิศพระวิหารเคิร์ทแลนด์ (คพ. 109:79) และปัจจุบันนี้เป็นส่วนหนึ่งของการอุทิศพระวิหารในสมัยนี้.” (คู่มือพระคัมภีร์, “โฮซันนา”; scriptures.lds.org)

ท่านอาจจะให้ดูจุดประสงค์ต่อไปนี้ของคำพยากรณ์เกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ (ดัดแปลงจาก บรูซ อาร์. แมคคองกี, The Promised Messiah: The First Coming of Christ [1978], 28–32)

  1. คำพยากรณ์เกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ทำให้คนที่มีชีวิตก่อนการประสูติของพระเยซูคริสต์มีศรัทธาในพระองค์ ด้วยเหตุนี้จึงช่วยให้พวกเขาได้รับความรอด (ดู 1 นีไฟ 10:4–6; 2 นีไฟ 25:18–20, 26; โมไซยาห์ 3:13)

  2. คำพยากรณ์เกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ทำให้คนที่มีชีวิตสมัยพระคริสต์ตระหนักว่าพระองค์ทรงเป็นสัมฤทธิผลของคำพยากรณ์เหล่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงช่วยให้พวกเขาได้รับความรอด (ดู ยอห์น 4:25, 29)

  3. คำพยากรณ์เกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ช่วยให้คนที่มีชีวิตหลังการปฏิบัติศาสนกิจขณะทรงเป็นมรรตัยของพระเยซูคริสต์รู้ว่าพระองค์ทรงเป็นสัมฤทธิผลของคำพยากรณ์ ด้วยเหตุนี้จึงช่วยให้พวกเขาได้รับความรอด (ดู กิจการของอัครทูต 3:12–18; 26:22–23)

  • ขณะที่ท่านพิจารณาจุดประสงค์สามข้อนี้ ท่านจะได้รับประโยชน์อย่างไรในการเรียนรู้ที่จะระบุคำพยากรณ์เกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ในพระคัมภีร์และเห็นพระคริสต์เป็นสัมฤทธิผลของคำพยากรณ์เหล่านั้น

ยอห์น 6:5–69

การติดตามพระเยซูคริสต์ในฐานะพระเมสสิยาห์

ย้ำว่าชาวยิวในช่วงสมัยพันธสัญญาใหม่เชื่อว่าสักวันหนึ่งพระเมสสิยาห์จะมาจากวงศ์วานของดาวิดเพื่อช่วยผู้คนของพระองค์ให้รอด หลายคนเชื่อว่าพระองค์จะทรงปลดปล่อยพวกเขาจากการเป็นทาสชาวโรมันเช่นเดียวกับที่พระเยโฮวาห์ทรงปลดปล่อยชาวอิสราเอลจากอียิปต์

ขอให้นักเรียนอ่านเรื่องราวใน ยอห์น 6:5–15อย่างรวดเร็ว ถามว่า

  • พระเยซูทรงทำปาฏิหาริย์อะไรในเรื่องนี้

  • ท่านจะบรรยายการตอบสนองของผู้คนใน ข้อ 14–15 ว่าอย่างไร

  • ท่านคิดว่าเหตุใดพวกเขาจึงตอบสนองแบบนี้

แบ่งปันข้อคิดต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกี (1915–1985) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง

ภาพ
เอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกี

“มีประเพณีหนึ่งที่พระในศาสนายิวสอนและฝังแน่นในความคิดคนทั่วไป คือเมื่อพระเมสสิยาห์เสด็จมา พระองค์จะทรงเลี้ยงพวกเขาด้วยอาหารจากสวรรค์” (The Mortal Messiah, 4 vols. [1979–81], 2:367).

อธิบายว่าเหมือนกันมากเมื่อพระเยโฮวาห์ทรงเลี้ยงลูกหลานอิสราเอลด้วยมานา (ดู อพยพ 16) เมื่อพระเยซูทรงเลี้ยงฝูงชนด้วยขนมปังบาร์เลย์ห้าแถวกับปลาสองตัว หลายคนตีความปาฏิหาริย์ของพระองค์ว่าเป็นเครื่องหมายแสดงว่าพระองค์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์

เชิญนักเรียนสองสามคนผลัดกันอ่านออกเสียงจาก ยอห์น 6:31–32, 49–53, 60, 66 ขอให้นักเรียนที่เหลือดูตามและหาดูว่าผู้คนมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อพระเยซูในวันรุ่งขึ้นและพระองค์ทรงตอบสนองพวกเขาอย่างไร

  • ท่านคิดว่าเหตุใดคนมากมายจึงปฏิเสธพระเยซูวันนั้น

  • พวกเขาไม่เข้าใจอะไร (พระเยซูทรงเป็นบ่อเกิดของชีวิตทางวิญญาณ พระองค์ทรงเป็นอาหารแห่งชีวิต)

เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง ยอห์น 6:67–69 จากนั้นให้ถามนักเรียนว่า

  • ประจักษ์พยานของเปโตรใน ข้อ 69 ยืนยันอะไร

  • ประจักษ์พยานของเปโตรเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดมีผลต่อชีวิตเขาอย่างไร

เขียนประโยคที่ไม่สมบูรณ์ต่อไปนี้บนกระดานและขอให้นักเรียนอธิบายว่าพวกเขาจะเติมประโยคให้สมบูรณ์ว่าอย่างไร: ถ้าเรายอมรับพระเยซูคริสต์เป็นพระเมสสิยาห์ เมื่อนั้น _________________________

หลังจากนักเรียนสองสามคนตอบ เชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงข้อความต่อไปนี้ของประธานเดวิด โอ. แมคเคย์ (1873–1970)

ภาพ
ประธานเดวิด โอ. แมคเคย์

“ในใจท่านคิดถึงพระคริสต์อย่างไรท่านจะเป็นอย่างนั้น และส่วนใหญ่การกระทำของท่านจะเป็นอย่างนั้น ไม่มีบุคคลใดศึกษาเรื่องของพระผู้เป็นเจ้าองค์นี้และยอมรับคำสอนของพระองค์ได้หากไม่รู้สึกถึงอิทธิพลที่ยกระดับและขัดเกลาตัวเขา” (คำสอนของประธานศาสนาจักร: เดวิด โอ. แมคเคย์ [2003],7)

ให้เวลานักเรียนจดสิ่งที่พวกเขาคิดเกี่ยวกับพระคริสต์ เชิญนักเรียนสองสามคนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเขียน

กระตุ้นให้นักเรียนพิจารณาว่าพวกเขาจะทำอะไรได้บ้างในสัปดาห์นี้เพื่อแสดงความเชื่อของพวกเขาในพระเยซูคริสต์

สิ่งที่นักเรียนควรอ่าน