การเรียกในวอร์ดหรือสาขา
การเงิน


“การเงิน” แหล่งช่วยให้คำปรึกษา (2020)

“การเงิน” แหล่งช่วยให้คำปรึกษา

การเงิน

ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาตามความต้องการของตนและของสมาชิกครอบครัวเท่าที่จะทำได้ หน้าที่รับผิดชอบในการบริหารเงินครอบครัวควรทำร่วมกันระหว่างสามีภรรยาด้วยท่าทีของความไว้วางใจและความตรงไปตรงมา การบริหารเงินอย่างฉลาดจะให้ความมั่นคงและส่งเสริมความผาสุกของครอบครัว

บุคคลอาจประสบปัญหาการเงินเนื่องจากการว่างงาน การใช้จ่ายเกินตัว เรื่องฉุกเฉินที่ไม่คาดคิด หรือการบริหารเงินผิดพลาด ช่วยให้บุคคลเข้าใจความสำคัญของการจ่ายส่วนสิบอย่างซื่อสัตย์ ดำเนินชีวิตตามรายได้ เก็บออมไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด และหลีกเลี่ยงหนี้สิน เมื่อครอบครัวพึ่งพาตนเองทางการเงินมากขึ้น พวกเขาจะรู้สึกมั่นคงขึ้นและมีสันติมากขึ้นในชีวิต

โปรดทราบว่าปัญหาการเงินมักดูเหมือนเป็นภาวะฉุกเฉิน ช่วยบุคคลพิจารณาแหล่งช่วยที่พวกเขามีก่อน (เช่น เพื่อน คนในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง) ก่อนขอความช่วยเหลือเรื่องเงินจากศาสนจักร เมื่อท่านเสาะหาคนที่กำลังลำบาก ให้มองหาสัญญาณบ่งบอกว่าพวกเขาอาจต้องการความช่วยเหลือ เน้นย้ำความสำคัญของการรับรู้เรื่องเงินและพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินหรืออุปสรรคทางการเงินเสมอ

พยายามเข้าใจ

การสนทนาปัญหาการเงินอาจทำให้เครียด หงุดหงิด และลำบากใจ ขณะที่ท่านถามคำถาม พึงแสดงความรักและความเห็นใจเฉกเช่นพระผู้ช่วยให้รอดจะทรงทำ พิจารณาการถามคำถามทำนองนี้ร่วมกับการสวดอ้อนวอนด้วยความเมตตาและความรักเพื่อช่วยให้ท่านเข้าใจสถานะการเงินของบุคคลได้ดีขึ้นและเล็งเห็นความต้องการของเขา

  • สถานการณ์ทางการเงินในปัจจุบันของคุณเป็นอย่างไร? (ตัวอย่างเช่น คุณมีรายได้เท่าไร คุณใช้จ่ายเท่าไร และคุณมีหนี้เท่าไร?)

  • ใครบริหารเงินในครอบครัวคุณ?

  • คุณตัดสินใจซื้ออย่างไร? (ซื้อตามอารมณ์? ตามงบประมาณ?)

  • สถานการณ์งานอาชีพของคุณเป็นอย่างไร?

  • สถานการณ์ของคุณจะเป็นอย่างไรถ้าต้องนำเงินสำรองหรือเงินออมของคุณออกมาใช้?

  • คุณมีงบประมาณสำหรับครอบครัวหรือเปล่า? คุณทำตามงบประมาณดีแค่ไหน?

  • ต้นเหตุใหญ่ที่สุดของความเดือดร้อนเรื่องเงินของคุณคืออะไร? (ต้นเหตุอาจได้แก่ การใช้จ่ายเกินตัว ค่ารักษาพยาบาล หรือการหย่าร้าง)

  • คุณขอความช่วยเหลือจากใครอีกบ้าง (เช่นครอบครัวหรือเพื่อน)?

  • คุณได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากใครแล้วบ้าง?

  • คุณมีแหล่งช่วยอะไรอีกบ้างที่คุณสามารถใช้ได้?

ช่วยเหลือบุคคล

ขณะที่ท่านช่วยให้บุคคลเข้าใจหลักธรรมเรื่องการพึ่งพาตนเอง ให้พิจารณาการใช้ข้อเสนอแนะบางข้อต่อไปนี้ ขณะทำงานด้วยกัน ให้พยายามแสดงความเห็นใจและช่วยให้บุคคลรู้สึกว่าตนยังมีศักดิ์ศรี

สอนหลักธรรมเรื่องการจ่ายส่วนสิบอย่างซื่อสัตย์และการบริจาคอดอาหารอย่างเผื่อแผ่ รวมทั้งสอนหลักธรรมเรื่องการพึ่งพาตนเอง

  • สอนว่าการบริหารเงินครอบครัวควรเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างสามีภรรยา

หาแหล่งช่วยที่มีอยู่เพื่อช่วยเหลือด้านการเงิน

  • เขียนรายการพรสวรรค์และทักษะ

  • เขียนรายชื่อเครือข่าย ความสัมพันธ์ ทรัพย์สมบัติ สินทรัพย์ทางการเงิน หรือสินทรัพย์อื่นที่อาจช่วยให้เกิดรายได้

กระตุ้นให้ครอบครัวบริหารการเงินอย่างจริงจัง ใช้ปฏิทินหรือกลยุทธ์กำจัดหนี้เพื่อลดหนี้หากจำเป็นและเพิ่มเงินออม

  • เชิญชวนคู่สามีภรรยาให้วางแผนการใช้จ่าย (ดู การเงินส่วนบุคคลสำหรับการพึ่งพาตนเอง แบบฝึกหัด)

  • กระตุ้นให้คู่สามีภรรยาคาดการณ์และติดตามการใช้จ่าย

  • กระตุ้นให้คู่สามีภรรยาเข้าร่วมกลุ่มการพึ่งพาตนเองด้านการเงินส่วนบุคคล หากไม่มีกลุ่มดังกล่าวในพื้นที่ ท่านอาจติดต่อผู้เชี่ยวชาญการพึ่งพาตนเองสเตค

สนับสนุนครอบครัว

ปัญหาการเงินส่งผลต่อสมาชิกครอบครัวทุกคน พิจารณาผลกระทบต่อคู่สมรสหรือสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ และแก้ไขปัญหาเหล่านั้น

กระตุ้นให้ครอบครัวพยายามร่วมมือกันเรื่องเงิน

  • เชิญชวนให้ครอบครัวเห็นความสำคัญของการออมเงิน (สำหรับสิ่งต่างๆ เช่น การซื้อของชิ้นใหญ่ในอนาคต สถานการณ์ฉุกเฉิน งานเผยแผ่ และการศึกษา)

  • ช่วยให้ครอบครัวเข้าใจวิธีทำงบประมาณ

  • กระตุ้นให้บุคคลทำตามหลักธรรมเรื่องการพึ่งพาตนเองและหันไปขอความช่วยเหลือจากสมาชิกครอบครัวและเพื่อนก่อน แล้วค่อยขอจากอธิการหากจำเป็น

ใช้แหล่งช่วยของวอร์ดและสเตค

พิจารณาการทำงานกับผู้นำวอร์ดและคนที่ไว้ใจได้เพื่อให้การสนับสนุน การชี้แนะ และความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ขออนุญาตบุคคลก่อนสนทนาสถานการณ์กับผู้อื่น

ผู้นำอาจพิจารณาการสนทนาสถานการณ์ในสภาวอร์ดเพื่อหาแหล่งช่วย คนที่จะติดต่อ และโอกาสให้ช่วยบุคคลนั้น

ให้ครอบครัวติดต่อกับคนที่สามารถเป็นพี่เลี้ยงของพวกเขา ช่วยพวกเขาตั้งเป้าหมาย และวางแผนทำงานด้วยกัน

เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิการหรือคนอื่นในวอร์ดมาช่วยครอบครัวเตรียมงบประมาณและวางแผนการใช้จ่าย

หาและกระตุ้นให้ใช้องค์กรและแหล่งช่วยที่มีชื่อเสียงในท้องที่

แหล่งช่วยอาจได้แก่:

  • หน่วยงานภาครัฐและเอกชน

  • เอ็นจีโอ (องค์กรนอกภาครัฐ)

  • องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

  • การประชุมเชิงปฏิบัติการทางการเงินในท้องที่

  • เว็บไซต์และระบบการบริหารเงินออนไลน์