หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
14–20 มิถุนายน หลักคำสอนและพันธสัญญา 64–66: “พระเจ้าทรงเรียกร้องใจและความคิดที่เต็มใจ”


“14–20 มิถุนายน หลักคำสอนและพันธสัญญา 64–66: ‘พระเจ้าทรงเรียกร้องใจและความคิดที่เต็มใจ’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“14–20 มิถุนายน หลักคำสอนและพันธสัญญา 64–66” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2021

ภาพ
ทุ่งกว้างยามอรุณรุ่ง

เทศมณฑลเดวีส์ มิสซูรี

14–20 มิถุนายน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 64–66

“พระเจ้าทรงเรียกร้องใจและความคิดที่เต็มใจ”

ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์กล่าวว่า “ข้าพเจ้ามักจะเริ่มอ่านพระคัมภีร์ด้วยคำถามที่ว่า ‘พระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์ให้ข้าพเจ้าทำอะไร?’ หรือ ‘พระองค์ทรงประสงค์ให้ข้าพเจ้ารู้สึกอย่างไร?’ ข้าพเจ้ามักจะพบแนวคิดและความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนเสมอ” (“How God Speaks to Me through the Scriptures,” Feb. 6, 2019, blog.ChurchofJesusChrist.org)

บันทึกความประทับใจของท่าน

ในความร้อนอบอ้าวของเดือนสิงหาคม ปี 1831 เอ็ลเดอร์หลายคนเดินทางกลับมาเคิร์ทแลนด์หลังจากสำรวจแผ่นดินแห่งไซอันในมิสซูรีตามที่พระเจ้าทรงบัญชา การเดินทางครั้งนั้นไม่น่าอภิรมย์ ผู้เดินทาง—โจเซฟ สมิธ, ออลิเวอร์ คาวเดอรี, ซิดนีย์ ริกดัน, เอซรา บูธ และคนอื่นๆ—ร้อนและเหน็ดเหนื่อย ไม่นานก็เกิดความเครียดจนทะเลาะกัน อาจดูเหมือนว่าการสร้างไซอันนครแห่งความรัก ความเป็นหนึ่งเดียวกัน และสันติสุขจะใช้เวลานาน

โชคดีที่การสร้างไซอัน—ในมิสซูรีปี 1831 หรือในใจและวอร์ดของเราในปัจจุบัน—ไม่เรียกร้องให้เราดีพร้อม แต่ “เรียกร้องจากเจ้าที่จะให้อภัย” พระเจ้าตรัส (หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:10) พระองค์ทรงเรียกร้อง “ใจและความคิดที่เต็มใจ” (ข้อ 34) และทรงเรียกร้องความอดทนและความขยันหมั่นเพียร เพราะไซอันต้องสร้างบนรากฐานของ “สิ่งเล็กน้อย” และสำเร็จได้โดยคนที่ไม่ “เบื่อหน่ายในการทำดี” (ข้อ 33)

ดู Saints, 1:133–134, 136–137 ด้วย

ภาพ
ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:1–11

พระเจ้าทรงเรียกร้องให้ฉันให้อภัยทุกคน

ขณะที่ท่านอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:1–11 ให้นึกถึงเวลาที่พระเจ้าทรงให้อภัยท่าน ท่านอาจจะนึกถึงคนที่ท่านต้องให้อภัยด้วย ความสงสารของพระผู้ช่วยให้รอดมีผลต่อความรู้สึกที่ท่านมีต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไร? ท่านคิดว่าเหตุใดพระเจ้าทรงบัญชาให้เรา “ให้อภัยมนุษย์ทั้งปวง”? (ข้อ 10) ถ้าท่านไม่อยากให้อภัย ลองพิจาณาสิ่งที่แหล่งข้อมูลต่อไปนี้สอนว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยได้อย่างไร: เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “พันธกิจในเรื่องการคืนดี,” เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 77–79; คู่มือพระคัมภีร์ “ให้อภัยscriptures.ChurchofJesusChrist.org

หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:31–34

พระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกร้องใจและความคิดที่เต็มใจ

ท่านเคยรู้สึก “เบื่อหน่าย” กับ “การทำดี” ทุกอย่างที่ท่านพยายามทำให้สำเร็จหรือไม่? จงมองหาข่าวสารที่พระเจ้าประทานแก่ท่านใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:31–34 การถวาย “ใจและความคิดที่เต็มใจ” ของท่านแด่พระผู้เป็นเจ้าหมายความว่าอย่างไร? (ข้อ 34)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:41–43

ไซอันจะเป็น “ธงสัญญาณแก่ผู้คน”

ธงสัญญาณคือ “ธงหรือมาตรฐานซึ่งที่นั่นผู้คนมาห้อมล้อมรวมกันเพื่อความสามัคคีในจุดประสงค์หรืออัตลักษณ์” (คู่มือพระคัมภีร์, “ธงสัญญาณ,” scriptures.ChurchofJesusChrist.org) ไซอัน—หรือศาสนจักรของพระเจ้า—เป็นเหมือนธงสัญญาณแก่ท่านอย่างไร? พิจารณาตัวอย่างเหล่านี้ของสิ่งที่ต้องชูขึ้นเหมือนธงสัญญาณเพื่อเป็นพรแก่ผู้คน: กันดารวิถี 21:6–9; มัทธิว 5:14–16; แอลมา 46:11–20 ข้อเหล่านี้สอนอะไรท่านเกี่ยวกับวิธีที่ท่านสามารถช่วยให้ศาสนจักรเป็นธงสัญญาณในสถานที่ซึ่งท่านอยู่? มองหาด้านอื่นที่พระเจ้าตรัสถึงไซอันใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:41–43

ภาพ
แม่ทัพโมโรไน

แม่ทัพโมโรไนยกธงแห่งเสรีภาพ, โดย แกรีย์ อี. สมิธ

หลักคำสอนและพันธสัญญา 65

“จงเตรียมมรรคาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า”

มัทธิวอธิบายว่ายอห์นผู้ถวายบัพติศมาคือคนที่ป่าวร้องว่า “จง​เตรียม​มรรคาแห่ง​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า” (มัทธิว 3:3; ดู อิสยาห์ 40:3 ด้วย) ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 65 พระเจ้าทรงใช้ภาษาคล้ายกันเพื่อตรัสถึงงานยุคสุดท้ายของพระองค์ ท่านเห็นความคล้ายคลึงอะไรบ้างระหว่างสิ่งที่ยอห์นผู้ถวายบัพติศมาทำ (ดู มัทธิว 3:1–12) กับสิ่งที่พระเจ้าทรงต้องการให้เราทำในปัจจุบัน? ท่านพบอะไรในการเปิดเผยนี้ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ท่านช่วยทำให้คำพยากรณ์ในนั้นเกิดสัมฤทธิผล? ไตร่ตรองวิธีที่ท่านสามารถ “ทำให้งานอันน่าพิศวง [ของพระผู้เป็นเจ้า] เป็นที่รู้ในบรรดาผู้คน” (ข้อ 4)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 66

พระเจ้าทรงทราบความนึกคิดของใจฉัน

หลังจากเข้าร่วมศาสนจักรได้ไม่นาน วิลเลียม อี. แม็คเลลลินขอให้โจเซฟ สมิธเปิดเผยพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าสำหรับเขา โจเซฟไม่รู้ แต่วิลเลียมมีคำถามส่วนตัวห้าข้อที่เขาหวังให้พระเจ้าตอบผ่านศาสดาพยากรณ์ของพระองค์ เราไม่ทราบว่าคำถามของวิลเลียมคืออะไร แต่เรารู้ว่าการเปิดเผยซึ่งปัจจุบันคือ หลักคำสอนและพันธสัญญา 66 กล่าวถึงเขาและตอบคำถามแต่ละข้อจนวิลเลียม “พอใจเป็นอย่างยิ่ง” (“William McLellin’s Five Questions,” Revelations in Context, 138)

ขณะที่ท่านอ่าน ภาค 66 ลองคิดดูว่าพระเจ้าทรงทราบอะไรเกี่ยวกับวิลเลียม แม็คเลลลิน ข้อกังวล และเจตนาของใจเขา พระเจ้าทรงเปิดเผยอย่างไรว่าพระองค์ทรงรู้จักท่าน? ถ้าท่านมีปิตุพร ลองศึกษาดู ขณะศึกษา พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงช่วยให้ท่านเข้าใจเกี่ยวกับพระประสงค์ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมีต่อท่านอย่างไร?

ดู Saints, 1:138–140; คู่มือพระคัมภีร์ “ปิตุพร” scriptures.ChurchofJesusChrist.org ด้วย

ภาพ
ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและการสังสรรค์ในครอบครัว

หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:8–10สัมพันธภาพของครอบครัวให้โอกาสมากมายในการฝึกให้อภัย สมาชิกครอบครัวอาจจะพูดคุยกันว่าการให้อภัยกันเป็นพรแก่ครอบครัวท่านอย่างไร พระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยเราให้อภัยกันอย่างไร? เรา “ทุกข์ทรมาน” (ข้อ 8) เมื่อเราไม่ให้อภัยผู้อื่นอย่างไร?

หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:33พระบิดาบนสวรรค์ทรงต้องการให้ครอบครัวท่านทำอะไรเพื่อทำให้เกิด “งานอันสำคัญยิ่ง” ของพระองค์? คำตอบอาจได้แก่ ไปพระวิหาร แบ่งปันพระกิตติคุณให้กับเพื่อนบ้าน หรือเอาชนะความขัดแย้ง สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวท่านอาจจะสะสมของชิ้นเล็กๆ เช่น ก้อนหินหรือกระดุมหรือภาพตัวต่อ ให้ใช้สิ่งเหล่านั้นแทน “สิ่งเล็กน้อย” ที่เราสามารถทำได้ทุกวันเพื่อ “วางรากฐาน” ให้กับงานอันสำคัญยิ่งของพระผู้เป็นเจ้า ให้ครอบครัวเลือกทำสิ่งเล็กน้อยเหล่านี้หนึ่งอย่างในสัปดาห์นี้

หลักคำสอนและพันธสัญญา 66:3ท่านจะสอนความสำคัญของการกลับใจอย่างไร? ท่านจะเสิร์ฟอาหารบนจานที่สะอาดบางส่วนและอ่านพระดำรัสของพระเจ้าต่อวิลเลียม แม็คเลลลิน “เจ้าสะอาด, แต่ไม่ทั้งหมด” จากนั้นท่านจะเช็ดจานและเสิร์ฟอาหารขณะสนทนาว่าพระเยซูคริสต์ทรงทำให้เราสะอาดทางวิญญาณได้อย่างไร

หลักคำสอนและพันธสัญญา 66:10ครอบครัวท่านจะปฏิบัติตามคำแนะนำของพระเจ้าว่า “อย่าหมายมั่นแบกภาระจนเกินตัว” หรือรับภาระทำหลายอย่างได้อย่างไร? ท่านจะเล่าเรื่องราวของมารีย์กับมารธา (ดู ลูกา 10:38–42) และสนทนาว่าครอบครัวท่านจะป้องกันไม่ให้ตนเองแบกสิ่งที่ไม่มีคุณค่านิรันดร์จนเกินตัวได้อย่างไร

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “พระบิดาโปรดช่วยฉัน,” หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 52

ปรับปรุงการสอนของเรา

มีเวลาให้พูดคุยด้วยได้ ช่วงการสอนที่ดีที่สุดบางครั้งเริ่มต้นเมื่อสมาชิกครอบครัวมีคำถามหรือข้อกังวลในใจ ให้สมาชิกครอบครัวรู้ผ่านคำพูดและการกระทำของท่านว่าท่านอยากจะฟังพวกเขา (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 16)

ภาพ
หญิงคนหนึ่งคุกเข่าข้างพระเยซู

รับการให้อภัย, โดยเกรก เค. โอลเซ็น ใช้โดยได้รับอนุญาต www.GregOlsen.com