จงตามเรามา
30 พฤศจิกายน–6 ธันวาคม โมโรไน 1–6: “เพื่อให้พวกเขาอยู่ในทางที่ถูกต้อง”


“30 พฤศจิกายน–6 ธันวาคม โมโรไน 1–6: ‘เพื่อให้พวกเขาอยู่ในทางที่ถูกต้อง’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พระคัมภีร์มอรมอน 2020 (2020)

“30 พฤศจิกายน–6 ธันวาคม โมโรไน 1–6” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2020

ภาพ
แอลมาให้บัพติศมาผู้คนที่ผืนน้ำแห่งมอรมอน

มิเนอร์วา ไทเชิร์ต (1888–1976), แอลมาให้บัพติศมาในผืนน้ำแห่งมอรมอน, 1949–1951, สีน้ำมันบนแผ่นไม้เนื้อแข็ง, 35⅞ x 48 นิ้ว พิพิธภัณฑ์ศิลปะ มหาวิทยาลัยบริคัมยังก์, 1969

30 พฤศจิกายน–6 ธันวาคม

โมโรไน 1–6

“เพื่อให้พวกเขาอยู่ในทางที่ถูกต้อง”

โมโรไนปรารถนาให้สิ่งที่เขาเขียน “มีคุณค่า” ต่อคนที่อยู่ในยุคสุดท้าย (โมโรไน 10:4) ขณะที่ท่านอ่าน โมโรไน 1–6 ให้พิจารณาสิ่งที่จะคุ้มค่ากับคนที่ท่านสอนมากที่สุดร่วมกับการสวดอ้อนวอน

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

บางครั้งสมาชิกชั้นเรียนจะสามารถแบ่งปันข้อคิดจากการศึกษาส่วนตัวได้ดีขึ้นเมื่อพวกเขามีเวลานึกถึงสิ่งที่อ่านสักเล็กน้อย ท่านอาจจะใช้เวลาสองสามนาทีเมื่อเริ่มชั้นเรียนทบทวนหัวบทของ โมโรไน 1–6 (เป็นการช่วยสมาชิกชั้นเรียนที่ไม่ได้อ่านมาจากบ้านด้วย) จากนั้นเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนค้นคว้าบทเหล่านี้เพื่อหาข้อที่พวกเขาพบว่ามีความหมายและต้องการแบ่งปันกับคนอื่นในชั้นเรียน

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

โมโรไน 2–6

ต้องประกอบศาสนพิธีฐานะปุโรหิตตามที่พระเจ้าทรงบัญชา

  • ถ้าสมาชิกในชั้นเรียนของท่าน (หรือคนที่พวกเขารัก) กำลังเตรียมรับศาสนพิธีฐานะปุโรหิต การทบทวนสิ่งที่โมโรไนสอนเกี่ยวกับศาสนพิธีใน โมโรไน 2–6 น่าจะมีประโยชน์มาก สมาชิกชั้นเรียนจะจับคู่กันแสดงบทบาทสมมติของเหตุการณ์ต่อไปนี้ (1) น้องชายท่านจะได้รับการวางมือแต่งตั้งฐานะปุโรหิต ท่านจะให้คำแนะนำอะไรจาก โมโรไน 3 (2) เพื่อนอีกศาสนาหนึ่งสงสัยว่าทำไมต้องรับส่วนศีลระลึกทุกสัปดาห์ ท่านจะพูดว่าอย่างไร (ดู โมโรไน 4–5) (3) บุตรสาวของท่านใกล้รับบัพติศมา แต่เธอไม่แน่ใจว่าเธอพร้อม ท่านจะช่วยเธอได้อย่างไร (ดู โมโรไน 6:1–3) หลังจากแสดงบทบาทสมมติ ชั้นเรียนจะสนทนาว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรจากกัน พวกเขาจะแบ่งปันประจักษ์พยานด้วยว่าศาสนพิธีเหล่านี้ทำให้พวกเขาใกล้ชิดพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์มากขึ้นอย่างไร

  • เพื่อนำเข้าสู่การสนทนาเรื่องการเตรียมรับบัพติศมา ท่านจะขอให้สมาชิกชั้นเรียนคนหนึ่งบอกวิธีเตรียมรับข้อผูกมัดสำคัญๆ ในชีวิตพวกเขา เช่น งานเผยแผ่ การแต่งงาน การเป็นบิดามารดา หรืองานใหม่ การเตรียมนั้นเปรียบเทียบกับการเตรียมที่จำเป็นต่อการมีคุณสมบัติคู่ควรรับบัพติศมา ดังที่อธิบายไว้ใน โมโรไน 6:1–3 อย่างไร (ดู โมไซยาห์ 18:8–10; คพ. 20:37 ด้วย) เหตุใดคุณสมบัติที่ระบุไว้ในข้อเหล่านี้จึงจำเป็นต่อบัพติศมา เรารู้ได้อย่างไรว่าเราพร้อมรับศาสนพิธีนี้หรือไม่ กระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองว่าพวกเขาดำเนินชีวิตตามมาตรฐานเหล่านี้ดีเพียงใดตั้งแต่รับบัพติศมาและพวกเขาจะทำอะไรได้บ้างเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ท่านจะเชื้อเชิญให้พวกเขาจดความประทับใจที่ได้รับและพูดถึงบ่อยๆ ด้วย

    ภาพ
    เยาวชนหญิงได้รับพร

    เราประกอบศาสนพิธีโดยอำนาจฐานะปุโรหิต

โมโรไน 4–5

การรับส่วนศีลระลึกช่วยให้เราใกล้ชิดพระเยซูคริสต์มากขึ้น

  • โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว เสนอกิจกรรมการศึกษาเกี่ยวกับศีลระลึก ท่านอาจจะเชิญสมาชิกชั้นเรียนสองสามคนทำกิจกรรมเหล่านี้ที่บ้านและเตรียมมาแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันกันด้วยว่าพวกเขาทำอะไรเพื่อเตรียมตัวและครอบครัวให้พร้อมรับประสบการณ์อันศักดิ์สิทธิ์กับศีลระลึก

  • พวกเราส่วนใหญ่ได้ยินคำสวดอ้อนวอนศีลระลึกหลายครั้ง แต่เราตรึกตรองความหมายของคำเหล่านั้นมากหรือไม่ เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองคำสวดอ้อนวอนเหล่านี้ ท่านจะให้เวลาพวกเขาหลายนาทีเพื่อจดคำสวดอ้อนวอนศีลระลึกทั้งสองจากความทรงจำ จากนั้นให้พวกเขาเปรียบเทียบสิ่งที่เขียนกับ โมโรไน 4:3 และ 5:2 พวกเขาจำอะไรได้บ้าง พวกเขาขาดอะไร พวกเขาสังเกตเห็นสิ่งที่ไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อนเกี่ยวกับคำสวดอ้อนวอนเหล่านี้หรือไม่ เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันคำและวลีจากคำสวดอ้อนวอนศีลระลึกที่สะดุดใจพวกเขาหรือช่วยให้พวกเขารู้สึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ของศาสนพิธีนี้ เพื่อให้สมาชิกชั้นเรียนเห็นคุณค่าของศีลระลึกมากขึ้น ท่านอาจจะเชิญสมาชิกชั้นเรียนคนหนึ่งร้องเพลงหรือเล่นเพลงสวดศีลระลึกเพลงหนึ่ง ท่านจะฉายวีดิทัศน์เรื่อง “Always Remember Him” (ChurchofJesusChrist.org) ด้วยก็ได้

โมโรไน 6:4–9

สานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ปฏิบัติศาสนกิจต่อกัน

  • ท่านอาจจะใช้การเปรียบเทียบเพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจความสำคัญของการ “บำรุงเลี้ยงด้วยพระวจนะอันประเสริฐของพระผู้เป็นเจ้า” (โมโรไน 6:4) ตัวอย่างเช่น ต้นอ่อนหรือเด็กอ่อนต้องได้รับการบำรุงเลี้ยงแบบใด เกิดอะไรขึ้นถ้าท่านละเลยสิ่งที่ต้องได้รับการบำรุงเลี้ยง สมาชิกใหม่ของศาสนจักรและสมาชิกที่กลับมาคล้ายกับต้นพืชหรือเด็กทารกที่ต้องได้รับการบำรุงเลี้ยงอย่างไร สมาชิกชั้นเรียนจะค้นคว้า โมโรไน 6:4–9 เพื่อหาแนวคิดว่าพวกเขาจะ “บำรุงเลี้ยง” กันทางวิญญาณได้อย่างไร พวกเขาจะหาแนวคิดใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” ด้วย ท่านอาจจะแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งเพื่อนสานุศิษย์ปฏิบัติศาสนกิจต่อท่าน สมาชิกชั้นเรียนอาจจะยินดีแบ่งปันประสบการณ์คล้ายๆ กัน

  • โมโรไน 6:4–9 จะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจว่าเราได้รับพรอย่างไรเมื่อ “นับ [พวกเรา] อยู่ในบรรดาผู้คนของศาสนจักรของพระคริสต์” และเราเข้าร่วมการประชุมของศาสนจักร เราจะอธิบายพรเหล่านี้ให้กับคนที่สงสัยความจำเป็นของการมีศาสนจักรที่ได้รับการจัดตั้งว่าอย่างไร สมาชิกชั้นเรียนอาจจะค้นคว้าข้อเหล่านี้เพื่อหาบางสิ่งที่พวกเขาจะแบ่งปันได้ หรือพวกเขาจะเขียนพรบางประการที่พวกเขาได้รับในฐานะสมาชิกของศาสนจักรออกมาเป็นข้อๆ (ดู ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “เหตุใดจึงต้องมีศาสนจักร,” เลียโฮนา, พ.ย. 2015, 108–111) เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้บรรดาเหล่าสานุศิษย์ของเราได้รับการ “จดจำและบำรุงเลี้ยงด้วยพระวจนะอันประเสริฐของพระผู้เป็นเจ้า” เมื่อเรา “ประชุมกันบ่อย” (โมโรไน 6:4–5)

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

สมาชิกชั้นเรียนอาจจะอยากอ่าน โมโรไน 7–9 สัปดาห์หน้ามากขึ้นถ้าท่านอธิบายว่าในสามบทนี้มีจดหมายสองฉบับที่มอรมอนเขียนเพื่อช่วยให้บุตรชายของเขาซื่อสัตย์ในยามยากลำบาก

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

บำรุงเลี้ยงด้วยพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์สอนว่า “คนส่วนใหญ่ไม่ได้มาโบสถ์เพียงเพื่อมองหาข้อเท็จจริงใหม่ๆ ของพระกิตติคุณหรือมาหาเพื่อนเก่า แม้ทั้งหมดนี้จะสำคัญ พวกเขามาแสวงหาประสบการณ์ทางวิญญาณ พวกเขาต้องการสันติสุข พวกเขาต้องการเสริมสร้างศรัทธาและมีความหวังขึ้นมาใหม่ สรุปคือ พวกเขาต้องการการบำรุงเลี้ยงด้วยพระวจนะอันประเสริฐของพระผู้เป็นเจ้า และเข้มแข็งขึ้นด้วยอำนาจของสวรรค์” (“ครูที่มาจากพระเจ้า,” เลียโฮนา, ก.ค. 1998, 29)

ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์อธิบายว่าการบำรุงเลี้ยงผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสด้วยพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า “เป็นงานของทุกคน เป็นงานของผู้สอนประจำบ้านและผู้เยี่ยมสอน [เวลานี้คือบราเดอร์และซิสเตอร์ผู้ปฏิบัติศาสนกิจ] เป็นงานของฝ่ายอธิการ โควรัมฐานะปุโรหิต สมาคมสงเคราะห์ เยาวชนชายและเยาวชนหญิง แม้แต่ปฐมวัย

“ข้าพเจ้าอยู่ในการประชุมอดอาหารและแสดงประจักษ์พยานเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว เด็กหนุ่มอายุ 15 หรือ16 ปีคนหนึ่งยืนต่อหน้าที่ประชุมและพูดว่าเขาตัดสินใจรับบัพติศมาแล้ว

“ต่อจากนั้นเด็กหนุ่มในโควรัมผู้สอนเดินไปที่ไมโครโฟนทีละคนเพื่อแสดงความรักต่อเขา เพื่อบอกเขาว่าเขากำลังทำสิ่งที่ถูกต้อง และเพื่อยืนยันกับเขาว่าพวกตนจะยืนอยู่กับเขาและช่วยเหลือเขา ประสบการณ์นั้นวิเศษมากที่ได้ยินเยาวชนชายเหล่านั้นกล่าวแสดงความชื่นชมและให้กำลังใจเพื่อนของพวกเขา ข้าพเจ้าเชื่อว่าเด็กหนุ่มทุกคนนั้น รวมทั้งเด็กหนุ่มที่ได้รับบัพติศมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจะไปเป็นผู้สอนศาสนา

“ในการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อเร็วๆ นี้ มีคนถามข้าพเจ้าว่า ‘อะไรทำให้คุณพอใจมากที่สุดเมื่อคุณเห็นงานของศาสนจักรในปัจจุบัน’

“คำตอบของข้าพเจ้าคือ ‘ประสบการณ์ที่ผมพอใจมากที่สุดคือเมื่อผมเห็นว่าพระกิตติคุณนี้ทำอะไรให้ผู้คนบ้าง พระกิตติคุณให้ทัศนะใหม่เกี่ยวกับชีวิต ให้มุมมองที่พวกเขาไม่เคยรู้สึกมาก่อน ยกระดับสายตาให้พวกเขาเห็นสิ่งสูงค่าและศักดิ์สิทธิ์ บางอย่างเกิดขึ้นกับพวกเขาที่เห็นแล้วเหลือเชื่อ พวกเขาพึ่งพาพระคริสต์และมีชีวิต’

“… ข้าพเจ้าขอร้องแต่ละท่านได้โปรดช่วยในภารกิจนี้” (ดู “ผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสและคนหนุ่ม,” เลียโฮนา, ก.ค. 1997, 58)

ปรับปรุงการสอนของเรา

แสวงหาการดลใจของท่านเอง แทนที่จะมองโครงร่างเหล่านี้เป็นคำแนะนำที่ท่านต้องทำตาม จงใช้โครงร่างให้ได้แนวคิดหรือจุดประกายการดลใจของท่านเองขณะท่านไตร่ตรองความต้องการของคนที่ท่านสอน