สถาบัน
คำนำรากฐานของการฟื้นฟู สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (ศาสนา 225)


“คำนำรากฐานของการฟื้นฟู สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (ศาสนา 225)” รากฐานของการฟื้นฟู สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (2019)

“คำนำรากฐานของการฟื้นฟู สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (ศาสนา 225)” รากฐานของการฟื้นฟู สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

คำนำรากฐานของการฟื้นฟู สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (ศาสนา 225)

คำนำรากฐานของการฟื้นฟู สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู (ศาสนา 225)

ขอต้อนรับเข้าสู่รากฐานของการฟื้นฟู ขอบคุณที่ท่านยอมรับโอกาสในการช่วยนักเรียนทำให้การเปลี่ยนใจเลื่อมใสของพวกเขาในพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์ลึกซึ้งขึ้น

วัตถุประสงค์ของเซมินารีและสถาบันศาสนากล่าวว่า:

จุดประสงค์ของเราคือช่วยให้เยาวชนและคนหนุ่มสาวเข้าใจและพึ่งพาคำสอนและการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ มีคุณสมบัติคู่ควรรับพรของพระวิหาร และเตรียมตนเอง ครอบครัว ตลอดจนคนอื่นๆ เพื่อรับชีวิตนิรันดร์อยู่กับพระบิดาในสวรรค์ (ดู การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ: คู่มือสำหรับครูและผู้นำในเซมินารีและสถาบันศาสนา [2012], 1)

วัตถุประสงค์ของหลักสูตรนี้คืออะไร?

หลักสูตรนี้ออกแบบไว้ช่วยให้นักเรียน:

  • เสริมสร้างประจักษ์พยานของตนถึงพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณที่ได้รับการฟื้นฟูของพระองค์

  • เพิ่มความปรารถนาและความพยายามของตนในการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมและหลักคำสอนของพระกิตติคุณ อีกทั้งเป็นเหมือนพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์มากขึ้น

  • ประยุกต์ใช้หลักธรรมของการได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณและมีประสบการณ์ในการประเมินแหล่งข้อมูล

  • ค้นพบและอธิบายหลักคำสอนพื้นฐาน การเปิดเผย และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของการฟื้นฟู

คู่มือเล่มนี้มีโครงสร้างอย่างไร?

เนื้อหาของคู่มือเล่มนี้ออกแบบไว้ช่วยให้นักเรียนมีประสบการณ์ที่จรรโลงใจและมีความหมายทั้งนอกและในห้องเรียน บทเรียนแต่ละบทประกอบด้วยสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนและสื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน

สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนมีไว้ให้ท่านและนักเรียนได้ศึกษาเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน สื่อการเรียนการสอนดังกล่าวมีทั้งบริบทและภาพประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง คำสอนจากพระคัมภีร์และผู้นำศาสนจักร และหัวข้อ “ต้องการเรียนรู้มากขึ้นหรือไม่?” ที่ระบุแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทเรียน

สื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนประกอบด้วยคำถามและกิจกรรมที่มุ่งหมายจะช่วยทำให้ประสบการณ์การเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นลึกซึ้งขึ้นเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ในสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนบทที่ 6 “พระคัมภีร์มอรมอน—ศิลาหลักแห่งศาสนาของเรา” ท่านและนักเรียนจะมีโอกาสศึกษาคำสอนจากผู้นำศาสนจักรเกี่ยวกับวิธีที่พระคัมภีร์มอรมอนช่วยให้เราเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้ามากขึ้นและเป็นพรแก่ชีวิตเราในด้านต่างๆ:

การศึกษาและการดำเนินชีวิตตามคำสอนที่พบในพระคัมภีร์มอรมอนช่วยให้ท่านเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้ามากขึ้นอย่างไร? พระคัมภีร์ข้อใดบ้างจากพระคัมภีร์มอรมอนที่ช่วยให้ท่านเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้น? บันทึกคำตอบของคำถามเหล่านี้ลงในช่องว่างที่ให้ไว้ เตรียมมาแบ่งปันความคิดของท่านในชั้นเรียน

เอ็ลเดอร์คิม บี. คลาร์กแห่งสาวกเจ็ดสิบสอนเรื่องการเตรียมพร้อมและความพยายามอย่างจริงใจที่จำเป็นต่อการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง:

ภาพ
เอ็ลเดอร์คิม บี. คลาร์ก

หากท่านปรารถนาจะเรียนรู้อย่างลึกซึ้งจริงๆ หากใจและความนึกคิดของท่านเปิดรับการเรียนรู้ และหากท่านทำตามความปรารถนานั้น พระเจ้าจะทรงอวยพรท่าน เมื่อท่านทำส่วนของท่าน—สวดอ้อนวอนด้วยศรัทธา เตรียม ศึกษา มีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน และทำสุดความสามารถ—พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงสอนท่าน ทรงขยายความสามารถให้ท่านทำตามสิ่งที่ท่านเรียนรู้ และช่วยให้ท่านเป็นดังที่พระเจ้าทรงต้องการให้ท่านเป็น (“การเรียนรู้ทั้งจิตวิญญาณเลียโฮนา พ.ย. 2017 หน้า 27)

สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู

สื่อการเรียนการสอนสำหรับครูออกแบบไว้ช่วยครูเชื้อเชิญให้นักเรียนสนทนาสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ในการเตรียมและช่วยนักเรียนทำให้ความเข้าใจและประจักษ์พยานของพวกเขาถึงพระเจ้าและพระกิตติคุณที่ได้รับการฟื้นฟูของพระองค์ลึกซึ้งขึ้น ในคำนำของแต่ละบทท่านจะพบคำอธิบายเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้ของบทเรียน ตามด้วยแนวคิดการสอนที่ให้โครงสร้างบทเรียน เนื้อหา ความช่วยเหลือในการสนทนา และแนวคิดในการประยุกต์ใช้

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างวิธีที่สื่อการเรียนการสอนสำหรับครูใช้ประโยชน์จากการเตรียมของนักเรียน ดูจาก บทที่ 6 อีกครั้ง:

แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ และเชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันและอธิบายข้อพระคัมภีร์มอรมอนที่ช่วยให้พวกเขาเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น (นักเรียนที่ศึกษาสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนแล้วสามารถอ้างอิงสิ่งที่พวกเขาเขียนไว้ท้าย หัวข้อ 4) ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้นักเรียนสนทนาในกลุ่มเช่นกันว่าการดำเนินชีวิตตามคำสอนที่บันทึกไว้ในข้อที่พวกเขาเลือกช่วยให้พวกเขาเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้นอย่างไร

ขณะที่ท่านอ่านบทเรียนในคู่มือเล่มนี้ จงสนใจวิธีที่สื่อการเรียนการสอนสำหรับครูใช้การเตรียมของนักเรียนให้เป็นประโยชน์ การอาศัยการเตรียมของนักเรียนอยู่เสมอจะช่วยให้พวกเขารู้สึกถึงความสำคัญของการเตรียมเข้าชั้นเรียนทุกครั้ง

สื่อการเรียนการสอนสำหรับครูจำลองหลักพื้นฐานของการสอนและการเรียนพระกิตติคุณไว้ด้วย (ดู การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ หน้า 10, 23–31, 38–41) หลักพื้นฐานเหล่านี้ได้แก่การช่วยให้นักเรียนค้นพบ เข้าใจ และรู้สึกถึงความจริงและความสำคัญของหลักคำสอนและหลักธรรมพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ ตลอดจนเชื้อเชิญให้พวกเขาอธิบาย แบ่งปัน และเป็นพยานด้วย

ภาพ
ไอคอน ไตร่ตรอง

ไตร่ตรองในการเตรียมสอนหลักสูตรนี้

ใช้เวลาหนึ่งนาทีดูบทเรียนหนึ่งหรือสองบทคร่าวๆ เพื่อให้คุ้นเคยกับวิธีออกแบบสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนและสื่อการเรียนการสอนสำหรับครูที่จะใช้ด้วยกันขณะท่านเตรียมสอน มีวิธีใดบ้างที่ท่านจะช่วยให้นักเรียนเตรียมเข้าชั้นเรียนทั้งนี้เพื่อพวกเขาจะมีประสบการณ์ในชั้นเรียนดียิ่งขึ้น?

ฉันจะให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางและช่วยให้พวกเขามีประสบการณ์ที่มีความหมายกับหลักสูตรนี้ได้อย่างไร?

ท่านจะเป็นพรแก่นักเรียนโดยคาดหวังและกระตุ้นให้พวกเขาทำบทบาทการเป็นผู้เรียนของตนทั้งนอกและในห้องเรียนให้เกิดสัมฤทธิผล บางวิธีที่ท่านทำได้คืออาศัยการเตรียมของนักเรียน เชื้อเชิญให้พวกเขาถามคำถามเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนหรือหัวข้อบทเรียน เปิดโอกาสให้พวกเขาอธิบายหลักคำสอนและหลักธรรมด้วยคำพูดของพวกเขาเอง เล่าประสบการณ์และประจักษ์พยานที่เกี่ยวข้อง และเชื้อเชิญให้พวกเขาดำเนินชีวิตตามความจริงของพระกิตติคุณที่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่มากขึ้น

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า:

ภาพ
เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

เราสามารถเป็นครูที่มีพลังมากกว่าที่เป็นบางครั้ง ในการทำภารกิจอันน่าหวาดหวั่นเช่นนั้น โปรด … จำไว้ว่านักเรียนไม่ใช่ภาชนะที่ต้องเติมให้เต็ม แต่นักเรียนคือไฟที่ต้องจุดให้ติด (เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ “Angels and Astonishment” [Church Educational System Training Broadcast, June 12, 2019], ChurchofJesusChrist.org/broadcasts/article/article/2019/06/14holland)

โครงสร้างบทเรียนที่เสนอไว้ในสื่อการเรียนการสอนสำหรับครูจะช่วยให้ท่านจัดเวลาให้นักเรียนในชั้นเรียนมากพอจะรับรู้และทำตามการกระตุ้นเตือนทางวิญญาณ เนื้อหาควรช่วยท่านเชื้อเชิญนักเรียนให้ประยุกต์ใช้สิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้และเป็นเหมือนพระบิดาบนสวรรค์ของเราและพระเยซูคริสต์มากขึ้นเช่นกัน พิจารณาตัวอย่างนี้จากบทที่ 19 “การไถ่คนตาย”:

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงคนที่พวกเขาจะขอให้ช่วยสอนพวกเขาทำประวัติครอบครัว หากนักเรียนบางคนทำประวัติครอบครัวชำนาญอยู่แล้ว ให้เชิญพวกเขาช่วยสอนคนอื่นในชั้น หากเวลาเอื้ออำนวย ท่านอาจจะให้นักเรียนดูเว็บไซต์ประวัติครอบครัวที่ ChurchofJesusChrist.org/family-history และกระตุ้นให้พวกเขาสำรวจเว็บไซต์นี้เพื่อดูแนวคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีมีส่วนร่วมในประวัติครอบครัวมากขึ้น

แบ่งปันคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน:

ภาพ
ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน

ข้าพเจ้าเชื้อเชิญให้ท่านพิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนว่าท่านจะทำการเสียสละแบบใด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสียสละเวลา เพื่อทำงานประวัติครอบครัวและงานพระวิหารมากขึ้นในปีนี้ (รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน RootsTech Family Discovery Day—Opening Session 2017, ChurchofJesusChrist.org)

สรุปโดยเชื้อเชิญให้พวกเขาไตร่ตรองร่วมกับการสวดอ้อนวอนแล้วจดการเสียสละจำเพาะเจาะจงที่พวกเขาจะทำหรือขั้นตอนจำเพาะที่พวกเขาจะดำเนินการเพื่อมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่มากขึ้นในประวัติครอบครัวและการรับใช้ในพระวิหาร

หลักสูตรนี้ออกแบบให้เป็นหลักสูตรยาวหนึ่งเทอม มีบทเรียน 28 บทเขียนไว้ให้เรียนคาบละ 50 นาที หากชั้นเรียนของท่านพบกันสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลา 90 ถึง 100 นาที ให้สอนรวมสองบทในหนึ่งคาบเรียน แทนที่จะพะวงอยู่กับการสอนให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดในสื่อการเรียนการสอนสำหรับครู ขอให้มุ่งเน้นที่การช่วยนักเรียนทำให้ความเข้าใจของพวกเขาในเรื่องหลักคำสอนหรือหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาเป็นพิเศษลึกซึ้งขึ้น และมุ่งเน้นที่การช่วยให้พวกเขาดำเนินชีวิตตามความจริงเหล่านั้นอย่างสมบูรณ์มากขึ้น

ภาพ
ไอคอน ไตร่ตรอง

ไตร่ตรองในการเตรียมสอนหลักสูตรนี้

มีวิธีใดบ้างที่ท่านจะกระตุ้นให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากการเตรียมของตนในชั้น? ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้นักเรียนที่ไม่ได้ศึกษาสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนได้มีส่วนร่วม?

ฉันจะเตรียมสอนอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร?

พระบิดาบนสวรรค์จะทรงช่วยเหลือท่านขณะท่านเตรียมและสอนบุตรธิดาของพระองค์ การที่ท่านเพียรพยายามดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณจะช่วยให้ท่านมีคุณสมบัติคู่ควรรับพระวิญญาณในการเตรียมสอนของท่าน

ขณะเตรียม พึงคิดหาวิธีที่ท่านจะสามารถปรับสื่อการเรียนการสอนสำหรับครูให้เหมาะกับความต้องการและสภาวการณ์ของนักเรียน จงทำตามคำแนะนำนี้จากประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดในการปรับดังกล่าว:

ภาพ
ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์

ข้าพเจ้าได้ยินประธาน [บอยด์ เค.] แพคเกอร์สอนบ่อยครั้งว่า ให้เราเลือกใช้ก่อน แล้วค่อยปรับ ถ้าเรารู้จักเนื้อหาบทเรียนที่ต้องสอนเป็นอย่างดี เราจะสามารถทำตามพระวิญญาณให้ปรับบทเรียนได้ แต่เมื่อเราพูดถึงความยืดหยุ่นนี้ มีการล่อลวงให้เริ่มปรับก่อน แทนที่จะเลือกใช้ก่อน นี่คือความสมดุล นี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอ แต่วิธีเลือกใช้ก่อนแล้วค่อยปรับเป็นวิธีที่จะช่วยให้อยู่บนฐานที่ปลอดภัย (ดัลลิน เอช. โอ๊คส์ “การอภิปรายเป็นคณะกับเอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์” [การถ่ายทอดผ่านดาวเทียมของเซมินารีและสถาบันศาสนา 7 ส.ค., 2012], broadcasts.ChurchofJesusChrist.org)

ท่านอาจพบว่าการถามคำถามต่อไปนี้กับตัวท่านเองขณะเตรียมสอนน่าจะเป็นประโยชน์:

  • ฉันสวดอ้อนวอนให้ได้รับการนำทางจากพระวิญญาณบริสุทธิ์หรือไม่?

  • ฉันได้ศึกษาสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนหรือไม่?

  • ฉันรู้จักสื่อการเรียนการสอนสำหรับครูดีพอหรือไม่? มีสิ่งใดที่ฉันต้องปรับให้ตรงกับความต้องการของนักเรียนหรือไม่?

  • เราจะเรียนรู้จากพระคัมภีร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในชั้นเรียนอย่างไร?

  • ฉันจะช่วยให้นักเรียนมุ่งเน้นที่พระผู้ช่วยให้รอดและเรียนรู้จากพระวิญญาณบริสุทธิ์ในบทเรียนนี้ได้อย่างไร?

  • ฉันจะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ เข้าใจ และเติบโตในประจักษ์พยานถึงหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับแง่มุมเหล่านี้ของพระกิตติคุณมากที่สุดอย่างไร?

  • ฉันจะทำอะไรได้บ้างเพื่อผสมผสานสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้จากการเตรียมเข้าชั้นเรียนและประสบการณ์ชีวิตพวกเขาเข้าด้วยกันอย่างมีความหมาย?

  • ฉันจะช่วยให้นักเรียนแต่ละคนมีส่วนร่วมในบทเรียนอย่างเต็มที่ได้อย่างไร?

  • ฉันจะทำให้กิจกรรมการเรียนรู้และวิธีที่ฉันใช้สอนแต่ละครั้งแตกต่างหลากหลายได้อย่างไร?

  • เราจะสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่อัญเชิญพระวิญญาณและให้นักเรียนมีโอกาสและความรับผิดชอบในการสอนและเรียนรู้จากกันได้อย่างไร? (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:78122)

ฉันจะปรับบทเรียนให้เหมาะกับนักเรียนพิการได้อย่างไร?

ขณะที่ท่านเตรียมสอน จงนึกถึงนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษบางอย่าง ปรับกิจกรรมและความคาดหวังให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมและช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จ (ดูหน้า Disability Resources ที่ disabilities.ChurchofJesusChrist.org)

ภาพ
ไอคอน บันทึก

บันทึกสิ่งที่ท่านคิด

พิจารณาประเภทของประสบการณ์ที่ท่านหวังให้นักเรียนมีในหลักสูตรนี้ เขียนสักสองสามสิ่งที่ท่านคิดเกี่ยวกับวิธีวางแผนช่วยให้นักเรียนมีประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีความหมาย

ท่านคาดหวังให้นักเรียนทำอะไรเพื่อได้รับหน่วยกิต?

เพื่อได้รับหน่วยกิตจนสำเร็จการศึกษา นักเรียนต้อง:

  1. ศึกษาสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียนอย่างน้อย 75 เปอร์เซ็นต์ของบทเรียน

  2. เข้าชั้นเรียน 75 เปอร์เซ็นต์

  3. ทำประสบการณ์การเรียนรู้เสร็จสมบูรณ์หนึ่งในสามประสบการณ์ จดบันทึกการศึกษา เขียนคำตอบของคำถามอัตนัยสามข้อ หรือออกแบบและทำโครงการการเรียนรู้ (ตามที่ครูอนุมัติ) ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของหลักสูตรให้เสร็จสมบูรณ์ด้วยตนเอง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่: ChurchofJesusChrist.org/si/institute/learning-experiences

หากนักเรียนบันทึกคำตอบของคำถามและกิจกรรมทั้งหมดลงในสื่อการเรียนการสอนสำหรับเตรียมเข้าชั้นเรียน จะถือว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของประสบการณ์การเรียนรู้เช่นกัน นักเรียนไม่จำเป็นต้องส่งคำตอบของพวกเขาให้ท่าน เมื่อจบเทอมพวกเขาเพียงแต่ให้ท่านดูสิ่งที่พวกเขาทำเสร็จสมบูรณ์แล้ว