จงตามเรามา
4–10 พฤษภาคม โมไซยาห์ 11–17: “แสงสว่าง … ซึ่งจะไม่มีวันทำให้มืดได้เลย”


“4–10 พฤษภาคม โมไซยาห์ 11–17: ‘แสงสว่าง … ซึ่งจะไม่มีวันทำให้มืดได้เลย’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พระคัมภีร์มอรมอน 2020 (2020)

“4–10 พฤษภาคม โมไซยาห์ 11–17” จงตามเรามา: สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2020

ภาพ
อบินาไดเป็นพยานต่อกษัตริย์โนอาห์

อบินาไดต่อหน้ากษัตริย์โนอาห์ โดย แอนดรูว์ บอสลีย์

4–10 พฤษภาคม

โมไซยาห์ 11–17

“แสงสว่าง … ซึ่งจะไม่มีวันทำให้มืดได้เลย”

ลองพิจารณาแบบอย่างการสอนพระกิตติคุณของอบินาได ท่านพบอะไรใน โมไซยาห์ 11–17 ที่สามารถช่วยให้ท่านเป็นครูที่ดีขึ้น

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เพื่อให้สมาชิกชั้นเรียนได้แบ่งปันบางอย่างที่พวกเขาเรียนรู้ในการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัวหรือกับครอบครัว ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้พวกเขาเติมประโยคต่อไปนี้ให้ครบถ้วน: ถ้าฉันต้องเลือกแบ่งปันข้อหนึ่งจาก โมไซยาห์ 11–17 ให้กับคนที่ฉันรัก ฉันจะเลือก

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

โมไซยาห์ 11–1317

เราสามารถยึดมั่นความจริง แม้เมื่อเรายืนคนเดียว

  • แม้สมาชิกในชั้นเรียนของท่านจะไม่ถูกข่มขู่ด้วยความตายเพราะประจักษ์พยานของพวกเขา แต่พวกเขาอาจพบกับการต่อต้านเพราะความเชื่อของพวกเขา พวกเขาอาจจะหาเหตุการณ์หรือข้อความใน โมไซยาห์ 11–13 และ 17 ที่เพิ่มความกล้าให้พวกเขายึดมั่นความจริง อะไรทำให้อบินาไดกับแอลมาองอาจกล้าหาญ เราจะมั่นคงและแน่วแน่ในการปกป้องความจริงได้อย่างไร ข้อความอ้างอิงใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” อาจให้แนวคิดบางประการ

  • เพื่อช่วยให้ชั้นเรียนของท่านเรียนรู้จากแบบอย่างการปกป้องความจริงอย่างกล้าหาญ ท่านอาจจะเขียน คนที่ยึดมั่นความจริง ไว้บนกระดาน ท่านอาจจะเริ่มด้วยการสนทนาเรื่องอบินาได โดยเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันบางอย่างที่พวกเขาประทับใจเกี่ยวกับอบินาไดขณะพวกเขาอ่านสัปดาห์นี้ จากนั้นพวกเขาอาจจะบอกชื่อชายหญิงคนอื่นๆ—จากพระคัมภีร์ ครอบครัวของพวกเขา หรือประสบการณ์ส่วนตัว—ที่พวกเขารู้สึกว่าเป็นแบบอย่างของการยืดมั่นความจริง เรารู้สึกได้รับแรงบันดาลใจให้ทำอะไรเพราะแบบอย่างเหล่านี้

โมไซยาห์ 12:19–37

เมื่อเราศึกษาพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า เราจำเป็นต้องปรับใจสู่ความเข้าใจ

  • ขณะที่สมาชิกชั้นเรียนศึกษา โมไซยาห์ 12:19–37 สัปดาห์นี้ พวกเขาอาจได้ข้อคิดเกี่ยวกับความหมายของการปรับใจให้เข้าใจพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า ท่านอาจจะให้พวกเขาสองสามคนแบ่งปันความคิด หรืออาจจะใช้เวลาบางส่วนในชั้นเรียนค้นคว้าข้อเหล่านี้ด้วยกันและสนทนาว่าข้อเหล่านี้บอกอะไรเกี่ยวกับวิธีทำให้การศึกษาพระกิตติคุณมีความหมายมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เหตุใดจึงสำคัญที่ต้องทั้งเข้าใจกฎของพระผู้เป็นเจ้าและ “รักษากฎ” (โมไซยาห์ 12:29)

  • สมาชิกในชั้นเรียนของท่านสามารถเรียนรู้อะไรโดยเปรียบเทียบเจตคติและการปฏิบัติของพวกปุโรหิตของโนอาห์กับวิธีที่เราควรใช้ศึกษาพระกิตติคุณ เชื้อเชิญให้พวกเขาอ่าน โมไซยาห์ 12:19–37 โดยมองหาคำวิพากษ์วิจารณ์ที่อบินาไดยกขึ้นมากล่าวกับพวกปุโรหิตของโนอาห์ อบินาไดอาจจะพูดอะไรเกี่ยวกับการศึกษาพระกิตติคุณของเราวันนี้ ขอให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาทำเพื่อช่วยพวกเขาปรับใจสู่ความเข้าใจและเพิ่มความหมายให้แก่การเรียนพระกิตติคุณของพวกเขามากขึ้น

    ภาพ
    พ่อกับลูกชายอ่านพระคัมภีร์

    การศึกษาพระกิตติคุณที่มีประสิทธิภาพเกี่ยวข้องกับการปรับใจเราสู่ความเข้าใจ

โมไซยาห์ 13:28–15:11

ความรอดผ่านมาทางพระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์

  • เพื่อให้ผู้ฟังที่สงสัยเกี่ยวกับการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์มั่นใจ อบินาไดจึงอ้างคำพยากรณ์ที่สะเทือนอารมณ์จากอิสยาห์ (ดู โมไซยาห์ 14) มีหลายวิธีที่สมาชิกชั้นเรียนจะทบทวนบทนี้ พวกเขาอาจจะอ่านทีละสองสามข้อและสนทนา หรือแบ่งชั้นเรียนสนทนาเป็นกลุ่มเล็กเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับข้อที่มีความหมายรวมไปถึงเชิงอรรถเพื่อค้นหาข้อคิดเพิ่มเติม กระตุ้นให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดจากบทนี้

  • สมาชิกในชั้นเรียนของท่านเข้าใจหรือไม่ว่าพระเยซูคริสต์ “ทรงสนองข้อเรียกร้องแห่งความยุติธรรม” หมายความว่าอย่างไร (โมไซยาห์ 15:9) เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าใจดีขึ้น ท่านอาจจะเริ่มโดยอ่าน “ยุติธรรม (ความ)” และ “เมตตา (ความ, พระ, มี)” ในคู่มือพระคัมภีร์ด้วยกัน (scriptures.ChurchofJesusChrist.org) หรืออ่าน “Justice” และ “Mercy” ที่ topics.ChurchofJesusChrist.org บางคนอาจจะอาสาเขียนนิยามสั้นๆ ของแต่ละคำบนกระดาน จากนั้นท่านจะอ่าน โมไซยาห์ 15:1–9 ด้วยกัน พระเยซูคริสต์ทรงสนองข้อเรียกร้องแห่งความยุติธรรมอย่างไร พระองค์ทรงเมตตาเราอย่างไร วีดิทัศน์ที่แนะนำไว้ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” ใช้เรื่องเล่าและเรื่องเปรียบเทียบอธิบายพระเมตตาของพระผู้ช่วยให้รอด การดูวีดิทัศน์เรื่องใดเรื่องหนึ่งเหล่านี้อาจจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนนึกถึงเรื่องเปรียบเทียบอื่นๆ ที่อธิบายว่าพระเยซูคริสต์ทรงสนองข้อเรียกร้องแห่งความยุติธรรมอย่างไร

โมไซยาห์ 11; 12:33–37; 13:11–26

เราควรเขียนพระบัญญัติไว้ในใจเรา

  • ท่านอาจจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจความสำคัญของการให้พระบัญญัติ “เขียนอยู่ในใจ [เรา]” โดยถามพวกเขาว่าพวกเขาคิดว่าวลีนี้หมายถึงอะไร จากนั้นให้พวกเขาเปรียบเทียบพระบัญญัติที่อบินาไดสอนใน โมไซยา 12:33–37 และ 13:11–26 กับบาปที่กษัตริย์โนอาห์และผู้คนของเขาทำอยู่ (ดู โมไซยาห์ 11:1–7, 14–15) การให้พระบัญญัติ “เขียนอยู่ในใจ [เรา]” ต่างจากการเพียงแค่คุ้นเคยกับพระบัญญัติอย่างไร (โมไซยาห์ 13:11) เรารู้ได้อย่างไรว่าพระบัญญัติเขียนอยู่ในใจเราหรือไม่ เราจะยกตัวอย่างอะไรได้บ้าง

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

สมาชิกชั้นเรียนเคยรู้สึกเหมือนอบินาไดหรือไม่—ว่าความพยายามในการแบ่งปันพระกิตติคุณของพวกเขาสูญเปล่า บอกพวกเขาว่าใน โมไซยาห์ 18–26 พวกเขาจะอ่านเกี่ยวกับผลที่ตามมามากมายจากความพยายามของอบินาได

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

คำสอนของศาสดาพยากรณ์เกี่ยวกับการยึดมั่นความจริง

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนว่า “สานุศิษย์ที่แท้จริงของพระเยซูคริสต์เต็มใจที่จะโดดเด่น กล้าพูด และแตกต่างจากผู้คนของโลก … การเป็นสานุศิษย์ที่ทรงพลังไม่ใช่เรื่องง่ายหรือเป็นโดยอัตโนมัติ เราต้องมุ่งไปที่พระผู้ช่วยให้รอดและพระกิตติคุณของพระองค์ ต้องใช้ความพยายามทางจิตใจอย่างมากที่จะมองดูพระองค์ในความนึกคิด ทุกอย่าง แต่เมื่อเราทำเช่นนั้น ความสงสัยและความกลัวจะหายไป” (“ดึงพลังของพระเยซูคริสต์เข้ามาในชีวิตเรา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2017, 40–41)

ประธานโธมัส เอส. มอนสันกล่าวว่า “ขอให้เรากล้าหาญและพร้อมจะยืนหยัดในสิ่งที่เราเชื่อ และถ้าเราต้องยืนคนเดียวในระหว่างนั้น ขอให้เรายืนอย่างกล้าหาญ ได้รับพลังจากความรู้ที่ว่าแท้จริงแล้วเราไม่มีวันโดดเดี่ยวเมื่อเรายืนกับพระบิดาในสวรรค์ของเรา” (“กล้ายืนคนเดียว,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 85)

ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์สอนว่า “เปาโลเขียนถึงทิโมธีดังนี้ ‘พระเจ้าไม่ได้ประทานใจที่ขลาดกลัวแก่เรา แต่ประทานใจที่ประกอบด้วยฤทธานุภาพ ความรัก และการบังคับตนเองแก่เรา เพราะ‍ฉะนั้น​อย่า​อับอาย​ที่​เป็น​พยาน​ของ​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​ของ​เรา’ (2 ทิโมธี 1:7–8) ข้าพเจ้าประสงค์ให้สมาชิกทุกคนของศาสนจักรนี้วางถ้อยคำเหล่านี้ไว้ตรงที่ซึ่งพวกเขาจะมองเห็นได้ทุกเช้าขณะเริ่มต้นวันใหม่ ถ้อยคำดังกล่าวจะทำให้เรากล้าพูด จะทำให้เรามีศรัทธาที่จะพยายามเสริมสร้างความเชื่อมั่นของเราในพระเจ้าพระเยซูคริสต์” (คำสอนของประธานศาสนจักร: กอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ [2016], 338)

วีดิทัศน์เกี่ยวกับความยุติธรรมและความเมตตาที่ ChurchofJesusChrist.org

  • “Handel’s Messiah: Debtor’s Prison”

  • “The Mediator”

  • “Where Justice, Love, and Mercy Meet”