จงตามเรามา
27 เมษายน–3 พฤษภาคม โมไซยาห์ 7–10: “ด้วยกำลังจากพระเจ้า”


“27 เมษายน–3 พฤษภาคม โมไซยาห์ 7–10: ‘ด้วยกำลังจากพระเจ้า’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พระคัมภีร์มอรมอน 2020 (2020)

“27 เมษายน–3 พฤษภาคม โมไซยาห์ 7–10” จงตามเรามา: สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2020

ภาพ
แอมันสอนกษัตริย์ลิมไฮ

มิเนอร์วา ไทเชิร์ต (1888-1976), แอมันต่อหน้ากษัตริย์ลิมไฮ, 1949-1951 สีน้ำมันบนแผ่นไม้อัด ขนาด 35 15/16 x 48 นิ้ว พิพิธภัณฑ์ศิลปะ มหาวิทยาลัยบริคัมยังก์, 1969

27 เมษายน–3 พฤษภาคม

โมไซยาห์ 7–10

“ด้วยกำลังจากพระเจ้า”

โครงร่างนี้จะเป็นแหล่งข้อมูลที่มีค่า แต่ควรเสริมไม่ใช่แทนการดลใจที่ท่านได้รับขณะศึกษา โมไซยาห์ 7–10

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

อาจช่วยได้เป็นระยะๆ ถ้าให้สมาชิกชั้นเรียนสนทนาเรื่องพรที่พวกเขากำลังได้รับขณะพยายามทำให้บ้านเป็นศูนย์กลางของการเรียนพระกิตติคุณ สมาชิกครอบครัวไตร่ตรองหรือสนทนาข้อใดจาก โมไซยาห์ 7–10 ในบ้านระหว่างสัปดาห์ สิ่งนี้ส่งผลต่อชีวิตพวกเขาอย่างไร

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

โมไซยาห์ 7:14–33

ถ้าเราหันไปพึ่งพระเจ้า วางใจพระองค์ และรับใช้พระองค์ พระองค์จะทรงปลดปล่อยเรา

  • ขณะสมาชิกชั้นเรียนศึกษา โมไซยาห์ 7:14–33 ประสบการณ์ของผู้คนของลิมไฮอาจเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขากลับใจและหันไปขอการปลดปล่อยจากพระเจ้า เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการสนทนา ท่านอาจจะเชิญสมาชิกชั้นเรียนคนหนึ่งเตรียมมาสรุปให้ชั้นเรียนฟังว่าผู้คนของลิมไฮตกเป็นทาสอย่างไร สมาชิกชั้นเรียนอีกสองสามคนอาจจะแบ่งปันว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรจากลิมไฮเกี่ยวกับการมีศรัทธาและความหวังในพระผู้ช่วยให้รอด เราสามารถเรียนรู้อะไรจากคำเตือนสติของลิมไฮเกี่ยวกับวิธีที่พระผู้เป็นเจ้าทรงปลดปล่อยผู้คนของเขา (ดู ข้อ 19–20) ท่านอาจจะขอให้สมาชิกชั้นเรียนเล่าเรื่องราวพระคัมภีร์หรือประสบการณ์ส่วนตัวที่เป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขาวางใจพระผู้เป็นเจ้า

  • สมาชิกในชั้นเรียนของท่านมีโอกาสสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นหันไปพึ่งพระผู้เป็นเจ้าเมื่อพวกเขาอยู่ในความเป็นทาสของบาปหรือทนทุกข์จากความทุกข์อื่นๆ อาจจะช่วยให้พวกเขาศึกษาว่าลิมไฮสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนของเขาอย่างไร พวกเขาอาจจะอ่านคำอธิบายใน โมไซยาห์ 7:20–25 เกี่ยวกับความเป็นทาสของผู้คนของลิมไฮและนึกถึงคนรู้จักที่กำลังเป็นทาสของบาป จากนั้นพวกเขาจะระบุความจริงที่ลิมไฮสอนใน โมไซยาห์ 7:18–20, 33 เพื่อช่วยผู้คนของเขา เราจะทำตามแบบอย่างของลิมไฮได้อย่างไรขณะที่เรากระตุ้นคนที่เรารักให้วางใจพระผู้เป็นเจ้า

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจความช่วยเหลือที่พระผู้เป็นเจ้าประทานแก่เราในยามยากลำบากได้ดีขึ้น ท่านอาจจะร้องเพลง “พระผู้ไถ่แห่งอิสราเอล” (เพลงสวด, บทเพลงที่ 6) ด้วยกันและสนทนาหรือร้องอีกเพลงหนึ่งซึ่งพูดถึงวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงปลดปล่อยเรา โมไซยาห์ 7:17–20; อีเธอร์ 12:27; และ 2 โครินธ์ 12:7–10 เพิ่มอะไรให้ความเข้าใจของเรา สมาชิกชั้นเรียนอาจจะแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งพระเจ้าทรงปลดปล่อยพวกเขาแม้ในวิธีเล็กๆ น้อยๆ เพราะพวกเขาแสดงศรัทธาในพระองค์

โมไซยาห์ 7:26–27

พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตามรูปลักษณ์ของพระองค์

  • ในข้อเหล่านี้ ลิมไฮอธิบายความจริงบางประการที่อบินาไดสอนซึ่งผู้คนยากจะยอมรับ สมาชิกชั้นเรียนค้นพบความจริงอะไรได้บ้างในข้อเหล่านี้ ความจริงเหล่านี้ส่งผลอย่างไรต่อวิธีที่เรามองพระผู้เป็นเจ้าและตัวเราเอง

โมไซยาห์ 8:12–19

พระเจ้าทรงจัดเตรียมศาสดาพยากรณ์ ผู้หยั่งรู้ และผู้เปิดเผยเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ

  • แอมันมีโอกาสอธิบายบทบาทของผู้หยั่งรู้ให้ลิมไฮฟังและเป็นพยานถึงความสำคัญของศาสดาพยากรณ์ ผู้หยั่งรู้ และผู้เปิดเผย ท่านอาจต้องการชี้แจงว่าในสมัยของเรา ฝ่ายประธานสูงสุดและโควรัมอัครสาวกสิบสองได้รับการสนับสนุนเป็นศาสดาพยากรณ์ ผู้หยั่งรู้ และผู้เปิดเผย เราจะพูดอย่างองอาจเหมือนแอมันเกี่ยวกับความจำเป็นของการมีศาสดาพยากรณ์ ผู้หยั่งรู้ และผู้เปิดเผยได้อย่างไร (ดู โมไซยาห์ 8:13–18) สมาชิกชั้นเรียนอาจจะวางแผนโพสต์บนสื่อสังคมที่จะช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจบทบาทของศาสดาพยากรณ์ ผู้หยั่งรู้ และผู้เปิดเผยในสมัยของเรา เราได้ยินอะไรในการประชุมใหญ่สามัญครั้งล่าสุดที่เราสามารถแบ่งปันให้เพื่อนๆ สมาชิกครอบครัว และเพื่อนบ้านของเราเพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับความจำเป็นของการมีศาสดาพยากรณ์

  • จากการอ่าน โมไซยาห์ 8:12–19 ท่านหรือสมาชิกชั้นเรียนคนอื่นๆ อาจต้องการแสดงประจักษ์พยานเกี่ยวกับศาสดาพยากรณ์เช่นเดียวกับแอมัน หรือแสดงความสำนึกคุณต่อการเปิดเผยผ่านศาสดาพยากรณ์เช่นเดียวกับลิมไฮ (ดู โมไซยาห์ 8:19)

  • ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธคือผู้หยั่งรู้ที่เป็นหัวหน้าของสมัยการประทานความสมบูรณ์แห่งเวลานี้ (ดู ค&พ. 21:1) ท่านอาจต้องการขอให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากคำอธิบายของแอมันเกี่ยวกับผู้หยั่งรู้ (ดู โมไซยาห์ 8:13–18) จากนั้นพวกเขาจะสนทนาด้านต่างๆ ที่โจเซฟ สมิธเป็นผู้หยั่งรู้ (ค&C 135:3 and Moses 6:36 พ. 135:3 และ โมเสส 6:36 จะเป็นประโยชน์ในการสนทนาเรื่องนี้)

โมไซยาห์ 9:14–19; 10:6–10

เราสามารถเผชิญความท้าทายของเรา “ด้วยกำลังจากพระเจ้า”

  • วลี “ด้วยกำลังจากพระเจ้า” ปรากฏสองครั้งในบันทึกของซีนิฟฟ์เกี่ยวกับผู้คนของเขาและการสู้รบกับชาวเลมัน—ใน โมไซยาห์ 9:14–19 และ 10:6–10 สมาชิกชั้นเรียนอาจจะค้นคว้าข้อเหล่านี้และแบ่งปันว่าวลีนี้หมายความว่าอย่างไร เราเข้าถึง “กำลังจากพระเจ้า” อย่างไร กระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งพวกเขาเผชิญความท้าทายได้สำเร็จด้วยกำลังจากพระเจ้า

โมไซยาห์ 10:11–17

การเลือกของเราสามารถมีอิทธิพลต่อคนหลายรุ่น

  • ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนอ่าน โมไซยาห์ 10:11–17 ในใจและหาด้านต่างๆ ที่การเลือกและความเชื่อของบรรพชนมีผลต่อชาวเลมัน ทั้งหมดนี้บอกอะไรเกี่ยวกับผลแห่งการเลือกของเราที่อาจมีต่อผู้อื่น เราต้องการให้คนรุ่นหนึ่งหรือสองรุ่นพูดถึงตัวเราและครอบครัวเราว่าอย่างไร สมาชิกชั้นเรียนอาจจะจดบางสิ่งที่พวกเขาต้องการรวมไว้ในคำพูดเหล่านั้น

  • บทเรียนที่ใช้อุปกรณ์ง่ายๆ—เช่น โดมิโนหนึ่งแถว—อาจจะช่วยอธิบายผลแห่งการเลือกของผู้คนต่อลูกหลานของพวกเขา จากนั้นท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนอ่าน โมไซยาห์ 10:11–17 และสนทนาว่าการเลือกของบรรพชนชาวเลมันเมื่อหลายศตวรรษก่อนมีผลอย่างลึกซึ้งต่อความเชื่อและเจตคติของชาวเลมันอย่างไร เรื่องราวของเอ็ลเดอร์โดนัลด์ แอล. ฮอลล์สตรอมใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ท่านแบ่งปันได้ สมาชิกชั้นเรียนอาจจะนึกถึงเรื่องต่างๆ จากชีวิตพวกเขาเองหรือประวัติครอบครัวของพวกเขาเกี่ยวกับคนชอบธรรมคนหนึ่งที่มีอิทธิพลดีต่อคนหลายรุ่น

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

สัปดาห์นี้สมาชิกชั้นเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับผลลบจากการเลือกของชาวเลมันต่อลูกหลานของพวกเขา ให้สมาชิกชั้นเรียนรู้ว่าใน โมไซยาห์ 11–17 พวกเขาจะอ่านเกี่ยวกับบุคคลคนหนึ่งที่ความชอบธรรมของเขาเปลี่ยนชีวิตคนมากมาย

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

การตัดสินใจของเราจะมีผลต่อคนหลายรุ่น

เอ็ลเดอร์โดนัลด์ แอล. ฮอลล์สตรอมเล่าว่าความซื่อสัตย์ของปู่ย่าตายายเป็นพรแก่คนรุ่นหลังอย่างไร

“คุณปู่คุณย่ามีบุตรสองคน ชายหนึ่งคน (คุณพ่อข้าพเจ้า) และหญิงหนึ่งคน [บุตรสาวของพวกท่าน] แต่งงานในปี 1946 และตั้งครรภ์ในอีกสี่ปีต่อมา เป็นเรื่องพิเศษมากสำหรับพ่อแม่ที่ลูกสาว (ในกรณีนี้เธอเป็นลูกสาวคนเดียว) จะคลอดลูกคนแรก ไม่มีใครรู้ว่าเธอตั้งครรภ์ลูกแฝด น่าเศร้าที่เธอกับลูกแฝดเสียชีวิตระหว่างคลอด

“คุณปู่คุณย่าเสียใจมาก แต่ความทุกข์ทำให้พวกท่านหันมาหาพระเจ้าและการชดใช้ของพระองค์ทันที ท่านไม่หมกมุ่นครุ่นคิดว่าทำไมเกิดเรื่องเช่นนี้และจะโทษใคร แต่มุ่งดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรม คุณปู่คุณย่าไม่ได้ร่ำรวย ไม่เคยอยู่ท่ามกลางผู้มีชื่อเสียงในวงสังคม ไม่เคยดำรงตำแหน่งสูงในศาสนจักร—พวกท่านเป็นเพียงวิสุทธิชนยุคสุดท้ายที่อุทิศตน …

“ความซื่อสัตย์ของคุณปู่อาร์ทและคุณย่าลู โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเผชิญกับความยากลำบาก เวลานี้มีอิทธิพลต่อคนสี่รุ่นที่ตามมา ส่งผลโดยตรงและอย่างลึกซึ้งต่อบุตรชายของพวกท่าน (คุณพ่อข้าพเจ้า) และคุณแม่ข้าพเจ้าเมื่อลูกสาวซึ่งเป็นลูกคนเล็กสุดของคุณพ่อคุณแม่ข้าพเจ้าเสียชีวิตเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนขณะคลอดบุตร เธอเสียชีวิตหลังจากคลอดบุตรได้ 10 วัน เมื่ออายุ 34 ปี โดยทิ้งลูก 4 คนไว้ อายุตั้งแต่ 10 วันถึง 8 ขวบ เพราะแบบอย่างที่เห็นในคนรุ่นก่อน คุณพ่อคุณแม่ข้าพเจ้าจึงหันไปขอการปลอบโยนจากพระเจ้า—โดยไม่ลังเล” (“หันมาสู่พระเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ค. 2010, 97–98)

ปรับปรุงการสอนของเรา

ฟัง “การฟังเป็นการแสดงออกของความรัก… ขอให้พระบิดาบนสวรรค์ทรงช่วยให้ท่านเข้าใจสิ่งที่สมาชิกชั้นเรียนของท่านพูด เมื่อท่านตั้งใจฟังข่าวสารที่พูดออกมาและไม่ได้พูดออกมา ท่านจะเข้าใจความต้องการ ข้อกังวล และความปรารถนาของพวกเขามากยิ่งขึ้น” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 34)