จงตามเรามา
18–24 พฤษภาคม โมไซยาห์ 25–28: “จึงเรียกคนเหล่านั้นว่าผู้คนของพระผู้เป็นเจ้า”


“18–24 พฤษภาคม โมไซยาห์ 25–28: ‘จึงเรียกคนเหล่านั้นว่าผู้คนของพระผู้เป็นเจ้า’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พระคัมภีร์มอรมอน 2020 (2020)

“18–24 พฤษภาคม โมไซยาห์ 25–28,” จงตามเรามา: สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2020

ภาพ
เทพปรากฏต่อแอลมาและพวกบุตรของโมไซยาห์

การเปลี่ยนใจเลื่อมใสของแอลมาผู้บุตร โดย แกรีย์ แอล. แคพพ์

18–24 พฤษภาคม

โมไซยาห์ 25–28

“จึงเรียกคนเหล่านั้นว่าผู้คนของพระผู้เป็นเจ้า”

วิธีที่ดีที่สุดในการเตรียมสอน โมไซยาห์ 25–28 คืออ่านบทเหล่านี้และดำเนินชีวิตตามหลักธรรมที่สอน ขณะท่านทำเช่นนั้น พระวิญญาณจะทรงดลใจท่านให้สอนสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับสมาชิกชั้นเรียนของท่าน

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

สมาชิกชั้นเรียนบางคนอาจลำบากในการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัวและกับครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ ประสบการณ์ของสมาชิกชั้นเรียนคนอื่นๆ จะช่วยหรือไม่ ท่านอาจจะเริ่มชั้นเรียนโดยเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาทำแล้วได้ผลดีในการศึกษาเป็นส่วนตัวหรือกับครอบครัว

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

โมไซยาห์ 26:15–31; 27:23–37

พระผู้เป็นเจ้าทรงให้อภัยคนที่กลับใจ

  • การกลับใจและการให้อภัยเป็นหัวข้อที่กล่าวซ้ำในบทเหล่านี้ ท่านอาจจะสำรวจหัวข้อเหล่านี้โดยเขียน การกลับใจ และ การให้อภัย ไว้บนกระดานและขอให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนสิ่งที่เข้ามาในใจเมื่อพวกเขานึกถึงคำเหล่านี้ไว้ใต้หัวข้อเหล่านั้น จากนั้นพวกเขาจะค้นคว้า โมไซยาห์ 26:22–24, 29–31; และ 27:23–37 หาคำและวลีที่สอนพวกเขาเกี่ยวกับการกลับใจและการให้อภัย สมาชิกชั้นเรียนจะเพิ่มคำและวลีเหล่านี้เข้าไปในรายการที่เขียนไว้บนกระดาน พระผู้เป็นเจ้าทรงรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับคนที่กลับใจและแสวงหาการให้อภัย

  • บางคนอาจสงสัยว่าการกลับใจของพวกเขามากพอจะให้พระผู้เป็นเจ้าทรงให้อภัยพวกเขาหรือไม่ เพื่อช่วยคนที่รู้สึกแบบนั้นในชั้นเรียนของท่าน ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนสมมติว่าพวกเขาเป็นแอลมาผู้บิดาและสมาชิกคนหนึ่งของศาสนจักรในเซราเฮ็มลาถามพวกเขาเกี่ยวกับวิธีได้รับการอภัยบาป (ท่านอาจจะแสดงบทบาทสมมติของสถานการณ์นี้) แอลมาเรียนรู้อะไรจากพระเจ้าใน โมไซยาห์ 26:15–31 ที่จะช่วยสมาชิกศาสนจักรคนนี้ได้ (ดู โมโรไน 6:8; คพ. 58:42–43 ด้วย) คำกล่าวนี้จากประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์จะช่วยได้เช่นกัน “หากท่านรู้สึกถึงอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์วันนี้ ท่านอาจใช้ความรู้สึกนั้นเป็นหลักฐานยืนยันว่าการชดใช้กำลังเกิดผลในชีวิตท่าน” (“Gifts of the Spirit for Hard Times,” Ensign, June 2007, 23)

โมไซยาห์ 27:8–24

พระผู้เป็นเจ้าทรงได้ยินคำสวดอ้อนวอนของเราและจะทรงตอบตามพระประสงค์ของพระองค์

  • พวกเราหลายคนสามารถเชื่อมโยงกับความรู้สึกของแอลมาผู้บิดาที่บุตรชายของเขากำลัง “กบฏต่อพระผู้เป็นเจ้า” (โมไซยาห์ 27:11) สมาชิกชั้นเรียนอาจจะสนทนาว่าพวกเขาจะใช้เรื่องราวใน โมไซยาห์ 27:8–24 ให้ความหวังแก่คนที่มีสมาชิกครอบครัวดื้อรั้นได้อย่างไร โดยเข้าใจว่าเราไม่สามารถเรียกร้องปาฏิหาริย์หรือช่วงชิงสิทธิ์เสรีของผู้อื่น เราจะสวดอ้อนวอนอย่างเหมาะสมให้คนที่เรารักและหลงผิดได้อย่างไร (ดู แอลมา 6:6ด้วย)

โมไซยาห์ 27:8–28:4

ชายหญิงทุกคนต้องเกิดใหม่

  • ต่อไปนี้เป็นคำถามบางอย่างที่จะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับการเกิดใหม่: การเกิดใหม่ทางวิญญาณหมายความว่าอย่างไร (ดู Bible Dictionary, “Conversion” ด้วย) เราพยายามปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไรเมื่อเราเกิดใหม่ทางวิญญาณ เพื่อช่วยสมาชิกครอบครัวตอบคำถามเหล่านี้ ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้พวกเขาค้นคว้า โมไซยาห์ 27:22–28:4 หาสัญญาณที่แสดงว่าแอลมากับพวกบุตรของโมไซยาห์เกิดใหม่ทางวิญญาณ

  • ทุกคนมีเรื่องราวการเปลี่ยนใจเลื่อมใส เพราะดังที่แอลมากล่าว “มนุษย์ ทั้งปวง … ต้องเกิดใหม่” (โมไซยาห์ 27:25; เน้นตัวเอน) สมาชิกชั้นเรียนสองสามคนอาจจะแบ่งปันว่าพวกเขาเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์อย่างไร—ไม่ว่าโดยผ่านเหตุการณ์อันเปี่ยมด้วยพลังทางวิญญาณในชีวิตพวกเขาหรือผ่านกระบวนการค่อยเป็นค่อยไปที่บางครั้งมองไม่เห็นและอาจจะรับรู้ได้ต่อเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ท่านอาจจะให้เวลาสมาชิกบันทึกประสบการณ์ของพวกเขาในชั้นเรียน (ถ้าท่านไม่มีเวลาทำกิจกรรมนี้ในชั้น ท่านอาจจะแนะนำให้พวกเขาบันทึกที่บ้าน) เพื่อเน้นว่าการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของเราควรต่อเนื่อง ท่านอาจจะเสนอให้สมาชิกชั้นเรียนทบทวนสิ่งที่เขียนเป็นช่วงๆ และเพิ่มเติมประสบการณ์ใหม่ๆ

  • แอลมาและคนอื่นๆ ทั่วพระคัมภีร์ใช้อุปลักษณ์ของการเกิดใหม่เพื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงที่พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์นำมาสู่ชีวิตเรา เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงนี้กับแตงกวาดอง (ดู “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”) เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองว่าการเปรียบเทียบเหล่านี้สอนอะไรเกี่ยวกับการเปลี่ยนใจเลื่อมใส ท่านอาจจะนำแตงกวากับแตงกวาดองมาที่ชั้นเรียน หรือท่านอาจจะเชิญบางคนนำเด็กทารกมาและสนทนาว่าเหตุใดการเกิดจึงเป็นอุปมาอุปไมยที่ดีสำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นกับแอลมาและพวกบุตรของโมไซยาห์ (ดู โมไซยาห์ 27:23–28:7)

ภาพ
แอลมาผู้บุตรถูกหามมาบ้านบิดาของเขา

บิดาของเขาชื่นชมยินดี โดย วอลเตอร์ เรน

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกชั้นเรียนอ่าน โมไซยาห์ 29–แอลมา 4 ในสัปดาห์ถัดไป ท่านอาจจะบอกพวกเขาว่าในบทเหล่านี้ผู้คนของนีไฟมีสิทธิ์มีเสียงในการปกครอง เราสามารถเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์ของพวกเขาขณะที่เราพยายามเป็นอิทธิพลดีต่อชุมชนของเรา

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

กระบวนการชั่วชีวิต

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันสอนว่า “การเกิดใหม่อีกครั้ง ไม่เหมือนการเกิดทางกาย เป็นกระบวนการมากกว่าเหตุการณ์ และการได้เข้าไปอยู่ในกระบวนการนั้นคือจุดประสงค์สำคัญของความเป็นมรรตัย” (“การเกิดใหม่,” เลียโฮนา, พ.ค. 2008, 95)

การเปลี่ยนใจเลื่อมใสกับแตงกวาดอง

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แบ่งปันอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบการเกิดใหม่ทางวิญญาณกับการดองแตงกวาดังนี้

“แตงกวาดองคือแตงกวาที่ได้แปรสภาพตามสูตรเฉพาะและขั้นตอนต่างๆ ขั้นตอนแรกในกระบวนการเปลี่ยนแตงกวาเป็นแตงกวาดองคือ การเตรียม และ การทำความสะอาด …

“ขั้นตอนต่อไปในกระบวนการเปลี่ยนนี้คือ การแช่ และ การดอง แตงกวาในน้ำเกลือเป็นระยะเวลาหนึ่ง … แตงกวาจะกลายเป็นแตงกวาดองก็ต่อเมื่อแช่มิดอยู่ในน้ำเกลือตามเวลาที่กำหนดไว้ กระบวนการถนอมอาหารค่อยๆ ซึมเข้าไปในเนื้อแตงกวา ทำให้รูปลักษณ์เปลี่ยนไปและมีรสชาติเฉพาะตัวของแตงกวาดอง การพรมหรือการจุ่มลงไปในน้ำเกลือเป็นครั้งคราวไม่สามารถทำให้เกิดการแปรสภาพที่จำเป็น ในทางกลับกันการแช่ไว้อย่างสมบูรณ์ต่อเนื่องเป็นข้อกำหนดเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ต้องการ

“ขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการเรียกร้องการ ผนึก แตงกวาแช่น้ำเกลือลงในขวดโหลที่ผ่านการฆ่าเชื้อและทำให้บริสุทธิ์ แตงกวาดองบรรจุขวด แช่อยู่ในน้ำเกลือต้มเดือด และบรรจุในขวดที่ต้มในน้ำร้อนมาแล้ว สิ่งสกปรกทั้งหมดถูกขจัดออกจากแตงกวาดองและขวดโหลเพื่อผลผลิตจะได้รับการป้องกันและเก็บรักษา …

“แตงกวาต้องได้รับการเตรียมและการทำความสะอาดก่อนที่จะกลายเป็นแตงกวาดองฉันใด ข้าพเจ้ากับท่านสามารถได้รับการเตรียมด้วย ‘คำสอนแห่งความเชื่อและหลักธรรมอันดี’ (1 ทิโมธี 4:6) ฉันนั้น และได้รับการชำระให้ความสะอาดในเบื้องต้นผ่านศาสนพิธีและพันธสัญญาที่ปฏิบัติโดยสิทธิอำนาจของฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน …

“แตงกวาแปรสภาพเป็นแตงกวาดองขณะที่แตงกวาถูกแช่และดองอยู่ในน้ำเกลือฉันใด ข้าพเจ้ากับท่านบังเกิดใหม่ขณะที่เราได้รับการซึมซับโดยและในพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ฉันนั้น … ระยะเวลาของกระบวนการแปรสภาพต้องอาศัยเวลา ความเพียรพยายาม และความอดทน …

“… กระบวนการแช่ในน้ำเดือดช่วยให้แตงกวาดองได้รับทั้งการป้องกันและเก็บรักษาเป็นระยะเวลานาน ในวิธีเดียวกัน เราค่อยๆ บริสุทธิ์และได้รับการชำระให้บริสุทธิ์ขณะที่ข้าพเจ้ากับท่านถูกล้างแล้วในโลหิตของลูกแกะ บังเกิดใหม่ รับศาสนพิธีและให้เกียรติพันธสัญญาที่ปฏิบัติโดยสิทธิอำนาจของฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดค” (“ท่านทั้งหลายต้องบังเกิดใหม่,” เลียโฮนา, พ.ค. 2007, 24–27)

ปรับปรุงการสอนของเรา

เตรียมโดยนึกถึงผู้คน “เมื่อท่านเตรียมบทเรียน จงให้ความเข้าใจผู้คนที่ท่านสอนเป็นแนวทางนำแผนการสอนของท่าน ครูที่เหมือนพระคริสต์ไม่ยึดติดกับรูปแบบหรือวิธีการสอนเฉพาะทางอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่พวกเขาช่วยผู้คนให้เสริมสร้างศรัทธาในพระเยซูคริสต์และเป็นเหมือนพระองค์ยิ่งขึ้น” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 7)