จงตามเรามา
2–8 มีนาคม 2 นีไฟ 31–33: “นี่คือทางนั้น”


“2–8 มีนาคม 2 นีไฟ 31–33: ‘นี่คือทางนั้น’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พระคัมภีร์มอรมอน 2020 (2020)

“2–8 มีนาคม 2 นีไฟ 31–33” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2020

ภาพ
พระเยซูทรงสอนสานุศิษย์ของพระองค์

พระคริสต์ทรงสอนสานุศิษย์ของพระองค์ โดย จัสติน คุนซ์

2–8 มีนาคม

2 นีไฟ 31–33

“นี่คือทางนั้น”

ขณะที่ท่านศึกษา 2 นีไฟ 31–33 จงนึกถึงสมาชิกในชั้นเรียนของท่านเสมอและพิจารณาว่าพวกเขาอาจเคยมีประสบการณ์อะไรบ้างกับความจริงที่นีไฟสอน ท่านจะเชื้อเชิญให้พวกเขาสอนสิ่งที่ได้เรียนรู้และรู้สึกเกี่ยวกับหลักคำสอนเหล่านี้ให้กันได้อย่างไร

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

สัปดาห์นี้มีคนใดในชั้นของท่านมีประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยความหมายกับ ข้อเสนอแนะให้ศึกษา ข้อหนึ่งใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว หรือไม่ เปิดโอกาสให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขา

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

2 นีไฟ 31–32

พระเยซูคริสต์และหลักคำสอนของพระองค์เป็นทางเดียวสู่ชีวิตนิรันดร์

  • อาจจะเป็นประโยชน์ถ้าชั้นเรียนได้เห็นว่าศรัทธา การกลับใจ บัพติศมา ของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ และการอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่เกี่ยวข้องกันและเกี่ยวข้องกับการชดใช้ของพระเยซูคริสต์อย่างไร เพื่อทำเช่นนี้ ท่านอาจจะวาดทางเดินสายหนึ่งบนกระดานและให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนหลักธรรมบางประการที่พบใน 2 นีไฟ 31 ตามทางเดินที่วาดไว้ สมาชิกชั้นเรียนแต่ละคนจจะเลือกหลักธรรมเหล่านี้หนึ่งข้อและค้นคว้า 2 นีไฟ 31–32 เพื่อหาบางสิ่งที่นีไฟสอนเกี่ยวกับหลักธรรมนั้น จากนั้นพวกเขาจะแบ่งปันสิ่งที่พบให้กันและสนทนาว่าสิ่งนั้นช่วยให้พวกเขาเข้าใจหลักธรรมดีขึ้นอย่างไร การดำเนินชีวิตตามหลักธรรมเหล่านี้นำพรแห่งการชดใช้ของพระเยซูคริสต์เข้ามาในชีวิตพวกเขาอย่างไร

  • ท่านจะเริ่มสนทนาเกี่ยวกับคำอธิบายที่ชัดเจนเรียบง่ายของนีไฟในเรื่อง “ทาง” สู่ความรอดได้อย่างไร (2 นีไฟ 31:21) ท่านอาจจะถามสมาชิกชั้นเรียนว่าพวกเขาจะพูดอะไรถ้าพวกเขามีเวลาเพียง 60 วินาทีอธิบายสิ่งที่บุคคลหนึ่งต้องทำเพื่อได้รับความรอด จากนั้นสมาชิกชั้นเรียนจะอ่านเพื่อหาข้อมูลใน 2 นีไฟ 31–32 โดยมองหาข้อความที่จะช่วยได้ เราเรียนรู้อะไรจากบทเหล่านี้เกี่ยวกับบทบาทสำคัญของพระผู้ช่วยให้รอดในความรอดของเรา คำกล่าวใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” อาจมีประโยชน์ต่อการสนทนานี้

  • บางครั้งเรามองหลักธรรมพระกิตติคุณแยกกันชัดเจน แต่ในความเป็นจริงแล้วเกี่ยวข้องกัน เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเห็นว่าหลักธรรมใน 2 นีไฟ 31 เชื่อมโยงกัน ให้สมาชิกชั้นเรียนต่างคนต่างอ่าน ข้อ 4–21 หรืออ่านเป็นกลุ่มเล็ก และสร้างแผนภาพที่แสดงให้เห็นว่าศรัทธาในพระคริสต์ การกลับใจ บัพติศมา ของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ และการอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่อาศัยกัน เชื่อมโยงกัน และอื่นๆ อย่างไร กระตุ้นให้พวกเขาสร้างสรรค์ ขณะพวกเขาให้ชั้นเรียนดูแผนภาพของตน ขอให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักธรรมเหล่านี้ เราจะทำให้หลักธรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันได้อย่างไร

2 นีไฟ 31:15–20

“ผู้ใดที่อดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่, ผู้เดียวกันนั้นจะได้รับการช่วยให้รอด”

  • สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจหรือไม่ว่าการอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่หมายความว่าอย่างไร ต่อไปนี้เป็นกิจกรรมที่จะช่วยได้ เขียนบนกระดานว่า ฉันรู้ได้อย่างไรว่าฉันกำลังอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่หรือเปล่า จากนั้นให้สมาชิกชั้นเรียนค้นคว้า 2 นีไฟ 31:15–20 เพื่อหาคำตอบที่เป็นไปได้ของคำถามนี้ ขอให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนคำหรือวลีที่พวกเขาพบไว้บนกระดาน เหตุใดการอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่จึงเป็นส่วนจำเป็นในหลักคำสอนของพระคริสต์ ท่านอาจจะแบ่งปันคำกล่าวของเอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” หรือข้อความเกี่ยวกับการอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่ใน หน้า 6 ของ สั่งสอนกิตติคุณของเรา

  • สมาชิกชั้นเรียนรู้จักใครหรือไม่ที่เป็นแบบอย่างของการอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่ อะไรช่วยให้บุคคลนี้ “มุ่งหน้าด้วยความแน่วแน่ในพระคริสต์” (ข้อ 20) ท่านอาจจะเล่าเรื่องของคนอื่นๆ ในพระคัมภีร์ผู้อดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่

2 นีไฟ 32:1–6

พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงแสดงให้เราเห็นสิ่งที่เราควรทำ

  • ใน 2 นีไฟ 32 นีไฟไขข้อกังวลที่เขารับรู้ว่าผู้คนของเขามีความเข้าใจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักคำสอนของพระคริสต์ ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนมองหาข้อกังวลนี้ใน 2 นีไฟ 32:1 จากนั้นอ่านคำตอบของนีไฟใน 2 นีไฟ 32:2–6 สมาชิกชั้นเรียนจะกล่าวย้ำสิ่งที่นีไฟสอนด้วยคำพูดของพวกเขาเองว่าอย่างไร สมาชิกชั้นเรียนเคยมีประสบการณ์อะไรบ้างเมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์หรือพระวจนะของพระคริสต์ได้แสดงให้พวกเขาเห็นสิ่งที่ต้องทำ

2 นีไฟ 33

พระคัมภีร์มอรมอนชักชวนให้เราเชื่อในพระคริสต์

  • นีไฟหวังว่าคำพูดของเขาจะชักชวนให้เรา “ทำดี [และ] เชื่อใน [พระคริสต์]” (2 นีไฟ 33:4) ข้อใดหรือเรื่องใดจาก 1 และ 2 นีไฟชักชวนให้เราทำดีและเชื่อในพระคริสต์ ท่านอาจจะหาเพลงสวดบางเพลงที่ชั้นเรียนร้องได้หรือฟังเพื่อเสริมข่าวสารเหล่านี้ เช่น “ฉันเชื่อในพระคริสต์” หรือ “ฉันทำความดีบ้างหรือไม่?” (เพลงสวด, บทเพลงที่ 57, 109)

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

วิธีหนึ่งที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกชั้นเรียนศึกษา เจคอบ 1–4 ในสัปดาห์หน้าคืออธิบายว่าในบทเหล่านี้พวกเขาจะพบคำเตือนของเจคอบเกี่ยวกับบาปสองอย่างที่แพร่หลายเป็นพิเศษในสมัยของเรา

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

หลักคำสอนของพระคริสต์

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์สอนว่า “‘หลักคำสอนของพระคริสต์’ ตามที่นีไฟสอนไว้ในคำปราศรัยสรุปครั้งใหญ่ของท่านมุ่งเน้นศรัทธาในพระเจ้าพระเยซูคริสต์ การกลับใจ บัพติศมาโดยลงไปในน้ำทั้งตัว รับของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ และอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่ การประกาศครั้งนี้ไม่ได้พยายามครอบคลุมแผนแห่งความรอดทั้งหมด คุณธรรมทั้งหมดของชีวิตชาวคริสต์ หรือรางวัลที่รอเราอยู่ในระดับต่างๆ ของรัศมีภาพสวรรค์ การประกาศครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับตำแหน่งฐานะปุโรหิต ศาสนพิธีของพระวิหาร หรือหลักคำสอนแท้จริงอีกหลายเรื่อง ทั้งหมดนี้สำคัญ แต่ตามที่ใช้ในพระคัมภีร์มอรมอน ‘หลักคำสอนของพระคริสต์’ เรียบง่ายและตรงไปตรงมา มุ่งเน้นหลักธรรมเบื้องต้นของพระกิตติคุณอย่างเดียว รวมถึงคำพูดกระตุ้นให้อดทน ยืดหยัด รุดหน้า โดยแท้แล้ว ผลกระทบของ ‘หลักคำสอนของพระคริสต์’ อยู่ในความชัดเจนและความเรียบง่ายของหลักคำสอนดังกล่าว” (Christ and the New Covenant: The Messianic Message of the Book of Mormon [1997], 49–50)

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันกล่าวว่า “ขอให้ทุกท่าน … แสวงหาพยานยืนยันพระอุปนิสัย การชดใช้ และการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ผ่านการสวดอ้อนวอนและการศึกษาพระคัมภีร์ จงยอมรับหลักคำสอนของพระองค์โดยกลับใจ รับบัพติศมา รับของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ ปฏิบัติตามกฎและพันธสัญญาแห่งพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ตลอดชีวิตท่าน” (“หลักคำสอนของพระคริสต์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 89)

อดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่

เอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟอธิบายว่า

“สมัยข้าพเจ้าเป็นเด็ก ‘อดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่’ ส่วนใหญ่มีความหมายต่อข้าพเจ้าว่าข้าพเจ้าต้องพยายามตื่นอยู่ตลอดเวลาจนกว่าการประชุมของศาสนจักรจะสิ้นสุด ต่อมาเมื่อเป็นวัยรุ่น … ด้วยความเห็นอกเห็นใจตามประสาเยาวชนข้าพเจ้าเชื่อมโยงการอดทนเช่นนั้นกับการพยายามทนไปเรื่อยๆ ของสมาชิกสูงวัยที่รักของเราจนกว่าจะถึงบั้นปลายของชีวิตพวกเขา …

“… การอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่จึงไม่เพียงเป็นเรื่องของความอดทนต่อสถานการณ์ยุ่งยากทั้งหลายของชีวิตหรือ ‘ทนไปเรื่อยๆ’ เท่านั้น ศาสนาของเราเป็นศาสนาเชิงรุก โดยช่วยบุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้าตลอดทางคับแคบและแคบให้พัฒนาจนเต็มศักยภาพในช่วงขีวิตนี้และกลับไปหาพระองค์สักวันหนึ่ง เมื่อมองจากมุมนี้ การอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่เป็นเรื่องน่ายินดีและน่ายกย่อง ไม่มืดมนหม่นหมอง นี่เป็นศาสนาที่เปี่ยมด้วยปีติ ศาสนาแห่งความหวัง ความเข้มแข็ง และการปลดปล่อย …

“การอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่บอกเป็นนัยถึงการ ‘พากเพียรทำความดี’ (โรม 2:7) พยายามรักษาพระบัญญัติ (ดู 2 นีไฟ 31:10) และทำงานแห่งความชอบธรรม (ดู คพ. 59:23)” (“เราไม่มีเหตุผลที่จะชื่นชมหรือเลียโฮนา, พ.ย. 2007, 23)

ปรับปรุงการสอนของเรา

เราเรียนรู้ด้วยกัน ในฐานะครู ท่านทำมากกว่าเพียงให้ข้อมูล—ท่านกำลังเรียนรู้พร้อมกับนักเรียนในชั้น แบ่งปันกับพวกเขาว่าท่านกำลังทำอะไรเพื่อเรียนรู้จากพระคัมภีร์