จงตามเรามา
9–15 มีนาคม เจคอบ 1–4: “จงคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้าผ่านการชดใช้ของพระคริสต์”


“9–15 มีนาคม เจคอบ 1–4: ‘จงคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้าผ่านการชดใช้ของพระคริสต์’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พระคัมภีร์มอรมอน 2020 (2020)

“9–15 มีนาคม เจคอบ 1–4” จงตามเรามา: สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2020

ภาพ
สตรีคุกเข่าแทบพระบาทพระเยซู

ได้รับการให้อภัย โดยเกรก เค. โอลเซ็น

9–15 มีนาคม

เจคอบ 1–4

จงคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้าผ่านการชดใช้ของพระคริสต์

เจคอบ 1–4 มีคำสอนมากมายที่ประยุกต์ใช้กับยุคสมัยของเราได้ ขณะที่ท่านอ่านบทเหล่านี้ พึงพิจารณาว่าท่านจะช่วยให้คนที่ท่านสอนดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนที่เจคอบสอนได้อย่างไร

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เพื่อช่วยสมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันข้อคิดจาก เจคอบ 1–4 ท่านอาจแจกกระดาษแผ่นเล็กๆ ให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนพระคัมภีร์อ้างอิงหนึ่งข้อจากบทเหล่านี้ที่พวกเขาพบว่ามีความหมาย ใส่กระดาษไว้ในภาชนะ หยิบออกมาสองสามชิ้น และเชิญคนที่เขียนอ้างอิงข้อนั้นแบ่งปันข้อคิดของพวกเขา

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เจคอบ 1:6–8, 15–19; 2:1–11; 4:18

ผู้นำที่ชอบธรรมทำงานอย่างขยันหมั่นเพียรเพื่อความผาสุกของจิตวิญญาณ

  • ท่านอาจจะเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับการทำงานอย่างขยันหมั่นเพียรของเจคอบท่ามกลางผู้คนของเขาโดยขอให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันประสบการณ์เมื่อการรับใช้ของผู้นำศาสนจักรเป็นพรแก่พวกเขา หรืออาจจะขอให้ผู้นำศาสนจักรคนหนึ่งในท้องที่—ปัจจุบันหรืออดีต—พูดถึงเวลาที่เขารู้สึกได้รับการดลใจให้รับใช้บางคน จากนั้นสมาชิกชั้นเรียนอาจจะหาคำและวลีใน เจคอบ 1:6–8, 15–19; 2:1–11; และ 4:18 ที่ช่วยให้เราเข้าใจว่าเจคอบรู้สึกอย่างไรกับการเรียกของเขาและคนที่เขารับใช้ เราเคยเห็นผู้นำของเราขยายการเรียกของพวกเขาอย่างไร ข้อเหล่านี้บอกอะไรเกี่ยวกับวิธีที่เราควรสนับสนุนผู้นำของเรา

ภาพ
ชายสองคนจับมือทักทายกันข้ามโต๊ะ

เหมือนเจคอบ ผู้นำศาสนจักรทุกวันนี้ “ขยายตำแหน่ง [ของพวกเขา] แด่พระเจ้า”

เจคอบ 2:12–21

เราควรหลีกเลี่ยงความจองหองและยื่นมือช่วยคนตกทุกข์ได้ยาก

  • พระเจ้าทรงมีพระดำรัสเตือนที่รุนแรงให้ชาวนีไฟเกี่ยวกับความจองหอง เพื่อช่วยเริ่มการสนทนาหัวข้อนี้ ท่านอาจจะติดต่อสมาชิกชั้นเรียนสองสามคนล่วงหน้าและขอให้พวกเขาหาวิธีที่ปฏิปักษ์ส่งเสริมความรักเงินทองในโลกทุกวันนี้ จากนั้นให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่สังเกตเห็นกับชั้นเรียน สมาชิกชั้นเรียนอาจจะทำงานเป็นคู่เพื่ออ่าน เจคอบ 2:12–21 และหาสิ่งที่พระเจ้าทรงสอนเกี่ยวกับวิธีที่เราควรมองความร่ำรวยทางโลก จากนั้นพวกเขาอาจจะทำโปสเตอร์สนับสนุนหลักธรรมนี้และแบ่งปัน ให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนต่างคนต่างไตร่ตรองว่าพวกเขาจะทำอะไรได้บ้างเพื่อประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนรู้จากข่าวสารของเจคอบ

  • สมาชิกชั้นเรียนของท่านอาจจะทบทวน เจคอบ 2:12–21 และเขียนคำถามของตนเองเพิ่มเข้าไปในรายการคำถามของเอ็ลเดอร์เพอร์รีย์ คำกล่าวของเอ็ลเดอร์เพอร์รีย์ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” เสริมอะไรให้แก่ความเข้าใจของเราในเรื่องคำสอนของเจคอบ

เจคอบ 2:23–35

พระเจ้าทรงเบิกบานในความบริสุทธิ์ทางเพศ

  • เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์สอนว่าเรามีชีวิตอยู่ “ในโลกที่ดูหมิ่นความศักดิ์สิทธิ์ของอำนาจการให้กำเนิดและดูถูกคุณค่าของชีวิตมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ” (“เราเชื่อในการเป็นคนบริสุทธิ์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2013, 41–44) ท่านจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนใช้ เจคอบ 2:23–35 ตอบโต้ข่าวสารของโลกเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ทางเพศได้อย่างไร วิธีหนึ่งคือเขียนบนกระดานว่า พระเจ้าทรงรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ทางเพศ และเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนหาคำตอบของคำถาม พวกเขาบางคนจะค้นคว้า เจคอบ 2:23–35 และคนอื่นๆ ค้นคว้าคำพูดอ้างอิงของเอ็ลเดอร์เบดนาร์ด้านบน พวกเขาจะเขียนคำตอบที่พบไว้บนกระดาน เพื่อสนทนาเรื่องมาตรฐานและพรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตตามกฎแห่งความบริสุทธิ์ทางเพศ ท่านอาจจะทบทวน “ความบริสุทธิ์ทางเพศ” (เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน, 35–37) หรือฉายวีดิทัศน์ที่ระบุไว้ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” หนึ่งเรื่อง อะไรคือพรของการดำเนินชีวิตสะอาดบริสุทธิ์

เจคอบ 4:4–11

ชาวนีไฟเชื่อในพระเยซูคริสต์

  • เจคอบต้องการให้เรารู้ว่าแม้เขากับผู้คนของเขามีชีวิตหลายร้อยปีก่อนการปฏิบัติศาสนกิจในความเป็นมรรตัยของพระผู้ช่วยให้รอด แต่พวกเขารู้จักพระองค์และหมายพึ่งความรอดจากพระองค์ ตามที่กล่าวไว้ใน เจคอบ 4:4–5 เหตุใดชาวนีไฟจึงรักษากฎของโมเสส เรามีอะไรในสมัยของเราที่ชี้นำจิตวิญญาณเราไปหาพระผู้ช่วยให้รอด เจคอบใช้สัญลักษณ์หรืออุปมาอะไรสอนเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ (ดู ปฐมกาล 22:1–13ด้วย)

เจคอบ 4:8–18

ฉันสามารถหลีกเลี่ยงความมืดบอดทางวิญญาณโดยจดจ่ออยู่กับพระผู้ช่วยให้รอด

  • มีใครในชั้นเรียนของท่านเพิ่งไปตรวจตามาหรือไม่ ถ้ามี ท่านอาจจะขอให้คนนี้อธิบายว่าแพทย์ประเมินการมองเห็นของเขาอย่างไร สมาชิกชั้นเรียนจะแบ่งปันว่ามืดบอดทางวิญญาณหมายถึงอะไร ความมืดบอดทางวิญญาณคล้ายกับความมืดบอดทางกายอย่างไร เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนบอกวิธีที่เราประเมินได้ว่าเรามืดบอดทางวิญญาณหรือไม่ พวกเขาอาจจะทบทวน เจคอบ 4:8–18 และบอกบางอย่างที่เราทำได้เพื่อเพิ่มความสามารถในการ “มองเห็น” เรื่องทางวิญญาณ

  • เอ็ลเดอร์เควนทิน แอล. คุกสรุปสี่วิธีที่ผู้คนอาจมอง “ข้ามเป้าหมาย” ในยุคสมัยของเรา (ดู “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”) คำพูดของเอ็ลเดอร์คุกเพิ่มอะไรให้ความเข้าใจ เจคอบ 4:13–15 ของเรา มองข้ามเป้าหมายหมายความว่าอย่างไร เราจะหลีกเลี่ยงการมองข้ามเป้าหมายได้อย่างไร

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกชั้นเรียนอ่าน เจคอบ 5–7 บอกพวกเขาว่าพวกเขาจะพบคำตอบให้คำถามใน เจคอบ 4:17 เมื่อพวกเขาอ่านสามบทต่อไปนี้ร่วมกับการสวดอ้อนวอน

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

เจตคติของเราต่อความมั่งคั่งทางโลก

เมื่อกล่าวถึง เจคอบ 2:13–19 เอ็ลเดอร์แอล. ทอม เพอร์รีย์สอนว่า “เราต้องใส่ใจคำแนะนำของเจคอบ เราควรอ่านพระคัมภีร์ข้อนี้ประหนึ่งเจตนาเขียนเพื่อเราในวันเวลาเหล่านี้ เพราะเขียนไว้เพื่อเราจริงๆ ถ้อยคำของเขาควรเป็นเหตุให้เราถามคำถามสำรวจจิตวิญญาณตัวเราเอง สิ่งต่างๆ ในชีวิตเราอยู่ในระเบียบหรือไม่ ก่อนอื่น เรากำลังทุ่มเทให้สิ่งที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์หรือไม่ เรามองไกลถึงนิรันดรหรือไม่ หรือเราติดกับดักของการทุ่มเทให้สิ่งต่างๆ ของโลกนี้ก่อนแล้วลืมพระเจ้าหรือไม่” (“United in Building the Kingdom of God,” Ensign, May 1987, 34)

วีดิทัศน์เกี่ยวกับความบริสุทธิ์ทางเพศ (ChurchofJesusChrist.org)

  • “I Choose to Be Pure”

  • “Chastity: What Are the Limits?”

  • “Law of Chastity”

การมองข้ามเป้าหมาย

เอ็ลเดอร์เควนทิน แอล. คุกสอนว่าเราจะมอง “ข้ามเป้าหมาย” ได้อย่างไร

“การใช้ปรัชญาของมนุษย์แทนความจริงพระกิตติคุณ”

“ดูเหมือนบางคนจะอึดอัดใจกับความเรียบง่ายของข่าวสารของพระผู้ช่วยให้รอด พวกเขาต้องการรวมความซับซ้อนและแม้กระทั่งความคลุมเครือไว้ในความจริงเพื่อให้เกิดความท้าทายทางปัญญามากขึ้นหรือสอดคล้องกับแนวโน้มด้านวิชาการในปัจจุบันมากขึ้น … เรามองข้ามเป้าหมายเมื่อเราไม่ยอมรับความจริงอันเรียบง่ายของพระกิตติคุณตามที่เป็นอยู่”

“ความสุดโต่งเรื่องพระกิตติคุณ”

“เรากำลังมองข้ามเป้าหมายเมื่อเรายกหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่งให้โดดเด่นขึ้นมาเพื่อลดการทำตามหลักธรรมอื่นที่สำคัญเท่ากันหรือเมื่อเรามีทัศนะขัดกับคำสอนของเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่”

“วีรกรรมเป็นสิ่งแทนการอุทิศตนในแต่ละวัน”

“สมาชิกบางคนแสดงตนว่าพวกเขาจะทำด้วยความกระตือรือร้นถ้าได้รับการเรียกที่สำคัญบางอย่าง แต่พวกเขาพบว่าการสอนประจำบ้านหรือการเยี่ยมสอน [เวลานี้เรียกว่าการปฏิบัติศาสนกิจ] ไม่คุ้มค่าความพยายามหรือไม่สร้างวีรกรรมมากพอ”

“การยกกฎเกณฑ์เหนือหลักคำสอน”

“คนที่ตั้งใจทำตามกฎเกณฑ์โดยไม่อ้างอิงหลักคำสอนและหลักธรรมจะมองข้ามเป้าหมายได้ง่ายเป็นพิเศษ” (“Looking beyond the Mark,” Ensign or Liahona, Mar. 2003, 42–44)