ความช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับการพัฒนาครู
ประสบการณ์การเรียนรู้ 4: การสร้างสภาพแวดล้อมของความรัก ความเคารพ และจุดประสงค์


ประสบการณ์การเรียนรู้ 4

การสร้างสภาพแวดล้อมของความรัก ความเคารพ และจุดประสงค์

สาระโดยสังเขป

ประสบการณ์การเรียนรู้นี้ครอบคลุมแนวคิดต่อไปนี้

  • การเข้าใจอิทธิพลของความรักเหมือนพระคริสต์

  • การสร้างสภาพแวดล้อมของความรักและความเคารพ

  • การสร้างสำนึกในจุดประสงค์ในห้องเรียน

แนวคิดหลัก

ภาพ
ปกหนังสือคู่มือ

“เมื่อครูกับนักเรียนรักและเคารพพระเจ้า กันและกัน รวมถึงรักพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า การเรียนรู้ย่อมเพิ่มขึ้น สำนึกร่วมกันในจุดประสงค์จะปรับความพยายามและความคาดหวังตลอดจนให้ทิศทางแก่ประสบการณ์ในห้องเรียน” (การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ: คู่มือสำหรับครูและผู้นำในเซมินารีและสถาบันศาสนา [2012], 13)

ความรักเหมือนพระคริสต์: อิทธิพลเพื่อความดี

ชีวิตเรามีค่ามากขึ้นและสมบูรณ์มากขึ้นโดยอิทธิพลของบุคคลที่เป็นเหมือนพระคริสต์ ขณะใคร่ครวญชีวิตเรา เราแต่ละคนจะสามารถค้นพบการทำดีของคนที่ห่วงใยผู้อื่นและมีอิทธิพลดีต่อเรา

ภาพ
ชั้นเรียนเซมินารี

ลองนึกถึงครู ผู้นำ หรือบุคคลอื่นที่แสดงความรักเหมือนพระคริสต์และสร้างความแตกต่างในชีวิตท่าน เขาช่วยให้ท่านรู้สึกอย่างไร และเพราะเหตุใด จดความเข้าใจและความประทับใจของท่านลงในสมุดบันทึกการศึกษาหรืออีกที่หนึ่งที่ท่านสามารถเปิดอ่านและแบ่งปันกับหัวหน้าหรือกลุ่มนิเทศของท่านได้

บุคคลที่ท่านนึกถึงมีอิทธิพลดีต่อท่านในฐานะครูเซมินารีและสถาบันฉันใด เราสามารถสร้างความแตกต่างในชีวิตนักเรียนของเราฉันนั้น เราทำสิ่งนี้โดยสร้างสภาพแวดล้อมของความรักเหมือนพระคริสต์และความเคารพในห้องเรียน

กิจกรรมหนังสือคู่มือการสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ

ภาพ
ปกหนังสือคู่มือ

กิจกรรมต่อไปนี้จะทำให้ท่านเข้าใจลึกซึ้งขึ้นว่าท่านจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของความรักและความเคารพ และเข้าใจวิธีสร้างสภาพแวดล้อมดังกล่าว

ศึกษาหัวข้อ 2.2.1 (“ความรักและความเคารพ”) ในหน้า 13–14 ของหนังสือคู่มือ การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ ของท่าน ขีดเส้นใต้คำหรือวลีที่ช่วยให้ท่านเข้าใจลึกซึ้งขึ้นว่า (1) เหตุใดจึงสำคัญที่ต้องมีสภาพแวดล้อมของความรักและความเคารพในห้องเรียน และ (2) จะสร้างสภาพแวดล้อมนั้นอย่างไร

การสร้างสภาพแวดล้อมของความรักและความเคารพ: เหตุใดและอย่างไร

วีดิทัศน์ต่อไปนี้แสดงตัวอย่างมากมายของหลักธรรมและหลักปฏิบัติที่พบในหัวข้อ 2.2.1 (“ความรักและความเคารพ”) ของหนังสือคู่มือ การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ ดูวีดิทัศน์เหล่านี้และไตร่ตรองคำตอบของท่านต่อคำถามที่อยู่ต่อจากคำอธิบายวีดิทัศน์ด้านล่าง

ดูวีดิทัศน์เรื่อง “สอนด้วยจิตกุศล” (1:44) มีอยู่ที่ LDS.org ในวีดิทัศน์เรื่องนี้ เอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองประกาศว(45)่า ครูจำเป็นต้องเปี่ยมไปด้วยความรักอันบริสุทธิ์ของพระคริสต์ ขณะดูวีดิทัศน์ ให้มองหาวิธีที่พระเจ้าทรงแสดงความรักต่อคนที่พระองค์ทรงสอน

หลังจากดูวีดิทัศน์จบแล้ว ให้เขียนคำตอบสั้นๆ ของคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงแสดงความรักต่อคนที่พระองค์ทรงสอนอย่างไร

  • ฉันจะแสดงความรักและความเคารพต่อคนที่ฉันสอนได้อย่างไร

ดูวีดิทัศน์เรื่อง “ชั้นเรียนของซิสเตอร์เอแกน” (2:17) มีอยู่ที่ LDS.org ในวีดิทัศน์เรื่องนี้ ซิสเตอร์เอแกนครูเซมินารีที่ได้รับเรียก แสดงให้เห็นวิธีสร้างสภาพแวดล้อมของความรัก ความเคารพ และจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ดูว่าเธอกับนักเรียนห่วงใยกันและสร้างสภาพแวดล้อมเช่นนั้นอย่างไร

หลังจากดูวีดิทัศน์จบแล้ว ให้เขียนคำตอบสั้นๆ ของคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

  • ซิสเตอร์เอแกนและนักเรียนของเธอทำอะไรเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมของความรักและความเคารพ

  • ฉันจะทำอะไรได้บ้างเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีความรักและความเคารพในห้องเรียน

การยื่นมือช่วยเหลือนักเรียนทุกคน

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้

ภาพ
เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

“ถ้า [นักเรียน] ไม่ตอบสนอง ท่านอาจจะยังสอนพวกเขาไม่ได้ แต่ท่านรักพวกเขาได้ และถ้าท่านรักพวกเขาวันนี้ ท่านจะสอนพวกเขาได้ในวันพรุ่งนี้” (Teaching and Learning in the Church, June 2007, 102)

นักเรียนอาจประสบปัญหาท้าทายต่างกัน อาทิ ความเครียดในครอบครัว ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพด้านการเรียนรู้ ทุพพลภาพทางกาย และอื่นๆ จงรับรู้สภาวการณ์และความต้องการของนักเรียนแต่ละคน ใช่ว่านักเรียนทุกคนจะตอบสนองทันทีต่อการพยายามสร้างสภาพแวดล้อมของความรักและความเคารพ วีดิทัศน์ต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่าครูจะมีอิทธิพลต่อนักเรียนที่บางครั้งอาจดูเหมือนไม่ตอบสนองในชั้นเรียนได้อย่างไร

ดูวีดิทัศน์เรื่อง “การเข้าถึงแต่ละคน” (1:28) มีอยู่ที่ LDS.org ขณะดูวีดิทัศน์เรื่องนี้ ให้มองว่าความรักและความอ่อนโยนเหมือนพระคริสต์ทำให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงในใจอย่างไร

การสร้างสำนึกในจุดประสงค์

ภาพ
ปกหนังสือคู่มือ

“สำนึกในจุดประสงค์ที่ครูและนักเรียนมีร่วมกันสามารถเพิ่มพูนศรัทธา ให้ทิศทาง และความหมายแก่ประสบการณ์ชั้นเรียนได้ นักเรียนควรเข้าใจว่าพวกเขากำลังเข้าชั้นเรียนเพื่อมารู้จักพระบิดาบนสวรรค์และพระบุตรของพระองค์พระเยซูคริสต์ ก้าวหน้าสู่ชีวิตนิรันดร์ผ่านการศึกษาพระคัมภีร์และถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์” (การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ, 15)

ในห้องเรียน การสร้างสำนึกในจุดประสงค์มีความสำคัญสำหรับครูเท่าๆ กับการสร้างสภาพแวดล้อมของความรักและความเคารพ

กิจกรรมหนังสือคู่มือการสอนและเรียนรู้พระกิตติคุณ

ภาพ
ปกหนังสือคู่มือ

กิจกรรมหนังสือคู่มือต่อไปนี้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าการสร้างสำนึกในจุดประสงค์ในห้องเรียนของท่านสำคัญเพียงใด

อ่านหัวข้อ 2.2.2 (“สำนึกในจุดประสงค์”) ในหน้า 15 ของหนังสือคู่มือ การสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ ของท่าน ในหนังสือคู่มือของท่านให้ขีดเส้นใต้คำและวลีที่ทำให้ท่านเข้าใจลึกซึ้งว่า

  • ท่านกับนักเรียนมีสำนึกในจุดประสงค์ร่วมกันหมายความว่าอย่างไร

  • ท่านกับนักเรียนจะสร้างสภาพแวดล้อมนี้ในห้องเรียนได้อย่างไร

หลักปฏิบัติที่ช่วยสร้างสำนึกในจุดประสงค์

ดูวีดิทัศน์เรื่อง “สำนึกในจุดประสงค์” (8:32) มีอยู่ที่ LDS.org ในวีดิทัศน์เรื่องนี้ ครูและนักเรียนหลายคนบอกหลักปฏิบัติที่ช่วยสร้างสำนึกในจุดประสงค์ในห้องเรียนของพวกเขา ขณะดูวีดิทัศน์ให้มองหาวิธีสร้างสำนึกในจุดประสงค์ในห้องเรียนของท่าน

คำถามที่จะช่วยครูสร้างสภาพแวดล้อมของความรัก ความเคารพ และจุดประสงค์

การใคร่ครวญคำถามต่อไปนี้เป็นระยะขณะที่ท่านสอนนักเรียนจะช่วยท่านสร้างสภาพแวดล้อมของความรัก ความเคารพ และจุดประสงค์

  • นักเรียนของฉันรู้หรือไม่ว่าฉันรักพวกเขา

  • เมื่อฉันพบว่าไม่อยากใส่ใจ ฉันสวดอ้อนวอนขอให้เปี่ยมด้วยจิตกุศล หรือความรักอันบริสุทธิ์ของพระคริสต์หรือไม่ (ดู โมโรไน 7:47–48)

  • คำสอนและแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดมีอิทธิพลในด้านใดต่อการปฏิสัมพันธ์ของฉันกับนักเรียนและการปฏิสัมพันธ์กันของพวกเขา

  • ฉันจะทำสิ่งเรียบง่ายอะไรบ้างเพื่อรับใช้ เป็นพร และสวดอ้อนวอนให้นักเรียนของฉันเป็นประจำ

  • นักเรียนของฉันเข้าใจหรือไม่ว่าจุดประสงค์ของชั้นเรียนคือเพื่อทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของเซมินารีและสถาบันศาสนา—ช่วยให้พวกเขาเข้าใจและพึ่งพาคำสอนและการชดใช้ของพระเยซูคริสต์

  • กิจกรรมการเรียนรู้ที่ฉันเลือกช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ของเราและไม่ทำให้เราเขวจากการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของเซมินารีและสถาบันศาสนาหรือไม่

  • ฉันใช้เวลาศึกษาและทำความเข้าใจช่วงพระคัมภีร์และดูหรือไม่ว่าพระผู้ช่วยให้รอดเป็นศูนย์กลางของบทเรียนอย่างไร

  • ฉันพร้อมจะให้ความใส่ใจกับนักเรียนนับตั้งแต่วินาทีที่พวกเขามาถึงจนถึงวินาทีที่พวกเขาออกจากห้องเรียนหรือไม่

  • ฉันฝึกและเชื้อเชิญในวิธีใดเป็นประจำเพื่อให้นักเรียนทำบทบาทของพวกเขาในการเรียนรู้ทางวิญญาณ

ภาพ
ครูกำลังศึกษา

สรุปและการประยุกต์ใช้

หลักธรรมที่พึงจดจำ

  • เมื่อท่านและนักเรียนรักและเคารพพระเจ้า รักและเคารพกัน รักและเคารพพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า การเรียนรู้ย่อมเพิ่มขึ้น

  • ท่านสามารถพัฒนารักแท้ต่อนักเรียนโดยแสวงหาของประทานแห่งจิตกุศลผ่านการสวดอ้อนวอนที่จริงใจ ตามที่ศาสดาพยากรณ์มอรมอนแนะนำ (ดู โมโรไน 7:47-48)

  • สำนึกในจุดประสงค์ที่ท่านกับนักเรียนมีร่วมกันจะเพิ่มพูนศรัทธาตลอดจนให้แนวทางและความหมายแก่ประสบการณ์ในห้องเรียน

  • ท่านสร้างสำนึกในจุดประสงค์ได้เมื่อท่านกับนักเรียนเข้าใจว่าพวกเขาเข้าชั้นเรียนเพื่อมารู้จักพระบิดาบนสวรรค์และพระบุตรของพระองค์พระเยซูคริสต์ ก้าวหน้าสู่ชีวิตนิรันดร์ผ่านการศึกษาพระคัมภีร์และถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์

ภาพ
ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ

“ลองนึกถึงความรักที่บริสุทธิ์ที่สุด สมบูรณ์แบบที่สุดที่ท่านนึกออก แล้วคูณความรักนั้นด้วยจำนวนไม่รู้จบ—นั่นคือปริมาณความรักที่พระผู้เป็นเจ้ามีให้ท่าน” (ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “ความรักของพระผู้เป็นเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2009, 27)

“ฉะนั้น เราต้องทำอะไร”

เพื่อสรุปประสบการณ์การเรียนรู้นี้ ให้จดบางสิ่งที่ท่านจะทำโดยยึดหลักธรรมที่ท่านเรียนรู้วันนี้