จงตามเรามา
17–23 มิถุนายน มัทธิว 27; มาระโก 15; ลูกา 23; ยอห์น 19: ‘สำเร็จแล้ว’


“17–23 มิถุนายน มัทธิว 27; มาระโก 15; ลูกา 23; ยอห์น 19: ‘สำเร็จแล้ว’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“17–23 มิถุนายน มัทธิว 27; มาระโก 15; ลูกา 23; ยอห์น 19,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2019

ภาพ
พระคริสต์ต่อหน้าปีลาต

Ecce Homo โดย อันโตนิโย ซิเซรี

17–23 มิถุนายน

มัทธิว 27; มาระโก 15; ลูกา 23; ยอห์น 19

“สำเร็จแล้ว”

เริ่มการเตรียมสอนของท่านโดยอ่าน มัทธิว 27; มาระโก 15; ลูกา 23; และ ยอห์น 19 ร่วมกับการสวดอ้อนวอน พึงจดจำว่าท่านจะสามารถกล่าวคำพยานอันทรงพลังถึงพระผู้ช่วยให้รอดและการชดใช้ของพระองค์ได้เมื่อท่านดำเนินชีวิตคู่ควรรับพระวิญญาณ

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

การเขียนบางคำหรือบางวลีบนกระดานเพื่อเตือนสมาชิกชั้นเรียนให้นึกถึงเหตุการณ์ที่บรรยายไว้ในบทต่างๆ ของสัปดาห์นี้อาจจะช่วยได้ ขอให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนคำบางคำไว้บนกระดานที่บอกว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรเมื่ออ่านเหตุการณ์เหล่านี้ เหตุใดพวกเขาจึงรู้สึกเช่นนั้น

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

มัทธิว 27; มาระโก 15; ลูกา 23; ยอห์น 19

ความเต็มพระทัยทนทุกข์ของพระเยซูคริสต์แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงรักพระบิดาและเราทุกคน

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจว่าเรื่องราวการสิ้นพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอดแสดงให้เห็นความรักของพระองค์อย่างไร ลองทำกิจกรรมดังนี้: แจกหัวใจกระดาษให้สมาชิกชั้นเรียนแต่ละคน และเชื้อเชิญให้พวกเขาเขียนวลีจาก 1 โครินธ์ 13:4–7 ที่พูดถึงจิตกุศลไว้บนหัวใจกระดาษ จากนั้นขอให้พวกเขาค้นคว้า มัทธิว 27; มาระโก 15; ลูกา 23; หรือ ยอห์น 19 เขียนพระคัมภีร์สองสามข้อไว้อีกด้านหนึ่งของหัวใจที่แสดงว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงแสดงความรักดังอธิบายไว้ในวลีที่พวกเขาเลือกอย่างไร ให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่พบ ประสบการณ์ใดช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจความรักของพระผู้ช่วยให้รอด

    ภาพ
    มงกุฎหนาม

    พวกทหาร “เอาหนามสานเป็นมงกุฎสวมพระ‍เศียรของพระ‍องค์” (มาระโก 15:17)

  • ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อกระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันประจักษ์พยานเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้สัปดาห์นี้ ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนหาเพลงสวดซึ่งบรรยายเหตุการณ์ที่พวกเขาอ่านหรือความรู้สึกของพวกเขาเกี่ยวกับความทุกขเวทนาและการตรึงกางเขนของพระผู้ช่วยให้รอด ท่านอาจจะให้ชั้นเรียนร้องเพลงเหล่านี้หนึ่งเพลงหรือมากกว่านั้น การศึกษาช่วงเวลาสุดท้ายของพระผู้ช่วยให้รอดจะเป็นแรงบันดาลใจให้เราวางใจและติดตามพระองค์ได้อย่างไร

  • ศิลปะจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเห็นภาพบางเหตุการณ์ที่พวกเขาอ่านสัปดาห์นี้ (ดูภาพที่แนะนำใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”) บางทีท่านอาจจะแบ่งชั้นเรียนออกเป็นกลุ่มๆ และแจกภาพให้กลุ่มละภาพ กลุ่มจะอ่านข้อที่บรรยายเหตุการณ์ในภาพด้วยกัน พวกเขาอาจจะสนทนาความหมายของข้อเหล่านั้นและแบ่งปันว่าภาพนั้นช่วยให้พวกเขาเข้าใจดีขึ้นอย่างไร แต่ละกลุ่มอาจแบ่งปันความคิดกับชั้นเรียน ท่านอาจฉายวีดิทัศน์เรื่อง “Jesus Is Condemned before Pilate” และ “Jesus Is Scourged and Crucified” (LDS.org) ได้เช่นกัน

  • ท่านจะไม่สามารถให้ชั้นเรียนสนทนารายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับช่วงเวลาสุดท้ายของพระผู้ช่วยให้รอดได้ แต่กิจกรรมนี้จะช่วยท่านสนทนารายละเอียดที่มีความหมายมากที่สุดต่อคนที่ท่านสอน เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแต่ละคนเลือกหนึ่งบทจากการอ่านสัปดาห์นี้และใช้เวลาอ่านเร็วๆ สองสามนาที มองหาคำ วลี หรือรายละเอียดที่สอนบางอย่างซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดและพระพันธกิจของพระองค์ เปิดโอกาสให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่พบและอธิบายว่าเหตุใดจึงมีความหมายต่อพวกเขา

มัทธิว 27:14–60

ศาสดาพยากรณ์สมัยโบราณเห็นความทุกขเวทนาและการตรึงกางเขนของพระผู้ช่วยให้รอดล่วงหน้า

  • การรู้ว่าศาสดาพยากรณ์สมัยโบราณบอกเหตุการณ์มากมายในช่วงเวลาสุดท้ายของพระผู้ช่วยให้รอดล่วงหน้าอาจจะเสริมสร้างศรัทธาของคนที่ท่านสอน วิธีหนึ่งที่จะช่วยสมาชิกชั้นเรียนทบทวนคำพยากรณ์เหล่านี้และเห็นว่าเกิดสัมฤทธิผลอย่างไรคือให้ข้อพระคัมภีร์ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” คนละหนึ่งข้อหรือมากกว่านั้นและขอให้พวกเขาหาข้อพระคัมภีร์ใน มัทธิว 27 ที่แสดงให้เห็นว่าพระคัมภีร์เกิดสัมฤทธิผลอย่างไร ท่านอาจจะทำแผนภูมิจับคู่คำพยากรณ์กับสัมฤทธิผลของคำพยากรณ์นั้น ท่านอาจจะเสนอแนะให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนข้อที่มีคำพยากรณ์ไว้ตรงช่องว่างริมหน้าพระคัมภีร์ใน มัทธิว 27 เราเรียนรู้อะไรจากคำพยากรณ์เหล่านี้ คำพยากรณ์เหล่านี้เสริมสร้างศรัทธาของเราในพระเยซูคริสต์อย่างไร

มัทธิว 27:27–49; มาระโก 15:16–32; ลูกา 23:11, 35–39; ยอห์น 19:1–5

การต่อต้านไม่สามารถหยุดยั้งงานของพระผู้เป็นเจ้าได้

  • สมาชิกชั้นเรียนบางคนของท่านอาจประสบการต่อต้าน—เช่นถูกตัดสินหรือถูกเยาะเย้ย—เมื่อพวกเขาแสดงความเชื่อของตนหรือพยายามดำเนินชีวิตตามศาสนาของพวกเขา ท่านอาจจะเริ่มการสนทนาโดยขอให้สมาชิกชั้นเรียนสองสามคนแบ่งปันประสบการณ์เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว พวกเขาตอบสนองอย่างไร เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนอ่านบางข้อเหล่านี้จาก มัทธิว 27; มาระโก 15; ลูกา 23; และ ยอห์น 19 ซึ่งพูดถึงการข่มเหงที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงเผชิญ งานของพระผู้ช่วยให้รอดเผชิญการต่อต้านแบบใดในปัจจุบัน เราสามารถเรียนรู้อะไรจากการโต้ตอบของพระผู้ช่วยให้รอดที่สามารถช่วยเราเผชิญการต่อต้านในสมัยของเรา พระคัมภีร์ข้ออื่นที่จะช่วยเราเมื่อเราประสบการต่อต้านได้แก่ มัทธิว 5:10; โรม 12:14; 2 ทิโมธี 3:10–12; แอลมา 1:19–28; และ 3 นีไฟ 12:10–12 เราเรียนรู้อะไรจากข้อเหล่านี้

ลูกา 23:34–43

พระผู้ช่วยให้รอดทรงมอบความหวังและการให้อภัย

  • การอ่านเรื่องที่พระผู้ช่วยให้รอดทูลขอพระบิดาประทานอภัยแก่เหล่าทหารและมอบความหวังให้โจรบนกางเขนจะช่วยสมาชิกชั้นเรียนของท่านหรือไม่ ท่านอาจจะแบ่งชั้นเรียนออกเป็นสองกลุ่มและมอบหมายให้กลุ่มหนึ่งอ่าน ลูกา 23:34–38 (รวมทั้ง ข้อ 34, footnote c ด้วยซึ่งให้ข้อคิดจากงานแปลของโจเซฟ สมิธ) และอีกกลุ่มอ่าน ลูกา 23:39–43 สมาชิกของแต่ละกลุ่มอาจจะสนทนาสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดจากข้อเหล่านี้ จากนั้นแบ่งปันความคิดกับชั้นเรียนทั้งชั้น เราจะทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไร

  • เพื่อช่วยคนในชั้นเรียนที่อาจมีปัญหาเรื่องการให้อภัยผู้อื่นเหมือนพระคริสต์ทรงให้อภัย ท่านอาจจะแบ่งปันคำกล่าวจากเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนอ่าน มัทธิว 28; มาระโก 16; ลูกา 24; และ ยอห์น 20–21 ระหว่างสัปดาห์ถัดไป ขอให้พวกเขาคิดว่าพวกเขาจะพูดอะไรกับคนที่พูดว่า “ฉันต้องเห็นจึงจะเชื่อ” บอกพวกเขาว่าการอ่านสัปดาห์ถัดไปจะช่วยพวกเขาไขข้อกังวลนี้

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

มัทธิว 27; มาระโก 15; ลูกา 23; ยอห์น 19

ภาพของการข่มเหง ความทุกขเวทนา และการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู

คำพยากรณ์สมัยโบราณเกี่ยวกับการไต่สวนและการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู

แบบอย่างการให้อภัยของพระผู้ช่วยให้รอด

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์สอนว่า

“หน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องอย่างมากกับการกลับใจของเราเองคือเราต้องใจกว้างยอมให้ผู้อื่นกลับใจเช่นกัน—เราต้องให้อภัยดังที่เราได้รับการให้อภัย ในนี้เรามีส่วนในหลักธรรมพื้นฐานที่สุดของการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ แน่นอนว่านั่นเป็นช่วงเวลาน่าเกรงขามที่สุดของวันศุกร์ที่โหดร้าย เมื่อจักรวาลสั่นสะเทือนและม่านฉีกขาด ช่วงเวลาแห่งพระกรุณาที่ไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูด เมื่อพระคริสต์ตรัสว่า ‘พระบิดาเจ้าข้า ขอทรงยกโทษพวกเขาเพราะเขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร’ในฐานะที่เป็นผู้วิงวอนพระบิดาแทนเรา พระองค์ยังทรงวิงวอนเช่นเดียวกันนั้นในปัจจุบันแทนตัวท่านและตัวข้าพเจ้า

“ณ ที่นี้ พระเยซูทรงวางมาตรฐานให้เราทำตาม เช่นที่ทรงวางไว้ทุกเรื่อง ชีวิตสั้นเกินกว่าจะอาฆาตเกลียดชัง … เราไม่ต้องการให้พระผู้เป็นเจ้าจดจำบาปของเรา ด้วยเหตุนี้จึงมีบางอย่างไม่ถูกต้องเมื่อเราพยายามจดจำบาปของผู้อื่นอย่างไม่ยอมผ่อนปรน” (“สิ่งที่ให้สันติแห่งอาณาจักร,” เลียโฮนา, ม.ค. 1997, 98)

ปรับปรุงการสอนของเรา

ดึงพลังจากพระผู้ช่วยให้รอด “ในความพยายามของท่านที่จะดำเนินชีวิตและสอนดังเช่นพระผู้ช่วยให้รอดมากยิ่งขึ้น บางครั้งท่านจะไม่ได้ทำตามที่คาดหวังไว้ได้เสมอไป จงอย่าหมดกำลังใจ แต่ให้ความผิดพลาดและความอ่อนแอพาท่านหันไปหาพระบิดาบนสวรรค์และพระผู้ช่วยให้รอด” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 14)