หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
18–24 มกราคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 3–5: “งานของเราจะออกไป”


“18–24 มกราคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 3–5: ‘งานของเราจะออกไป’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“18–24 มกราคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 3–5” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2021

ภาพ
คนทำงานในทุ่ง

เวลาเก็บเกี่ยวในฝรั่งเศส โดย เจมส์ เทย์เลอร์ ฮาร์วูด

18–24 มกราคม

หลักคำสอนและพันธสัญญา 3–5

“งานของเราจะออกไป”

การศึกษา หลักคำสอนและพันธสัญญา 3–5 ก่อนท่านทบทวนแนวคิดในโครงร่างนี้จะช่วยให้ท่านได้รับการนำทางจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ โครงร่างของสัปดาห์นี้ จาก จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว จะช่วยให้ท่านเข้าใจความเป็นมาอันนำไปสู่การเปิดเผยที่บันทึกไว้ในภาคเหล่านี้

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนสองสามนาทีทบทวนพระคัมภีร์ที่พวกเขาอ่านที่บ้านและหาข้อที่พวกเขาพบว่ามีความหมาย จากนั้นให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้กับอีกคนหนึ่งในชั้นเรียน

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 3:1–15

เราควรวางใจพระผู้เป็นเจ้าแทนที่จะกลัวมนุษย์

  • เหมือนโจเซฟ สมิธ เราทุกคนมีประสบการณ์เมื่อเรารู้สึกว่าเราถูกคนอื่นกดดันให้ทำบางอย่างที่เรารู้ว่าผิด เราเรียนรู้ความจริงอะไรบ้างจาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 3:1–15 ที่สามารถช่วยให้เรายังคงซื่อสัตย์ต่อพระผู้เป็นเจ้าในสถานการณ์เช่นนั้น?

  • โจเซฟ สมิธจำต้องถูกตีสอนเพราะกลัวมนุษย์มากกว่าพระผู้เป็นเจ้า แต่ท่านต้องได้รับกำลังใจเช่นกัน เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนดูใน ภาค 3 เพื่อหาว่าพระเจ้าทั้งทรงตีสอนและให้กำลังใจโจเซฟอย่างไร ตัวอย่างเช่น พวกเขาจะเขียนวลีต่างๆ จาก ข้อ 1–15 ไว้บนกระดานอันประกอบด้วยพระดำรัสติเตียนของพระเจ้าและวลีอื่นเกี่ยวกับการกระตุ้นให้กลับใจและซื่อสัตย์ต่อไป ประสบการณ์ของโจเซฟสอนอะไรเราเกี่ยวกับวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยให้เราเอาชนะความผิดพลาดของเรา?

หลักคำสอนและพันธสัญญา 4

พระเจ้าทรงขอให้เรารับใช้พระองค์ด้วยสุดใจของเรา

  • คุณสมบัติของผู้รับใช้พระเจ้าที่ระบุไว้ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 4:5–6 เป็นคุณสมบัติของพระเยซูคริสต์เช่นกัน เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเรียนรู้มากขึ้น ท่านจะเชื้อเชิญให้พวกเขาเลือกคุณสมบัติมาหนึ่งข้อและหานิยามหรือพระคัมภีร์เพิ่มเติมที่ช่วยให้พวกเขาเข้าใจคุณสมบัตินั้นดีขึ้น (ดูตัวอย่างจากคำกล่าวของซิสเตอร์อีเลน เอส. ดัลตันใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”) เชื้อเชิญสมาชิกชั้นเรียนสองสามคนแบ่งปันสิ่งที่พบ พวกเขาจะแบ่งปันด้วยว่าเหตุใดคุณสมบัติที่พวกเขาเลือกจึงจำเป็นต่อการรับใช้ในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า เราจะพัฒนาคุณสมบัติเหล่านี้มากขึ้นได้อย่างไร? (ดู ข้อ 7)

  • หลักคำสอนและพันธสัญญา 4 กล่าวกับโจเซฟ สมิธ จูเนียร์ผู้ต้องการรู้ว่าท่านจะช่วยงานของพระเจ้าได้อย่างไร ภาคนี้สามารถช่วยเราทุกคนผู้ปรารถนาจะรับใช้พระเจ้าเช่นกัน วิธีหนึ่งที่จะศึกษาภาคนี้คือสมาชิกชั้นเรียนจะทำงานเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อเขียนคำบรรยายลักษณะงานให้ผู้รับใช้ของพระผู้เป็นเจ้าโดยใช้ ภาค 4 เป็นแนวทาง คุณสมบัติเหล่านี้ต่างจากคำบรรยายลักษณะงานอื่นๆ อย่างไร? เหตุใดคุณสมบัติเหล่านี้จึงจำเป็นต่อการทำงานของพระผู้เป็นเจ้า? คำกล่าวของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” จะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจความสำคัญของการพัฒนาคุณสมบัติเหล่านี้

หลักคำสอนและพันธสัญญา 5

พยานของความจริงมาถึงคนที่อ่อนน้อมถ่อมตนและเชื่อ

  • ถ้าแสดงแผ่นจารึกทองคำให้โลกเห็น นั่นจะทำให้ทุกคนเชื่อไหมว่าพระคัมภีร์มอรมอนเป็นความจริง? เชื่อเพราะเหตุใดหรือไม่เชื่อเพราะเหตุใด? (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 5:7) สมาชิกชั้นเรียนอาจจะค้นคว้า ภาค 5 เพื่อหาข้อคิดที่จะช่วยพวกเขาตอบคนที่ขอหลักฐานยืนยันว่าพระคัมภีร์มอรมอนเป็นความจริง พระเจ้าทรงสอนอะไรโจเซฟ สมิธและมาร์ติน แฮร์ริสที่สามารถช่วยให้เราได้รับพยานของเราเองถึงความจริงพระกิตติคุณ?

    ภาพ
    มาร์ติน แฮร์ริส

    มาร์ติน แฮร์ริส โดย ลูอิส เอ. แรมซีย์

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

คุณธรรมหมายถึงความเข็มแข็ง

ซิสเตอร์อีเลน เอส. ดัลตันอธิบายเรื่องคุณธรรมดังนี้ “คุณธรรม เป็นคำที่เราได้ยินไม่บ่อยนักในสังคมปัจจุบัน แต่รากศัพท์ภาษาลาตินของคำว่า คุณธรรม หมายถึงความเข้มแข็ง ชายหญิงที่มีคุณธรรมจะมีความสง่าภูมิฐานและความเข้มแข็งอยู่ภายใน พวกเขาเชื่อมั่นเพราะพวกเขามีค่าควรแก่การได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์และการนำทางจากพระองค์” (“การหวนคืนสู่คุณธรรม,” เลียโฮนา, พ.ย. 2008, 98)

การเป็นผู้สอนศาสนา

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์กล่าวว่า “ขั้นตอนของการเป็นผู้สอนศาสนาไม่ได้ต้องการให้คนหนุ่มสวมเสื้อสีขาวผูกเนคไท [หรือหญิงสาวสวมชุดกระโปรง] ไปโรงเรียนทุกวัน หรือปฏิบัติตามแนวทางของผู้สอนศาสนาในเรื่องการเข้านอนและตื่นนอน … แต่ท่านสามารถเพิ่มความปรารถนาในการรับใช้พระผู้เป็นเจ้าได้ [ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 4:3] และท่านสามารถเริ่มคิดอย่างที่ผู้สอนศาสนาคิด อ่านสิ่งที่ผู้สอนศาสนาอ่าน สวดอ้อนวอนอย่างที่ผู้สอนศาสนาสวดอ้อนวอน และรู้สึกอย่างที่ผู้สอนศาสนารู้สึก ท่านสามารถหลีกเลี่ยงอิทธิพลทางโลกซึ่งจะทำให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงถอนตัว และท่านสามารถเพิ่มความมั่นใจในการรับรู้และตอบสนองการกระตุ้นเตือนทางวิญญาณ” (“การเป็นผู้สอนศาสนา,” เลียโฮนา, พ.ย. 2005, 54–55)

ปรับปรุงการสอนของเรา

ถามคำถามที่กระตุ้นให้สนทนาอย่างมีความหมาย คำถามที่มีคำตอบถูกมากกว่าหนึ่งข้อเชื้อเชิญให้ผู้เรียนตอบตามความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ส่วนตัวของพวกเขา ตัวอย่างเช่น ท่านจะถามว่า “คุณรู้ได้อย่างไรเวลาที่พระผู้เป็นเจ้ากำลังตรัสกับคุณ?” (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 33)