จงตามเรามา
16–22 พฤศจิกายน อีเธอร์ 6–11: “เพื่อความชั่วอาจหมดไป”


“16–22 พฤศจิกายน อีเธอร์ 6–11: ‘เพื่อความชั่วอาจหมดไป’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พระคัมภีร์มอรมอน 2020 (2020)

“16–22 พฤศจิกายน อีเธอร์ 6–11” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2020

ภาพ
เรือของชาวเจเร็ดในทะเล

เราจะนำเจ้าขึ้นมาอีกจากห้วงลึก โดย โจนาธาน อาเธอร์ คลาร์ก

16–22 พฤศจิกายน

อีเธอร์ 6–11

“เพื่อความชั่วอาจหมดไป”

พึงจดจำว่าบันทึกที่อยู่ในพระคัมภีร์มอรมอนเขียนไว้เพื่อยุคสมัยของเรา ขณะท่านเตรียมสอน ให้อ่านเรื่องราวพระคัมภีร์เหล่านี้เพื่อหาหลักธรรมที่สามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สมาชิกชั้นเรียนเผชิญความท้าทายในชีวิตพวกเขา

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันบางสิ่งที่พวกเขาพบว่ามีความหมายใน อีเธอร์ 6–11 ท่านจะเชื้อเชิญให้พวกเขาจินตนาการว่าจะสร้างบทเหล่านี้เป็นภาพยนตร์ พวกเขาจะเสนอให้ใช้วลีใดจาก อีเธอร์ 6–11 เป็นชื่อเรื่อง ให้เวลาพวกเขาคิด และบอกชื่อเหล่านั้นพร้อมทั้งอธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกวลีเหล่านั้น

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

อีเธอร์ 6:1–12

พระเจ้าจะทรงนำทางเราตลอดการเดินทางมรรตัยของเรา

  • โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว เสนอให้เปรียบเทียบการเดินทางข้ามทะเลของชาวเจเร็ดกับการเดินทางผ่านความเป็นมรรตัยของเรา ขอให้สมาชิกชั้นเรียนผู้ลองทำกิจกรรมนี้ที่บ้านเพื่อแบ่งปันข้อคิดที่ได้จากการเปรียบเทียบนี้ เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนทำการเปรียบเทียบมากขึ้นในชั้น เชื้อเชิญให้พวกเขาดูรายละเอียดใน อีเธอร์ 6:1–12 เกี่ยวกับการเดินทางที่จะมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ (เช่น ก้อนหินที่ให้แสงสว่าง เรือ และลม) และเขียนไว้บนกระดาน จากนั้นสมาชิกชั้นเรียนจะใช้เวลาหลายนาทีทำงานกับคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กเพื่อศึกษาข้อเหล่านั้นและสนทนาว่าสัญลักษณ์เหล่านี้น่าจะหมายถึงอะไรในชีวิตเรา ตัวอย่างเช่น “แผ่นดินที่สัญญาไว้” ของเราคืออะไร (ข้อ 8) พระผู้เป็นเจ้าทรงนำทางเราระหว่างการเดินทางอย่างไร

  • ท่านจะใช้ อีเธอร์ 6:1–12 ทำให้เกิดการสนทนาว่าการหันไปหาพระผู้เป็นเจ้าช่วยให้เราเติบโตผ่านการทดลองของเราอย่างไร ตัวอย่างเช่น คำพูดอ้างอิงใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” จะช่วยสมาชิกเปรียบเทียบ “ลมแรง” ที่กล่าวไว้ใน ข้อ 5–8 กับความยากลำบากของชีวิต ชาวเจเร็ดทำอะไรเมื่อพวกเขา “ถูกน้ำมากมายล้อมรอบ” (ข้อ 7) สมาชิกชั้นเรียนจะแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งความยากลำบากช่วยส่งพวกเขาไปเบื้องหน้า วิธีที่พวกเขาตอบรับการทดลองช่วยให้พวกเขาก้าวหน้าสู่ “แผ่นดินที่สัญญาไว้” อย่างไร พระเจ้าทรงช่วยให้พวกเขาผ่านความลำบากอย่างไร กระตุ้นให้พวกเขาพูดถึงคำและวลีจาก อีเธอร์ 6 ขณะแบ่งปันประสบการณ์และความคิดของพวกเขา

    ภาพ
    ชาวเจเร็ดเดินทางไปกับสัตว์

    การเดินทางข้ามทะเลของชาวเจเร็ด โดย มิเนอร์วา ไทเชิร์ต

อีเธอร์ 6:7–18, 30; 9:28–35; 10:1–2

พระเจ้าทรงอวยพรเราเมื่อเราอ่อนน้อมถ่อมตน

  • แม้เรื่องราวส่วนใหญ่ของชาวเจเร็ดแสดงให้เห็นผลลบของความจองหองและความชั่วร้าย แต่มีช่วงของความอ่อนน้อมถ่อมตนและความรุ่งเรืองที่เราได้เรียนรู้ด้วย เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเรียนรู้จากแบบอย่างที่ดีเหล่านี้ ท่านจะแบ่งชั้นเรียนออกเป็นสองกลุ่มและมอบหมายให้กลุ่มหนึ่งอ่าน อีเธอร์ 6:7–18 และ 30 ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งอ่าน อีเธอร์ 9:28–35 และ 10:1–2 ขอให้พวกเขาดูในข้อเหล่านี้เพื่อหาหลักฐานยืนยันว่าชาวเจเร็ดถ่อมตน—หรือสภาวการณ์ทำให้พวกเขาถ่อมตน—และพระเจ้าทรงอวยพรพวกเขาเพราะเหตุนี้อย่างไร เมื่อสมาชิกชั้นเรียนมีเวลาพอแล้ว ให้เชิญสมาชิกจากแต่ละกลุ่มแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ ความอ่อนน้อมถ่อมตนช่วยให้เราเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้ามากขึ้นอย่างไร การร้องเพลงหรือฟังเพลงสวดเกี่ยวกับความอ่อนน้อมถ่อมตน เช่น “ขอพึ่งพระทุกโมงยาม” (เพลงสวด บทเพลงที่ 44) จะเสริมกิจกรรมนี้

อีเธอร์ 7–11

ผู้นำที่ชอบธรรมนำผู้คนไปหาพระผู้เป็นเจ้า

  • แม้คนที่ไม่เคยดำรงตำแหน่งผู้นำอย่างเป็นทางการก็สามารถเรียนรู้จากแบบอย่างของกษัตริย์ที่ชอบธรรมและชั่วร้ายของชาวเจเร็ด เรื่องราวเหล่านี้จะช่วยให้เราเป็นผู้นำที่ดีขึ้นในบ้าน ในชุมชน และที่โบสถ์ ท่านอาจจะเริ่มการสนทนาหัวข้อนี้โดยขอให้สมาชิกชั้นเรียนนึกถึงคนที่พวกเขาพิจารณาว่าเป็นผู้นำที่ดี เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันคุณสมบัติบางประการของบุคคลนั้นพอสังเขป และเขียนเป็นข้อๆ บนกระดาน จากนั้นท่านจะมอบหมายให้สมาชิกชั้นเรียนแต่ละคนเรียนรู้เกี่ยวกับกษัตริย์ชาวเจเร็ดหนึ่งคนใน อีเธอร์ 7–11 (รายชื่อกษัตริย์พร้อมพระคัมภีร์อ้างอิงที่พูดถึงการปกครองของพวกเขามีอยู่ใน โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว) สมาชิกชั้นเรียนจะแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากกษัตริย์เหล่านี้เกี่ยวกับการเป็นผู้นำ โดยเพิ่มคุณสมบัติอื่นที่พบเข้าไปในรายการบนกระดาน คุณสมบัติที่ดีอื่นๆ ของการเป็นผู้นำระบุไว้ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” เราจะพัฒนาคุณสมบัติเหล่านี้และเป็นผู้นำได้อย่างไรแม้เราไม่มีงานมอบหมายในฐานะผู้นำ

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เพื่อจุดประกายความสนใจของสมาชิกชั้นเรียนในการอ่าน อีเธอร์ 12–15 ท่านจะบอกว่าในบทเหล่านี้โมโรไนแสดงความไม่มั่นใจบางอย่างเกี่ยวกับบันทึกที่เขาเก็บรักษา พระดำรัสตอบของพระเจ้าสามารถช่วยเราได้เมื่อเรามีความรู้สึกไม่ดีพอคล้ายๆ โมโรไน

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

การทดลองของเราเตรียมเราให้พร้อมรับชีวิตนิรันดร์

เอ็ลเดอร์ชาร์ลส์ เอ. คอลลิสแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองพูดในการประชุมใหญ่สามัญช่วงปีที่ยากลำบากของสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่า “เราทราบว่าเมื่อชาวเจเร็ดเดินเรือมาแผ่นดินแห่งคำสัญญานี้ เกิดพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงและน่าสะพึงกลัว ลมพัดและพวกเขาอยู่ในอันตรายที่จะเกิดขึ้นแน่นอนระหว่างการเดินทางที่น่ากลัวนั้น พระผู้เป็นเจ้าทรงค้ำจุนพวกเขา เราอ่านว่าแม้จะเกิดลมแรงและพายุฝนฟ้าคะนองอันก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ลมก็พัดพวกเขาไปแผ่นดินที่สัญญาไว้อย่างต่อเนื่อง ความยากลำบากเหล่านี้ซึ่งเรากำลังประสบ สงครามน่ากลัวเหล่านี้และเรื่องน่าสยดสยองทั้งหมดที่กำลังเกิดขึ้นล้วนอยู่ในเดชานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงสามารถหยุดยั้งได้เมื่อพระองค์ทรงเลือก เมื่อจุดประสงค์ของพระองค์เกิดสัมฤทธิผล แต่ขอให้เราอย่าลืมว่าโดยผ่านทะเลแห่งความเดือดร้อนนี้ ความยากลำบากของเรา ประสบการณ์ซึ่งเราประสบและซึ่งพระผู้เป็นเจ้าจะทรงทำงานด้วยกันเพื่อความดีของเรา ถ้าเราจะเชื่อฟังพระองค์—ทั้งหมดนี้กำลังพัดเราไปสู่สถานพักผ่อน อนาคตอันรุ่งโรจน์ ชีวิตนิรันดร์” (ใน Conference Report, Apr. 1943, 62)

คุณสมบัติของผู้นำที่ชอบธรรม

“ในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า ความยิ่งใหญ่และความเป็นผู้นำหมายถึงการเห็นคนอื่นตามที่พวกเขาเป็น—ดังที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเห็น—จากนั้นเอื้อมออกไปปรนนิบัติพวกเขา นั่นหมายถึงการชื่นชมยินดีกับผู้ที่มีความสุข ร้องไห้กับผู้ที่โศกเศร้า ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก และรักเพื่อนบ้านดังที่พระคริสต์ทรงรักเรา …

“… การเป็นผู้นำในศาสนจักรเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลผู้อื่นซึ่งก็ยังไม่เทียบเท่ากับความเต็มใจของเราที่จะได้รับการนำทางจากพระผู้เป็นเจ้า” (ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “คนที่ยิ่งใหญ่ในพวกท่าน,” เลียโฮนา, พ.ค. 2017, 79–80)

“เฉพาะคนดีงามเท่านั้นจึงจะสามารถยกระดับและกระตุ้นกันให้รับใช้มากขึ้น บรรลุความสำเร็จมากขึ้น เข้มแข็งมากขึ้น” (คำสอนของประธานศาสนจักร: เอสรา แทฟท์ เบ็นสัน [2014], 244)

“โลกสอนว่าผู้นำต้องมีอำนาจ พระเจ้าทรงสอนว่าผู้นำต้องอ่อนโยน ผู้นำของโลกได้อำนาจและอิทธิพลผ่านพรสวรรค์ ความรู้ความสามารถ และความมั่งคั่ง ผู้นำที่เหมือนพระคริสต์ได้อำนาจและอิทธิพล ‘โดยการชักชวน, โดยความอดกลั้น, โดยความสุภาพอ่อนน้อมและความอ่อนโยน, และโดยความรักที่ไม่เสแสร้ง’ [คพ. 121:41]” (ดู สตีเฟน ดับเบิลยู. โอเวน, “ผู้นำที่ยิ่งใหญ่คือผู้ติดตามที่ประเสริฐสุด,” เลียโฮนา, พ.ค. 2016, 75)

ปรับปรุงการสอนของเรา

สร้างสภาพแวดล้อมที่มีความเคารพ ท่านรู้สึกหรือไม่ว่าทุกคนในชั้นเรียนสบายใจกับการแสดงความคิดและความรู้สึกของพวกเขา “ช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนของท่านเข้าใจว่าพวกเขาแต่ละคนมีผลต่อวิญญาณของชั้นเรียน กระตุ้นให้พวกเขาช่วยท่านสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้าง เปี่ยมด้วยความรักและความเคารพ เพื่อทุกคนจะรู้สึกสบายใจในการแบ่งปันประสบการณ์ คำถาม และประจักษ์พยานของพวกเขา” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 15)