หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
11–17 มกราคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 2; โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:27–65: “ใจของลูกหลานจะหันไปหาบรรพบุรุษของพวกเขา”


“11–17 มกราคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 2; โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:27–65: ‘ใจของลูกหลานจะหันไปหาบรรพบุรุษของพวกเขา’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“11–17 มกราคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 2; โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:27–65” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2021

ภาพ
โมโรไนปรากฏต่อโจเซฟ สมิธ

ท่านเรียกชื่อข้าพเจ้า โดย ไมเคิล มาล์ม

11–17 มกราคม

หลักคำสอนและพันธสัญญา 2; โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:2–65

“ใจของลูกหลานจะหันไปหาบรรพบุรุษของพวกเขา”

เริ่มการเตรียมของท่านโดยอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 2 และ โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:27–65 แนวคิดในโครงร่างนี้สามารถช่วยท่านสอนความจริงในข้อความเหล่านี้

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ท่านจะเริ่มชั้นเรียนโดยขอให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับเทพโมโรไนมาเยือนโจเซฟ สมิธ

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:27–54

พระบิดาบนสวรรค์ทรงเรียกโจเซฟ สมิธให้ช่วยพระองค์ทำงานของพระองค์

เด็กจะชื่นชมศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธมากขึ้นเมื่อพวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับงานที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกให้ท่านทำ

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพโมโรไนมาเยือนโจเซฟ สมิธ (ดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 91) ขอให้เด็กชี้สิ่งที่พวกเขาสังเกตเห็นในภาพ สรุปเรื่องที่โมโรไนมาเยือนโจเซฟ หากจำเป็นให้อ่าน โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:27–54 และ “บทที่ 3: เทพโมโรไนและแผ่นจารึกทองคำ” (เรื่องราวในหลักคำสอนและพันธสัญญา หน้า 13–17) เชื้อเชิญให้เด็กสมมติตนเองเป็นโจเซฟ สมิธแต่ละช่วงในเรื่องโดยกอดอกเหมือนกำลังสวดอ้อนวอน ทำท่าปีนเขาคาโมราห์ เป็นต้น

  • อ่านออกเสียง โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:33 และขอให้เด็กยืนเมื่อพวกเขาได้ยินวลี “พระผู้เป็นเจ้าทรงมีงานให้ข้าพเจ้าทำ” พระผู้เป็นเจ้าทรงต้องการให้โจเซฟทำอะไร? พระองค์ทรงขอให้เราทำอะไร? ให้เด็กวาดภาพสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงต้องการให้พวกเขาทำ เช่น สวดอ้อนวอน รับใช้ หรืออ่านพระคัมภีร์

หลักคำสอนและพันธสัญญา 2

เอลียาห์มอบอำนาจการผนึกครอบครัวเข้าด้วยกันให้โจเซฟ สมิธ

การเรียนรู้เรื่องอำนาจการผนึกที่ฟื้นฟูผ่านโจเซฟ สมิธจะช่วยให้เด็กชื่นชมพรของครอบครัวนิรันดร์

กิจกรรมที่ทำได้

  • ช่วยเด็กพูดชื่อ “เอลียาห์” สองสามครั้ง ขอให้พวกเขาฟังชื่อนี้ขณะที่ท่านอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 2:1 อธิบายว่าโมโรไนพูดคำเหล่านี้กับโจเซฟ สมิธ และสอนว่าเอลียาห์จะมาฟื้นฟูสิทธิอำนาจฐานะปุโรหิต ต่อมาเอลียาห์ปรากฏต่อโจเซฟในพระวิหารเคิร์ทแลนด์และมอบอำนาจการผนึกครอบครัวเข้าด้วยกันให้ท่านศาสดาพยากรณ์

  • ขอให้เด็กบอกบางอย่างที่พวกเขารักเกี่ยวกับครอบครัวของพวกเขา ติดภาพครอบครัวข้างๆ พระวิหาร—ภาพครอบครัวของท่านเองหากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ (หรือดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 120) เป็นพยานว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงต้องการให้ครอบครัวอยู่ด้วยกันชั่วนิรันดร์ และนี่เป็นหนึ่งเหตุผลที่พระองค์ประทานพระวิหารแก่เรา

  • ร้องเพลง “ครอบครัวสามารถอยู่ด้วยกันชั่วนิรันดร์” ด้วยกัน (หนังสือเพลงสวดสำหรับเด็ก หน้า 98) เพลงนี้กล่าวว่าเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่ออยู่กับครอบครัวเราชั่วนิรันดร์?

หลักคำสอนและพันธสัญญา 2

การเรียนรู้เกี่ยวกับบรรพชนของฉันสามารถทำให้ฉันเกิดปีติ

แม้แต่เด็กเล็กก็ตื่นเต้นและรู้สึกปีติในเรื่องประวัติครอบครัว

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชิญพ่อแม่ของเด็กคนหนึ่งมาชั้นเรียนและเล่าเรื่องบรรพชนคนหนึ่ง (และให้ดูภาพถ้าหาได้) พูดถึงปีติที่ท่านรู้สึกเมื่อท่านเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติครอบครัวของท่าน

  • แจกหัวใจกระดาษให้เด็กคนละแผ่น ช่วยพวกเขาเขียนชื่อของตนและ “ฉันสัญญาว่าจะระลึกถึงบรรพชนของฉัน” ไว้บนนั้น อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 2:2 และอธิบายว่าเอลียาห์มาหันใจเราไปหาบรรพชนของเรา

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:28–29

ฉันสามารถสวดอ้อนวอนขอให้ได้รับการอภัย

บางครั้งเด็กที่ท่านสอนอาจรู้สึก “ผิดเนื่องจากความอ่อนแอและความไม่ดีพร้อม [ของพวกเขา]” (โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:29) เหมือนโจเซฟ สมิธรู้สึก ช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ว่าพวกเขาสามารถหันไปขอการอภัยจากพระบิดาบนสวรรค์

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:29 กับเด็ก โจเซฟ สมิธรู้สึกอย่างไรกับความผิดพลาดของตน โจเซฟทำอะไรกับความผิดพลาดเหล่านั้น? เราสามารถเรียนรู้อะไรจากแบบอย่างของโจเซฟที่สามารถช่วยเราเมื่อเราทำผิดพลาด? ถามเด็กว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรเมื่อทราบว่าโจเซฟได้รับเรียกจากพระผู้เป็นเจ้าแม้ท่านไม่ดีพร้อม

  • เหตุใดการตรึกตรอง “สถานะ [ของเรา] ต่อ [พระผู้เป็นเจ้า]” จึงสำคัญ? (โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:29) บอกเด็กว่าท่านทำอะไรเมื่อท่านสงสัยสถานะของท่านกับพระผู้เป็นเจ้า

โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:30–54

โจเซฟ สมิธได้รับเรียกจากพระผู้เป็นเจ้าให้ทำงานสำคัญ

การศึกษาข่าวสารที่โมโรไนมอบให้โจเซฟ สมิธจะช่วยเด็กเสริมสร้างประจักษ์พยานของตนเกี่ยวกับการเรียกอันศักดิ์สิทธิ์ของโจเซฟ

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กแสดงหรือวาดภาพเหตุการณ์จาก โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:30–54 เช่น โมโรไนปรากฏต่อโจเซฟ (ข้อ 30–47) โจเซฟพูดคุยกับบิดา (ข้อ 48–50) และโจเซฟพบแผ่นจารึก (ข้อ 51–54) เราเรียนรู้อะไรบ้างจากเรื่องนี้เกี่ยวกับงานที่ทรงเรียกโจเซฟให้ทำ?

  • อ่าน โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:33–35 กับเด็กและขอให้พวกเขาฟังสิ่งที่โมโรไนต้องการให้โจเซฟรู้เกี่ยวกับงานที่พระเจ้าทรงเรียกโจเซฟให้ทำ เราได้รับพรอย่างไรเพราะโจเซฟ สมิธทำงานของท่านสำเร็จในฐานะผู้แปลพระคัมภีร์มอรมอน? เชื้อเชิญให้เด็กอ่านพระคัมภีร์มอรมอนเป็นประจำ

หลักคำสอนและพันธสัญญา 2

พระบิดาบนสวรรค์ทรงต้องการให้ครอบครัวได้รับการผนึกในพระวิหาร

โมโรไนบอกโจเซฟ สมิธว่าเอลียาห์จะมา “เปิดเผยฐานะปุโรหิต” (ข้อ 1) นี่หมายถึงอำนาจการผนึกของฐานะปุโรหิตที่เปิดโอกาสให้ครอบครัวเป็นหนึ่งเดียวชั่วนิรันดร์และเปิดทางให้เราสามารถรับศาสนพิธีแทนบรรพชนของเราในพระวิหาร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กอ่านคำพยากรณ์ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 2:1 แล้วดูว่าพระเจ้าจะทรงส่งใครมาในวันเวลาสุดท้ายและบุคคลนี้จะเปิดเผยอะไร ให้ดูภาพเอลียาห์ในพระวิหารเคิร์ทแลนด์ (ดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 95) และพูดคุยกันว่าคำพยากรณ์นี้เกิดสัมฤทธิผล 13 ปี หลังการเยือนของโมโรไนอย่างไร (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 110:13–15)

  • อธิบายว่าเอลียาห์ฟื้นฟูกุญแจฐานะปุโรหิตที่เปิดโอกาสให้ครอบครัวผนึกด้วยกันในพระวิหารชั่วนิรันดร ให้ดูของบางชิ้นที่จะช่วยให้เด็กเข้าใจความหมายของการปิดผนึกบางอย่าง เช่น กระป๋องอาหารหรือถุงซิปล็อค ของเหล่านี้ช่วยให้เราเข้าใจความหมายของการผนึกครอบครัวอย่างไร?

  • ให้ดูภาพพระวิหาร และช่วยเด็กบอกชื่อบางสิ่งที่เราทำในพระวิหาร อธิบายว่าบัพติศมาแทนคนตาย การแต่งงานนิรันดร์ และการผนึกครอบครัวในพระวิหารล้วนเกิดขึ้นได้เพราะกุญแจฐานะปุโรหิตที่เอลียาห์ฟื้นฟู

  • เชิญเยาวชนหญิงหรือเยาวชนชายคนหนึ่งในวอร์ดมาเล่าประสบการณ์ซึ่งเขาหาชื่อบรรพชนและรับบัพติศมาแทนบรรพชนคนนั้นในพระวิหาร

    ภาพ
    พระวิหารพอลไมรา นิวยอร์ก

    ครอบครัวได้รับการผนึกในพระวิหารโดยอำนาจที่ฟื้นฟูผ่านเอลียาห์

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

กระตุ้นเด็กให้ขอบิดามารดาเล่าเรื่องบรรพชนคนหนึ่งของพวกเขาหรือช่วยบิดามารดาเตรียมอาหารโปรดของบรรพชนคนหนึ่งและรับประทานด้วยกัน

ปรับปรุงการสอนของเรา

ช่วยเด็กเล็กเรียนรู้จากพระคัมภีร์ เพื่อช่วยให้เด็กเล็กเรียนรู้จากพระคัมภีร์ ท่านจะเน้นพระคัมภีร์ข้อเดียวหรือแค่วลีสำคัญวลีเดียว ท่านอาจจะให้เด็กลุกขึ้นยืนหรือยกมือเมื่อพวกเขาได้ยินคำหรือวลีนั้น (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 21)